Group Blog
สิงหาคม 2554

 
1
2
13
14
15
16
17
18
20
 
 
All Blog
แมนดารินเฮ้าส์ (Mandarin House)


แมนดารินเฮ้าส์ (Mandarin House)



อยู่ใกล้ๆกับจตุรัสลิเลาครับ แค่เดินมาทางขวามือจะเป็นถนนเล็กๆนะครับ เลี้ยวเข้าไปเดินต่อไปอีกนิดเดียวก็จะถึง


Photobucket


Photobucket


จริงๆแมนดารินเฮ้าส์นี่มีอาณาเขตกว้างขวางมากๆ ตัวบ้านจะทอดยาวไปตาม Rue do Padre Antonio ซึ่งเป็นถนนที่เราเดินมาเมื่อกี้นี้จาก St. Lawrence Church ครับ

ส่วนทางเข้าบ้านนี้ต้องเลี้ยวเข้าไปตามถนนเล็กๆนี้เดินเลียบกำแพงสีเขียวๆนี่นิดนึงครับ เดินเข้ามาไม่เกิน 100 เมตรครับก็จะถึงประตูบ้าน


Photobucket


Photobucket



ทางเข้าหลักของบ้าน (Gatehouse) เป็นประตูแบบถดเข้ามานิดหนึ่งซึ่งเป็นแบบที่นิยมกันในแถบกวางตง ตกแต่งแบบจีนแท้ๆ แต่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกบางอย่าง ที่เห็นได้ชัดก็คือซุ้มประตูทางเข้าไม่ได้ทำเป็นรูปกลมเหมือนกันซุ้มประตูแบบจีนทั่วๆไป แต่กลับสร้างเป็นซุ้มประตูแบบเหลี่ยมธรรมดาๆซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยนั้น


Photobucket


ด้านในติดกับประตูทางเข้าหลักมี ศาลเทพเจ้าแห่งดิน (ตรงที่เป็นแท่นสีแดงๆ ครับ) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบมาเก๊าแท้ๆ แสดงให้เห็นถึงว่าเจ้าของบ้านหลังนี้เป็นผู้มีอันจะกิน สร้างเป็นแบบเรียบง่าย จากการบูรณะปฎิสังขรณ์พบว่าที่ศาลเจ้าแห่งนี้ทาสีทับกันถึง 18 ชั้น


Photobucket


เดินตรงเข้ามาจะเป็น Ticket Office ครับ แต่จริงๆแล้วไม่ต้องเสียเงินเลยครับ เค้าจะถามว่ามาจากประเทศอะไรก็เท่านั้นเองครับ


Photobucket


พอหันขวาไปปุ๊บให้มองขวาขึ้นไป จะให้ดูอะไรหน่อยนึงครับ

ลวดลายปูนปั้นตรงกลางอาคารของ Gatehouse เป็นลวดลายแบบจีนแท้ๆ ทำเป็นรูปต่างๆ ไม่เหมือนกัน วัดความยาวได้ทั้งหมด 15 เมตร


Photobucket


ตรงข้ามกับ ลวดลายปูนปั้นตรงกลางอาคารของ Gatehouse เป็น ซุ้มประตูวงพระจันทร์ (Moon Gate) จริงๆแล้วซุ้มประตูวงพระจันทร์ ได้ถูกทุบทิ้งไปก่อนปี 1950 แต่จากการบูรณะปฎิสังขรณ์พบว่าน่าจะมี ซุ้มประตูวงพระจันทร์ (Moon Gate)อยู่ตรงนี้จากร่องรอยอิฐบนกำแพง จึงได้ทำการบูรณะขึ้นมาใหม่ครับ


Photobucket


รูปนี้ถ่ายย้อนกลับไปเมื่อเดินเข้ามาได้ระยะนึงแล้ว


Photobucket


ที่อยู่ทางซ้ายมือตอนที่เราเดินเข้ามาตรงข้ามกับกำแพงบ้านคือ ทางส่งเกี้ยว (Sedan Way) ทางส่งเกี๊ยวจะอยู่ติดกับซุ้มประตูวงพระจันทร์ยาวมาจนถึง Ronglu Hallway (ประตูบานสีดำที่อยู่ส่วนท่ไกลสุดของรูป) ซึ่งเป็นประตูเปิดไปสู่ส่วนที่อยู่ของเจ้าของบ้าน เชื่อกันว่าแขกของเจ้าของบ้านจะนั่งเกี๊ยวมาลงตรงนี้ แล้วเดินต่อเข้าไปในบ้าน


Photobucket


Photobucket


Ronglu Hallway เป็นประตูที่ต่อไปจนถึงส่วนที่อยู่อาศัยของเจ้าของบ้าน ตัวประตูจะมี 2 ชั้น ชั้นนอกจะเป็นบานประตู 8 บาน แต่ประตูชั้นในมีแค่ 2 บาน สามารถที่ล็อคจากด้านในได้

ด้านหน้าที่ติดกับทางส่งเกี้ยวมีป้ายตัวหนังสือขนาดใหญ่เขียนคำว่า Ronglu Hallway ซึ่งหมายถึงบ้านของข้าราชการ ส่วนป้ายอักษรที่ติดอยู่ด้านบนประตูชั้นใน สลักโดย Zeng Guoquan

ตรงนี้มีทางแยกว่าจะเดินไปทางซ้าย หรือว่าไปทางขวา


ถ้าเดินไปทางซ้ายก็จะเป็นห้องที่จัดแสดงให้ทราบถึงประวัติของบ้านนี้ พร้อมกับคุณลักษณะพิเศษของบ้าน

ถ้าเดินไปทางขวาก็จะออกไปยังสวน และห้องต่างๆใน Wenchang Hall ที่อยู่ส่วนหน้าของบ้านได้



Photobucket


Photobucket


Wenchang Hall เป็นส่วนที่ใช้ทำการเรียนหนังสือ เป็นส่วนเดียวของบ้านที่สามารถเปิดถึงสวนได้ทำให้รู้สึกโล่ง โปร่งสบาย และเป็นยุทธวิธีที่ทำให้การเรียนสำเร็จผลมากเพราะนอกจากคนเรียนจะรู้สึกโล่ง โปร่งสบายแล้วยังมีผลให้มีจินตนาการในการเรียนด้วย

นอกจากส่วนนี้ของบ้านจะใช้ในการศึกษาแล้วยังใช้ในการเล่นหมากรุก เล่นดนตรี และวาดรูปอีกด้วย


Photobucket


Photobucket


Wenchang Hall อยู่ติดกันกับสวน เดินสวนมีรูปร่างอย่างไรไม่ปรากฏชัด แต่ว่าได้พบซากอิฐปูพื้น ในสมัยก่อนอิฐปูพื้นไม่ได้ใช้เพื่อปูพื้นถนนอย่างเดียวครับ แต่ใช้ปูในสวนอีกด้วย


Photobucket


เดินย้อนกลบมาที่ Ronglu Hallway แล้วเดินผ่านซุ้มประตูชั้นสองเข้าไปในเขตบ้านข้างในครับ



Photobucket


แมนดารินเฮ้าส์สร้างขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1869 โดย เฉิง กวนยิ่ง (Zheng Guanying) นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของมาเก๊า งานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนวัฒนธรรมจีนของเค้าได้รับอิทธิพลมาจาก ดร. ซุน ยัด เซ็น และ ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง

เป็นตัวอย่างที่ดีของบ้านอยู่อาศัยของชาวจีนโบราณ ซึ่งประกอบด้วยเรือนหลายหลัง มีอาณาบริเวณ และลานหน้าบ้าน ทั้งยังผสมด้วยรายละเอียดของความเป็นจีน และตะวันตกอย่างลงตัว อาทิ การใช้อิฐสีเทาประดับโค้งประตู หรือหน้าต่างระแนงทำจากไม้ซุง ประดับด้วยแผ่นกระดานสี่เหลี่ยมกรุมุกด้วยลวดลายอินเดีย

มีพื้นที่ทั้งหมด 4000 ตารางเมตร ประกอบไปด้วย gatehouse สวน ที่อยู่ของคนรับใช้ และ ที่อยู่หลักของเจ้าบ้าน ตัวบ้านทอดไปตามถนน Barra Street ถึง 120 เมตร มีห้องรวมกันทั้งหมด 60 กว่าห้อง ระว่างปี 1950-1960 ทายาทตระกูลเฉิงได้ย้ายออกไปจนหมดและปล่อยบ้านออกเช้า ตอนนั้นมีคนเช่าอยู่รวมกันถึง 300 กว่าคนเลยทีเดียว


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


ส่วนแรกของบ้านที่เราจะเข้าไปชมกันอยู่ตรงประตูแรกทางซ้ายมือติดกับ Ronglu Hallway เป็นส่วนที่เป็นห้องรับแขกของบ้านครับ จะมีสวนเล็กๆ อาคารชั้นล่างจะเป็นโถงโล่งๆ ชั้นบนก็จะเป็นห้องนั่งเล่นเหมือนกันครับ


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


พอเข้าประตูบ้านที่อยู่ด้านในสุดเข้ามาจะเจอ Yu-Qing-Tang หรือ Yuqing Mansion เป็นห้องกว้างๆ 2 ห้องติดกัน การที่มีห้องกว้างๆแบบนี้อยู่ติดกันจะช่วยในเรื่องการระบายอากาศทำให้มีอาการเย็นๆ ไหลเวียนอยู่ในบ้านตลอด คนที่อยู่ในบ้านก็จะรู้สึกสบาย

ห้องที่อยู่ด้านหน้าเป็นห้องนั่งเล่นมีประตูเลื่อนที่สามารถย้ายไปมาได้เพื่อสะดวกในการปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องหากต้องการใช้งาน งานสลักไม้เดิมทาสีทองเพื่อแสดงว่าครอบครัวนี้ร่ำรวยมากๆ

มีทางเดินออกไปสูลานเล็กๆ แล้วเดินต่อไปยังส่วนในๆของบ้านได้


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


อันนี้เป็นหนึ่งในหลายๆห้องที่เค้าแต่งไว้ให้ดูครับ น่าจะเป็นห้องของคนใช้ที่สนิทๆกับเจ้านายหน่อยครับ ส่วนห้องของนายๆ จะอยู่ชั้นบนของบ้านครับ


Photobucket


Photobucket


เดินเข้ามาด้านในจะเป็นห้องรับแขก


Photobucket


แล้วเดินขึ้นบันไดมาชมชั้น 2 กันครับ บันไดยังแข็งแรงอยู่นะครับ เวลาเดินขึ้นไม่มีเสียงออดแอดเลย


Photobucket


Photobucket



ที่ชั้น 2 จะเป็นโถงโล่งๆ คาดว่าน่าจะเป็นห้องนั่งเล่นครับ เราจะสามารถเห็นระบบการวางคานได้ชัดเจนเลยครับ นับว่าเป็นความฉลาดของชาวจีนโบราณในการสร้างระบบหลังคาที่สามารถสร้างหลังคากว้าง แล้วสูงๆได้


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket



ป้ายประจำตระกูลครับ สลักคำว่า Yu Ging ยู่กิง หมายถึง เช็ง เหวิน รุย ซึ่งเป็นชื่อตระกูลของ เช็ง กวน ยิง เจ้าของบ้านนี้ครับ ป้ายนี้ก็จะหมายความว่าเป็นบ้านของตระกูลเช็งครับ


Photobucket


พื้นปูกระเบื้องดินเผาแผ่นใหญ่ๆ


Photobucket


บริเวณห้องนี้มีฉากไม้หนาหนัก ยาวจรดพื้นอยู่หลายที่ ประโยชน์ก็เพื่อการแบ่งพื้นที่ใช้สอย และสามารถโยกย้ายได้ด้วยครับ


Photobucket


Photobucket


ที่ชั้นบนมีงานสลักไม้ชิ้นสำคัญคือ ประตูบานเฟื้ยม 12 บาน สลักด้วยไม้มะเกลือเป็นลวดลายสวยงามมาก


Photobucket



มองลงมาจากชั้นบน


Photobucket



Ji-Shan-Tang หรือ Jishan Mansion มีลักษณะการก่อสร้าง การตกแต่งคล้ายๆ Yuqing Mansion ครับ

Jishan Mansion แปลว่าห้องที่อยู่บนชึ้นสอง ซึ่งเป็นที่อยู่ของน้องขายของเจ้าของเดิม ต่อมาได้เป็นที่อยู่ของลูกหลานตระกูลเช็งสำหรับดูแลค่าเช่าเมื่อตอนที่ปล่อยบ้านให้คนเช่า บางห้องเป็นห้องทำงาน มีระเบียงยาวตลอด จากห้องนี้ถ้าเป็นสมัยก่อนก็สามารถมองเห็นทะเลได้เลยนะครับ


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket


หมดแล้วครับ แมนดารินเฮาส์ แต่จะให้ดูอะไรอีกอย่างนึงครับ เก๋ไก๋มากๆ ท่อน้ำฝนทำเป็นรูปไม้ไผ่ครับ คนทำก็ช่างคิดจริงๆนะครับ


Photobucket


Photobucket




ทนายอ้วนทัวร์ ...... เที่ยวไป.... ตามใจฉัน








Create Date : 30 สิงหาคม 2554
Last Update : 30 สิงหาคม 2554 7:55:20 น.
Counter : 5803 Pageviews.

4 comments
  
ขอตามมาเที่ยวเก็บบรรยากาศจีนโบราณด้วยคนค่า
โดย: หนีแม่มาอาร์ซีเอ วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:11:26:59 น.
  
ตามน้องบอลมาชมบ้านบรรยากาศจีนด้วยค่ะ ชอบบานเฟี้ยม 12 ชิ้นนั่นจัง สวยมากค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:12:15:34 น.
  
สวยค่ะสวย ขอบซุ้มประตูวงพระจันทร์ ถ่ายรูปออกมาสวยมาก
โดย: Schnuggy ชนุ๊กกี้ วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:14:47:40 น.
  
ตามมาชมค่ะ
ถ้ามีโอกาสไปต้องไม่พลาด ชอบค่ะ
โดย: fondakelly วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:20:34:57 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]