บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 

วิธีออกกำลังให้อายุยืนอย่างมีุคุณภาพ




อาจารย์ Jane E. Brody ตีพิมพ์เรื่อง 'Weight index doesn't tell the whole truth' = "ดัชนีน้ำหนัก (ดัชนีมวลกาย / body mass index / BMI) ไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด" ใน nytimes, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ]



----//----


ดัชนีมวลกาย
(BMI) คิดจากน้ำหนักเป็นกิโลกรัมเป็นตัวตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2
ครั้ง (ยกกำลังสอง), ค่าปกติในคนเอเชีย รวมทั้งไทย = 18.5-23.4 [ gj.mahidol ]



อ.ดร.คาร์, ลาวี ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจากสถาบันหัวใจ-หลอดเลือดออชเนอร์
นิวออร์ีลีน US กล่าวว่า BMI บอกเราคร่าวๆ ว่า
น้ำหนักของเรามีแนวโน้มจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่าเฉลี่ย) หรือไม่



...


ทว่า... ค่านี้มีจุดอ่อนตรงที่บอกไม่ได้ว่า น้ำหนักของเรามีเนื้อเยื่ออะไรมาก คือ ไขมันมากหรือกล้ามเนื้อมาก



เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหนักกว่าไขมัน (ความถ่วงจำเพาะ / specific gravity = 0.94 และ 1.06 ตามลำดับ) ประมาณ = 1.13 [ springerlink ]



...


ถ้าเปรียบเทียบคน 2 คนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงเท่าๆ กัน (BMI เท่ากัน)... คนที่มีมวลกล้ามเนื้อมากจะดูผอมเพรียวมากกว่าคนที่มีมวลไขมันมาก



การเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยในคนทั่วไป คือ เมื่ออายุมากขึ้น...
มวลกล้ามเนื้อจะลดลง มวลไขมันจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายหลัง 60 ปี
และผู้หญิงหลัง 50 ปี



...


ตำแหน่งที่พอจะดูได้ คือ ส่วนกลางของร่างกาย หรือตรงพุงจะดูป่องออกมาตามสัดส่วนไขมันที่เพิ่มขึ้น



ตรงกันข้าม... คนที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก เช่น นักกีฬา นักเพาะกาย ฯลฯ อาจมี
BMI สูงได้จากมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น (ถือว่า ดีกับสุขภาพ)



...


องค์การอนามัย
โลก (WHO) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ นิยามว่า
ผู้ชายที่มีเนื้อเยื่อไขมันมากกว่า 25% หรือ 1/4 ของน้ำหนัก
หรือผู้หญิงมากกว่า 35% หรือประมาณ 1/3 ของน้ำหนัก ถือว่า อ้วน



อ.แอนตีกอน โอรีโอเปาลอส และคณะ จากมหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา US เปรียบเทียบ
BMI ของคนไข้หัวใจวาย 140 รายกับผลการตรวจเอกซเรย์เด็กซา (DEXA scan) [ mayoclinic ]



...


เอกซเรย์ชนิด
เด็กซา ( DEXA หรือเจ้า "เด็กซ่า") อาศัยเอกซเรย์ 2 ระดับพลังงาน
ซึ่งพลังงานสูงจะถูกดูดซึมโดยกระดูกมากกว่าเนื้อเยื่ออื่นๆ
(กล้ามเนื้อ-ไขมัน), พลังงานต่ำจะูถูกดูดซึมโดยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ
ใกล้เคียงกัน



เมื่อนำผลการตรวจ 2 ครั้งมาลบกัน จะได้ค่าการดูดซึมของกระดูก
ทำให้เอกซเรย์ชนิดนี้นำไปใ้ช้วัดความหนาแน่นเนื้อเยื่อเฉพาะอย่างได้
ที่ใช้มากคือ วัดความหนาแน่นกระดูก



...


การศึกษานี้ใช้เอกซเรย์ชนิดเด็กซา (DEXA) ที่ออกแบบมาให้แยกแยะเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ออกจากกันได้



ผลการศึกษาพบว่า
โอกาสรอดของคนไข้หัวใจวายพบเพิ่มขึ้นในคนที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก
และมวลไขมันน้อย ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นพวก "เนื้อไม่ติดมัน"



...


และ BMI บอกสัดส่วนเนื้อเยื่อไขมันคลาดเคลื่อนไปถึง 41% 



วิธีที่ใช้วัดมวลไขมันได้แม่นยำกว่า BMI วิธีหนึ่ง คือ
การวัดความหนาชั้นผิวหนัง (skin-fold score) โดยใช้เครื่องหนีบมาตรฐาน
(caliper) วัดหลายๆ ตำแหน่ง



...


วิธีวัดอีกวิธีหนึ่ง คือ การเปรียบเทียบขนาดของเส้นรอบท้อง (ส่วนที่กว้างที่สุดของพุง) กับเอว (waist-to-hip ratio) 



ค่าปกติ คือ ผู้ชายไม่เกิน 0.9; ผู้หญิงไม่เกิน 0.83



...


อีกวิธีหนึ่ง คือ วัดเส้นรอบเอว, ค่าปกติ... ผู้ชายไม่เกิน 90 ซม., ผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.



ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลงตามอายุ คือ ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ที่ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อลดลงตามอายุ



...


ตรงนี้บอกเรา
ว่า ถ้าอยากอายุยืนอย่างมีคุณภาพ... การออกกำลังแบบแอโรบิคหรือคาร์ดิโอ
(เสริมสร้างระบบหัวใจ-หลอดเลือด) เช่น เดิน วิ่ง จักรยานแนวราบ ฯลฯ
อย่างเดียวน่าจะไม่พอ 



เพราะการออกกำลังแบบแอโรบิคหรือคาร์ดิโอไม่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และไม่ช่วยชะลอการลดลงของมวลกล้ามเนื้อตามอายุ



...


การออกกำลัง
ที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ คือ การออกกำลังต้านแรง เช่น ขึ้นลงบันได,
เดิน-วิ่ง-จักรยานขึ้นลงเนิน,
จักรยานออกกำลังที่ปรับแรงต้านหรือความฝืดได้, ยกน้ำหนัก, ดึงสปริง,
กายบริหารบางรูปแบบ (โดยเฉพาะการออกกำลังกล้ามเนื้อโครงสร้าง) ฯลฯ



ถ้าท่านเดิน-วิ่ง-จักรยานอยู่แล้ว... การขึ้นลงบันไดวันละ 4-7 นาที
(ทำทีละชั้น หรือ 2-3 ขั้นบันไดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำติดต่อกันพรวดเดียว)
มีส่วนช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้



...


ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



...


 > [ Twitter ]


ที่มา                                                         




  • Thank [ nytimes ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 3 กันยายน 2553.




  • ข้อมูล
    ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.










Free TextEditor


Create Date : 04 กันยายน 2553
Last Update : 4 กันยายน 2553 1:04:25 น. 3 comments
Counter : 1145 Pageviews.  
 
 
 
 
มาเก็บความรู้ค่ะ

ขอบคุณนะคะ
 
 

โดย: โสดในซอย วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:15:36:58 น.  

 
 
 

 
 

โดย: หน่อยอิง วันที่: 4 กันยายน 2553 เวลา:17:05:04 น.  

 
 
 
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ... //
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:12:38:13 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com