บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 พฤษภาคม 2554
 

กาแฟ-กาเฟอีนกับน้ำตาลในเลือด

จดหมายข่าวเว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ฉบับ 4 เมษายน 2554 ตีพิมพ์เรื่อง 'Caffeine: Good when you exercise, Bad when you rest' = , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่พบในเครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง กาแฟ ชา โกโก้ ชอคโกแล็ต

สารนี้เพิ่มการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเมื่อกินพร้อมอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บ (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล)

.

คนสหรัฐฯ-แคนาดามีผู้ใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมากกว่า 35% ซึ่งถ้าเป็นภาวะก่อนเบาหวานหรือว่าที่เบาหวาน (pre-diabetes) หรือเบาหวานแล้ว, จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้มาก

.

เบาหวานเป็นโรคที่ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายเสื่อมเร็ว โดยเฉพาะในรายที่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อาการแสดงจากโรคที่พบบ่อยได้แก่ ตาเสื่อม-ตาบอด หูเสื่อม-หูหนวก โรคหัวใจ สโตรค (หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต)

.

การศึกษาหนึ่งพบว่า กาเฟอีนเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งกีฬา-ออกกำลังได้ เนื่องจากเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลได้มากจนถึง 26%

.

อาหารในรูปของเหลว เช่น น้ำหวาน ฯลฯ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าอาหารในรูปของแข็ง เช่น ข้าว อาหารทำจากแป้ง ฯลฯ

.

เนื่องจากอาหารในรูปของเหลวผ่านหูรูดกระเพาะอาหาร ออกไปสู่ลำไส้เล็กได้เร็ว, ส่วนอาหารในรูปของแข็งต้องผ่านการคลุกเคล้า บีบ-เขย่า ทำให้มีสภาพเละๆ เหลวๆ (คล้ายอาเจียน หรือโจ๊ก) ก่อนเข้าสู่ลำไส้เล็ก

.

การศึกษาหนึ่งพบว่า ส้มทั้งผลอยู่ในกระเพาะอาหารได้นานจนถึง 5 ชั่วโมง ทำให้อิ่มนาน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นช้า

.

ตรงกันข้ามถ้าดื่มเป็นน้ำส้มจะผ่านออกจากกระเพาะอาหารได้เร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็ว

.

การศึกษาหลายรายงานพบว่า การกินผลไม้ที่ไม่หวานจัดเป็นประจำลดเสี่ยงเบาหวาน ตรงกันข้าม, การดื่มน้ำผลไม้เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน

.

กลไกที่น้ำผลไม้ที่ไม่มีกากใยหรือไฟเบอร์เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน อาจเป็นผลจากการทำให้ระดับน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือดสูงขึ้นเร็ว (เร็วกว่าการกินผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล เช่น ฝรั่ง ส้ม กล้วยที่ไม่สุกมาก ฯลฯ)

.

น้ำตาลฟรัคโทส (fructose) หรือน้ำตาลผลไม้ที่สูงขึ้นเร็วจากการดื่มน้ำผลไม้เพิ่มเสี่ยงโรคไขมันเกาะตับ ซึ่งจะเพิ่มเสี่ยงภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลเข้าเซลล์) และเบาหวาน

.

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากจะทำให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้นมาก เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด

.

อินซูลินจะเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ซึ่งถ้าไขมันในเลือดชนิดนี้สูงมาก จะเพิ่มเสี่ยงโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ฯลฯ

.

น้ำตาลฟรัคโทสในน้ำผลไม้ขนาดสูงจะเพิ่มระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้มากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น เพิ่มเสี่ยงโรคไขมันเกาะตับ

.

การกินผลไม้เพื่อสุขภาพ จึงควรเลือกชนิดที่ไม่หวานจัด กินทั้งผล ปั่นรวมกาก มากกว่าน้ำผลไม้กรองกากทิ้ง

.

กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังดูดซับน้ำตาลจากเลือดได้ไม่ค่อยดี ตรงกันข้าม, กล้ามเนื้อที่ออกแรง-ออกกำลังจะดูดซึมน้ำตาลจากเลือกได้มากขึ้นตั้งแต่ 1-17 ชั่วโมง

.

การออกแรง-ออกกำลังที่หนักหรือนานช่วยเพิ่มให้กล้ามเนื้อดูดซับน้ำตาลออกจากกระแสเลือดได้ดีกว่าการออกแรง-ออกกำลังที่เบาหรือไม่นาน

.

เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรออกแรง-ออกกำลังวันละหลายๆ รอบเสริมเข้าไป

.

ตัวอย่าง เช่น เดินให้เร็วหน่อย 10 นาที ก่อนอาหาร 15-30 นาที ทำแบบนี้ 3 มื้อจะสะสมเวลาออกกำลังได้ 30 นาที และควรขึ้นลงบันไดตามโอกาส รวมเวลาให้ได้ 4 นาที/วัน

.

เวลาดู TV นั่งเก้าอี้ เหยียดขาตรงออกไป แกว่งขาข้างหนึ่งขึ้น-ข้างหนึ่งลง ทำแบบนี้บ่อยๆ , หรือแม้การนั่งเก้าอี้ก็ควรลุกขึ้นยืนสลับนั่งลงอย่างน้อยทุกชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรง-ออกกำลังบ่อยๆ

.

กาเฟอีนเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลได้มากจนถึง 26% ทำให้ออกแรง-ออกกำลังได้มากขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อน แต่ต้องกินตอนก่อนออกแรง-ออกกำลัง 1 ชั่วโมงหรือช่วงที่ออกแรง-ออกกำลัง

.

ทีนี้ถ้าอยากดื่มกาแฟ ชา โกโก้ตอนไม่ออกแรง-ออกกำลังให้ปลอดภัยขึ้น... อาจใช้กาแฟสกัดกาเฟอีนออก นมหรือนมถั่วเหลืองไขมันต่ำ และน้ำตาลเทียมแทน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก

.

หลังดื่ม... ลงทุนเดินแบบที่โบราณท่านเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร" หรือเดินสบายๆ ไม่เร็วนักสักหน่อย น่าจะมีส่วนช่วยป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

.

สรุป คือ กาเฟอีนเล็กน้อยตอนก่อนออกแรง-ออกกำลังน่าจะดี, แต่ถ้ากินตอนไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังอาจจะไม่ดีกับสุขภาพเท่าไร

.

"กาแฟชงเอง" ปลอดภัยกับสุขภาพมากกว่ากาแฟซื้อ เนื่องจาก "กาแฟซื้อ" ใส่ครีม ครีมเทียม หรือน้ำตาลแบบไม่ยั้ง

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]




  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 28 เมษายน 2554.




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor


Create Date : 02 พฤษภาคม 2554
Last Update : 2 พฤษภาคม 2554 17:23:41 น. 0 comments
Counter : 946 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com