Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ถ้าผู้ป่วยไม่ stable ห้ามอนุญาตให้ย้าย รพ. ยกเว้นผู้ป่วยหรือญาติตัดสินใจปฏิเสธการรักษา ?

ความรู้ วันนี้

สรุป สั้น ๆ

โรงพยาบาล แรก ที่เลือก

เข้า ร้บการรักษา สำคัญ มาก

ดัง เนื้อ ความ ของ คดี

(โรงพยาบาล)รพ.ธนบุรี (โจทก์) ชนะคดีในศาลชั้นต้น กรณีญาติผู้ป่วย (จำเลย) และ สปสช. (จำเลยร่วม) ไม่สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวน เหตุเกิดเมื่อ มี.ค. 2556 และพิพากษาเมื่อ ก.ค. 2560
.
ผู้ป่วย cardiac arrest เข้ารับการรักษาที่ รพ.ธนบุรี หลัง CPR แล้วได้ admit CCU ไม่สามารถหาเตียงใน รพ.รัฐได้ในระยะแรก จึงต้องรักษาต่อเนื่องจนกระทั่ง stable พอและมีเตียง รพ.รัฐที่จะรับย้ายได้ โดยในระหว่างนี้ ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมาก
.
จำเลยเข้าใจว่า สามารถใช้สิทธิ์ฉุกเฉินเพื่อรับการบริการฟรีตามนโยบายของ สปสช. แต่ความจริงคือ คำว่า "ฟรี" ของ สปสช. คือในระยะ 72 ชั่วโมงแรก และไม่เกินวงเงินประมาณ 53,000 บาท ดังนั้น ส่วนต่างค่ารักษาพยาบาลอีกกว่า 4 แสนบาท จึงตกเป็นภาระของจำเลย
.
ศาลตัดสินให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ส่วน สปสช. ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ เพราะถือว่าได้ชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่กำหนดแล้ว
.
สำหรับแพทย์ ความรู้จากคดีนี้มี 2 ประการ คือ 1) พึงรักษาผู้ป่วยโดยเท่าเทียม ไม่ว่าผู้ป่วยและญาติจะสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ก็ตาม และ 2) ถ้าผู้ป่วยไม่ stable ห้ามอนุญาตให้ย้าย รพ. ยกเว้นผู้ป่วยหรือญาติตัดสินใจปฏิเสธการรักษา เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจ
.
ถ้าแพทย์ไม่อนุญาตให้ย้าย กฎหมายไม่สามารถบังคับได้ แม้ผู้ป่วยและญาติต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม แต่หากแพทย์เห็นใจให้ย้ายทั้งที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต แพทย์มีความผิดตามกฏหมาย
.
สำหรับ รพ.เอกชน คดีนี้เป็นคดีตัวอย่าง ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนโยบายขายฝันของ สปสช. ส่วน รพ.รัฐ โปรดเตรียมใจไว้ว่า นโยบายรักษาฟรีจากกรณีฉุกเฉิน อาจไม่ได้รับเงินชดเชยตามจริง ต้องยอมเสียส่วนต่างค่ารักษาพยาบาลที่เกินวงเงิน
.
สำหรับประชาชนทั่วไป บทเรียนสำคัญจากคดีนี้คือ อย่าเชื่อทุกอย่างที่ สปสช. โฆษณา ควรหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว สปสช.ไม่ได้ช่วยเหลือ และไม่มีกฎหมายบังคับให้ สปสช. ต้องร่วมรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือวงเกินแต่อย่างใด
.
การกล่าวอ้างว่า รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาพยาบาลเกินจริงและขัดต่อกฎหมายเป็นการกล่าวเลื่อนลอย ขาดหลักฐาน และ ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธการชำระค่ารักษาพยาบาลใน รพ.เอกชน ได้

สำหรับ สปสช. ตอนแรกไม่ยอมรับว่าเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าตนเป็นหน่วยงานของรัฐทำตามหน้าที่ จึงอยู่นอกเหนืออำนาจของศาลยุติธรรม แต่ศาลเห็นว่ากรณีนี้เป็นข้อพิพาททางแพ่ง จึงตัดสินให้ สปสช. เป็นจำเลยร่วมในศาลยุติธรรม
แนะนำให้ทำประกันสุขภาพด้วยนะก็ดีนะ

ขออนุญาต เพิ่ม เติม

กรณีสายด่วน สปสช ติด ต่อ ๑๓๓๐
หรือ https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjMwNQ%3D%3D
ปานเทพ คณานุรักษ์

ตามที่ อาจารย์
สุรจิต สุนทรธรรม ลงไว้ ครับ

ต้องอ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม ผมเข้าใจว่า หลายเรื่องมีการสรุปเองหรือเป็นเพียงความเห็นของผู้สรุป ไม่ได้เป็นเนื้อความจากคำพิพากษาจริงๆ นะครับ

คำพิพากษาศาลชั้นต้น – คดีโรงพยาบาลธนบุรีและนางสำรวย โสภจารีย์
https://www.slideshare.net/mobile/preeyananlor/ss-80248475

ย้ำ ข้อ ความสำคัญ นะ ครับ

1. เป็นเพียงคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ยังไม่ถึงฎีกา จึงยังใช้อ้างอิงไม่ได้
2. ผู้ป่วยหรือญาติไม่มีสิทธิปฏิเสธการรักษา ถ้ายังจำเป็นต้องช่วยรักษาชีวิตอยู่ (ถ้าไม่ใช่วาระสุดท้ายแห่งชีวิต) ตาม https://m.facebook.com/groups/159882240725179?view=permalink&id=2367625346617513


*******************************************
สุรจิต สุนทรธรรม อีกประการหนึ่ง เหตุการณ์นี้เกิดก่อน 20 ธค. 59 ซึ่ง พรบ. สถานพยาบาล (ฉบับที่4) 2559 https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/107/41.PDF จะมีผลใช้บังคับ ซึ่งมีผลเปลี่ยนแปลงไปอีกมากครับ


สุรจิต สุนทรธรรม กรณียังอยุ่ในภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น #ผู้ป่วยหรือญาติก็ไม่น่าจะมีสิทธิปฏิเสธรับการรักษา ไม่ว่าจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม ตามนี้: https://m.facebook.com/groups/159882240725179?view=permalink&id=2367625346617513
 
สุรจิต สุนทรธรรม และภาวะวิกฤติไม่ได้เป็นข้อห้ามสัมบูรณ์ในการส่งต่อ ซึ่งตามมาตรา ๒๘(๒) แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/044/1.PDF)

จะส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินได้เพียง๒กรณีเท่านั้น คือ

๑ ได้รักษาเต็มขีดความสามารถแล้วยังไม่พ้นภาวะฉุกเฉิน
๒. แพทย์ให้การรับรองว่าการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น

ภาวะไม่เสถียร (unstable) ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการส่งต่อ

การปฏิเสธการรักษาถือเป็นเงื่อนไขใดๆ ตามมาตรา ๒๙(๓) แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ (https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/044/1.PDF) ซึ่งนำมาใช้เป็นเงื่อนไขไม่ได้

การปฏิเสธจะนำมาใช้ได้เฉพาะในกรณีที่ #ผู้ป่วยไม่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน เท่านั้น ตามที่บัญญัติิไว้ในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ( https://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%ca71/%ca71-20-9999-update.pdf ) ครับ

สุรจิต สุนทรธรรม ทั้งนี้ เป็นหลักการสากลในการปฏิบัติเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน นะครับ

https://www.acep.org/.../ethics.../emtala/emtala-fact-sheet/



*******************************************


ความเห็นของผม

" แต่หากแพทย์เห็นใจให้ย้ายทั้งที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต แพทย์มีความผิดตามกฏหมาย "

................ ประโยคนี้สำคัญมาก " สำหรับแพทย์ เจ้าของผู้ป่วย " ในทุกกรณี แพทย์ จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย ดังนั้น ไม่ว่าจะตัดสินใจ ทำอะไร (ตามใจใคร) ก็อย่าลืมนึกถึงด้วยว่า ตนเอง เป็นจำเลยที่หนึ่ง เสมอ คนอื่นพูดคิดแต่เขาไม่ต้องมารับผิดชอบด้วย เข้าใจตรงกันนะครับ .. ตัดสินใจอะไร คนตัดสินใจ รับไปเต็ม ๆ
 
พนมกร หมอหมู ดิษฐสุวรรณ์ — ที่ คลินิกแพทย์พนมกร  เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ·
https://www.facebook.com/phanomgon/posts/3148715158477472


ผมยังอยากจะเน้นประโยคนี้ .. " สำหรับแพทย์ เจ้าของผู้ป่วย " ในทุกกรณี แพทย์ จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย ...
ไม่ว่า จะตัดสินใจแบบไหน ส่ง ไม่ส่ง รักษา ไม่รักษา ฯลฯ ... แพทย์ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย ก็ต้องรับผิดชอบทุกกรณี ^

อีกประเด็นที่อยากจะแสดงความเห็นเพิ่มเติม .. (นำมาจากโพสโน้นที่มีผู้สอบถาม ^_^)


... ถ้าแพทย์ มีเหตุผลมีข้อมูลเอกสารบันทึกไว้ ว่าได้ชี้แจงทำความเข้าใจอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยหรือญาติ ยังยืนยัน แพทย์ก็ไม่สามารถห้ามได้ ต่อให้มีปัญหา เรื่องฟ้องร้องตามมา ก
็ไม่น่าจะมีอะไรร้ายแรง

แต่ ต้องเน้นย้ำว่า " มีข้อมูลบันทึกหลักฐานว่า ได้ชี้แจงทำความเข้าใจอย่างเต็มที่ " ด้วยนะครับ ... ไม่ใช่แค่พูดว่า ถ้าไม่อยากรักษาก็เซนต์ไม่สมัครอยู่ .. ถ้าพูดแค่นี้ก็อาจเกิดปัญหาได้ เพราะ ผู้ป่วยหรือญาติ อาจบอกว่า ที่ทำไปเพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ หมอไม่อธิบาย ถ้าอธิบายให้เขาเข้าใจ เขาก็คงไม่ตัดสินใจแบบนั้น .. ( หมอก็งานเข้า)

เทียบเคียงได้กับการให้เซนต์ชื่อว่า "ยินยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล" ถ้าไม่มีการชี้แจง เอาเอกสารให้เซนต์อย่างเดียว ก็อาจเกิดปัญหาตามมาได้ (เคยมีคดีมาแล้ว)


 



Create Date : 27 ธันวาคม 2562
Last Update : 28 ธันวาคม 2562 15:48:59 น. 0 comments
Counter : 2847 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]