Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
7 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
วิธีเลี่ยงอาการจุกเสียดขณะวิ่ง

วิธีออกกำลังกาย

ให้สังเกตว่าในรายที่วิ่งแล้วเสียด ใช่หรือไม่ครับว่าการเสียดของคุณจะมีความสัมพันธ์กับความเร็ว
พูดง่ายๆ ก็คือเสียดเพราะวิ่งเร็ว และถ้าวิ่งให้ช้าลงก็จะเสียดน้อยลง
และถ้าหยุดวิ่งหรือเดินได้ก็จะยิ่งเลิกเสียดไปเลย
ปัญหาก็คือคุณกำลังทำเวลาอยู่ในสนามแข่ง ที่สถานการณ์ไม่อนุญาตให้คุณหยุดแม้แต่เบาความเร็วลง
ขืนแม้เพียงแผ่วลงเท่านั้น คุณก็มีหวังโดนแซงแน่ๆ จากผู้ที่กำลังตามติดมาทางข้างหลัง

ผู้ที่ทราบคนแรกก็คือตัวของเราเอง ที่แม้จะอุตส่าห์เก็บฟอร์มพยายามไม่ทำอาการอะไรให้กระโตกกระตาก
โดยพยายามย้ำประคองรักษาความเร็วไม่ให้ตก เพื่อจะค่อยไปว่ากันใหม่ในอีกสักโลสองโลข้างหน้า
แต่ก็ยังไม่เคยได้มีใครทำได้มิดชิด ความลับจะแตกภายในไม่กี่วินาทีเท่านั้น
และยิ่งผู้เสียดท้องทำใจได้ช้าเท่าไร ก็จะยิ่งทรมานใจมากเท่านั้น ยิ่งดื้อดึงยิ่งไม่ยอมจบ
ยิ่งดันทุรังก็ยิ่งพังพาบเร็วขึ้น ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นใครฝืนชะตากรรมได้พ้นสักราย
มีทางเดียวให้รีบทำใจ และปล่อยสถานการณ์ให้อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดไปตามธรรมชาติ
คือยอมช้าลง ยอมโดนแซง เป็นอันว่าวันนี้ไม่ใช่เป็นวันของเรา

และผู้เขียนก็ไม่เคยเห็นนักวิ่งใด ที่เกิดอาการจุกเสียดขณะวิ่งโดยไม่ได้วิ่งเร็ว (ตามฐานของเขา) เช่นกัน
อาการเสียดเป็นเสมือนปลายมีดตะขอแหลมจากคู่ต่อสู้ ที่วิ่งตามเรามาทางด้านหลัง
เหวี่ยงเสียบติดฉึกเข้าไปที่เนื้ออ่อนๆ ปลายชายโครงติดหนึบ โดยที่เราคลำหาด้ามเพื่อดึงออกไม่พบ
ผู้เขียนเคยโดน“มือดี” เหน็บตะขอติดเป็นของฝาก จนต้องยอมยกถ้วยให้เป็นของมันไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้ว
และทำนองเดียวกัน วันดีคืนดี เราก็เป็น “มือตะขอ” ที่วิ่งตามแชมเปี้ยนไป
กระทั่งแชมป์เหลียวมาพบแบบประหลาดใจ ก็มิรู้กี่ศพต่อกี่ศพแล้วอีกเหมือนกัน
เป็นเช่นนี้ทั้งสองแบบ มันดีจังตอนชนะเขา แต่อีตอนเราตัวงอส่ายไปส่ายมากลับสนุกไม่ออก


อาการเสียดเป็นอาการที่เกิดขึ้นแม้ในรายที่อาจจะฝึกมาดีแล้ว
ถ้าตราบใด เราเร็วเกินฐานของเรานั่นแหละเป็นเจอดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะพบในราว 1 ใน 3 ของทั้งหมด
และ 2 ใน 3 ไม่เกิด และอาจพัฒนาเปลี่ยนรูปไปได้
และที่สำคัญมันอยู่ตรงนี้เอง คือมันเปลี่ยนได้ แต่ต้องริทำที่สนามซ้อม ไม่ใช่สนามจริง

แนวปฏิบัติที่ผู้เขียนให้ไว้กับนักวิ่งที่มาฝึกด้วยเป็นแนวทางก็คือ จงอย่าหนีภาวะจุกเสียดให้มันเข้ามาเลย
แต่เราก็จะใช้วิธีหย่อนหน่อยนึงเมื่อมันเข้ามาทักทาย โดยตบความเร็วให้ช้าลงเล็กน้อย
ในลักษณะที่ผู้วิ่งยังต้องควบคุมความเร็ว ไม่ให้ตกลงวูบวาบ เป็นการบริหารความจุกประการหนึ่ง
ขณะเมื่ออาการกลับค่อยยังชั่วแล้ว (ไม่ใช่หาย) ก็ให้รีบคืนความเร็วที่หายไปเหมือนเดิม
และแน่นอนถ้าเป็นเช่นนั้น มันก็อาจกลับมาเสียดอีกย่อมมีความเป็นไปได้มาก
ก็ให้เราพยายามฝืนต่อไปทั้งๆ ที่ยังเสียดนั้น จนกระทั่งทนรู้สึกอีกไม่ไหวก็ให้หย่อนลงมาเหมือนเดิมเล็กน้อย
จนกระทั่งมันกลับเข้าที่อีกที อย่างที่เราพยายามก็ให้คืนความเร็วไปอีกครั้ง
ทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า มันจะเท่ากับเป็นการสอนให้ร่างกายรับมือกับภาวะเสียดนั้น
โดยจำลองสภาพการณ์ที่เหมือนจริง แต่ไม่ใช่เป็นการฝืนตลอดให้ร่างกายบอบช้ำมากเกินไป

และการฝึกเสียดเช่นนี้ ก็จะไม่หายไปในระยะเวลาการฝึกครั้งเดียวหรือแม้แต่หลายครั้งก็เถอะ
แต่ร่างกายจะค่อยๆ ผลักไสให้ภาวะทนที่ต้องทุกข์นั้นห่างออกไปและออกไปเรื่อยๆ
ตราบเท่าที่ร่างกายเราแข็งแกร่งขึ้นทีละน้อยนั่นเอง จนกระทั่งคุณจะไปเริ่มรู้สึกจุกเสียดอีกที
เอาตอนหลังเส้นชัย ถึงตอนนั้นเราไม่มีความจำเป็นจะต้องไปวอรี่มันอีกต่อไป
ด้วยไอ้ตับไตม้ามหรือกระเพาะ มันไม่ใช่อวัยวะที่ลอยเท้งเต้งอยู่ในช่องท้องเฉยๆ
หากแต่มันถูกเชื่อม, ยึด, โยงและแขวนอยู่ด้วยผังผืด และเส้นเอ็นกระบังลมแล้วไปติดกับกระดูกซี่โครงเราอีกที
ซึ่งเราก็จะรู้สึกเมื่อยเส้นเอ็นพังผืดและกระบังลมเหล่านี้ ที่ยังต้องรับแรงเครียดที่ต้องยึดโยงน้ำหนักเหล่านี้
ครั้งแล้วครั้งเล่ากับการกระแทก มันจึงเกิดการจุกเสียดขึ้น
หรือพูดอีอย่างให้เข้าใจขึ้นก็คือ ภาวะความจุกเสียดเป็นภาวะเกร็งตัวที่ก่อกำเนิดอย่างสะสม ไม่ใช่เกิดครั้งเดียว

Owen Anderson Phd. เจ้าเก่าได้ให้เราทดลองพยายามเลี่ยงมันด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
คือถ้าคุณรู้สึกเสียดในช่องท้องด้านขวา(ดังที่เรามักเป็นกันเสมอๆ)
ให้ลองกำหนดหายใจออก เมื่อเท้าซ้ายกระทบพื้น
และกลับกันในอีกด้านคือ ถ้าเสียดท้องทางด้านซ้าย ก็ให้ลองกำหนดหายใจออกเมื่อเท้าขวากระทบพื้น


อีกวิธีหนึ่งคือ พยายามฝึกหายใจด้วยช่องท้อง ด้วยการกำหนดเองอย่าปล่อยให้ธรรมชาติกำหนด
ด้วยการนอนหงายและใช้หนังสือโทรศัพท์หนักๆ วางบนช่องท้อง ณ ตำแหน่งที่มักรู้สึกเสียดเป็นประจำ
และพยายามยกหนังสือขึ้นด้วยการหายใจเข้า และผ่อนหนังสือลงด้วยการหายใจออก


Anderson ให้เหตุผลกระทำเช่นนี้ว่า เท่ากับเป็นการฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อช่องท้อง
ซึ่งเมื่อมันแข็งแกร่งขึ้น ก็เท่ากับเป็นการช่วยให้อวัยวะภายในถูกจัดวางอย่างมั่นคงมากขึ้น
ซึ่งเท่ากับมันจะถูกโยก, ดึง, รั้งให้น้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง

อีกประการหนึ่ง ผู้วิ่งจะลองฝึกทั้งสองประการนี้
ก็ต่อเมื่อเขารู้จักการกินการรับอาหาร และน้ำดื่มให้เหมาะสมด้วยเสียก่อนเป็นอันดับแรก
ไม่ใช่กินเสียแน่นไปหมดแล้วไปวิ่ง อย่างนี้ยังไงๆ ก็เอาไม่อยู่หรอกครับ


จาก A Stitch in Time….Hurts, Porter Shimer
แปลโดย กฤตย์ ทองคง
ที่มา : //www.thairunning.com


Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 16 พฤษภาคม 2553 1:59:42 น. 1 comments
Counter : 5335 Pageviews.

 
สำหรับสาระที่ดี เป็นความรู้ใหม่อย่างหนึ่งในการควบคุมอาการจุกเสียดขณะเล่นกีฤา


โดย: ขอบคุณคะ IP: 125.26.36.158 วันที่: 17 มกราคม 2553 เวลา:19:39:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.