บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 สิงหาคม 2553
 

วิธีป้องกันฟันสึก+ฟันผุ+เสียวฟัน(+วิธีใช้ไหมขัดฟัน)


อาจารย์อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่อง 'The Claim: More Sugar Leads to More Cavities' = "เคลม (คำกล่าวอ้าง): ยิ่งหวาน, ฟันยิ่งผุ (จริงไหม)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง พร้อมกับนำคำแนะนำในการป้องกันฟันผุมาฝากครับ [ nytimes ]; [ NIH ]; [ webMD ]; [ dentalresources ]



----//----





วิดีโอ (1): แสดงวิธีใ้ช้ไหมขัดฟัน > เริ่มจากการล้างมือด้วยสบู่ 2 ข้างให้สะอาด



หลังจากนั้นพันเส้นไหมรอบข้อปลายนิ้วกลางเบาๆ > ค่อยๆ สอดเข้าซอกฟัน,
ระวังอย่าสอดแรงและเร็วจนเส้นไหมกระแทกเหงือก ซึ่งอาจทำให้เหงือกบาดเจ็บได้


...



หลังจากนั้นให้โอบไหมขัดฟันไปรอบๆ ฟันทีละครึ่งซี่ (เห็นเป็นรูปคล้ายตัว
'C') เพื่อให้เส้นไหมมีโอกาสสัมผัสผิวฟันมากที่สุด >
ดึงเส้นไหมขึ้นลงเบาๆ



ทำอย่างนี้ทีละซี่จนครบทุกซี่ (ถ้าต้องการชมวิีดีโอภาพใหญ่...
ให้คลิกที่ภาพจะชมภาพใหญ่ได้ที่ 'YouTube' ซึ่งชาวพม่าเรียกว่า "ยูจูบ"
ครับ)


... 



วิดีโอ (2): วิธีใช้ไหมขัดฟัน



...



วิดีโอ (3): วิธีใช้ไหมขัดฟัน 



----//----


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟันของเราสึกกร่อน ทำให้เคลือบฟันชั้นนอก (enamel) บางลง, เสี่ยงต่อฟันผุ เสียวฟัน และฟันหลอที่สำคัญได้แก่



...


(1). กรด >
มาจากการย่อยสลายของอาหารกลุ่มแป้ง-น้ำตาล (โดยแบคทีเรียในช่องปาก),
และอาหารที่มีกรด เช่น น้ำอัดลม
(ทั้งชนิดมีน้ำตาลและชนิดน้ำตาลเทียม-ไดเอท), ผลไม้ น้ำผลไม้
ลูกอมรสเปรี้ยว วิตามินซี (การอมวิตามินซีไว้ในปาก ทำให้ฟันสึกได้
ทั้งจากกรด และน้ำตาลในเม็ดยา), โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ฯลฯ



ยาน้ำหลายชนิด รวมทั้งเครื่องดื่ม เช่น เครื่องกระตุ้นกำลัง ฯลฯ
แต่งรสหวานด้วยน้ำตาล และแต่งรสเปรี้ยวด้วยกรดอ่อน, หลังดื่มควรบ้วนปาก
หรือดื่มน้ำตามทันที



...



อาหารประเภทแป้ง-น้ำตาลจะทำให้ฟันสึกได้มากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับเวลาที่กินมากกว่าปริมาณที่กิน,
แบคทีเรียในช่องปากใช้เวลาย่อยสลายน้ำตาลเป็นกรดนานประมาณ 20 วินาที



กรดเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในช่องปากประมาณ 30 นาที
ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ถ้าบ้วนปากหรือดื่มน้ำตามทันที...
ความเป็นกรดจะลดลงเร็ว,
การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำลาย
ซึ่งช่วยลดความเป็นกรดในช่องปากให้น้อยลง



...



ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความเป็นกรดเกาะหนึบอยู่ที่เคลือบฟันได้นาน คือ คราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน (ถ้าทิ้งไว้นานๆ อาจมีหินปูนมาจับได้)



คราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟันเป็นที่ซ่องสุมของแบคทีเรียจำนวนมาก
จะทำให้น้ำตาลและกรดเกาะติดเคลือบฟันได้นาน และเกิดกรดได้นานขึ้น
(เมื่อเทียบกับคนที่ทำความสะอาดฟันดี)  



...


(2). ด่าง > มาจากยาธาตุ ยาลดกรดชนิดน้ำ ซึ่งวิธีป้องกันง่ายๆ คือ หลังกินยาน้ำทุกชนิดแล้ว ให้รีบบ้วนปาก หรือดื่มน้ำตามทันที



ลูกอมรสเปรี้ยวทำให้ฟันสึกได้มากกว่าลูกอมทั่วไป



...


(3). การขัดถู
> มาจากการใช้แปรงขนแข็ง (hard), หรือแปรงขนปานกลาง (medium - จริงๆ
แล้วส่วนใหญ่จะแข็งเกินไปสำหรับการแปรงฟัน), ควรใช้แปรงขนอ่อน (soft)
หรือขนอ่อนพิเศษ (extra soft) แทน



...



การขัดถูอาจมาจากการแปรงฟันแรง (โดยเฉพาะการถือแปรงแบบกำหมัด
ควรฝึกแปรงให้เบา หรือจับด้ามแปรงแบบจับปากกา), แปรงฟันไม่ถูกวิธี
(โดยเฉพาะลากยาวขนานกับแนวขากรรไกร), แปรงนานเกิน (เช่น เกิน 3-5 นาที
ฯลฯ), แปรงบ่อยเกิน (เกิน 3 ครั้ง/วัน)



นอกจากนั้นฟันหลังเคลือบฟันสัมผัสกรด เช่น ผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ฯลฯ
ภายใน 30-60 นาที ซึ่งเคลือบฟันยังอ่อนอยู่ จะทำให้ฟันสึกกร่อนได้ง่าย,
วิธีที่ดี คือ บ้วนปากหลังกินทันที แล้วบ้วนปากบ่อยๆ รอจนครบ 30-60 นาที
ค่อยแปรงฟัน 



...



ศ.ดร.คาโรล พาลเมอร์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐฯ กล่าวว่า
การดื่มน้ำผลไม้จากแก้ว 1 แก้วแบบจิบช้าๆ
ทำให้ฟันสึกมากกว่าการดื่มผ่านหลอดดูดภายใน 2-3 นาที


วิธีป้องกันฟันผุ เสีียวฟัน ฟันหลอที่สำคัญได้แก่



...


(1). ฝึกแปรงฟันให้ถูกวิธี เลือกแปรงขนอ่อนหรืออ่อนพิเศษ แปรงเบาๆ หลังอาหารและก่อนนอน อย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน 



ยกเว้นถ้ากินอาหารที่มีกรด (ข้อ 2) จะมีทางเลือกที่ดี 2 ทาง คือ แปรงหลัง 30-60 นาที หรือไม่ก็แปรงก่อนอาหาร (ถ้ารีบและรอไม่ได้)



...


(2). ไม่แปรงฟัน
หลังกินอาหารที่มีกรด เช่น น้ำสลัดที่มีน้ำส้มสายชู ฯลฯ 30-60 นาที,
ช่วงนี้ให้บ้วนปากเป็นพักๆ หรือเคี้ยวหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาล


(3). ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี... ต้องระวังเด็กกลืนยาสีฟัน และใช้ยาสีฟันแต่น้อย (ไม่เกินขนาดถั่วเขียว)



เด็กเล็กมากอาจฝึกด้วยยาสีฟันที่ไม่มีฟลูออไรด์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กจะไม่กลืนยาสีฟันลงไป



...


(4). ฝึกใ้ช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธี และขัดฟันวันละ 1 ครั้ง, เวลาที่ดีที่สุด คือ ก่อนนอน


(5). หลีกเลี่ยง
อาหารว่างประเภทอาหารเหนียวๆ เช่น ผลไม้แห้ง ลูกอมเหนียวหนึบ ฯลฯ,
ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เช่น ทำใจไม่ได้ ฯลฯ) ให้กินพร้อมอาหารมื้อหลัก



...


(6).
สะบัดแปรงสีฟันให้สะเด็ดน้ำ (น้ำหลุดออกไป) หลังใช้,
เก็บในที่มีลมพัดผ่านหรืออากาศถ่ายเทดี อย่าเก็บแปรงสีฟันในกล่องปิดสนิท
(เพิ่มความชื่นสะสม ทำให้เชื้อโรคเติบโตบนแปรงได้)



นำแปรงไปผึ่งลม ตากแดด ใส่ในน้ำร้อนจัด 5 นาที หรือใส่ในถ้วย
แล้วอุ่นให้ร้อนในไมโครเวฟ สัปดาห์ละครั้ง (ดีที่สุด คือ ทุกวัน),
เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค, เปลี่ยนแปรงทุกๆ 3 เดือน
หรือเปลี่ยนเมื่อขนแปรงบานออก



...


(7). ตรวจช่องปากกับอาจารย์หมอฟันทุก 6 เดือน


(8). กินอาหารให้ครบทุกหมู่อย่างพอดี (ดีที่สุด คือ ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ไปจนตลอดชีิวิต)



...


(9). ไม่สูบบุหรี่ > บุหรี่ำทำให้เหงือกอักเสบ-เนื้อเยื่อยึดรอบโคนฟัน (ปริทนต์) อักเสบได้ง่าย ทำให้เหงือกสึก ฟันหลุดได้ง่าย


(10). ระวังเบา
หวาน > ระวังอย่าให้น้ำหนักเกิน ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ,
ตรวจเช็คเบาหวานเป็นระยะ... ถ้าเป็นให้รักษาให้ดีต่อเนื่อง
เนื่องจากโรคนี้เพิ่มเสี่ยงเหงือกอักเสบ-เนื้อเยื่อยึดรอบโคนฟัน (ปริทนต์)
อักเสบ



...


(11). กินมื้อ
เย็นก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น และไม่กินมื้อใหญ่เกินไป
เช่น ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ฯลฯ ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal
reflux / GERD) 



การกินมื้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง-เหลว (รวมทั้งน้ำ)-ลม (เช่น น้ำอัดลม
กินไปคุยไปทำให้กลืนลมเข้าไปมาก เบียร์ ฯลฯ)
จะทำให้ปริมาตรอาหารรวมในกระเพาะฯ เพิ่มขึ้น เพิ่มเสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อน
ซึ่งอาจทำให้น้ำย่อย-กรด-น้ำดีทำลายเคลือบฟันได้



...



ไม่ควรนอนทันทีหลังอาหาร เนื่องจากท่านอนทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย,
การเดินช้าๆ สบายๆ หลังอาหารแบบที่โบราณเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร"
(ไม่ใช่เดินเร็ว) ช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารดีขึ้น


(12). ถ้าใช้น้ำยาบ้วนปาก (มีความสำคัญน้อยกว่าการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน), ควรเลือกชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ และมีฟลูออไรด์



...


ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



...


 > [ Twitter ]


ที่ มา                                                         







  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 22 สิงหาคม 2553.




  • ข้อมูล
    ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.










Free TextEditor




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2553
0 comments
Last Update : 22 สิงหาคม 2553 22:11:40 น.
Counter : 1530 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com