The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 

ร้อยเรื่องเยี่ยม (๔)

แปะตอนสุดท้ายไปก่อนนะคะ กระทู้ที่แล้วจะตามไปตอบอีกทีเน้อ

###

76. ภาพหลอนชีวิต ( A Portrait of the Artist as a Young Man )
โดย เจมส์ จอยซ์ ( James Joyce )

<<< คิดว่าน่าจะดีเหมือนกัน แต่ทำไมไม่รู้ ไม่ค่อยมีแรงผลักดันให้อยากอ่านเลย - -''

77. ภาพสะท้อนวิญญาณ ( The Picture of Dorian Gray )

<<< เคยทำรายงานตอนเรียนป.โท หาหนังสือที่ห้องสมุดไม่ได้เลยดูดจากโปรเจคส์กูเตนเบิร์กแล้วพรินท์ออกมาแทน
สนุกดี แต่ตอนอ่านยังคิดอยู่เลยว่า เนื้อหาส่อขนาดนั้น คนอ่านมันจะไม่รู้เรอะว่าพี่แกเป็นเกย์

78. พัดของคุณหญิง ( Lady Windermere’s Fan )

<<< เราเป็นแฟนออสการ์ ไวลด์ แต่เรื่องนี้ไม่เคยอ่านนิ

79. เจ้าชายแสนสุข ( The Happy Prince )
โดย ออสการ์ ไวลด์ ( Oscar Wilde )

<<< อ่านครั้งแรกตอนเด็ก ๆ เป็นรวมนิทานออสการ์ ไวลด์ ตั้งแต่นั้นก็หลงรักเฮียแกหัวปักหัวปำ และมาช็อคเอาภายหลังว่าเฮียช่างใช้ชีวิตหัวหกก้นขวิด แถมยังปากคอเราะรายกว่าที่คิดหลายเท่านัก (ตอนอ่านครั้งแรกคิดว่าเป็นลุงใจดีน่ารักอ่อนโยนอะ = ='')

80. นกไนติงเกลกับดอกกุหลาบ ( The Nightingale and the Rose )
โดย ออสคาร์ ไวลด์ ( Oscar Wilde )
แปลโดย ฉุน ประภาวิวัฒน์

<<< เหมือนข้างบน แต่เรื่องนี้ไม่อิน รู้สึกเว่อร์ไปหน่อย

81. อ้ายเหลือบ ( The Gadfly )
โดย อี. เอช. วอยนิช ( E. L. Voynich )
แปลโดย นารียา

<<< ไม่เคยได้ยินมาก่อน

82. เอ เฟเบิล ( A Fable )
โดย วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ ( William Faulkner )

<<< เคยได้ยินแต่ชื่อคนแต่ง ไม่รู้อะไรมากกว่านี้แล้ว

83. คนนอก ( L’etranger )
โดย อัลแบร์ กามู ( Albert Gamus )
แปลโดย อำพรรณ โอตระกูล

<<< อ่านครั้งแรกตอนอยู่ ป.หก สมัยนั้นมีชั้นหนังสืออยู่ตรงหน้าห้องพักครู เราชอบไปนั่งอ่านทุกพักเที่ยง (เคยลักลอบเอาสามก๊กฉบับวณิพกจากตู้ไปอ่านในห้อง ถูกจับได้และถูกริบ แต่ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะยังไงก็เป็นหนังสือของโรงเรียนอยู่แล้ว)
เนื่องจากตอนอ่านเด็กเกิดไป พออ่านจบแล้วเลยเกิดความเลื่อนลอยไม่เก็ตด๋อยอะไรเลย มาอ่านอีกทีตอนโตเพราะต้องเรียน ก็เก็ตขึ้นมาเล็กน้อย แต่ยังคงเลื่อนลอยเหมือนกัน (เรามิมีชะตาต้องกันดอก)

84. โชกุน ( Shogun )
โดย เจมส์ คลาเวลล์ ( James Clavell )
แปลโดย ธนิต ธรรมสุคติ

<<< เคยเห็นแต่หนังสือ หนุกเปล่าเนี่ย จะได้หาอ่าน

85. น้ำหอม ( Das Parfum )
โดย พัทตริค ซีสคินด์ ( Patrick Suskind )
แปลโดย สีมน

<<< กรี๊ดสลบ

86. สาวน้อย / สี่ดรุณ ( Little Women )
โดย ลุยซา เมย์ อัลคอตต์ ( Louisa May Alcott )
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< อ่านนานแล้ว แต่อ่านไม่จบ มารู้ตอนจบตอนดูหนัง ที่อ่านไม่จบเพราะเสือกไปอ่านคำนำวิเคราะห์หนังสือ แล้วมันวิเคราะห์แบบพูดจาถากถางเสียดสีไงไม่รู้ พอกลับไปอ่านเนื้อเรื่องเลยไม่อิน ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเป็นโรคเกลียดคนวิจารณ์แบบเสียดสีโดยไร้เหตุผลอันควร และถ้าอยากอ่านหนังสือเล่มไหนจริง ๆ ก็จะงดไม่อ่านวิจารณ์ก่อน

87. รูทส์ ( Roots )
โดย อเล็กซ์ ฮาลีย์ ( Alex Haley )
แปลโดย ปราณี วงษ์เทศ และคณะ

<<< ไม่รู้ใช่เล่มที่คิด ที่เกี่ยวกับบรรพบุรุษคนผิวดำหรือเปล่า ถ้าเป็นเล่มนั้นก็คิดว่าอยากจะหาอ่านสักครั้ง

88. โลลิต้า ( Lolita )
โดย วลาดิมีร์ นาโบคอฟ ( Vladimir Nabokov )
แปลโดย นายตำรา ณ เมืองใต้ )

<<< ว่าจะอ่านแต่ไม่ได้อ่านสักที

89. แฟรงเกนสไตน์ ( Frankenstein )
โดย แมรี่ เชลลี่ย์ ( Mary Shelley )

<<< เคยอ่านแต่ฉบับย่อ ฉบับจริงพยายามอ่านแล้วแต่ไม่จบ
ของแมรี เชลลีย์ มีเรื่องชื่ออะไรทำนอง the last man (ถ้าจำผิดพลาดขออภัย) ในครอบครองด้วย เล่มนั้นอยากอ่านแต่อ่านไม่รอด สงสัยเพราะอ่านสำนวนแบบเก่าไม่ชิน

90. พ่อกอริโยต์ ( Le pere Goriot )
โดย ออนอเร่ เดอ บัลซัค ( Honore de Balzac )
แปลโดย ลัดดา วงศ์สายัณห์ , วัลยา วิวัฒน์ศร

<<< เล่มนี้มีในครอบครอง เคยเอาลง LIF ด้วย แต่ตัวเองกลับอ่านไม่รอด แบบว่าอ่านไปสักพักแล้วมันเห็นลางบัดซบลอยมาอะ

91. บุกบาดาล ( A Journey to the Center of the Earth )

<<< อยากอ่าน ชอบจูลส์ เวิร์น

92. 80 วันรอบโลก ( Round the World in Eighty Days )

<<< อ่านแต่เรื่องย่อ ดูหนัง ดูตูน

93. ใต้ทะเล 20,000 โยชน์ ( 20,000 Leagues Under the Sea )
โดย จูลส์ เวิร์น ( Jules Verne )

<<< รู้แต่เรื่องย่อ อยากอ่านเหมือนกัน
ค้นพบว่าตัวเองชอบจูลส์ เวิร์น แต่ไม่เคยอ่านหนังสือเขาจริง ๆ เลยสักเล่มเดียว ขอโทษนะคะป๋า

94. หมอคนบาป ( The Ciladel )
โดย เอ. เจ. โครนิน ( A. J. Cronin )
แปลโดย นรชาติ

<<< ไม่เคยได้ยินชื่อ

95. หัวอกพ่อ ( A Family Man )
โดย มิกเฮล โชโลคอฟ ( Mikhail Solokhov )

<<< ไม่เคยได้ยินชื่อ

96. ผู้มาเยือนยามวิกาล ( The Night Visitor )
โดย บี. ทราเวน ( B. Traven )
แปลโดย เพ็ญพิมล สมบูรณ์สุข

<<< ไม่เคยได้ยินชื่ออีกแล้ว

97. ยอดคนเดนทุ่ง ( The Shadow Riders )
โดย หลุยส์ ลามูร์ ( Louis L’Amour )
แปลโดย ศักดิ์ บวร

<<< ทำไมมีหลุยส์ ลามูร์ในลิสต์ได้อะ ไม่ใช่แกเขียนเรื่องไม่ดีนะ แต่เราว่าแกไม่ค่อยเข้าพวกนิ - -'
ของลามูร์เคยอ่านสองสามเล่มที่เป็นคาวบอย แต่จำไม่ได้ว่าอ่านเล่มไหนบ้าง แล้วก็เรื่องที่เป็นยุคกลาง หนุกดีแบบแมน ๆ

98. ชาลาโก ( Shalago )
โดย หลุยส์ ลามูร์
แปลโดย ประมูล อุณหธูป

<<< เหมือนข้างบน

99. นวนิยายนักสืบชุด เชอร์ล็อค โฮล์มส์ ( Sherlock Holmes )
โดย เซอร์ อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ( Sir Arthur Conan Doyle )

<<< ชอบ ๆ ^^

100. กับดัก ( Mouse Trap )
โดย อกาธา คริสตี้ ( Agatha Christie )
แปลโดย ดวงตา

<<< อ่านแล้วช่วงที่อ่านอกาธาเยอะ ๆ นั่นแหละ

###

หลังจากทำจนหมดแล้วก็คิดว่ามันช่างเป็นลิสต์ที่ประหลาดดีแท้ สรุปว่าตูได้มันมายังไงเนี่ย




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 4:38:47 น.
Counter : 1863 Pageviews.  

ร้อยเรื่องเยี่ยม (๓)

กระบวนการปะรายชื่อนิยายเก่ายังคงดำเนินต่อปาย...

###

51. ฝันที่ยิ่งใหญ่ ( Great Expectations )

<<< เคยอ่านเรื่องย่อแต่ลืมไปแล้ว จำได้แต่ว่านางเอกถูกเลี้ยงมาให้ดูถูกผู้ชาย (ใช่ไหมอะ) แล้วมีหนพระเอกเล่นไพ่ชนะมันเลยเรียกไปจูบซะเลย ชอบฉากนั้นน่ะ...

52. โอลิเวอร์ ทวิสต์ ( Oliver Twist )

<<< เคยแต่ดูหนัง อีมุกขอเติมข้าวนี่เห็นประจำเลยนิ

53. นิยายสองนคร ( The Tale of Two Cites )

<<< ไม่เคยอ่านเพื่อหลีกเลี่ยงความบัดซบ (ฉันรู้หรอกว่ายังไงพวกแกก็ต้องตาย)

54. เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ( David Copperfield )
โดย ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์ ( Charles Dickens )
แปลโดย สายธาร / หน่าจ้อย

<<< จำไม่ได้แล้วว่าเป็นเรื่องไหน อาจจะจำสับกะ Great Expectations ก็ได้นะเนี่ย

55. รำลึกชีวิตคริสต์มาส ( A Christmas Carol )
โดย ชาร์ลส์ ดิคเก้นส์
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< สุดที่ร้าก อ่านครั้งแรกตอนอยู่ประถม มีคนเขาเอาหนังสือแปลแบบย่อเล่มบาง ๆ ขายเด็กมาขายที่โรงเรียน อุตส่าห์ซื้อมาเพราะคิดว่าคงเป็นเรื่องน่ากลัว (บางทีชีก็อยากอ่านเรื่องน่ากลัว) ปรากฏว่าไม่น่ากลัวแต่ว่าน้ำตาแตกตายอยู่แถวนั้นไปเลย

56. ทิวลิปดำ ( The Black Tulip )
โดย อเล็กซังเดอร์ ดูมาส์ ( Alexandre Dumas )
แปลโดย สายธาร

<<< บ่ฮู้จัก

57. หน้ากากเหล็ก ( The Man in the Iron Mask )
โดย อเล็กซังเดอร์ ดูมาส์
แปลโดย สุรัตน์ ปรีชากุล

<<< ไม่ได้อ่าน เคยแต่ดูหนัง สามทหารเสือเคยอ่านแต่เรื่องย่อ ว่าแต่ทำไมลิสต์มันไม่มีสามทหารเสือล่ะเนี่ย มันมีคนแปลแล้วไม่ใช่หรือไง

58. โมบี้ ดิ๊ค ( Moby Dick )
เฮอร์แมน เมลวิลล์ ( Herman Melville )
แปลโดย สายธาร

<<< เคยอ่านแต่เรื่องย่อ แถมอ่านไม่จบด้วย อาจจะเพราะอ่านตอนเด็ก ๆ เลยไม่เก็ต

59. นักดาบนครดำ ( The Prisoner of Zenda )
โดย แอนโทนี่ โฮบ ( Anthony Hope )
แปลโดย สายธาร

<<< เคยอ่านเรื่องย่อภาษาอังกฤษที่ทำเป็นหนังสือเรียน ลืมเรื่องไปเกือบหมดแล้ว แต่จำได้ว่าเฉย ๆ ไม่มันอย่างที่หวังไว้

60. พรานทะเล ( The Sea-Wolf )

<<< ไม่รู้จัก

61. มาร์ติน อีเดน ( Martin Eden )
โดย แจ๊ค ลอนดอน ( Jack London )
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< ไม่รู้จัก ของป๋าคนนี้รู้จักแต่เขี้ยวขาวอะ เรื่องนั้นก็เคยอ่านแต่เรื่องย่อ

62. การลักพาตัว ( ทายาทตระกูลชอวส์ ) ( Kianapped )

<<< เคยอ่านเรื่องย่อ แล้วก็ดูหนัง ชอบเฮียที่คอยดูแลพระเอก

63. เกาะมหาสมบัติ ( Treasure Island )
โดย โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน ( Robert Louis Stevenson )
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< อ่านเรื่องย่อกับดูหนังเหมือนกัน คิดว่าจริง ๆ แล้วลอง จอห์น ซิลเวอร์เป็นพระเอกตะหาก

64. เพรียวลมในพงหลิว ( The Wind in the Willows )
โดย เคนเน็ธ แกรม ( Kenneth Grahame )
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< เคยอ่านนานจนลืมไปแล้ว เวลาทำธีสิสอ่านเทกซ์เกี่ยวกับวรรณกรรมเยาวชนจะมีนังเรื่องนี้โผล่ออกมาตลอดเวลาจนชักรู้สึกเหม็นหน้า

65. โรบิน ฮู้ด ( Robin Hood )
โดย หลุยส์ เรด ( Louis Red )
แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย

<<< ชอบโรบินฮู้ดอย่างแรง แต่ไม่ชอบที่จบเศร้า เลยอ่านไปถึงกลางเล่มแล้วพอมันมีแววบัดซบก็ข้ามไปดูว่าจบไง แล้วก็เลิกอ่าน

66. กษัตริย์อาเธอร์และอัศวินโต๊ะกลม ( King Arthur and His Knights of the Round Table )
โดย โรเจอร์ แลนซ์ลิน กรีน ( Roger Lancelyn Green )

<<< ไม่แน่ใจว่าอ่านเวอร์ชั่นนี้แล้วหรือยัง อาจจะอ่านเป็นเรื่องย่อก็ได้มั้ง

67. บัณฑิตก่อนเที่ยงคืน ( Jou Pu Tuan / โย่ว ผู-ถวน )
โดย ลี่-หยู ( Li Yu )
แปลโดย ชลันธร

<<< ไม่ได้อ่านจ้า

68. โจนาธาน ลิฟวิงสตัน นางนวล ( Jonathan Livingston Seagull )
โดย ริชาร์ด บาค ( Richard Bach )
แปลโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช / ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

<<< อ่านแหล่ว จริง ๆ ตามหาอ่านเพราะเจอนางเอกพูดถึงในเรื่อง "แตงดองแกล้มชอคโกแลต" ...มันก็สัจธรรมดีนะ แต่บางทีก็รู้สึกว่าไกลเราไปหน่อยน่ะ
ป.ล. ได้ยินว่าเฮียคนเขียนแกปั้นเรื่องนี้อยู่ 27 ปี เพราะเขียนตอนจบที่พอใจไม่ได้หรือไงนี่แหละ

69. หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ( One Hundred Years of Solitude )
โดย การ์เบรียล การ์เซีย มาร์เควซ ( Gabriel Garcia Marques )
แปลโดย ปณิธาน – ร. จันเสน

<<< อ่านแล้ว จริง ๆ ตั้งต้นอ่านหลายรอบ แต่เพิ่งอ่านจบสำเร็จเมื่อไม่นานมานี้ ฮาดี แต่ว่าก็เศร้ามาก ๆ ด้วย

70. ลอร์ดน้อย ฟอนเติ้ลรอย ( Little Lord Fauntleroy )
โดย แฟรนซิส เอช. เบอร์เนทท์ ( Frances Hudgson Burnett )
แปลโดย เนื่องน้อย ศรัทธา

<<< ท่านเอิร์ลที่ร้ากกก

71. เจ้าหญิงน้อย ( A Little Princess )
โดย แฟรนซิส เอช. เบอร์เนทท์
แปลโดย ขลุ่ยไผ่

<<< ว่าจะอ่านหลายหนก็ไม่ได้อ่านสักที (เออ ว่าแต่ทำไมไม่มีสวนปริศนาด้วยล่ะเนี่ย)

72. สงครามและสันติภาพ ( War and Peace )
โดย ลีโอ ตอลสตอย ( Leo Tolstoy )
แปลโดย พลตรีหลวงยอดอาวุธ ( ฟ้อน ฤทธาคนี )

<<< เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่ได้อ่านสักที

73. แอนา คาเรนินา ( Anna Karenina )
โดย ลีโอ ตอลสตอย

<<< เหมือนข้างบน (ของตอลสตอยเคยอ่านแต่ที่เป็นนิทานมั้ง)

74. ทาสชีวิต ( Of Human Bondage )
โดย ซัมเมอร์เซท มอห์ม ( W. Somerset Maugham )

<<< ไม่เคยได้ยิน ชื่อฟังดูบัดซบนิ

75. บทเพลงแห่งเพลงทั้งหลาย ( Das hohe Lied or The Song of Songs )
โดย แฮมัน ชูแดมัน ( Herman Schuderman )

<<< ไม่เคยได้ยินเหมือนกัน




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 4:38:11 น.
Counter : 3318 Pageviews.  

ร้อยเรื่องเยี่ยม (๒)

มาต่อกันเต๊อะ

26. คนขี่เสือ ( He Who Rides a Tiger )
โดย ภาวนี ภัฏฏาจารย์ ( Bhavandi Bhattacharya )
แปลโดย ทวีป วรดิลก / จิตร ภูมิศักดิ์

<<< เพียงเห็นชื่อเรื่องและชื่อคนแปลก็รู้สึกมีเหมือนลางบัดซบลอยมา ชีเลยไม่อ่านเสียอย่างนั้นเอง

27. ต้นส้มแสนรัก ( My Sweet-Orange Tree )
โดย โจเซ่ วาสคอนเซลอส ( Jose Vasconcelos )
แปลโดย มัทนี เกษกมล

<<< นิยายบริหารต่อมน้ำตา จขบ.อ่านแล้วน้ำตาแตกตายคาเตียง (นอนอ่านบนเตียง)

28. ลอร์ดจิม ( Lord Jim )
โดย โจเซฟ คอนราด ( Joseph Conrad )
แปลโดย วานาศรี สามเสน

<<< ว่าจะอ่านแต่ไม่ได้อ่านสักที

29. กะเรียนพันตัว ( Thousand Cranes )
โดย ยาสึนาริ คาวาบาตะ
แปลโดย วัฒนา พัฒนพงศ์

<<< มันคือเรื่องที่เป็นนิทานเขาเล่ากันเยอะ ๆ หรือเปล่าอะ ถ้าใช่ก็เคยฟังแต่นิทานน่ะนะ

30. เล่ห์เสน่หา ( Binotini )
โดย รพินทรนาถ ฐากูร ( Rabindranath Tagore )
แปลโดย พงษ์เทพ

<<< ชอบรพินทรนาถ เล่มนี้อาจารย์แนะนำให้อ่านนานแล้ว แต่ไม่ได้อ่านสักที (มันมีออร่าบัดซบแผ่ออกมาจากด้วยอะ)

31. ชู้รักเลดี้ แชตเตอร์เลย์ ( Lady Chatterley ‘s Lover )
โดย ดี. เอช. ลอเรนซ์ ( D. H. Lawerence )
แปลโดย ชมพูนุช

<<< ว่าจะอ่าน แต่ก็ไม่ได้อ่านสักที

32. ความฝันในหอแดง (Hong Lou Meng)
โดย เฉาเฉวี่ยฉิน หรือ เฉาเสี่ยฉิ้น ( Tsao Hsueh-Chin )
แปลโดย วรทัศน์ เดชจิตกร

<<< อ่านแล้วรำคาญพระเอก รำคาญนางเอก ชอบ "ตัวอิจฉา" (เรียกว่าตัวอิจฉาได้หรือเปล่านะ) ช่วงแรกที่เฉาเสี่ยฉิ้นเขียนเอง แม้จะมีเรื่องเยอะจนดูเรื่องหลักไม่เดิน แต่ก็สนุกอะ แต่ช่วงหลังที่มีคนแต่งต่อรู้สึกว่าเขาพยายามรวบรัดให้ตรงประเด็นจะได้จบสักที เลยรู้สึกเหมือนถูก deprive อยู่นิดหน่อย

33. นวนิยายชุด “ บ้านเล็ก “ ( Little House Series )
โดย ลอรา อิงกัลล์ส์ ไวเดอร์ ( Laura Ingalls Wilder )
แปลโดย สุคนธรส

<<< อ๊ายยยยยยยยย > <'
ป.ล. ว่าจะอ่านซ้ำอีกรอบหลายทีแล้ว แต่ก็ไม่ได้อ่านสักทีจนป่านนี้แฮะ

34. ทรัพย์ในดิน ( The Good Earth )
35. สายโลหิต ( Sons )
36. บ้านแตก ( A House Divided )
โดย เพิร์ล เอส. บั๊ค ( Pearl S. Buck )
แปลโดย สันตสิริ

<<< อ่านทรัพย์ในดินได้ครึ่งเล่ม พอตาหวางหลุงได้เมียใหม่ลืมเมียเก่าก็เขวี้ยงทิ้ง
อ่านสายโลหิตได้ครึ่งเล่ม แล้วก็ไม่ได้อ่านต่อเพราะอะไรจำไม่ได้ จากนั้นก็ไม่ได้อ่านบ้านแตกอีกเลย

37. ชั่วนิจนิรันดร ( La Nuit des Temps )
โดย เรอเน่ บาร์ฌาแวล ( Rene Barjavel )
แปลโดย กัญญา

<<< หนุกดี แต่ว่าหลังจากอ่านจบก็คิดในใจว่า "แกเป็นนิยายรักที่ปลอมตัวเป็นไซไฟนี่หว่า กี๊ด"

38. ชั่วนิรันดร์ ( Tuck Everlasting )
โดย นาตาลี แบ๊บบิตต์ ( Natalie Babbitt )
แปลโดย สุริยฉัตร ชัยมงคล

<<< อ่านตอนเด็ก ๆ แล้วอ่านไม่จบเพราะอะไรจำไม่ได้

39. เดอะ ก็อดฟาเธอร์ ( The Godfather )
โดย มาริโอ ฟูโซ ( Mario Puzo )
แปลโดย ธนิต ธรรมสุคติ

<<< ยังไม่ได้อ่านเลย

40. เหยื่ออธรรม ( Les Miserables )
โดย วิคเตอร์ ฮูโก ( Victor Hugo )
แปลโดย จูเลียต

<<< กรี๊ดสลบและโอตาคุอยู่

41. นายแพทย์ชิวาโก ( Doctor Zhivago )
โดย บอริส ปาสเตอร์แน็ก ( Boris Pasternak )
แปลโดย อาษา ขอจิตต์เมตต์

<<< เคยดูหนังแว้บ ๆ ตอนใกล้ ๆ จบ มีออร่าบัดซบแผ่ออกมาจากจออย่างเป็นล่ำเป็นสัน

42. พี่น้องคารามาซอฟ ( The Brothers Karamazov )
โดย ฟีโอโดร์ ดอสโตเยสกี ( Fyodor Dostoevsky )
แปลโดย สดใส

<<< ว่าจะอ่าน เคยดูหนังตอนใกล้ ๆ จะจบเหมือนกัน ตอนแรกนึกว่ายูล บรินเนอร์เล่นเป็นพระเอกซะอีก

43. เจนแอร์ ( Jane Eyre )
โดย ชาร์ล็อต บรองเต ( Charlotte Bronte )
แปลโดย ประเวศ ศรีพิพัฒน์

<<< ม่ายล่ายอ่านและไม่มีแผนการ

44. นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ( A Man Called Intrepid )
โดย วิลเลียม สตีเวนสัน ( Willam Stevensson )
ทรงแปลโดย พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

<<< ไม่ได้อ่านเหมือนกันนิ

45. สิทธารถะ ( Siddhartha )
โดย เฮอร์มาน เฮสเส ( Hermann Hesse )
แปลโดย สดใส

<<< ไม่ค่อยแน่ใจว่าคนเขียนกะจขบ.จะเห็นเหมือนกัน จขบ.เลยเกิดอหังการ์และอคติและไม่อ่านดื้อ ๆ (แต่ก็คิดว่าสักวันจะอ่านนะ)

46. กัลลิเวอร์ผจญภัย ( Gulliver’s Travel )
โดย โจนาธาน สวิฟท์ ( Jonathan Swift )
แปลโดย กุณฑลี

<<< ป๋าคะ จริง ๆ แล้วป๋าไม่น่าเป็นนักเขียนเรื่องเสียดสีเลย ป๋ามีพรสวรรค์ด้านเขียนนิยายแฟนตาซีต่างหาก

47. การผจญภัยของทอม ซอว์เยอร์ ( The Adventures of Tom Sawyer )

<<< ม่ายล่ายอ่าน

48. การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี ฟินน์ ( The Adventures of Huckleberry Finn )

<<< ม่ายล่ายอ่านด้วยเหตุผลเดียวกับเรื่องข้างบน (รู้สึกเหมือนไม่กินเส้นกับมาร์ค ทเวนยังไงชอบกล)

49. เจ้าชายกับยาจก ( The Prince and the Pauper )
โดย มาร์ค ทเวน ( Mark Twain )
แปลโดย ธารพายุ / หน่าจ้อย

<<< อ่านแต่เรื่องย่ออะ ก็หนุกดีนุ
ป.ล. เคยได้ยินว่ามาร์ค ทเวนโกรธกับคนเขียนลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยด้วย เหมือนแกจะว่าคนเขียนเรื่องฟอนเติ้ลรอยเอาพล็อตเรื่องเจ้าชายกับยาจกของแกไปโม แต่ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหนนะ

50. ดอนกีโฮเต้ ( The Adventures of Don Quixote )
โดย มิเกล เดอ เซอร์แวนเตช ( Miguel de Cervantes Saavedra )

<<< อ่านแต่เรื่องย่อเหมือนกัน อธิบายความรู้สึกไม่ถูก - -''




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 4:37:37 น.
Counter : 3901 Pageviews.  

ร้อยเรื่องเยี่ยม (๑)

เจอเจ้านี่ในเครื่อง ความทรงจำหายไปแล้วว่าได้มาจากไหน ได้มาได้ยังไง (ก็อปมาจากเว็บหรือเปล่า หรือว่าบ.ก.ให้มานะ ถ้าก็อปของใครมาก็ขอโทษด้วยนะคะ = ='') แต่ไหน ๆ เจอแล้วเลยทยอยมาปะไว้ดูเล่น ชวนคุยกัน รู้สึกว่าจะเป็นร้อยเรื่องเยี่ยมของอะไรสักอย่างนี่แหละนะ...

1. สาวทรงเสน่ห์ ( Pride and Prejudice )
โดย เจน ออสเตน ( Jane Austen )
แปลโดย จูเลียต

<<< อ่านตอนอยู่มัธยม เป็นหนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษ ได้ดูหนังด้วย จำได้ว่าในหนังอีตาดาร์ซีแอบตลกอะ

2. เทสส์ผู้บริสุทธิ์ ( Tess of the d’Urbervilles )
โดย โทมัส ฮาร์ดี้ ( Thomas Hardy )
แปลโดย จูเลียต

<<< ไม่เคยอ่าน เพราะแค่เห็นชื่อก็เกิดอคติว่า "ต้องบัดซบแน่ ๆ เลย" เลยไม่อ่านเสียอย่างนั้น (จขบ.นิสัยไม่ดี)

3. รีเบคกา ( Rebecca )
โดย ดาฟเน ดู โมริเยร์ ( Daphne Du Maurier )
แปลโดย พิมพา จันทพิมพะ

<<< เล่มนี้อ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษเหมือนกัน จำได้ว่าครูให้สอบอ่านออกเสียง แล้วเราทำเสียงอินโคตร ครูเลยให้คะแนนเยอะ (อินตอนไหนก็จำไม่ได้แล้ว ตอนแม็กซิมสารภาพความจริงมั้ง)

4. วัทเตอริง ไฮทส์ ( Wuthering Heights )
โดย เอมิลี บรองเต ( Emily Jane Bronti )
แปลโดย พิมพา จันทพิมพะ

<<< ว่าจะอ่านแต่ไม่ได้อ่านสักที

5. มาดามโบวารี ( Madame Bovary )
โดย กุสตาฟ โฟลแบรต์ ( Gustave Flaubert )
แปลโดย วิทย์ ศิวะศริยานนท์

<<< ว่าจะอ่านแต่ไม่ได้อ่านสักทีเหมือนกัน

6. เต็ลมา ( Thelma )
โดย แมรี่ คอเรลลี ( Marie Corelli )
แปลโดย ศ.ร.

<<< ว่าจะอ่าน แต่พออ่านเรื่องอื่น ๆ ของแมรี่ คอเรลลีไปสองสามเรื่องก็ชักเข็ดกับความ occult เลยไม่ได้อ่านต่อ

7. ขุนคลัง ( The Sorrows of Satan )
โดย แมรี่ คอเรลลี
แปลโดย อมราวดี

<<< อ่านแล้ว ตลกอะ แบบเจ๊แกเสียดสีวงการหนังสือ ด่าพวกที่โจมตีตัวเอง แถมยังเขียนให้ตัวละครที่เหมือนตัวเองมาก ๆ ดีเหมือนนางฟ้าจนซาตานต้องนบนอบอีกต่างหาก = =''

8. ความพยาบาท ( Vendetta )
โดย แมรี่ คอเรลลี

<<< อ่านนานแล้ว จำไม่ค่อยได้ จำได้แต่ว่าพออ่านจนจบก็อ้าวเหรอ...พล็อตไม่ได้เป็นอย่างที่คาดไว้แต่แรกแฮะ

9. เพื่อนยาก ( Of Mice and Men )
โดย จอห์น สไตน์เบ็ก ( John Steinbeck )
แปลโดย ประชา อัตตธร

<<< อ่านนานแล้วมาก ๆ จำอะไรไม่ได้เว้นแต่เศร้าเหลือเกิน

10. ผลพวงแห่งความคับแค้น ( The Grapes of Wrath )
โดย จอห์น สไตน์เบ็ก ( John Steinbeck )
แปลโดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ

<<< ไม่ได้อ่าน ยังไม่มีแผนการจะอ่าน แอบกลัวว่าจะบัดซบหนักกว่าเรื่องข้างบน

11. อีสท์ ออฟ อีเดน ( East of Eden )
โดย จอห์น สไตน์เบ็ก ( John Steibeck )
แปลโดย ณรงค์ จันทร์เพ็ญ

<<< ไม่ได้อ่าน ยังไม่มีแผนการจะอ่านเหมือนกัน

12. โลกียชน ( Tortilla Flat )
โดย จอห์น สไตน์เบ็ก ( John Steinbeck )
แปลโดย ประมูล อุณหธูป

<<< อ่านแล้ว ชอบ ๆ แต่ตอนจบแอบเจ็บเหมือนกันนะ (หม่ามี๊เป็นแฟนสไตนเบ็คเลยอ่านเซ็ตที่มู้ดใกล้ ๆ กันนี้พวก cannery row, sweet thursday ด้วย ชอบ ๆ)

13. มหามุกดา ( The Pearl )
โดย จอห์น สไตน์เบ็ก ( John Steinbeck )
แปลโดย อดิศร เทพปรีชา

<<< ยังไม่มีแผนจะอ่านเช่นกัน

14. เฒ่าผจญทะเล ( The Old Man and the Sea )
โดย เออร์เนส เฮมิงเวย์ ( Ernest Hemingway )
แปลโดย วิทย์ ศิวะศริยานนท์

<<< รู้สึกเหมือนอ่านไปได้ครึ่งเรื่องแล้วไม่ได้อ่านต่อ หันไปอ่านที่ book-a-minute แทน (มันย่อได้กวนประสาทมาก)

15. แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ( All Quiet on the Western Front )
โดย เอริค มาเรีย เรอมาร์ค ( Erich Marria Remarque )
แปลโดย ม.จ. ขจรจบกิตติคุณ กิติยากร

<<< เคยอ่านแต่ excerpt แล้วก็ดูหนังในวิชาวรรณคดีกับประวัติศาสตร์ แต่แค่นั้นก็จำไปจนตายแล้ว

16. กระท่อมน้อยของลุงทอม ( Uncle Tom’s Cabin )
โดย แฮเรียต บีชอร์ สโตร์ ( Harriet Beecher Stowe )
แปลโดน อ. สนิทวงศ์

<<< พออ่านจริง ๆ กลับไม่เศร้าอย่างที่คิด หรือว่าตูซาดิสม์เนี่ย = =''

17. แม่ ( Mother )
โดย แมกซิม กอร์กี ( Maaxim Gorky )
แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์

<<< แค่เห็นหน้าปกก็หวาดกลัวขนหัวลุก เลยไม่ได้อ่านเลย

18. การผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ( Robinson Crusoe )
โดย แดเนียล ดีโฟ ( Daniel Defoe )
แปลโดย ร. จันเสน

<<< ชอบมากคับ (ชอบดูคนลำบากต้องพยายามหาทางเอาตัวรอด)

19. เหมาโหลถูกกว่า ( Cheaper by the Dozen and Belles on Their Toes )
โดย แฟรงค์ บี. กิลเบร็ธ และ เออร์เนสติน กกิลเบร็ธ แคเรย์
( Frank B. Gilbreth , Jr. and Ernestine Gilbreth Carey )
แปลโดย เนื่องน้อย ศรัทธา

<<< สุดเลิฟในดวงใจ

20. จ้าวแห่งแมลงวัน ( Lord of the Flies )
โดย วิลเลี่ยม โกลดิ้ง ( William Golding )
แปลโดย ม.จ. ประสบสุข สุขสวัสดิ์

<<< หนังสือนอกเวลาวิชาฟิคชั่นตอนปีหนึ่ง ส่งผลให้หนังสือเรื่องนี้รอบมหาลัยขาดตลาดในพริบตา เป็นเรื่องที่ไม่รู้จะบอกว่าชอบดีไหม แต่บอกได้ว่าจำไปจนตาย

21. แด่คุณครูด้วยดวงใจ ( To Sir With Love )
โดย อี. อาร์. เบรทเวท ( E. R. Braithwaite )
แปลโดย หน่าจ้อย

<<< เคยดูแต่หนังแล้วร้องห่มร้องไห้

22. ร้องไห้เถิด แผ่นดินที่รัก ( Cry , The Beloved Country )
โดย อเลน พาทอน ( Alan Paton )
แปลโดย พจน์ เดชา

<<< เคยได้ยินแต่ชื่อ

23. หมอสองชีพ ( Dr. Jekyll and Mr. Hyde )
โดย โรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน ( Robert Louis Stevenson )
แปลโดย สันตสิริ

<<< ดาวน์โหลดมาจากโปรเจคกูเตนเบิร์ก ตัวเนื้อเรื่องจริง ๆ มันไม่ได้ให้ความรู้สึกแรงเท่ากับเวลาเล่าเรื่องย่อให้กันฟังแฮะ

24. ฟาร์มสัตว์ ( Animal Farm )
โดย จอร์ช ออร์เวลล์ ( George Orwell )
แปลโดย สายธาร

<<< น้องชายเคยเอาไปเล่นเป็นละครคณะ เคยอ่านเมื่อนานมาแล้ว เคยดูการ์ตูนด้วย ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนก็การันตีความรันทดอย่างแรง

25. วิมานลอย ( Gone with the Wind )
โดย มาร์กาเร็ท มิทเชล ( Margaret Mittchell )
แปลโดย รอย โรจนานนท์

<<< เคยแต่ดูหนัง ว่าจะอ่านหนังสือก็ไม่ได้อ่านสักทีน้อ

ไว้จะทยอยมาปะที่เหลือนะคะ ใครเคยอ่านเล่มไหนแล้วมาคุยกันบ้างเน้อ ^^




 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 4:37:00 น.
Counter : 2589 Pageviews.  

รวมมิตรคอมเมนต์หนังสือ (ขนาดสั้น)

พยายามเรียงตามลำดับเวลาที่อ่าน แต่บอกไม่ได้ว่าแม่นหรือเปล่า ส่วนที่ว่าทำไมถึงเป็นหนังสือชื่อนี้ ๆ ขอบอกตามตรงว่าเพราะเจอหนังสืออะไรน่าสนใจในร้านมือสองก็ได้หนังสือเล่มนั้น มันเลยปนกันทั้งเก่าทั้งใหม่ ทั้งมีชื่อเสียงทั้งไม่มีชื่อเสียง และทั้งคุ้นเคยทั้งไม่คุ้นเคย...แบบนี้แล

- The No.1 Ladies' Detective Agency: Alexander McCall Smith

เป็นชุดนักสืบหญิงแห่งบอตสวาน่า แอฟริกา เล่มแรกที่อ่านเพราะโปรเฟสเซอร์บอกให้อ่านสำหรับถกในชั่วโมงว่า "อะไรคือเบสเซลเลอร์" หลังจากนั้นก็เลยอ่านติดต่อมาอีกประมาณห้าเล่ม แล้วจึงได้เลิกไป รู้สึกว่าตอนนี้จะมีเจ็ดแปดเล่มแล้วมั้ง

ตามความเห็นส่วนตัว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่อง "นักสืบ" แต่เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของคุณป้าน่ารักชื่อ Mma Ramotswe (Mma แปลว่า Mrs. ในภาษาอังกฤษ) เรื่องสืบ ๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน อาศัยคอมมอนเซนต์ช่วยก็แก้ไขได้ไม่ยาก ส่วนตัวชอบสำนวนการเขียนและวิธีเล่าเรื่องมาก ๆ เพราะมัน "ง่ายงาม" ตัวละครมีความเชื่ออย่างเรียบง่าย แต่ก็มีความลึกซึ้งในฐานะมนุษย์ เรียกว่าอ่านเอาสบายใจมากกว่าอ่านเอาความตื่นเต้นแบบนักสืบ (มันเป็น slice of life ที่ปลอมตัวเป็น detective)

เล่มที่ชอบที่สุดคือเล่มสาม Morality for Beautiful Girls ส่วนที่เลิกอ่านไป เพราะพอถึงเล่มหลัง ๆ "ง่ายงาม" มันกลายเป็น "ยังง่ายงามอยู่แต่หาเนื้อเรื่องไม่เจอแล้ว" คือว่าอ่านเรื่องที่ไม่มีเรื่องบางทีมันก็รู้สึก pointless น่ะนะ...

- The Key to the Lost Kingdom: Jay Ashton

หยิบมาจากร้านมือสองเพราะอยากอ่านแฟนตาซีแบบที่ไม่ต้องไปตามล้างตามเช็ดสามเล่มห้าเล่มถึงจบ และพบว่า...คิดผิด = ='' ตูคิดผิด ตูขอโทษ ตูผิดไปแล้ว T-T

เป็นเรื่องของอาณาจักรที่กำลังล่มสลาย เลยมีคณะสำรวจออกเดินทางไปหาอาณาจักรใหม่ แรก ๆ เหมือนเรื่อง boy growing up แต่ว่าอ่านไปได้ครึ่งเล่มก็กลายเป็นเรื่องเรียลลิสติกถึงขั้นเสียดสีแบบหาสาเหตุไม่เจอ เช่น ตาบอยนั่นกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวแบบไร้ทางเยียวยา นางเอกโง่ ๆ ช่วงแรกเป็นเด็กผู้หญิงช่างฝัน แต่พอที่ฝันไว้ไม่ใช่ ก็ถีบคนเก่าไปหาคนใหม่ คณะสำรวจที่เหลือเป็นตัวละครแบนแต๊ดแต๋ที่ไม่เห็นต้องมีก็ได้ อ่านแล้วเศร้าจิตคิดไฉนสิ้นดี

- The Bridge of Madison County: Robert James Waller

คงไม่ต้องบรรยายมาก ที่จริงก็หยิบมาอ่านเพราะอ่านรีวิวบล็อคคนอื่นนี่เอง นับว่าไม่ผิดหวังจริง ๆ เป็นเรื่องรักที่เรียบง่าย สวย และเข้มข้นจริง ๆ

แต่รำคาญนิดหน่อยเวลาที่พระเอก (รวมทั้งคนอื่น) บอกซ้ำ ๆ ว่าพี่แกเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ คือเราเป็นพวกเห็นว่าลงได้เป็นปัจเจกขึ้นมาแล้ว มันก็ใกล้สูญพันธุ์ทุกคนนั่นแหละ

- Inkheart: Cornelia Funke

เรื่องของเด็กผู้หญิง ซึ่งมีคุณพ่อที่สามารถ "อ่าน" เอาตัวละครออกจากหนังสือได้ แล้วไพล่ไปอ่านเอาตัวร้ายสุดยอดออกมาจนเดือดร้อนกันไปทั่ว ส่วนตัวไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มนี้เท่าไหร่ รู้สึกว่ายาวกว่าที่ควร ตัวร้ายที่ย้ำแล้วย้ำอีกว่าน่ากลัวก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกอย่างนั้น ตัว trickster ประจำเรื่องถึงแม้จะมีออร่า trickster ออกมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึก sympathize เป็นพิเศษ นางเอกก็เป็นเด็กกระนั้น ๆ แม้กระทั่งเวลาพูดถึงหนังสือยังรู้สึกแปลก ๆ อธิบายไม่ถูก = =''

ก่อนขึ้นต้นบทใหม่ทุกบทจะมี excerpt ตัดจากหนังสือเด็กหลายเล่มมาบทจะจึ๋งนึง ดูจาก excerpt ที่ตัดมาแล้ว รู้สึกแปลกใจ เพราะส่วนใหญ่เป็นหนังสืออังกฤษอเมริกา แต่คนเขียนเป็นเยอรมัน จริง ๆ คนเขียนแกอ่านหนังสืออังกฤษอเมริกาเยอะ หรือว่าพอแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วเลยต้องเปลี่ยนเรื่องด้วย คนอ่านทางนี้จะได้เก็ตกันแน่

- The Princess Bride: William Goldman

ซื้อมาเพราะเจอในร้านมือสอง และเพราะใน Inkheart มี excerpt จากเรื่องนี้เหมือนกัน อ่านแค่ excerpt ก็รู้สึกว่าน่าสนใจดี ไหน ๆ เจอแล้วเลยซื้อ

ดูปกกับอ่านไปได้สักพัก ถึงนึกได้ว่าเคยดูเป็นหนังสมัยก่อนนี่เอง

คนเขียนแกบอกว่าแกปรับปรุงจากนิยายของนักเขียน ศ.19 ชื่อ เอส.มอร์แกนสเทิร์น จริง ๆ เราอ่านแล้วยังคิดว่ามันเป็นหนังสือดี น่าจะแปล แต่ถ้าแปลแล้วน่าจะตัดตรงที่คนเขียนชอบมาคอมเมนต์สิ่งที่ "มอร์แกนสเทิร์น" เขียนแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ทำให้ตูเสียอรรถรส (หรือไม่งั้นก็แปลตรงจากฉบับของมอร์แกนสเทิร์นเลย) แต่พอไปค้นวิกิจริง ๆ ปรากฏว่าคนเขียนแกเขียนเองทั้งหมด ส่วนที่พูดถึงมอร์แกนสเทิร์นเป็นแค่ทริคหลอกคนอ่านว่าแกตัดต่อของเขาใหม่จริง ๆ

เลยรู้สึกว่าฉึกในหัวใจนิดหน่อยเหมือนตัวเองเกลียดตัวกินไข่เลยแฮะ - -''

ส่วนใหญ่ชอบเนื้อหาของเรื่องเกือบหมด แต่ไม่พอใจอยู่บ้างเวลาที่คนเขียนพูดถึงผู้หญิง เพราะแกดูถูกผู้หญิงออกมาชัดในน้ำเสียงเลย

- Angels and Demons: Dan Brown

เพิ่งได้อ่าน ไม่มีความเห็นมาก แต่รู้สึกว่าตาแดน บราวน์โหดร้ายกะชายชราไม่มีทางสู้จัง ฆ่าคนแก่แบบโหด ๆ ไปได้ไงตั้งสี่ห้าคน - -''

พูดถึงพวกหนังสือศาสนา ช่วงนี้กำลังอ่าน Screwtape Proposes a Toast ของ C.S. Lewis (โหมดศาสนา) รู้สึกว่าแกเป็นคนมีไอเดียแบบของแก อยากให้แกกะ Phillip Pullman เกิดร่วมสมัยกันจัง แบบว่าอยากดูมวยอะ (ยิงแสงใส่กันเลยค่ะป๋า)

- The Mysterious Flame of Queen Loana: Umberto Eco

เรื่องของนักค้าหนังสือเก่าที่เสียความทรงจำ อ่านแล้วจะได้อารมณ์ประมาณ...ป๋าเอโก สมองป๋าทำด้วยอะไรบอกมาเดี๋ยวนี้นะ - -' ที่จริงไอเดียมันคมคายมาก แต่อาจจะเป็นวิธีเล่าเรื่อง กับข้อมูลสิ่งพิมพ์ pop culture ที่ให้มาเยอะมาก เราไม่ใช่คนอิตาลีเองรับไม่ทัน ไอ้จุดที่ควรรู้สึกกระแทกอารมณ์มันเลยรู้สึกน้อยไปหน่อยน่ะนะ

แอบไปตามหาเรื่องของ Salgari (เป็นนักเขียนเรื่องผจญภัยผู้ชาย ๆ)ที่แกเอ่ยถึงไว้ในหนังสือ มีคนเอามาแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนิดหน่อย แต่แพงมาก ๆ คงเพราะไม่ใช่หนังสือแบบที่ขายทั่วไปน่ะนะ

- Zorro: Isabelle Allende

ซื้อมาเพราะชื่อคนเขียน เธอคือคนที่เขียนเรื่อง "บ้านปรารถนารัก" ที่เราชอบมาก ๆ ซอว์โรเล่มนี้เป็นเรื่อง "กำเนิดซอว์โร" ค่ะ เล่าตั้งแต่ว่าพ่อแม่เจอกันได้อย่างไร จนกระทั่งซอว์โรเป็นซอว์โรในแผ่นดินเกิดครั้งแรก

ในเรื่องนี้ เทคนิคการเล่าเรื่องก็ยังดีอยู่นะ เหมือนมีคนมาเล่าเรื่องสนุก ๆ ให้ฟัง ตามอ่านไปได้ไม่เบื่อ แล้วคนเขียนก็ใส่ใจรายละเอียดดี มีเรื่องน่าสนใจร่วมสมัยของซอโรว์เยอะมาก น่าเสียดายอยู่อย่างคือแกไม่ได้ใส่อารมณ์ลงไปด้วยยังไงก็ไม่รู้ เหมือนแกไม่ได้เชียร์ซอว์โรอยู่ (แกใส่หัวใจให้ตัวละครอื่น ๆ มากกว่า) คือเวลาพูดว่าซอว์โรมีความยิ่งใหญ่ ก็พูดเหมือนพูดดาด ๆ พอให้เข้าใจว่าเป็นอย่างนี้ พอไม่ "รู้สึก" แล้ว ก็เลยไม่ได้เห็นความเติบโตเปลี่ยนแปลงของซอว์โร และซอว์โรก็เลยสูญเสียรัศมีวีรบุรุษไปโขทีเดียว

เป็นเรื่องที่่อ่านสนุกได้เหมือนอ่านนิยายมัน ๆ แต่ถ้าหวังว่าจะได้เห็นตัวตนและการเติบโตของซอว์โรก็ไม่มีหรอก - -''

- Maitre Mussard's Bequest: Patrick Suskind

เล่มนี้อยู่ในกระบะหน้าร้านมือสอง ขุดเจอแล้วดีใจแทบกรี๊ด มันเป็นเรื่องสั้นเล่มบาง ๆ ทำออกมาเป็นหนังสือเล่มเล็กแบบพกสะดวก บางกว่าเรื่องพิราบอีก

และมันต่างกับทั้งพิราบและน้ำหอม เพราะมันกวนประสาท - -'' คือว่ากวนประสาทมาก

(เล่มนี้ไม่อยากสปอยล์อะ ใครมีแผนจะอ่านก็ไม่ต้องอ่านต่อนะ)

เป็นเรื่องของตาลุงที่เชื่อว่าต่อไปโลกจะถูกฟอสซิลหอยกลืนกิน (เพราะแกขุดตรงไหน ๆ ก็เจอฟอสซิลหอยโบราณ) แล้วแกเลยหลอนเห็นเป็นทฤษฏี conspiracy ต่าง ๆ สุดท้ายแกก็ตายด้วยอาการเหมือนถูกหอยกลืนกินเสียด้วย ตรงหน้าเรื่องมี excerpt เขียนโดย "Rousseau" (แ่ต่สงสัยซึสคินท์แกล้งเขียนเอง)ว่า

Ceaselessly occupied with his curious discoveries, Mussard worked himself into such a fever over these thoughts that they would eventually have entangled his mind in madness, had not death torn him away from them by a strange and cruel illness: Luckily for his reason, but not for his sorrowing friends to whom he was dear and valued.

ตลกหน้าตายอะ เฮียขา - -''

###

นอกจากนี้อ่านสืบสวนยุคกลางอีกนิดหน่อย แต่ยังไม่เจอเล่มเจ๋ง ๆ เพราะงั้นก็เลยยังไม่พูดถึงแล้วกัน




 

Create Date : 28 มกราคม 2551    
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 4:36:18 น.
Counter : 738 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.