บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 มกราคม 2554
 

เนื้อแดง+วิธีถนอมสมอง-ป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาต

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Eating lots of red meat up women's stroke risk' = "(การ)กินเนื้อแดงมากเพิ่มเสี่ยงสโตรคในผู้หญิง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ]


  • 'เนื้อแดง (red meat)' = เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น แพะ แกะ วัว ควาย หมู ฯลฯ, ต่างจากเนื้อขาว (white meat) หรือเนื้อสัตว์เล็ก เช่น ปลา สัตว์ปีก ฯลฯ

  • 'สโตรค (stroke)' = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต


.

การศึกษาใหม่แบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงตามปริมาณการกินเนื้อแดงเป็น 10 กลุ่ม (tenth) จากมากไปหาน้อย

.

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่กินเนื้อมากที่สุด คือ อย่างน้อย 102 กรัม/วัน หรือ 1 ขีด เพิ่มเสี่ยงสโตรคมากกว่ากลุ่มที่กินเนื้อน้อยกว่า 25 กรัม หรือ 1/4 ขีด = 42%

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินเนื้อแดงมากๆ เพิ่มเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด โรคหัวใจ และความดันเลือดสูง แต่ผลต่อสโตรคยังไม่ชัดเจนนัก

.

สโตรคเป็นกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่ง 78% (ประมาณ 80% หรือ 4/5) เป็นผลจากหลอดเลือดตีบตัน ที่เหลือ (ประมาณ 20% หรือ 1/5) ส่วนใหญ่เป็นผลจากหลอดเลือดสมองแตก

.

การศึกษาใหม่ทำในกลุ่มตัวอย่างอายุ 39-73 ปี 34,670 คน ติดตามไป 10 ปี, ผลการศึกษาพบว่า คนที่กินเนื้อแดงมาก คือ 86 กรัม (0.9 ขีด)/วันขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบตันมากกว่าคนที่กินเนื้อแดงน้อย คือ น้อยกว่า 36.5 กรัม (0.4 ขีด)/วัน = 22%

.

คนที่กินเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก แฮมเบอร์เกอร์ หมูแผ่น หมูหยอง ฯลฯ มากคือ 41.3 กรัม (0.4 ขีด)/วันขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบตันมากกว่าคนที่กินเนื้อสำเร็จรูปน้อย หรือน้อยกว่า 12.1 กรัม (1 ขีด)/วัน = 24%

.

ทางเลือกที่น่าจะดี คือ ลดเนื้อแดง-เนื้อสำเร็จรูปลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เปลี่ยนไปกินสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว งา เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ฯลฯ แทน

 

.

วิธีป้องกันสโตรคที่สำคัญได้แก่ [ NIH ]; [ stroke ]; [ AAFP ] .

.

(1). ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ

.

ถ้าสูงควรรักษาให้ต่อเนื่อง กินอาหารสุขภาพ นอนให้พอ ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และลดน้ำหนัก (ถ้าเกิน)

.

ความดันเลือดสูงเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนน้อยอาจปวดหัวเป็นบางครั้ง, การรักษาความดันเลือดสูงให้ผลดีคล้ายกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งรักษาโรคเดียว ลดเสี่ยงได้ทั้งโรคสมอง(สโตรค), หัวใจ(หัวใจวาย หัวใจขาดเลือด), ไต(ไตเสื่อม ไตวาย)

.

(2). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป

.

ถ้าสูบควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน เนื่องจากการได้รับคำปรึกษา ยา หรือสารทดแทนนิโคติน เช่น หมากฝรั่ง แผ่นปะ ฯลฯ เพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่สำเร็จมากกว่าการหักดิบลูกเดียว

.

(3). ถ้ามีโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ควรกินยาตามที่หมอแนะนำ เช่น แอสไพริน ฯลฯ เพื่อป้องกันลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดสมอง เนื่องจากโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะบางอย่าง คือ AF เพิ่มเสี่ยงสโตรคเป็น 500%

.

(4). ถ้าโรคหลอดเลือดสมองตีบตันชั่วคราว (TIA) ควรกินยาตามที่หมอแนะนำ เช่น แอสไพริน ฯลฯ เพื่อลดโอกาสเกิดโรครุนแรงขึ้นในครั้งต่อไป ซึ่งอาจพบได้ถึง 40% (ถ้าไม่กินยา)

.

(5). ตรวจเช็คเบาหวาน น้ำตาลในเลือด > ถ้าสูงเกินควรรักษา และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น ลดแป้ง-ข้าว-น้ำตาล, เพิ่มผัก ฯลฯ

.

คนไข้เบาหวานที่ดีควรกินผลไม้หวานจัดแต่น้อย เช่น ลำไย 2-3 ลูก แล้วลดข้าวลงตามส่วน ฯลฯ, ไม่ใช่ละโมบโลภมาก เช่น กินลำไย 2-3 กิโลฯ แล้วโทษหมอว่า ยาไม่ดี ฯลฯ

.

คำขวัญสำหรับคนไข้เบาหวาน คือ โลกเรามียาเบาหวานดีๆ สำหรับคนไข้ที่กินลำไยครั้งละ 2-3 ลูก แต่ไม่มียาเบาหวานที่ดีพอสำหรับคนไข้ที่กินลำไยครั้งละ 2-3 กิโลฯ

.

(6). ตรวจเช็คไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) > ถ้าสูงเกินควรรักษา หรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

.

(7). ไม่ดื่มหนัก > การดื่มแอลกอฮอล์ (ไวน์ เหล้า เบียร์ ฯลฯ) หนักเพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูง และสโตรค

.

(8). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เทียบเท่าเดินเร็วอย่างน้อย 30 นาที/วัน (อย่านั่งนานเกิน 2 ชั่วโมง/ครั้ง ลุกขึ้นเดินให้บ่อย ขึ้นลงบันไดตามโอกาส แล้วนำเวลาสะสมรวมกันได้)

.

(9). กินอาหารแดช (DASH) หรืออาหารสุขภาพที่ช่วยป้องกัน-ลดความดันเลือดสูงได้แก่ ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการดอง (แช่แข็งได้ และที่ดีมาก คือ ผักผลไม้สดๆ เช่น ผักกับน้ำพริก, สลัดผัก ฯลฯ), ...

 

(ต่อ)... ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว (ถั่วฝัก เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯลฯ ดีกว่าถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง ฯลฯ), ปลา สัตว์ปีกที่นำหนังออก นมจืดไขมันต่ำ และลดเนื้อสัตว์ใหญ่-ลดเนื้อสำเร็จรูปอย่างน้อย 1/2

.

อาหารแดช (DASH) ป้องกันความดันเลือดสูง ป้องกันโรคอ้วนได้ดี (ถ้าไม่กินมากเกิน) แต่ถ้าเป็นความดันเลือดสูงแล้ว... การใช้ยาร่วมกับอาหารแดชมักจะดีกว่าไม่กินยา (ส่วนใหญ่)

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

 > [ Twitter ]


ที่ มา                               







  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 2 มกราคม 2554.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor


Create Date : 02 มกราคม 2554
Last Update : 2 มกราคม 2554 13:39:30 น. 0 comments
Counter : 1269 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com