Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สมุนไพร หนานเฉาเหว่ย .. ดี จริงหรือ ?

 
 
  'เชียงราย'ป่วยไตวายอื้อ เตือนสมุนไพร'หนานเฉาเหว่ย'ตัวการ

หมอไตเผย "เชียงราย" ป่วยโรคไตวายอื้อ ชี้ ปัจจัยหลักเกิดจากการกิน เตือนสมุนไพรบำรุงไต-หนานเฉาเหว่ย ตัวการทำไตวายเฉียบพลันไว
จันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 16.43 น.


เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่รพ.สมเด็จพระญาณสังวรณ์ จ.เชียงราย  นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) พร้อมผู้บริหาร อภ. ร่วมมอบยาตำราหลวงจำนวน 300 ชุด ผ้าห่มจำนวน 300 ผืน ให้แก่ รพ.สมเด็จพระญาณสังวรณ์ พร้อมตรวจเยี่ยมการเข้าถึงยาและน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง

นพ.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณ 1​ แสนคน เป็นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและต้องรับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง  ซึ่งต้องใช้งบในการดูแลรักษากว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 15-20 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี หากไม่มีการแก้ไขคาดว่าใน 5 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยเพิ่มเป็นกว่า 2 แสนราย และต้องใช้งบกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ อภ.ได้สร้างการเข้าถึงน้ำยาล้างไตผ่านช่องท้อง ส่งถึงบ้านผู้ป่วย ช่วยประหยัดให้รัฐปีละกว่า 2,000 ล้านบาท ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี​ โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายในสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประมาณ 50,000 ราย แบ่งออกเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องประมาณ​ 30,000 ราย

โดยมีผู้ป่วยที่ยังคงมีเบิกจ่ายน้ำยาล้างไตทางช่องท้องเดือนละประมาณ 21,000 ราย มีหน่วยให้บริการอยู่ 235 แห่ง และ ผู้ป่วยที่ใช้ฟอกไตด้วยเครื่องฟอกไตเทียมอยู่ประมาณ 20,000 ราย​ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่ยังคงมีการเบิกจ่ายน้ำยาประจำเดือนอยู่จำนวน  21,000 รายนั้น อภ.ได้จัดซื้อจัดหาน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ในปี 2561 ทำให้ อภ.สามารถช่วยรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาได้กว่า 2,000 ล้านบาท สำหรับการให้บริการน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง  เฉพาะ จ.เชียงราย  มีหน่วยบริการ ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง มีผู้ป่วยที่ล้างไตหน้าท้องอยู่  677 ราย  ใช้น้ำยาล้างไตประมาณเดือนละ 81,240 ถุง

นพ.ปัญจพล กอบพึ่งตน อายุรแพทย์โรคไต รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวว่า การบำบัดทดแทนไตจะต้องมีการผ่าตัดใส่สายสวน ซึ่งห้องผ่าตัดและบุคลากรมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณผู้ป่วยโรคไต ส่งผลให้เกิดความแออัดและรอคิวนาน ในปี 2553 จึงได้หาสถานที่มารองรับการดำเนินการผ่าตัดใส่สายสวน ซึ่งจะต้องไม่ไกลจากผู้ป่วยและแพทย์ที่จะมาดำเนินการ โดยสุดท้ายมาลงตัวที่ รพ.สมเด็จพระญาณสังวรณ์ ทั้งนี้ หลังจากมาดำเนินการใส่สายสวนที่ รพ.แห่งนี้ ปรากฏว่า อัตราการรอคอยลดลง จาก 4 เดือน เหลือเพียง 2 เดือน และเมื่อดำเนินการมาเรื่อยๆ ก็มีการพัฒนาจนเป็นศูนย์ไตเทียมที่เรียกว่า ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีขนาดถึง 40 เตียง และสามารถลดเวลารอคอยลงในปัจจุบันเหลือเพียง 1 เดือนกว่าๆ เท่านั้น

ทั้งนี้ จ.เชียงรายถือว่ามีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังสูง รองจาก กทม.  สาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวนมาก  มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่งผลต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่เมื่อไม่มีการควบคุมส่งผลให้กลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าอีกปัจจัยมาจากการรับประทานสมุนไพรบางชนิด เช่น หนานเฉาเหว่ย ถั่งเช่า เป็นต้น ซึ่งแม้จะบอกว่าช่วยลดเบาหวาน บำรุงไต แต่พบว่า สมุนไพรที่บำรุงไตจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตมากขึ้น จึงทำให้ไตทำงานหนัก จนเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีครอบครัวหนึ่งที่มารักษาที่ รพ. และเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทั้งพ่อและแม่ จากการสอบถามพบว่ามีการกินหนานเฉาเหว่ย

"การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวายดีที่สุด ซึ่งในคนปกติขอแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานอะไรที่มนุษย์ปกติไม่รับประทาน และควรมาตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพราะเมื่อพบว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะแรกก็จะได้รักษาอย่างรวดเร็ว และชะลอไม่ให้โรคลุกลามได้เพราะแม้แต่คนที่ป่วยเป็นไตวายระยะ 3 ก็ยังสามารถชะลอไม่ให้เป็นระยะสุดท้ายได้ ส่วนคนป่วยโรคไตอยู่แล้วก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องสมุนไพรที่บอกว่าดีต่อไต เพราะทำให้ไตทำงานมากขึ้น จนไตวายเฉียบพลันได้ และระวังเรื่องของอาการซึมเศร้าต่างๆ ซึ่งมีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งพบว่าผู้ป่วยไตวายส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตมักมาจากโรคหัวใจ และสุดท้ายคือขอให้มาตามที่แพทย์นัดเสมอ" นพ.ปัญจพล กล่าว.

https://www.dailynews.co.th/politics/683010?fbclid=IwAR2eAadBa46bBhf_zD-1qFu46VWW8ND5wYhBSC_Tc4M_7m6pyk2iD6xxbgg

**************************************
 

ยังสรุปไม่ได้ว่า หนานเฉาเหว่ย รักษาโรคเบาหวานได้

แชร์กันกระหน่ำ กินหนานเฉาเหว่ย รักษาโรคเบาหวาน และยังเสี่ยงเกิดพิษ ต่อตับและไต จะจริงหรือไม่ มาติดตามกันได้ใน อย. เช็ก ชัวร์ แชร์

          ต้นหนานเฉาเหว่ย มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าต้นป่าช้าเหงา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnanthemum extensum จัดเป็นสมุนไพรจีน ใบมีรสขมจัด ซึ่งในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในประชาชนที่มีความเชื่อว่า ใบหนานเฉาเหว่ยนั้นสามารถรักษา โรคเบาหวาน โรคเกาต์ และโรคมะเร็งได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดที่สามารถสรุปและยืนยันได้ว่า ใบหนานเฉาเหว่ยนั้น สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ และยังไม่มีรายงานความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่แน่ชัดที่อาจเกิดขึ้นได้

          วิธีการดูแลและรักษาโรคเบาหวานที่ปลอดภัยได้แก่ หลีกเลี่ยง อาหารหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์นั้น ควรหลีกเลี่ยง

1.อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เหล้า เบียร์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์เนื้อแดง เป็นต้น

2.อาหารทะเล

3.อาหารประเภทที่มีไขมันสูง

โดยผู้ที่เป็นมะเร็ง ควรไปพบแพทย์ ไม่ว่าจะโรคเบาหวาน โรคเก๊าต์ หรือโรคอะไรก็ตามควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

          อย่าหลงเชื่อคำกล่าวอ้างสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆนะ เพราะแทนที่จะหายจากโรค แต่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลย ดังนั้นก่อนจะ แชร์ หรือเชื่ออะไรควรเช็กให้มั่นใจก่อนว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยสามารถมา เช็กให้ชัวร์กับ อย. กันก่อนนะ


https://oryor.com/digi_dev/detail/media_printing/1732?fbclid=IwAR1T3w_6Xj5x3jJJKOxUguioHuqXZqmijuUtqzXq9amzNJVkslhOtBzK1a4
 

“หนานเฉาเว่ย” แนะต้องกินใช้อย่างถูกโรค ถูกวิธี

14 Mar 2019
https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1588?fbclid=IwAR2mRzeU1qRdnhFebjW5iiMjxCodnviATkgBaP2g70Amrv8p_c_IiaWMbLY
แนะกินใช้ “หนายเฉาเว่ย” ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ หรือปรึกษาแพทย์อย่างถูกวิธี หากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกาย 

          นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาให้ความสนใจในศาสตร์ด้านการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น โดยใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาโรค   ด้วยสรรพคุณมากมาย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสมุนไพรวางจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น ตามกระแสของการให้ความใส่ใจในสุขภาพของคนในสังคม กรณี สมุนไพรป่าช้าเหงา หรือ หนานเฉาเว่ย มีผู้สนใจนำมาปลูก เพื่อกินรักษาโรคกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งหนานเฉาเว่ย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้ ต่อมามีการนำเข้ามาปลูก และใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน ในตำรายาจีนระบุว่า สมุนไพรดังกล่าว ใช้ในการแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ลดอาการ   ปวดข้อ และพบว่า ใบสดมีสรรพคุณ ช่วยในการลดความดันเลือด     และลดน้ำตาลในเลือดได้ เป็นต้น โดยใช้ใบสดรับประทานชงน้ำดื่ม    ครั้งละ 4-6 ใบ วันละ 2-3 ครั้ง และพบมีข้อห้ามใช้ในกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต ดังนั้นในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่ จึงไม่ควรใช้สมุนไพรดังกล่าวนี้ หรือต้องใช้ด้วยความระมัดระวังโดยอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้ทางด้านสมุนไพรอย่างเหมาะสม

           รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ปัญหาที่พบจากการใช้สมุนไพรตัวนี้ คือ การกินอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ ดังนั้น ก่อนใช้สมุนไพรใด ๆ จึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบถึงวิธีใช้ที่ถูกต้อง สมุนไพรทุกชนิดมีประโยชน์ หากกินให้เป็น และไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาสมุนไพรที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง รักษาได้สารพัดโรคครอบจักรวาล เพราะอาจได้รับอันตรายก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้แจ้งมาได้ที่ช่องทางการร้องเรียนแจ้งเบาะแสกับ อย. ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือ Line @Fdathai หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

*****************



Create Date : 30 ธันวาคม 2561
Last Update : 22 กันยายน 2562 21:29:09 น. 0 comments
Counter : 1752 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]