Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
5 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
เตะลูกโทษอย่างฉลาด วิทยาศาสตร์กีฬาแนะ “บิดสะโพก-ใช้ลูกแป”

เทคนิค กีฬา

แนะเทคนิคเตะลูกโทษจากผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ การกีฬา ยิงให้แม่น “ใช้ลูกแป-บิดสะโพก”
เผยทีมฟุตบอลเยาวชนคว้าชัยจากบรูไนโดยอาศัยการฝึกซ้อมตามผลงานวิจัย

ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
เผยถึง งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของการเตะลูกโทษ ณ จุดโทษในกีฬาฟุตบอลว่า
ได้ทดลองเก็บข้อมูล การเตะลูกโทษของนักกีฬาฟุตบอลชายระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 20 คน
โดยใช้กล้องดิจิทัล 6 ตัวบันทึกภาพการเตะลูกโทษ ซึ่งนักเตะแต่ละคนจะติดตัวระบุตำแหน่ง (Reflexive marker)
ไว้ที่หัวไหล่ ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท่าและเท้าซ้าย-ขวา ทั้งนี้กล้องจะบันทึกการเคลื่อนไหว
โดยจับแสงสะท้อนจากตัวระบุตำแหน่ง

ภาพที่บันทึกได้นำไปวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ผลสำเร็จรูป ซึ่ง ดร.สุวัตรเผยถึงผลการวิจัยว่า
ตำแหน่งมุมล่างสุดของประตูเป็นพื้นที่ ซึ่งมีโอกาสเตะลูกเข้าประตูได้สูง
ทั้งการเตะลูกออกมาด้วยความเร็วสูงก็มีแนวโน้ม ที่ลูกจะเข้าประตูมากขึ้นเช่นกัน

นอกจากยังพบอีกว่า
หากนักเตะบิดสะโพกหรือข้อไหล่เพิ่มขึ้นประมาณ 4 องศาจะช่วยให้ความเร็วของลูกบอลเพิ่มขึ้น 1 เมตร/วินาที
หรือประมาณ 3.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง

อีกทั้งตำแหน่งของเท้าที่ใช้เตะยังมีผลต่อความแม่นยำในการยิง
โดย ดร.สุวัตรอธิบายหากเตะด้วยหลังเท้า (in step) จะให้ความเร็วสูงเพราะใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าเท้า
แต่มีพื้นที่กระทบลูกบอลน้อยจึงมีความผิดพลาดสูง
แต่หากเตะด้วยหน้าเท้าด้านใน (in foot) หรือลูกแปจะมีความเร็วน้อยกว่าการเตะแบบแรก
แต่มีความแม่นยำกว่าเพราะมีพื้นที่กระทบลูกมากกว่า
อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพิ่มความเร็วในการเตะลูกแบบหลังนี้ ให้บิดสะโพกและหัวไหล่เล็กน้อย
จะช่วยเพิ่มความเร็วในการเตะได้

สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลาทดลอง 3 เดือน โดยปัญหาและอุปสรรคที่พบนั้น ดร.สุวัตรเผยว่า
เป็นเรื่องความเข้มแสงในสนามกลางแจ้งที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากแสงมีความไม่สม่ำเสมอก็จะทำให้ข้อมูล ที่เก็บนั้นมีสัญญาณรบกวนมาก
ซึ่งเก็บข้อมูลได้ดีที่สุดช่วงเวลา 6.00 น.ที่แสงมีความสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ดียังมีอีกหลายปัจจัยที่มีผลต่อการยิงลูกโทษ โดย ผอ.วิทยาศาสตร์การกีฬาเผยว่า
ถ้าผู้รักษาประตูพุ่งตัวก่อนที่นักเตะจะยิงลูก ก็มีโอกาสป้องกันประตูได้สูง หากพุ่งตรงไปยังมุมที่นักเตะเล็งไว้
ทั้งนี้หากต้องการความแม่นยำให้เล็งตำแหน่งที่ห่างผู้รักษาประตู 1 ช่วงไหล่ เพราะการยิงใช้เวลาไม่กี่วินาที
แต่การพุ่งตัวรวมกับการใช้เวลาประมวลผลเลือกซ้าย-ขวาของผู้รักษาประตูนั้น ใช้เวลามากกว่า

ทางด้าน นายกวิน คเชนทร์ ศึกษานิเทศก์กองส่งเสริมวิชาการสถาบันการพลศึกษา
และที่ปรึกษาทีมฟุตบอลเยาวชนทีมชาติไทย อายุไม่เกิน 19 ปี กล่าวว่า
งานวิจัยนี้เป็นแนวทางสำคัญของการยิงลูกโทษให้สำเร็จ
โดยทีมเยาวชนได้ที่ได้ชัยชนะจากการแข่งขันฟุตบอล ที่บรูไนเมื่ออาทิตย์ที่ ผ่านมานั้น
สามารถเอาชนะคู่แข่งด้วยประตู 5 ต่อ 4 โดยอาศัยการฝึกซ้อมตามคำแนะนำของการวิจัย

ส่วน ดร.เสกสรร นาควงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กล่าวว่า
นอกจากวิทยาศาสตร์การกีฬา จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นเลิศทางด้านกีฬาแล้ว
ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับกิจกรรมของประชาชนทั่วไป
โดยได้ยกตัวอย่างงานวิจัยเรื่องการลงจากรถประจำทาง ณ ป้ายจอดโดยใช้แรงช่วยป้องกันการบาดเจ็บ
ซึ่งเป็นอีกงานวิจัยของ ดร.สุวัตร ก็เป็นงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
ที่ประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของมวลชน ได้ด้วย


ที่มา : //www.manager.co.th
ภาพจาก : //plus.maths.org


Create Date : 05 เมษายน 2553
Last Update : 5 เมษายน 2553 19:41:25 น. 1 comments
Counter : 2769 Pageviews.

 
ขอบคุณคะ


โดย: อร IP: 124.120.111.99 วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:8:59:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.