Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
แก้โรคออฟฟิศด้วยท่ากายภาพ



คุณรัชนีวรรณ อดิศัยเผ่าพันธุ์ และ คุณพรสิริ ประเสริฐกุล เจ้าหน้าที่คลินิก คณะกายภาพบำบัด
และวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าสาเหตุและโรคต่างๆที่เกิดจากการทำงานว่า

“การบาดเจ็บที่พบบ่อยในคนทำงานส่วนใหญ่ เกิดจากท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่ดี หรือท่านั่งถูกต้องแล้ว
แต่ค้างท่าไว้นานเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
เช่น เมื่อเริ่มทำงานอาจนั่งตัวตรง มองหน้าจอตรง แต่พอเวลาผ่านไป ร่างกายเริ่มล้า
เราจึงทำท่าที่ต้องใช้พลังงานน้อยที่สุด นั่นคือการค้อมตัวลง ไหล่งุ้มลง ก้มคอลงและศีรษะยื่นมาด้านหน้า”

“เมื่อค้างท่าลักษณะดังกล่าวนาน จะทำให้เกิดการตึงตัวของเอ็นกล้ามเนื้อ
และทำให้การไหลเวียนของระบบเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี ในที่สุดจะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

“เมื่อเกิดการบาดเจ็บ ร่างกายก็จะมีการซ่อมแซมตัวเองในทันที
เนื่องจากกล้ามเนื้อประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเล็กๆ เมื่อได้รับการซ่อมแซมก็จะกลับเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว
แต่หากมีการบาดเจ็บซ้ำๆ ร่างกายก็จะซ่อมแซมอีก
แต่ในที่สุดกล้ามเนื้อจะเกิดเป็นพังผืด ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง”

“อาการเตือนของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเริ่มจากความเมื่อยล้า เมื่อพักก็จะหาย
แต่หากยังฝืนใช้งานต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อมากขึ้นและมีอาการรุนแรง

อาการที่พบบ่อยๆ คือ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อคอ บ่า เอ็น ข้อศอกอักเสบ
มือชาเนื่องมาจาการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ปวดหลังขณะนั่งนานๆ และปวดศีรษะไมเกรน”


กายภาพกำราบโรคไมเกรน
ท่ากายภาพ แบ่งเป็น

ท่าที่ 1
1. นั่งหลังตรง ก้มคางลงชิดอก
2. ประสานมือทั้งสองเข้าด้วยกัน วางด้านหลังศีรษะ ออกแรงกดค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง


ท่าที่ 2
1. นั่งหลังตรง ตั้งข้อศอกทั้งสองข้างขึ้น กางนิ้วมือเป็นรูปตัวแอล
โดยกางนิ้วหัวแม่มือออกให้ตั้งฉากกับนิ้วที่เหลือซึ่งเรียงชิดกัน

2. วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างใต้ฐานกะโหลกศีรษะซึ่งเป็นแอ่งเล็กๆ
ออกแรงกดเล็กน้อยแล้วหมุนวน นับ 1-10 ค้างไว้ ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ข้อควรระวัง หากขณะทำมีอาการคลื่นไส้อาเจียนต้องหยุดทำในทันที และรีบไปพบแพทย์



อาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก
ท่ากายภาพ แบ่งเป็น

ท่าที่ 1
1. นั่งตัวตรง เอียงคอไปด้านขวา
2. ยกมือขวาวางบนศีรษะ ออกแรงกดลง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง

ท่าที่ 2
นั่งหลังตรง ยกมือขวาวางบนไหล่ ออกแรงกด ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง



ท่ากายภาพ (แก้อาการปวดสะบักซึ่งมีอาการร้าวลงแขน)

ท่าที่ 3
1. นั่งหลังตรง ยกมือขวาวางบนไหล่ให้ศอกตั้งฉากกับพื้น
2. ยกมือซ้ายข้ามศีรษะไปจับข้อศอก ออกแรงดึงเข้า ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง

ท่าที่ 4
1. นั่งหลังตรง เหยียดแขนขวาออกมาด้านหน้า กำมือ ชูนิ้วหัวแม่มือลง
2. วาดนิ้วหัวแม่มือขวาลงข้างลำตัวซ้าย 3.ใช้มือซ้าย จับข้อศอกขวา ออกแรงดึงเข้าหาตัว ค้างไว้
นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง


อาการนิ้วล็อค
ท่ากายภาพ แบ่งเป็น

ท่าที่ 1
1. นั่งหลังตรง ประสานฝ่ามือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ยกขึ้นให้ขนานพื้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
2. หงายฝ่ามือที่ประสานกัน ออกแรงดันให้เหยียดไปข้างหน้า ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 2
1. นั่งหลังตรง เหยียดแขนขวาออกไปด้านหน้าให้ขนานกับพื้น กระดกข้อมือขึ้น
2. ใช้มือซ้ายจับนิ้วทั้งสี่ของมือขวา ออกแรงดันเข้าหาตัว ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง


อาการปวดหลัง
ท่ากายภาพ แบ่งเป็น

ท่าที่ 1
นั่งหลังตรง แล้วห่อไหล่ งอหลัง สลับกับยืดหลังให้ตรง ทำช้าๆ ต่อเนื่องกัน 10 ครั้ง

ท่าที่ 2
นั่งหลังตรง เอามือทั้งสองวางกับพื้นข้างตัว ออกแรงบิดที่เอว ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง

ท่าที่ 3
นั่งหลังตรง ดึงฝ่าเท้าทั้งสองเข้าหาลำตัวแล้วให้ฝ่าเท้าประกบกัน ก้มตัวลงให้หน้าผากแตะพื้น ค้างไว้
นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 4
นอนหงาย ยกเข่าซ้ายพาดข้ามลำตัว ใช้แขนขวาจับหัวเข่า ออกแรงดันลงด้านข้าง ค้างไว้
นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง สลับข้าง

ท่าที่ 5
นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองขึ้น ประสานมือใต้สอดใต้เข่า ออกแรงดันให้สะโพกลอยจากพื้น ค้างไว้
นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 6
ยืนหลังตรง เอามือทั้งสองจับบั้นเอว แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง


กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า
ท่ากายภาพ แบ่งเป็น

ท่าที่ 1
1. นั่งหลังตรงใช้นิ้วชี้ทั้งสองกดตรงหัวคิ้ว ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
2. เลื่อนนิ้วชี้มากดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ค้างไว้ นับ 1-10 ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 2
กรอกตา เป็นแนวรอบตามเข็มนาฬิกา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

การรักษาทางกายภาพบำบัดนั้นผู้ที่ควรระวังเป็นพิเศษ คือคนไข้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยมะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งกระดูก หรือผู้ที่มีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน
หากต้องไปทำกายภาพควรแจ้งให้นักกายภาพบำบัดทราบก่อน

“การบริหารต้องทำซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง แต่อย่าฝืนตัวเอง หากรู้สึกเจ็บแปล๊บ ปวดขณะทำต้องหยุดทำทันที
หรือจากทำกายภาพแล้วยังมีอาการปวดอยู่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที”


ข้อมูลโดย : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 267
ที่มา : //www.cheewajit.com





Create Date : 24 กรกฎาคม 2553
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 16:20:54 น. 0 comments
Counter : 2707 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.