บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มกราคม 2554
 

ทำไมคนอายุน้อยเป็นเจ้าแห่งน้ำตา [EN]

อาจารย์ซี. คลายบอร์น เรย์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Vale of Tears' = "สายธาร(ลำธาร)แห่งน้ำตา" ในนิวยอร์ค ไทมส์, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ].


  • [ vale ] > [ เว่ล - ลึ่ ("ลึ่" ออกเสียงสั้นมากๆ ] > //www.thefreedictionary.com/vale > noun = หุบเขา มักจะหมายถึงหุบเขาที่มีลำธาร หรือทางน้ำไหล

  • คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศส และละตินตามลำดับ เดิมแปลว่า "ลำธาร (valley)" เช่นกัน


.



  • [ vale ] > [ เว้ - หลี่ ] > //www.thefreedictionary.com/vale > noun, interj. = งานเลี้ยงอำลา คำกล่าวอำลา (กล่าวว่า "เว้ - หลี่")

  • คำนี้มาจากภาษาละติน เดิมแปลว่า "แข็งแรง", "อย่างดี"; รวม = ขอให้มีสุขภาพดี หรือขอให้โชคดีอะไรทำนองนั้น


.


อ.ดร.วิลเลียม เอช. เฟรย์ II (two/second = ลำดับที่ 2) เภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีของน้ำตา ตั้งสมมติฐานไว้เมื่อ 3 ทศวรรษ (decades = ทศวรรษ รอบสิบปี) ก่อนว่า การร้องไห้เป็นกลไกในการระบายความเครียด และน่าจะเป็นผลจากฮอร์โมนบางอย่าง

.

ปัจจุบัน อ.ดร.เฟรย์เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอัลไซเมอร์ (โรคสมองเสื่อม) ที่โรงพยาบาลรีเจียนส์ เซนต์พอล สหรัฐฯ กล่าวว่า สารเคมีในน้ำตาที่หลั่งจากเหตุสะเทือนอารมณ์ต่างจากน้ำตาที่หลั่งจากการตอบสนองทางกาย เช่น เมื่อได้รับสารระคายเคืองจากการหั่นหัวหอม ฯลฯ

.

ฮอร์โมนและสารเคมีที่พบมากในน้ำตาจากเหตุสะเทือนอารมณ์ได้แก่


  1. โปรแลคทิน (prolactin) > ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่หลัก คือ ทำให้เกิดการสร้างน้ำนม

  2. เอ.ซี.ที.เอช. (ACTH / adrenocorticotropic hormone) > ฮอร์โมนนี้มาจากต่อมหมวกไต อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนเครียด หรือตอบสนองต่อความเครียด

  3. เอนเคฟาลิน (สารสื่อประสาทลูซีน เอนเคฟาลิน - leucine enkephalin) > สารนี้จะหลั่งออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเครียด


.

อ.เฟรย์ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง 'Crying: The Mystery of Tears' = "การร้องไห้; ความลับของน้ำตา" ในปี 1985 = พ.ศ. 2528 ว่า น้ำตาผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนโปรแลคทินสูงมากในช่วงอายุ 15-30 ปี

.

ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงที่ผู้หญิงมีอัตราการเจริญพันธุ์ หรือมีโอกาสเป็น "คุณแม่" สูงกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งน่าจะมีส่วนทำให้ผู้หญิง "ร้องไห้" บ่อยในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน

.

การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า น้ำตาผู้หญิงส่งผลผ่านการมองเห็น (สายตา) ของผู้ชายมากกว่าช่องทางอื่นๆ (อายตนะ 6 = ทางเข้าสัญญาณ = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

.

ผลต่อผู้ชาย คือ ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ลดลง และทำให้เสน่ห์ หรือความน่าสนใจของคนที่ร้องไห้ลดลง

.

มีความเป็นไปได้ ว่า การร้องไห้เป็นกลไกป้องกันตัวอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันการถูกทำร้ายหรือข่มขืน, ทว่า... ถ้าใครร้องไห้บ่อย หรือมากไปก็ทำให้คนรอบข้าง "ซึมเศร้า-เหงา-เซง" ไปตามๆ กันได้

.

วิธีที่ดีสำหรับท่านที่ร้องไห้บ่อย คือ น่าจะลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าดู เพราะถ้าเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอารมณ์หนักไปทางเศร้าๆ แล้ว... อาจารย์นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช หรือหมอใกล้บ้านน่าจะช่วยท่านได้ > [ แบบทดสอบซึมเศร้า ]

.

โรคซึมเศร้าเป็นผลจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล และเพิ่มเสี่ยงต่อเรื่องร้ายๆ เช่น เรียนหนังสือหรือทำงานทำการไม่ได้ บ้านแตก ติดเหล้า-ยาเสพติด ฆ่าตัวตาย ฯลฯ > [ แบบทดสอบซึมเศร้า ]

.

ทีนี้ข่าวร้ายย่อมมาคู่กับข่าวดี ดังคำกล่าวว่า "วิกฤตินำมาซึ่งโอกาส (สำหรับคนที่รู้จักคิด และสู้ชีวิต)" คือ โรคนี้ตอบสนองต่อยาค่อนข้างดีทีเดียว

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > [ แบบทดสอบซึมเศร้า ]

 

.

 > [ Twitter ]


ที่ มา                               




  • Thank [ Reuters ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 12 มกราคม 2554.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor


Create Date : 12 มกราคม 2554
Last Update : 12 มกราคม 2554 6:36:29 น. 2 comments
Counter : 892 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณมากครับคุณหมอ
 
 

โดย: wicsir วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:7:54:46 น.  

 
 
 
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านเช่นกันครับ....
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 12 มกราคม 2554 เวลา:22:24:12 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com