บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 สิงหาคม 2553
 

วิธีเดินเพื่อสุขภาพ+ไอเดียเป้(กระเป๋า)



จดหมายข่าวเว็บไซต์อาจารย์หมอเมียคินตีพิมพ์วิธีเดินเร็วเพื่อสุขภาพ, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ drmirkin ]


----//----



วิดีโอ 1:
การประยุกต์ถังสีใช้แล้ว (จะใช้ถังรดน้ำต้นไม้ก็ได้), หุ้มลูกบอล เช่น
เบสบอล เทนนิส ฯลฯ รอบๆ ที่จับ เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก,
ใส่น้ำในถังขนาดพอที่จะเดินได้ 20-40 ก้าวหมดแรงพอดี... แล้วค่อยๆ
เพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละน้อย



เดินแบบนี้คือ "เดินแบบฟาร์เมอร์ (Farmer's walking)"



----//----



วิดีโอ 2: เดินแบบนอร์ดิค (Nordic walking)



----//----



วิดีโอ 3: เดินแบกเป้ ซึ่งค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักได้โดยการใส่ถุงทราย หรือขวดน้ำเพิ่มทีละน้อย



----//----




วิีดีโอ 4:
เป้ที่ออกแบบให้กระจายน้ำหนักไปทางด้านซ้าย-ขวา, ช่วยกระจายน้ำหนัก...
คนไทยน่าจะลองทำเป้แบบนี้ และออกแบบให้ติดเป้เพิ่มทางด้านหน้า-หลังได้



----//---- 




...



เป็นที่ทราบ
กันดีว่า การเดินให้เร็วขึ้นส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างกว้างขวาง...
ทีนี้ถ้าต้องการเดินเร็วให้ดีกับสุขภาพ, ควรเดินให้เร็วพอที่จะเพิ่มชีพจร ให้มากกว่าตอนพัก 20 ครั้ง/นาที


เช่น ถ้าชีพจรตอนพัก 70 ครั้ง/นาที... ควรเดินเร็วให้ชีพจรขึ้นไปเป็น 90 ครั้ง/นาที หรือมากกว่านั้นสักหน่อย ฯลฯ



...


อัตราการเต้นหัวใจต่อนาที - นิยมจับชีพจรตรงเส้นเลือดแดงที่ข้อมือ หรือที่คอ 10 วินาที แล้วคูณด้วย 6; 10 x 6 = 60 วินาที



วิธีเดินให้เร็วขึ้นที่นิยมกัน คือ แกว่งแขนให้เร็ว,
การจดจ่อหรือตั้งใจแกว่งแขนให้เร็ว
ทำได้ง่ายกว่าการไปตั้งใจแกว่งขาให้เร็ว,
วิธีนี้คล้ายกับที่นักว่ายน้ำเร่งสปีด
โดยการจดจ่อหรือตั้งใจเคลื่อนไหวแขนให้เร็วขึ้นเช่นกัน



...


การแกว่งของที่มีรัศมีสั้นให้เร็วทำให้ได้ง่ายกว่าการแกว่งของที่มีรัศมียาว (ตามหลักของ pendulum หรือลูกตุ้มนาฬิกา)



วิธีประยุกต์หลักการนี้เข้ากับการเดินคือ การงอข้อศอกจะทำให้คนเราเดินเร็วกว่าการเดินเหยียดแขนตรง



...


การเดินเพื่อสุขภาพยังมีเทคนิคอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น


(1). เดินแนวราบสลับเดินขึ้นลงบันได > เสริมการออกกำลังต้านแรง ทำให้ร่างกายตั้งแต่สะโพกลงไปแข็งแรงเพิ่มขึ้นมาก



...


(2). เดินตัว
เปล่าสลับใส่เป้ > ค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักทีละน้อย
และใส่เป้ทางด้านหลังสลับกับการใช้มืออุ้มด้านหน้า
ทำให้ไหล่และกระดูกสันหลังตั้งแต่ช่วงอกลงไปแข็งแรงขึ้น


(3). เดินตัวเปล่าสลับการเดินถือตุ้มน้ำหนัก (เรียกว่า ฟาร์เมอส์ วอล์ค - Farmer's walk), วิธีนี้ช่วยให้ร่างกายส่วนบนแข็งแรง



ข้อควรระวัง คือ ตุ้มน้ำหนักที่ถือควรมีที่จับขนาดใหญ่หน่อย, ถ้าที่จับเล็ก
เช่น ถุงพลาสติกใส่ของ ฯลฯ จะเกิดแรงกดทับต่อปลอกหุ้มเอ็นที่มือ
อาจทำให้เกิดโรคนิ้วล็อคได้



...


(4).
เดินพร้อมกับใช้ไม้เท้า 2 ข้าง ช่วยกันตัวไปข้างหน้า (เรียกว่า เดินนอร์ดอค
- Nordic walk), วิธีนี้ทำให้ได้ออกกำัลังกล้ามเนื้อเกือบทุกส่วนในร่างกาย


(5). เดินสลับกระโดดตบ > วิธีนี้ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุนได้ดี



...


ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้่อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



...


 > [ Twitter ]


ที่ มา                                                         




  • Thank [ drmirkin ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 31 สิงหาคม 2553.




  • ข้อมูล
    ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.










Free TextEditor




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2553
0 comments
Last Update : 31 สิงหาคม 2553 23:56:03 น.
Counter : 1501 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com