บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 สิงหาคม 2553
 

วิธีบรรเทาอาการ+ป้องกันปวดหลัง




จดหมายข่าวเว็บ
ไซต์ อ.นพ.เกบ เีมียคิน ฉบับ 18 กรกฎาคม 2553 ตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับกลไก
หรือสมมติฐานใหม่ของอาการปวดหลัง (ตีพิมพ์ใน Arthritis & Rheumatism,
July 2010), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ drmirkin ]



...


เดิมเราเชื่อ
กันว่า อาการปวดหลัง-ปวดเอว-ปวดไหล่ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้อิริยาบถไม่สมดุล
เช่น นั่งนาน โดยเฉพาะนั่งกับพื้น ยืนในท่าเดิมนาน การนั่งหลังงองุ้ม ฯลฯ
และการยกของหนัก



ความเชื่อเดิมนี้ไม่ใช่จะไม่ถูกต้อง ทว่า... ถ้านำผลการศึกษาใหม่มาเสริม น่าจะทำให้เราเข้าใจกลไก และป้องกันปวดหลังได้ดีขึ้น



...


หมอนรองกระดูก
สันหลังของคนเรามีลักษณะคล้ายถุงหนาที่ห่อหุ้มเจลข้นไว้ภายใน...
เจลเหล่านี้ได้รับน้ำ ออกซิเจน สารอาหารจากการซึมซาบของ "น้ำเลี้ยง" รอบๆ
ข้อ, ไม่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงด้านในโดยตรง



เนื้อเยื่อหนึ่งที่มีระบบ "น้ำวุ้น" แบบนี้ คือ ลูกตาส่วนหลัง (บางส่วน) ของคนเรา ซึ่งปกติจะไ่ม่สัมผัสกับเลือดโดยตรง 



...


ถ้าลูกตามีการ
บาดเจ็บ หรืออักเสบรุนแรง... อาจทำให้เนื้อเยื่อบางส่วน
ซึ่งเปรียบคล้ายสาวพรหมจรรย์ (virgin) จากระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย
หรือไม่เคยสัมผัส-พบปะกันมาก่อนได้พบกันเป็นครั้งแรก



ทว่า... แทนที่ "รักแรกพบ" กับระบบภูมิคุ้มกันนี้จะเป็นไปด้วยดี
กลับกลายเป็นระบบภูมิคุ้มกันมอง "ของแปลกใหม่" ว่า เป็นสิ่งแปลกปลอม
คล้ายพบเชื้อโรคครั้งแรก... ทำให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
เพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอม (คล้ายกับที่มุ่งทำลายเชื้อโรค)



...


ผลคือ ถ้าลูกตาข้างหนึ่งมีการบาดเจ็บ หรืออักเสบรุนแรงแล้ว... อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันพยายามทำลายสิ่งแปลกปลอม



หรือ "ของใหม่" ที่เพิ่ง "พบกันครั้งแรก" ทำให้ลูกตาอีกข้างเกิดการอักเสบ เสื่อมสภาพ หรือบอดได้



...


นี่เป็นเหตุผล
หนึ่งที่ว่า หมออาจแนะนำให้ควักลูกตาที่อักเสบ หรือบาดเจ็บรุนแรงออก
เพื่อรักษาดวงตาข้างที่เหลือไว้... (ไม่ให้บอด หรือเสื่อมสภาพตามไปด้วย)



ปรากฏการณ์ทำนองนี้พบใหม่ใน "ระบบวุ้นข้น (ถุงวุ้น+น้ำวุ้นข้น)" ซึ่งอยู่ด้านในหมอนรองกระดูกสันหลังที่ร้าว หรือแตกเช่นกัน



...


ทีมวิจัยจาก
มหาวิทยาลัยดุค US ค้นพบกลไกใหม่ว่า กลไกที่ำทำให้คนเราปวดหลัง...
ส่วนหนึ่งเิกิดจากปฏิกริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อ "ระบบวุ้นข้น" ที่แตก
หรือรั่วออกมาจากหมอนรองกระดูกสันหลัง



การศึกษานี้พบว่า สารอินเทอร์ลิวคิน-17 (interleukin-17) สูงขึ้นในคนไข้ที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังบาดเจ็บ



...


สารนี้พบสูงขึ้นในโรคหลายโรค เช่น หืดหอบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฯลฯ และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอีกหลายโรค



และอาจนำไปสู่การรักษารูปแบบใหม่ เพื่อลดการอักเสบ หรือกระบวนการ
"ทำลายตัวเอง" ต่อระบบวุ้นข้น (ถุงวุ้น+น้ำวุ้นข้น) คล้ายๆ
กับการรักษาโรคอื่นๆ ได้ในอนาคต



...


การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน ทว่า... พอจะบอกเราเป็นนัยว่า



ทางที่ดี คือ ป้องกันไม่ให้หมอนกระดูกสันหลังร้าวหรือแตกตั้งแต่ต้น ซึ่งจะง่ายกว่าไปตามแก้ไขแบบ "วัวหายแล้วล้อมคอก"



...


กล่าวกันว่า โรคปวดหลังส่วนใหญ่เป็นโรคจากอิริยาบถที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะการนั่ง หรือยืนอยู่ในท่าเดิมนานเกินไป เช่น เกิน 30 นาที/ครั้ง ฯลฯ



ทางที่ดี คือ หมุนเวียน-ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นประจำ เช่น นั่งในท่า
"เกือบตรง (ถ้าตรงเป๊ะจะกลายเป็นท่าเกร็งหลัง ทำให้ปวดหลังง่าย),
เมื่อนั่งนาน 30 นาที... ควรลุกขึ้นยืนสักครู่ แล้่วกลับไปนั่งใหม่ได้ ฯลฯ



...


นอกจากนั้น, ควรลุกจากเก้าอี้ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากท่านั่งเป็นท่าที่มีแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังสูงกว่าท่ายืน-เดิน-นอน



วิธีง่ายๆ คือ ตั้งเวลาเตือนไว้ เช่น ตั้งนาฬิกาปลุกเบาๆ
เพื่อเตือนให้ลุกขึ้นจากที่นั่ง เดินไปเดินมาสัก 2 -3 นาที ขึ้นลงบันไดสัก 1
ชั้น ปัสสาวะ ล้างมือด้วยสบู่ ดื่มน้ำ ฯลฯ แล้วค่อยกลับไปนั่งใหม่



...


การนั่งนานๆ เพิ่มเสี่ยง "โรคสมัยใหม่" มากมาย เช่น ปวดคอ-ปวดไหล่-ปวดหลัง-ปวดเอว, โรคอ้วน-อ้วนลงพุง ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอดที่ขา ฯลฯ, 



การหมุนเวียนสับเปลี่ยนอิริยาบถมีความสำคัญคล้ายๆ กับการกินอาหารที่ไม่ควรจำเจ-ซ้ำซาก-แบบเดิมๆ เรื่อยไป





...


ถ้าทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และลุกเดินไปเดินมา-ขึ้นลงบันได 1 ชั้น 5 นาทีทุกๆ 2 ชั่วโมง รวม 4 ครั้ง...



จะได้คะแนนออกกำลังสะสมเวลามากถึง 5 x 4 = 20 นาที เกือบเท่าวันละ 30
นาทีที่เป็นคำแนะนำสุขภาพมาตรฐาน หรือได้กำไรชีวิต (จากการออกกำลัง) ไปแล้ว
2/3 = 66.67% ทีเดียว



...


ถ้ายกของ...
ควรนำตัวเข้าไปชิดของ ย่อเข่าลง จัดหลังให้เกือบตรง
(ปกติหลังคนเราจะแอ่นหน้าเล็กน้อย
ถ้าจัดให้หลังตรงเป๊ะเป็นไม้กระดานจะทำให้หลังเกร็ง
และรับน้ำหนักได้น้อยลง) แล้วใช้แรง "ขา" ช่วยยกของ



ระวัง... อย่ายกของในท่าก้มตัวไปข้างหน้า โดยเฉพาะของที่หนัก



...


การฝึกกล้ามเนื้อโครงสร้าง หรือกล้ามเนื้อพยุงกระดูกสันหลัง-เชิงกราน ทั้งด้านหน้า-หลัง, ซ้าย-ขวา... มีส่วนช่วยป้องกันการปวดหลังได้



เมื่อคนที่กล้ามเนื้อโครงสร้างอ่อนแอยกของ... น้ำหนักเกือบทั้งหมดจะตกลงผ่านกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลัง



...


เมื่อคนที่กล้ามเนื้อโครงสร้างแข็งแรงยกของ... น้ำหนักส่วนหนึ่งจะกระจายผ่านลำตัว เนื่องจากกล้ามเนื้อโครงสร้างรอบๆ ลำัตัวจะช่วยเกร็ง



ทำหน้าที่คล้ายระบบไฮโดรลิคยกรถ คือ
ช่วยกระจายน้ำหนักส่วนหนึ่งไปทั่วท้องและหลัง
เปรียบคล้ายช่องท้องเป็นระบบไฮโดรลิค กระจายแรง
ทำให้น้ำหนักผ่านกระดูกสันหลัง-หมอนรองกระดูกสันหลังลดลง... ผลคือ
มีส่วนช่วยป้องกันหมอนรองกระดูกสันหลังร้าว-แรกได้ในระยะยาว

...



... 


การกินอาหาร
ต้านการอักเสบ โดยเฉพาะธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ฯลฯ,
เมล็ดพืช, ถั่วหรือนัท (nut = เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก เช่น
อัลมอนด์ ฯลฯ), ผัก, ผลไม้ทั้งผล (ดีกว่าน้ำผลไม้มากมาย),
ปลาที่ไม่ผ่านการทอด ให้มากพอเป็นประจำ



และอย่าลืมดื่มน้ำให้พอตั้งแต่แรกตื่นนอน เนื่องจากช่วงเช้าเป็นช่วงที่คนเราเสี่ยงขาดน้ำมากกว่าช่วงอื่นๆ ของวัน



...


ภาวะขาดน้ำทำให้ระบบวุ้นข้นในหมอนรองกระดูกสันหลัง และกระดูกอ่อนที่รองรับข้อต่อขาดน้ำ แฟบลง เสียรูป และบาดเจ็บได้ง่าย



ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



...


 > [ Twitter ]


ที่มา                                                         




  • Thank [ drmirkin ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 13 สิงหาคม 2553 > ยินดีให้ท่านนำบทความนี้ไปใช้ส่งเสริมสุขภาพได้ (CC: BY-NC-SA)




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ
    ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค
    ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล
    ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.











Free TextEditor


Create Date : 13 สิงหาคม 2553
Last Update : 13 สิงหาคม 2553 11:04:14 น. 0 comments
Counter : 986 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com