บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 พฤษภาคม 2554
 

เด็กอ้วนกระดูกบาง+วิธีป้องกันกระดูกพรุน


จุลสารเว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Can being overweight cause children to break bones?' = "น้ำหนักเกินทำให้กระดูกเด็กๆ อ่อนแอไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

การศึกษาใหม่พบว่า เด็กๆ ที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มจะมีความหนาแน่นกระดูกต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจเพิ่มเสี่ยงโรคกระดูกพรุน-กระดูกโปร่งบาง กระดูกหักในระยะยาว

.

กลไกที่เป็นไปได้ยังไม่ทราบแน่ชัด และในทางกลับกัน, คนที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานมากๆ (ผอมมากๆ) ก็มีแนวโน้มจะเสี่ยงกระดูกพรุน-กระดูกโปร่งบางมากขึ้นเช่นกัน

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ภาวะขาดโปรตีน-กำลังงานในระยะยาวอาจทำให้การสร้างโปรตีนลดลง หรืออาจเกิดจากการขาดแคลเซียม-วิตามิน D (จากการกินน้อยเกิน)

.

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน-กระดูกโปร่งบางที่สำคัญได้แก่ [ mayoclinic ]; [ webMD ]; [ NHS ]; [ aaos ]

.

(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อให้กระดูกแข็งแรง โดยเฉพาะการออกกำลังที่ลงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก ฯลฯ และออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก บริหารกล้ามเนื้อหลัง-เอว ฯลฯ

.

(2). กินอาหารสุขภาพที่มีแร่ธาตุหลายๆ ชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมมากพอ เช่น นมไขมันต่ำ นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตำลึง ถั่วพู เต้าหู้ ฯลฯ, ผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอคโคลี ฯลฯ งาดำป่น (ต้องทุบเมล็ดให้แตกจึงจะดูดซึมได้), ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ถั่วต้ม ฯลฯ

.

นมถั่วเหลืองที่ไม่ได้เสริมแคลเซียมมีแคลเซียมค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 7-8%/กล่อง จึงควรเลือกชนิดเสริมแคลเซียม (นมที่ดีควรมีแคลเซียม 25-35% ของที่ร่างกายต้องการ/กล่อง)

.

คนไทยส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียม 300 มิลลิกรัม/วัน ต่ำกว่าเกณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ 800-1,000 มก./วัน, วัยรุ่น-คนตั้งครรภ์-คนอายุเกิน 50 ปี ควรได้รับ 1,000-1,300 มก./วัน

.

(3). ไม่สูบบุหรี่-ไม่ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ)

.

(4). ฝึกการทรงตัว เช่น เต้นรำ ไทชิ-ชี่กง ฯลฯ เพื่อลดเสี่ยงหกล้ม (ถ้าไม่หกล้มตอนสูงอายุ, โอกาสกระดูกหักจะลดลงอย่างมากมาย)

.

(5). ฝึกกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง เช่น ฝึกนั่งเก้าอี้สลับลุกขึ้นยืน 10 ครั้ง 3 ยก/วัน ฯลฯ

.

(6). ระวังขาดวิตามิน D เช่น กินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ออกกำลังรับแสงแดดอ่อน 15 นาที/วัน การกินวิตามินรวมที่มีวิตามิน D พร้อมอาหารไขมันต่ำ 1 เม็ด/วัน ฯลฯ (ผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามิน D = 400-1,000 มก./วัน)


(7). ไม่ดื่มน้ำอัดลม น้ำอัดลมมีกรดที่ขับออกทางไต ทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมเพิ่มขึ้น

.

(8). ไม่กินสมุนไพรเถื่อน เพื่อป้องกันการได้รับฮอร์โมนสเตอรอยด์

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]




  • Thank > Dr. Gabe Mirkin > source: Metabolism, February 2011; Bone and Mineral Research, February 2011.



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 พฤษภาคม 2554.




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.









Free TextEditor


Create Date : 09 พฤษภาคม 2554
Last Update : 9 พฤษภาคม 2554 16:51:33 น. 0 comments
Counter : 938 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com