Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

อยากเรียนหมอ ชีวิตแพทย์ รพ.รัฐ และ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ... รู้ว่าเป็นหมอเหนื่อย แล้วมาเป็นหมอทำไม ???



กว่าจะมาเป็นแพทย์กระทู้จาก เวบพันทิบ ห้องลุมพินี

สมาชิกหมายเลข3854298

https://pantip.com/topic/36670272

ใครอยากเป็นแพทย์มาทราบขั้นตอนกว่าจะมาเป็นแพทย์ นะครับ ว่ายากง่ายอย่างไร

ขั้นตอนการเป็นแพทย์

ขั้นที่1 เรียนม.ปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ขั้นที่2 สอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ขั้นที่3 เรียนปริญญาตรีแพทย์

ขั้นที่4 สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมกับแพทยสภา

ขั้นที่5 ทำงานชดใช้ให้กับรัฐบาลในสถานพยาบาลรัฐบาล

ขั้นที่6 สมัครเข้าเรียนแพทย์เฉพาะทาง

................................................

ขั้นที่1 เรียนม.ปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร3 ปี เรียนเน้นวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ วิชาหลักที่เรียนคือ ฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะมีบางช่องทางที่รับผู้สมัครทางแผนศิลป์จาก ปวช. จาก กศน. ก็ตาม แต่หากท่านใดประสงค์จะเรียนแพทย์ ผมก็แนะนำให้เรียนม.ปลาย แผนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ครับ

................................................

ขั้นที่2 สอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ในระบบTCAS การสอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมี 5ช่องทาง ดังนี้

1.สอบตรงภูมิภาค

ผู้สมัครในเขตพื้นที่บริการไม่กำหนด GPAX ในการสมัครใช้คะแนนสอบข้อเขียนในการคัดเลือก บางแห่งก็ใช้คะแนน GAT PAT เข้ามารวมด้วย เช่น

-สอบตรง 14 จังหวัดภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์

-สอบตรงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ขอนแก่น

-สอบตรง 8 จังหวัดภาคเหนือ ม.เชียงใหม่

2.สอบตรงแพทย์ชนบท

โครงการCPIRD และ ODOD

ผู้สมัครในเขตพื้นที่บริการกำหนด GPAX ในการสมัครใช้คะแนนสอบข้อเขียน ร่วมกับคะแนน GAT PAT หรือคะแนนวิชาเฉพาะซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่สถาบัน เช่น

-หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ม.เทคโนโลยีสุรนารี

-หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ม.วลัยลักษณ์

3.สอบตรง

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตที่รับโดยไม่กำหนดพื้นที่บริการเช่น

-สอบตรงโครงการ MDX ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษคณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

-สอบตรงโครงการร่วมระหว่าง University of Nottingham กับคณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

-สอบตรงโครงการผลิตแพทย์ร่วม กรมแพทย์ทหารอากาศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

4.สอบ กสพท.

รับจำนวนมากที่สุดมีหลายสถาบันที่รับแบบนี้คุณสมบัติผู้สมัครก็เปิดกว้างมากกก ไม่ว่าจะสามัญ(วิทย์คณิต ศิลป์ภาษา ศิลป์คำนวณ) สายอาชีพ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เด็กซิ่วเด็กอินเตอร์ เด็กเมืองนอก มีสิทธิสมัครทั้งหมดแต่จะสอบติดมั้ยต้องขึ้นกับความสามารถของตนเอง

สำหรับผู้สมัครปกตินี้ใช้คะแนน3 ส่วน คือ

-วิชาสามัญ (ร้อยละ 70)

-วิชาความถนัดแพทย์ (ร้อยละ 30)

-O-NET (ขั้นต่ำร้อยละ 60)

สำหรับกลุ่มพิเศษ(เช่น เด็กซิ่ว เด็กจบป.ตรี เด็กจบเมืองนอก เป็นต้น) ใช้คะแนน 2 ส่วน คือวิชาสามัญ 7 วิชา และวิชาความถนัดแพทย์

5.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแนวใหม่ (หลักสูตรแพทย์สำหรับผู้เรียนจบปริญญาตรี)

รับสมัครผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทำงานด้านสาธารณสุขอย่างน้อย2 ปี กำหนดอายุผู้สมัครไม่เกิน 30 ปี ในวันสมัคร เข้าเรียนชั้นปีที่ 2ใช้เวลาเรียน 5 ปี เปิดรับสมัคร 2 สถาบัน คือ ม.นเรศวร กับ ม.พะเยา

ตอนนี้ระบบTCAS ยังไม่นิ่ง อาจจะมีการเลี่ยนแปลงอ่านข้อความนี้แล้วโปรดพิจารณาด้วย

................................................

ขั้นที่3 เรียนปริญญาตรีแพทย์

ปริญญาตรีแพทย์เรียกอย่างเป้นทางการว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 6 ปีโดยแบ่งเป็น

ชั้นปีที่1 เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป เรียกได้ว่าเอาเนื้อหาวิชา ม.ปลาย 3 ปีมาเรียนรวมกันใน 1 ปี เพื่อปรับพื้นฐานแก่นิสิต/นักศึกษาทุกคน

ชั้นปีที่2 - 3 เป็นการเรียนวิชาพรีคลินิก เป็นวิชาที่ปูพื้นฐานด้านการแพทย์ เช่นกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยา เภสัชวิทยา จุลชีววิทยา

ชั้นปีที่4 - 6 เป็นการเรียนวิชาทางคลินิก เป็นวิชาทางการแพทย์พร้อมกับลงมือรักษาผู้ป่วยจริง

................................................

ขั้นที่4 สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

สอบกับทางแพทยสภาการสอบเรียกว่า (National Lisense: NL) เป็นการสอบเพื่อออกใบอนุญาตแก่แพทย์ใบประกอบของแพทย์ ใช้ชื่อว่า "ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม"แบ่งการสอบออกเป็น 3 ครั้ง

ครั้งที่1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (BasicMedical Sciences) สอบตอนจบปี 3 ความรู้ pre-clinic ถ้าสอบไม่ผ่านก็สอบใหม่ มีสอบปีละ 2 รอบ

ครั้งที่2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ClinicalSciences) สอบตอนจบปี 5

ครั้งที่3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก (ObjectiveStructured Clinical Examination : OSCE) สอบตอนจบปี 6

................................................

ขั้นที่5 ทำงานชดใช้ให้กับรัฐบาลในสถานพยาบาลรัฐบาล

โดยจะแบ่งแพทย์ออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสังกัด กับ กลุ่มอิสระ โดยกลุ่มที่มีสังกัดก็จะกลับไปทำงานชดใช้ทุนกับต้นสังกัดของตนเอง เช่นแพทย์ที่เข้ามาด้วยระบบแพทย์ชนบทของจังหวัดอุบลราชธานีก็กลับไปทำงานที่โรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้นส่วนกลุ่มอิสระก็เลือกจังหวัดที่จะไปทำงานได้อิสระตามอยากไป และจำนวนที่รับ

................................................

ขั้นที่6 สมัครเข้าเรียนแพทย์เฉพาะทาง

หลังจากที่ทำงานชดใช้ทุนครบแล้วแพทย์ผู้สนใจเรียนต่อเฉพาะทางก็จะต้องไปสมัครเรียนต่อสาขาที่ตนเองสนใจ(ไม่ต่อเฉพาะทางเขาก็ไม่ว่า แล้วแต่คน) ซึ่งสาขาที่จะเลือกก็มีหลากหลายมาก เช่นสาขาหลัก อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรรม กุมารเวชกรรม สาขาอื่น หูคอจมูก รังสีวิทยาวิสัญญี จิตเวช

ขอบคุณทุกท่านที่ตามอ่านนะครับ

สมาชิกหมายเลข3854298

https://pantip.com/topic/36670272

................................................

ช่วงการทำงาน เป็นแพทย์ รพ.รัฐ  โดยเฉพาะ โรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลอำเภอ) ในช่วงทำงานใช้ทุน ๓ ปี .. ตัวอย่างเหตุการณ์แบบนี้ ยังเกิดขึ้นอยู่ในบ้านเรา และน่าจะยังเป็นแบบนี้ไปอีกนาน บันทึกไว้ เป็นข้อมูล

Infectious ง่ายนิดเดียว

https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/350160655414634


แด่..พี่ๆน้องๆบุคลากรสาธารณสุขของรัฐและคนไข้ที่เคารพ😢

😓สัปดาห์ที่ผ่านมามีดราม่าที่บั่นทอนกำลังใจพวกเรา แต่อย่างไรชีวิตก็ต้องดำเนินต่อ ตรวจคนไข้ต่อ ราวน์วอร์ดต่อ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทำงานHA คุณภาพ ออกเยี่ยมบ้าน ประชุมอีกเพียบ_พวกเค้าที่ด่าเราจะรู้ไหมน๊าาาว่า เวลาพวกเราอยู่เวร ทำงานในเวลาและนอกเวลาเป็นอย่างไร เป็นบุคลากรของ รพ.รัฐ มาดูชีวิตพวกเราสิ😔

-ตัวอย่างในเวลาเราเรื่ม เช่นจันทร์8.30-16.00น.และเวรนอกเวลาเริ่ม 16.00-8.30 เช้าอังคาร_เราทำงานยาวนะ เราก็ต้องทำงานต่อนะ อังคาร 8.30-16.00พวกเราทำงาน 36 ชม.!!นะ ใน1เดือนเรามีเวรแบบนี้ 10-15เวรนะ!! ยิ่งกว่า 7-11 นะ!!! 36 ชม.นะ 😖

-ในเวลาราชการ 8.30-16.30น. ก็จริง!!แต่พวกเราต้องตื่น 6.00นะ ถึงวอร์ด7.00น.เพื่อไปดูคนไข้ในที่นอน รพ.ก่อน เกือบ 30-40เตียง!! ถ้าคนไข้ในวอร์ดอาการไม่ดี บางทีหอบ เราต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เขียนใบส่งตัว ถ้ามีคนไข้หัวใจหยุดเต้นเราต้อง CPR นะ กว่าจะเสร็จราวน์วอร์ดเราต้องคุยกับญาติเขียนเอกสาร พอเสร็จคนไข้ใน เราต้องรีบวิ่งไปออก OPD ซึ่งอาจมาช้า 9.00น. ข้าวเช้าหรือลืมไปเลย กินนมสักกล่องก็อยู่ได้แล้ว โปรดรับรู้ว่าเราไม่ได้ตื่นสายมาออก OPD ช้าให้คนไข้รอนะ เราต้องตรวจคนไข้ในเสร็จก่อน รพ.ชุมชนมีหลายขนาดจำนวนหมอ1-5คน บางรพ.มี1คน ถ้ามีเกิน1คนก็โชคดี

-OPD 8.30-16.00 เราต้องตรวจคนไข้เป็น100คนนะครับ 100 คน!! ข้าวกลางวันแทบไม่ได้กิน ถ้ามีคนไข้จะคลอด เราต้องวิ่งไปทำคลอดก่อนนะ (คนไข้ Opd รอก่อนนะพวก้ราขอโทษที่ต้องให้รอ) เกิดคลอดไม่ได้ งานใหญ่เลย เราต้องใช้เครื่องช่วยดูดสุญญากาศ คลอดไม่ได้อีกหรือคลอดออกมาเด็กแย่ เราต้องช่วยเด็กอีกใส่ท่อช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจและต้องเขียน+โทรสัพท์ส่งตัวไป รพ. ใหญ่อีก เครียดไหมเราต้องรับผิดชอบชีวิตแม่กับลูก เสร็จก็รีบวิ่งมาออกOPD _ถ้าระหว่างตรวจOPDรับแจ้งมีคนไข้ตายนอก รพ.เช่น ผูกคอตาย ฆาตกรรม หรือ ศพ.ที่เน่ามาหลายวัน พวกเราต้องละจาก OPD ไปกับคุณตำรวจเพื่อออกไปชันสูตรศพนะ คุณไปกับพวกเราไหมไปชันสูตรพลิกศพ บางทีเป็นน้องหมอผู้หญิงตัวเล็กๆเคย ศพบางทีมีหนอนเต็มศพ!กลิ่นไม่ต้องพูดถึง สภาพศพ!!! เราต้องจับชันสูตรพลิกศพด้วยนะหรือระหว่างตรวจ OPD มีคนไข้อุบัติเหตุหมู่ เราต้องละคนไข้ OPD ไปช่วยคนไข้อุบัติเหตุหมู่ก่อนนะ ค่อยมาตรวจต่อเวลากินข้าวกลางวัน 5 นาทีก็เยอะสำหรับพวกเราแล้ว ธรรมดามากกินหมดใน5นาที

-ตกเย็นหลัง 16.00น. เวลาเวรนอกเวลาเราเป็นหมอคนเดียวในรพ.นะ ดูคนไข้นอกเวลา+คนไข้นอน รพ.ที่มีปัญหา มีคนไข้ทุกประเภท เมามา เอะอะโวยวาย ตีรันฟันแทงเลือดอาบมา คนไข้จะคลอดลูก อุบัติเหตุอผลแหวะหวะ พวกเค้าบางคนเป็นหวัดมาเอายสรอนานแถมใส่อารมณ์กับพวกเราอีก อัดคลิปด่าเรา รอนาน เตะก้านคอหมออีก ข่มขู่เราอีก ยิ่งถ้ามีคนไข้อุบัติเหตุมา ปอดแตก ไม่รู้สึกตัวเราต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีก ปั๊มหัวใจอีกหรือมีคนคลอดลูกก็ต้องไปทำคลอดอีก!! หรือคนไข้ในวอร์ดไม่ดีเราก็ต้องวิ่งไปดู
เดินวนวิ่งวนไปทั้งเวร

😔เราอยู่เวรหมอ1คนทั้ง รพ.นะ ทำทุกอย่างนะ!!! คนไข้มา รพ.นอกเวลาราชการ ต้อง รอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นะเราขอโทษ!!! ถ้าไม่ด่วนมากต้องเข้าใจพวกเรานะ เราอยากรักษาให้ไวๆทุกคนแหละ เราก็ไม่อยากให้คนไข้รอนะ ทำไงได้เราอยู่เวรคนเดียว
-ข้าวเย็นหรอ 5 นาทีก็หรูแล้ว
-โทรสัพท์หาพ่อแม่หรือแฟนหรอ ลืมไปเลย หรือแม้แต่ เค้าโทรมาหาเรา !!เรายังอาจไม่ได้รับเลย นี่ยังไม่นับถ้าพ่อแม่หรือแฟนเราป่วย ไม่มีโอกาสได้ดูแลหรอก ฉะนั้นที่เห็นพวกเราคุยโทรสัพท์หรือส่งไลน์ อาจจะแค่ส่งติ๊กเกอร์ หรือ แค่บอกว่าเดี้ยวโทรกลับนะ เอาเข้าจริงกว่าจะโทรกลับ อาจอีกสัก2-3วัน เพราะลงเวร วันไหนไม่มีเวร เราสลบนะนอนยาวเพื่อเอาแรงไว้อยู่เวรต่อ อีก10-15เวรต่อเดือน_อย่าจับผิดพวกเราเลยว่าเอาแต่เล่นโทรสัพท์ พวกเราไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ที่จ้องจับผิดคนอื่น อัดคลิปด่าคนอื่นๆ ทีวีข่าวสารบ้านเมืองหรอ ลืมไปเลย

เงิยเดือนพวกเราหรอ จบป.ตรี 18,000+ค่าเวร10,000-15,000 +ค่าไม่ทำเอกชนไม่เปิดคลินิก10,000=ประมาณ 3-4หมื่น พอกินพอใช้นะ ส่งรถ ให้พ่อแม่ ทำงานบางเดือนเงินก็ไม่ได้ออกนะ อาจรอ3-6เดือนกว่าจะตกเบิก!!

😖ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ขอความเห็นใจ
ไม่ได้ให้ใครมาสงสาร เพราะพวกเราทำจนเป็นกิจวัตรแล้ว และยินดีทำเพราะเราเลือกเรียนและเลือกที่จะทำงานสายนี้ เห็นคนไข้มีรอยยิ้ม แค่นี้ชีวิตหมอๆพวกเราก็หายเหนื่อยแล้ว

😢ส่วนที่บอกว่าพวกเราชอบดุด่าคนไข้ ไม่อธิบาย ก็คงมีบ้าง ยอมรับทุกวิชาชีพมีคนดีย่อมมีคนไม่ดี พวกเราขออภัย

😔แต่อยากจะบอกว่า!! ก่อนจะกล่าวหา พวกเรา ก่อนจะด่าพวกเรา แบบเหมารวมยกเข่ง

ลองมาอยู่เวรกับพวกเรามากินมานอนมาอยู่เวรกับพวกเราสัก 1 อาทิตย์ไหมแล้วจะรู้ว่าพวกเราทำงานเป็นอย่างไร

พวกเรา จนท. รพ.รัฐ ก็มีชีวิตจิตใจนะ เหนื่อยกายไม่ว่า แต่เหนื่อยใจนิสิ...😖

แด่คนไข้ที่เคารพ

.................................................
Infectious ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/423427684754597


“หมอ” 👩🏼‍⚕️ ชีวิตหมอๆที่หมอด้วยกันรู้หรืออาจไม่รู้  แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้....ตีแผ่👨‍⚕️

(1) พวกหมอเรา_จบ 6 ปีมาก็จริง ไม่ได้รู้ทุกโรคโดยละเอียดและก็รักษาไม่ได้ทุกโรค_มีเกณฑ์ขั้นต่ำที่แพทยสภากำหนด_จะรู้กัน ว่าหมอท่านไหนเก่งด้านไหน ไม่รู้ก็ถามหมอด้วยกัน ฉะนั้นเวลาพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงป่วย ห้ามคาดหวังว่าเราจะรักษาได้ทุกโรค แต่เราแนะนำได้ว่าจะไปที่ไหน ไปรพ.ไหน ไปพบหมอคนไหนดี..

(2) พวกหมอเรา มีหลายสาขา ชำนาญ_คนละด้าน และแต่ละด้านก็ลึกมากๆ เช่นหมอตา ยังแยกเป็น กระจกตา จอประสาทตา หนังตา ดีนะยังไม่แยกตาซ้ายตาขวา หรือกระดูกก็ยังแยกเป็น มือ เท้า กระดูกสันหลัง ชำนาญกันละอวัยวะ เมื่อหมอเราดูแล้วว่าเกินศักยภาพของเราเอง เครื่องมือ หรือทีม อาจจำเป็นต้องส่งรักษาต่อในสถานที่ที่คน เครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อมกว่า

(3)หมอ!!! อายุน้อยหน้าใสๆ ไม่ใช่ว่าไม่เก่ง และบางทีอาจจะเก่งมากกว่าหมออายุมากเสียอีก เพราะอ่านมาเยอะ+มีพรสวรรค์ในการดูคนไข้ และอัพเดตความรู้ตัวเองตลอดเวลา

(4)ประสบการณ์ดูคนไข้+ค้นคว้า+อ่าน+ฟังอบรมจากผู้รู้จะช่วยให้หมอเราเก่งขึ้น ไม่แปลกที่หมออายุมากจะรู้เยอะ เห็นปุ๊บ ตรวจแปปเดียวก็รักษาได้แล้ว แต่ถ้าไม่update ตัวเองตลอดเวลาก็จะรักษาสู้หมออายุน้อยไม่ได้

(5)หมอเรา!!ไม่มีการเลี้ยงไข้แน่นอน!!.. คนทั่วไปเวลาไปหาหมอแล้วอาการไม่ดีขึ้น บางคนบอกหมอเลี้ยงไข้??? ลองไปหาหมอคนนี้สิ ฉีดยาเข็มเดียวแล้วหาย ซึ่งผิดถนัด มีโรคติดเชื้อที่ฉีดยาเข็มเดียวแล้วหายอยู่ไม่กี่โรค เช่น ซิฟิลิสหนองใน คออักเสบจากแบคทีเรีย gr.A (Benzathine Penicillin)

(6) บางครั้งหมอเราก็ทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิด!! แต่ก็ยังต้องทำ_เพราะโดนกดดัน จากญาติ ผู้บริหาร หรือความเชื่อของสังคม หรือทำต่อๆกันมาเป็นทอดๆจนคิดว่าสิ่งนี้ถูก อันนี้น่ากลัวมาก ยังเห็นในสังคมปัจจุบัน

(7) หมอที่เก่ง/คนไข้อาจไม่ติด คลินิกไม่ค่อยมีคนเข้า
กลับกัน หมอบางคนรักษาไม่ได้ตามหลักวิชาการมาก แต่คนไข้กลับมีเยอะ!! คนไข้ติดงอมแงม_ดังนั้นปริมาณคนไข้ขึ้นกับ ความน่าเชื่อถือ การสื่อสาร การพูดคุย บุคลิกภาพ และความจริงใจให้คนไข้

(8) หมอเราสมัยเรียนถูกสอนไม่ว่ากล่าวกันเอง ให้เกียรติกันและกัน ไม่ว่ากล่าวหรือคอมเม้นท์หมอคนรักษาก่อนหน้าแบบเสียๆหายๆต่อหน้าญาติ เพราะ อาการคนไข้ก่อนมาพบเราอาจยังไม่ชัด จึงควรให้เกียรติหมอคนรักษาก่อนหน้า แต่ถ้าพบว่ารักษาพลาดหรืออาจรักษาไม่ได้มาตราฐาน พวกหมอเราอาจโทรหากันคุยกันเพื่อเรียนรู้เคส ประชุมเคสเพื่อเรียนรู้กันแบบพี่สอนน้อง แต่ปัจจุบันหมอบางคนยังมีเบลมหมอกันเอง ไม่น่ารักเลย_ไม่ควรทำ_บางเรื่องจนนำไปสู่การฟ้องร้อง น่าเศร้าใจมาก

(9) หมอมีหลายสังคม
-ในรพ.ศูนย์ รร.แพทย์ ที่เป็นครูแพทย์ ทำตัวเหมือนอาชีพครูเลย มีสอน มีออกข้อสอบ มีตรวจข้อสอบ นอกจากสอนน้องๆหมอแล้ว ยังต้องมีงานบริการตรวจคนไข้ด้วย ภาระงานเยอะมาก ท่านเหล่านี้เสียสละมากๆ เงินเดือนอาจไม่เยอะมาก แถมต้องทำวิชาการส่งเพื่อเลื่อนขั้นอีก นับถือน้ำจิตน้ำใจ
-หมอเอกชน:อาจไม่ชอบระบบรัฐ ไม่ชอบสอนหรือมีความจำเป็นบางประการส่วนตัว ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของสังคมไทย เอื้อหนุนเกื้อกูลกัน ช่วยคนไข้ได้เหมือนกัน กลุ่มเป้าหมายคือคนไข้ที่มีกำลังจ่าย อยากไว ไม่รอนาน _ บางส่วนของหมอรัฐบาล_รายได้ไม่มากก็ต้องมาอยู่ parttime นอกเวลาราชการเพราะยังคงต้องมีเงินส่งรถ ส่งบ้าน เลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย
-หมออาชีพอื่นๆ นักบิน ธุรกิจความงาม อาชีพส่วนตัว นักร้องนักแสดง

เชื่อเถอะไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของสังคม ศักดิ์ศรีเท่ากัน ทุกคนรักคนไข้และเพื่อนมนุษย์ 6 ปีที่ถูกหล่อหลอมกว่าจะเป็นหมอ_เห็นมาทั้งการเกิด การป่วย การตาย การสูญเสีย การพลัดพราก เศร้า ดีใจ เสียใจ ร้องไห้มานักต่อนัก หมอทุกคนจิตใจงามพร้อมที่จะช่วยคนตกทุกข์ได้ยาก

(10) ตอนเราสอบเข้าหมอตอน ม.6 มีการจัดอันดับคะแนนสูงต่ำ...ว่าที่ไหนคะแนนสูง/ต่ำ เอาเข้าจริงพอจบมาเป็นหมอมีคำนำหน้า นพ, พญ, ทุกคนศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป็นพี่ๆน้องๆเพื่อนๆร่วมวิชาชีพด้วยกัน ไม่ว่าจะจบสถาบันไหนก็ตาม!! ไม่อยากให้พวกเรา ดูถูกเพื่อนต่างสถาบัน อย่าลืมว่าถ้าเราดูถูกคนอื่น สักวันเราก็ต้องโดนคนอื่นดูถูก

👨‍⚕️หมอที่ดี ต้องดีทั้ง กายและใจ👩🏼‍⚕️👨‍⚕️
โดย....หมอเกือบแก่ขี้บ่น ว. 32xxx


่.................................................


ชีวิตแพทย์เพิ่มพูนทักษะ กับ 10 เรื่องจริงที่คนไม่ค่อยรู้

นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า :

Fri,2017-07-14 09:43 -- hfocus

https://www.hfocus.org/content/2017/07/14227

ในโอกาสที่กระแสแพทย์ลาออกจากระบบราชการโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากความอึดอัดกับระบบราชการ Hfocus.org ขอนำข้อเขียนของ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเคยเขียนเรื่องนี้เผยแพร่ทาง"ในระหว่างปฏิบัติงาน 3 ปีนี้และระหว่างการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางผมว่ามีหลายอย่างที่คนทั่วไปไม่เคยรู้ และอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้าน"ส่วนตัวเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่มีกระแสแพทย์ลาออกจากระบบราชการและอีกไม่กี่เดือนปัญหาเรื่องนี้ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมอีกครั้ง

ความจริงที่คาดไม่ถึงกับแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้านไทย

“นักศึกษาแพทย์ใช้เวลาเรียนนาน 6 ปีเมื่อจบแล้วทุกคนต้องทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะและใช้ทุนในโรงพยาบาลของรัฐ 3 ปีซึ่งในปีแรกแพทย์เพิ่มพูนทักษะจะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นจะไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปจนครบ 3 ปี หลังจากนั้นแพทย์ส่วนหนึ่งก็จะมาศึกษาต่อเฉพาะทางที่เรียกว่าแพทย์ประจำบ้าน บางส่วนก็ทำงานต่อในโรงพยาบาลเดิมหรือย้ายโรงพยาบาล

ในระหว่างปฏิบัติงาน3 ปีนี้และระหว่างการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง ผมว่ามีหลายอย่างที่คนทั่วไปไม่เคยรู้และอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้าน ได้แก่

1.เงินเดือนไม่ได้สูงมากมาย เป็นไปตามหมวดเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐหรือลูกจ้างโครงการ วุฒิการศึกษาเทียบเท่าระดับปริญญาโทประมาณสองหมื่นต้นๆย้ำไม่ได้เป็นแสนอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ

2.งานที่ทำก็ต้องทำทุกวันตลอดสัปดาห์ คือจันทร์ถึงอาทิตย์เลยไม่มีวันหยุดราชการเสาร์ อาทิตย์ เพียงแต่ว่าวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ก็ทำงานถึงประมาณ11 โมงเช้าหรือเที่ยงๆ ถ้าไม่ได้อยู่เวร

3.ถ้านับเวลาทำงานในวันราชการตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ประมาณ 10ชั่วโมงต่อวัน วันหยุดก็ 4 ชั่วโมงต่อวัน รวม 1 เดือนก็ประมาณ 250 ชั่วโมงต่อเดือนก็ตกชั่วโมงละ 100 บาท ย้ำว่า 100 บาทเท่านั้นเท่าๆ กับค่าคาราโอเกะ

4.การอยู่เวรนอกเวลาราชการก็เริ่มตั้งแต่ 16.30-เช้า แต่บางโรงพยาบาลก็แบ่งเป็น 2ผลัด คือ 16.30-24.00 น. และหลังเที่ยงคืนถึงเช้า แต่ส่วนใหญ่อยู่ถึงเช้าเลยบางที่รับผิดชอบเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉิน บางที่รับผิดชอบทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินผู้ป่วยหนักในหอผู้ป่วย ถ้าเป็นวันหยุดก็อยู่เวรตั้งแต่ประมาณ 10.00 ถึงเช้าวันใหม่ บางโรงพยาบาลก็แบ่งเป็น 2 หรือ 3 ผลัด แต่ส่วนใหญ่ไม่แบ่งผลัดขึ้นกับระบบหรือจำนวนแพทย์ในแต่ละโรงพยาบาล เดือนหนึ่งก็อยู่เวรประมาณ 10-12 เวรค่าเวรก็แล้วแต่โรงพยาบาล ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ก็เป็นเวรเหมาจ่าย ประมาณ 5 ถึง 6พันบาท เฉลี่ยค่าเวรก็ประมาณวันละ 500 บาท หรือชั่วโมงละ 30-40 บาทพอทานอาหารจานเดียวที่โรงอาหารได้พอดี ซื้อกาแฟก็ยังไม่พอเลยครับ

5.การทำงานมีความรับผิดชอบต่อชีวิตคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดถ้างานไม่เสร็จก็ไม่ได้ทานข้าว จึงทำให้แพทย์แทบไม่เคยทานข้าวเช้า ส่วนข้าวกลางวันเย็น ไม่ค่อยตรงเวลา แพทย์ส่วนมากจึงเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนมีความเครียดสูง

6.การนอนหลับแทบไม่เคยหลับได้ต่อเนื่องเป็นชั่วโมงเลยซึ่งก็ถือว่าดวงดีมากแล้วที่ได้นอนบ้างเพราะส่วนใหญ่แล้วต้องถูกตามดูคนไข้อาการหนักตลอดเวลา ยิ่งดึกก็ยิ่งยุ่งแทบไม่ได้นอนเลย

7.ความอึด และความอดทนของแพทย์ต้องเป็นเลิศ เพราะต้องสามารถทำงานต่อเนื่องได้ประมาณ36-40 ชั่วโมงได้โดยไม่ต้องนอน จึงถูกขนานนามว่า “อึดเป็นควายสมองเป็นคน”

8.เจ็บป่วยสามารถลาได้ แต่ก็มักไม่ได้ลา เพราะไม่มีแพทย์คนอื่นๆทำงานแทนได้ในหน้าที่เดียวกัน จึงเห็นแพทย์ที่ไม่สบายมาทำงานบางคนสายน้ำเกลือติดตัวมาด้วย ภาพที่เห็นในโซเชียลคือภาพจริงๆ ที่พบเห็นได้ตัวเองป่วยก็ไม่ทุกข์ใจเท่ากับพ่อ แม่ป่วย แต่แพทย์ไม่สามารถลาไปเฝ้าดูแลพ่อแม่ได้ หรือบางครั้งภรรยาคลอดลูกก็ไม่ได้ไปให้กำลังใจ ไม่น่าเชื่อแต่ก็ต้องเชื่อมันคือความจริงที่เศร้าใจ

9.วันลาพักร้อนก็มีเหมือนอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่เคยได้ลา เพราะไม่มีใครทำงานแทนเราได้จึงมีวันลาสะสมเยอะมาก ไม่รู้ว่าจะดีใจ หรือเสียใจกันแน่

10.งานอะไรอะไรที่ไม่มีใครทำก็เป็นหน้าที่ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เหตุผลเหรอก็จะได้ประสบการณ์มากๆ ต้องเสียสละ พี่ๆ ก็เคยเจอแบบนี้มาทั้งนั้น น้องๆก็ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ดังนั้นใครที่อยากเป็นหมอจริงๆเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง ใจรัก เสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นผมสนับสนุนให้รีบมาเรียนหมอเลยครับ แต่ถ้าใครอยากเรียนเพราะเห็นว่าหมองานสบายเงินดี หรือเพราะเรียนเก่งเพียงอย่างเดียว แต่ใจไม่รัก ร่างกายไม่แข็งแรงพออย่ามาเรียนเลยครับ เพราะจะไม่มีความสุขเลย” รศ.นพ.สมศักดิ์เทียมเก่า


..............................................


รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม???

OR No.9 เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด
16กค60 เวลา 11:43 น.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=705040683015508&id=495293923990186

ทุกครั้งที่มีข่าวแพทย์ลาออก โดยเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า

"รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนทำไม"
"ทำไมแค่นี้ทนไม่ได้ อาชีพอื่นเหนื่อยกว่าตั้งเยอะเขายังทนกันได้"
"ลาออกทำไม"
และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งจากคนรอบข้างและจากสังคม

รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม
คำตอบ คือ ไม่รู้ครับ
ไม่มีใครรู้ตั้งแต่แรกหรอกครับว่าการเรียนหมอ จบแล้วจะมีชีวิตอย่างไร

ผมเองก็ยอมรับว่าก่อนมาเรียนก็ไม่รู้หรอก ว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะทำงานยังไง ได้เงินเท่าไหร่ มีเวลาหรือไม่มีเวลายังไง ภาวะกดดันยังไง

และผมก็มั่นใจว่า เด็ก ๆ ส่วนมากก็ไม่มีวันรู้หรอกครับ เพราะตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนมากอายุประมาณ 17-18 ปี อย่าว่าแต่อาชีพหมอเลย แม้กระทั่งคณะอื่น ๆ อาชีพอื่น ๆ ที่เลือกเข้าไป ก็รู้แค่ผิวเผินเท่านั้นแหละครับ ไม่มีใครรู้รายละเอียดข้างในลึก ๆ หรอก

ก่อนมาเรียน
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเป็นหมอต้องทำงานติดกัน เกิน 24 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ ครั้ง
- ไม่มีใครรู้หรอครับ ว่าจะต้องมีวันทำงานรวมทั้งวันที่อยู่เวรมากกว่าวันหยุด ในปีแรกวันหยุดจะน้อยมาก เดือนนึงที่ได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันเสียด้วยซ้ำ และวันนักขัตฤกษ์หรือหยุดยาวนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับว่าจะได้หยุดหรือไม่ บ้านช่องแทบจะไม่ได้กลับ บางทีไม่เห็นหน้าพ่อแม่เป็นเดือนก็มีบ่อย ไปครับ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลามาทำงานจริงๆ มันลาแทบจะไม่ได้เลย เพราะเราลาหนึ่งคน ก็ส่งผลกระทบต่องานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต่อเพื่อนร่วมงาน หรือต่อคนไข้ เช่นอยู่โรงพยาบาลอำเภอมีหมอ 3 คน คนที่ 1 เป็น ผอ คนที่ 2 และ 3 เป็นหมอ คนหนึ่งตรวจคนไข้ประมาณร้อยคน ถ้าเราลาสักวัน เพื่อนก็ต้องทำงานเป็นสองเท่า เป็นต้น
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งสารคัดหลั่ง หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานภายใต้สภาวะกดดันมากมาย บางครั้งต้องตัดสินใจให้เร็ว เพื่อแข่งกับเวลา และมีโอกาสผิดพลาดได้ทุกนาที
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าใช้เวลาในการเรียน 6 ปี เรียนรู้โรคเป็นร้อยเป็นพันโรค เรียนรู้ยาเป็นร้อยเป็นพันตัว แต่เวลาเอามาใช้งานจริง ๆ จำมาได้แค่ 20% ของที่เรียนก็เก่งมากแล้ว มิหนำซ้าเวลาตรวจคนไข้เจอโรคที่คาดไม่ถึงอีก ก็เกิดความผิดพลาดได้อีก พอผิดพลาดก็เกิดผลกระทบต่างๆ นา ๆ ตามมา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าตอนที่เรียนนอก ไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสืออย่างเดียว ยังมีการทำหัตถการพื้นฐานอีกมากมาย เวลาไปผ่านแต่ละแผนก ก็ได้ทำนิด ๆ หน่อย ๆ บางครั้งแทบไม่ได้เห็น เคยเห็นแต่ในตำรา แต่พอมาทำงานจริง กลับต้องทำโดยที่ไม่มีความถนัด ก็เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการถูกฟ้องร้อง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าการทำงานแต่ละนาที เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน หรือถูกฟ้องร้อง ขาข้างหนึ่งแทบจะก้าวเข้าไปอยู่ในตะรางตลอดเวลา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเงินเดือนจริง ๆ ไม่กี่หมื่นบาท เวลาอยู่เวร ถ้าจบใหม่ ๆ บางที่ 8 ชั่วโมงก็ 400 - 800 บาท แต่แทบไม่ได้นั่งเลยก็มีนะครับ บางคนเปรียบเทียบว่าเป็นแรงงานชั้นดีค่าตอบแทนถูกนั่นเอง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่ารายได้มันไม่ได้มากอย่างที่คิด รายได้รัฐบาลบางทีทำแทบตาย ต่อให้ทำทั้งวันทั้งคืนติดกันทั้งเดือน รายได้ก็หลักหมื่น รายได้จะมากหน่อยก็ตอนใช้ทุนปี 2 -3 พอมาเรียนเฉพาะทางแทบไม่มีรายได้เลยอีก 3 - 5 ปี (รับแต่เงินเดือนกับค่าเวร หมื่นสองหมื่นต่อเดือน) บางสาขาจบมา รายได้กลับน้อยกว่าตอนใช้ทุนเสียอีก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจะต้องมาเจออะไรในระบบราชการบ้าง ปัญหาร้อยแปด เช่น เอาหมอไปทำงานเอกสาร งานบริหารบ้าง เป็นต้น หรือปัญหาพื้นฐานเช่นเงินเดือนออกไม่ตรงเวลา 6 เดือนแรกไม่มีเงินเดือนให้ ค่าตอบแทนบางอย่างค้างเป็นปี ๆ ก็ยังไม่ออก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลาเข้ามาเรียนแล้ว จะต้องเรียนต่อยอดไปเรื่อยๆ สามปี ห้าปี และมากกว่านั้นอีก กว่าจะจบและเริ่มเก็บเงินจริงๆ ก็เกือบจะสามสิบห้าแล้ว มีเวลาในการเก็บออมอีกไม่กี่ปี ก็หมดแรงทำงานแล้ว กว่าชีวิตจะสบาย เอาเข้าจริง ๆ ก็วัยห้าสิบกว่า ๆ หรือหลังเกษียณนะครับ

แล้วจะรู้เมื่อไหร่ ว่าการเป็นหมอลำบากขนาดไหน ต้องเจอกับอะไรบ้าง
- สามปีแรกยิ่งไม่ได้แตะตัวคนไข้ นั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยม ๆ กับเรียนแล็บต่าง ๆ
รวมทั้งผ่าอาจารย์ใหญ่ ยิ่งแทบไม่มีโอกาสได้สัมผัสชีวิตจริงของหมอเลยครับ
- ปีสี่ ปีห้า เริ่มเข้ามาสัมผัสกับงานมากขึ้น เริ่มอยู่เวรแต่การอยู่เวรก็แค่เที่ยงคืน และยังมีชั่วโมงเรียนปนกับชั่วโมงฝึกงาน ก็ยังแทบจะไม่รู้อะไร
- ปีสุดท้าย ใกล้ชิดกับความเป็นหมอมากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้ดูคนไข้ทั้งตัวตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสักเท่าไหร่ การรักษาส่วนมากยังอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่อยู่
- กว่าจะรู้จริงๆ ก็ตอนมาเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว โดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ที่ต้องออกไปทำงานเอง รับผิดชอบเองทุกอย่าง

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ว่าทำไมหมอถึงลาออกในช่วงนี้
ถ้าใครชอบชีวิตที่เล่ามา ก็ดีไป ทำงานต่อไปได้
ถ้าใครไม่ชอบ ก็จะพบสภาวะกดดันต่าง ๆ นา ๆ ทั้งจากสังคมและคนรอบข้าง

ดังนั้น ถ้าหมอสักคนจะลาออก ไม่ผิดหรอกครับ
สังคมไม่ควรตั้งคำถาม หรือควรประณามใด ๆ เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ตัวเองว่าไม่เหมาะกับงานนี้ ให้คนที่เหมาะสมทำจะดีกว่า
ถ้ารู้ตัวเร็วว่าไม่ถนัดกับงานสายนี้ ดีกว่าดันทุรังทำไปด้วยใจไม่รักอีกหลายสิบปี

การเป็นหมอนั้นถ้าเป็นด้วยใจรักก็จะอยู่ได้ถึงวัยเกษียณ แต่ถ้าใจไม่รักก็จะรู้สึกเหน็ดเหนือยและท้อในแทบจะทุกวัน
การเป็นหมอนั้นไม่ได้สบายอย่างที่หลายต่อหลายคนคิด ในส่วนของรายได้ จริงอยู่ว่าไม่ได้อดตาย แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่หลายคนคิด

ลูกเพจของผมหลายๆ ท่านที่ถามมา รวมถึงผู้ปกครอง
นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จากประสบการณ์ตรง
ที่อยากเล่าสู่กันฟัง
ว่าการเป็นหมอ ไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ และชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดนะครับ
แต่ถ้าใครคิดว่าใจรักจริง ๆ หากมีญาติพี่น้องทำงานในโรงพยาบาล ก็ไปตามดูชีวิตของหมอก่อนได้ก็จะดีครับ
และที่สำคัญ พ่อ แม่ ที่มีความคาดหวังกับลูกมาก ๆ ว่าลูกเรียนเก่ง อยากให้เรียนหมอ จบหมอแล้วจะสบาย รายได้ดี ความคิดแบบนั้น ผมยืนยันว่า "ผิด" อย่างสิ้นเชิงครับ





Create Date : 16 กรกฎาคม 2560
Last Update : 31 มกราคม 2561 12:52:58 น. 5 comments
Counter : 6312 Pageviews.  

 
Vee Chirasreshtha 26 กรกฎาคม
ก่อนที่คุณจะตั้งคำถามว่า ทำไมช้าจัง คุณลองคิดถามดูก่อนว่า เอ๊ะ หมอ กับ พยาบาลเหล่านี้ "ทานข้าวตอนไหน"

คนไทยกำลังทำให้ทุกอย่างแย่ลง
และคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือคนไทยนั่นเอง
.
เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้
มันเป็นผลจากความไม่รู้ของคนไทยเอง
และระบบที่แย่มานานมาก
.
๑. แพทย์พยาบาลขาดแคลนมานานแล้ว
เรามีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันมาเป็นเวลานาน
แต่เราก็ตรวจรักษาเช่นนี้มาตลอด เพราะไม่มีการแก้ไขใดๆที่เป็นรูปธรรม
เอาง่ายๆให้มองเห็นภาพ
ตอนนี้ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ๑๐ เตียงที่ผมเคยอยู่
จะมีคนไข้ที่มาตรวจรักษาวันหนึ่งประมาณ ๑๐๐ คน (อันนี้ขึ้นต่ำ)
ผมเป็นหมอคนเดียวของโรงพยาบาลแห่งนี้
ดังนั้นเวลาที่ผมใช้ตรวจคนไข้ในหนึ่งวันคือ ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ = ๘ ชั่วโมง
หักพักเที่ยงออกไปก็เหลือ ๗ ชั่วโมง = ๔๒๐ นาที
ดังนั้นผมจะเวลาตรวจคนไข้หนึ่งคน = ๔.๒ นาที
เวลา ๔.๒ นาที คุณคิดว่าผมสามารถทำอะไรได้บ้างครับ
.
๒. เชื่อมั้ยครับว่าโรคที่คนไข้มาหาหมอที่โรงพยาบาล
มากว่า ๘๐% เป็นโรคที่หายเองได้
เพียงแค่ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ
เช่นอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการโรคหวัดไข้น้ำมูก ฯลฯ
แต่เมื่อมาตรวจที่โรงพยาบาลก็ต้องมาใช้เวลา ๔.๒ นาทีนั้น
ทำให้คนไข้ที่ป่วยจริงๆและต้องการการตรวจรักษาอย่างละเอียดจากแพทย์เสียโอกาสไป
เพราะผู้ป่วยที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างละเอียดจริงๆ
ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
หรือส่งตัวไปรักษาต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า
ดังนั้นเมื่อใช้เวลานาน คนไข้ที่รอ ที่เป็นโรคเล็กๆน้อยๆก็บ่นก็ร้องเรียน
ทำให้มันเป็นเหมือนวงจรที่ทำให้แพทย์ต้องรีบและอาจเกิดความผิดพลาดได้
.
๓. นอกเวลาราชการเราจะตรวจเพียงแค่ผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น
ซึ่งคำว่าฉุกเฉินเป็นอย่างไรคนไทยก็ไม่เข้าใจในความหมาย
และสิ่งที่เจอที่ไม่น่าจะมี คือคนไข้ที่มานอกเวลาเพราะบอกว่าในเวลารอนาน
ก็เลยมาตรวจเอาตอนดึกๆ
หรือพวกที่เป็นป่วยเล็กน้อยมาสองสามวัน มาเพื่อขอใบรับรองแพทย์
สิ่งเหล่านี้มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ
ซึ่งนอกเวลาราชการคนที่ทำงานก็มีไม่มากอยู่แล้ว
จึงทำให้คนที่ป่วยจริงๆต้องรอตรวจมากขึ้น
แต่เมื่อเรามีระบบคัดกรองใครป่วยมากสุดควรได้ตรวจก่อน
คนที่อาการหนักมากก็จะตรวจก่อน
ก็จะมีการโวยวายว่ารอนาน ด่าทอเจ้าน้าที่ ถ่ายรูปลง social
.
๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจำนวนน้อยและทำงานกันหนักมาก
จนบางครั้งก็มีคำเปรียบเปรยว่าเราคือกรรมกรปริญญา
แพทย์ทำงานช่วงกลางวัน ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ และอยู่เวรต่อ ๑๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ ของอีกวัน
จากนั้นเราก็ทำงานในเวลาราชการต่ออีก ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐
สรุปแล้วเราทำงาน ๓๖ ชั่วโมง ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่เรียกว่า basic แล้วของการทำงาน
คุณพยาบาลก็เช่นกันทำงานเป็นกะ กะละ ๘ ชั่วโมง
ลงกะนี้แล้วได้พักหน่อยก็มาขึ้นกะต่อไป บางทีก็ทำสองกะติดกัน
แบบนี้ก็เป็น basic ของการทำงานเช่นกัน
แล้ว “คุณภาพชีวิต” และ "คุณภาพของงาน" จะอยู่ที่ไหน
.
.
เมื่อทุกอย่างเริ่มแย่ลงจากการที่เราทำตัวเราเอง
และทำให้คนที่ทำงาน “หน้างาน” ซึ่งเป็นคนทำงานจริงๆของโรงพยาบาล
และเป็นคนที่ช่วยรักษาชีวิตของพวกเรามากที่สุดแล้ว
เริ่มท้อแท้และทะยอยลาออกเรื่อยๆ
รวมทั้งเรื่องฟ้องร้องมากมายที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ
จากความไม่เข้าใจกันของทั้งสองฝ่าย
.
สิ่งที่มีผลตามมานั้น
คนที่มีผลกระทบมากที่สุดก็คือตัวเราเอง
เพราะ
.
๑. เมื่อหมอมีเวลาตรวจน้อยลง ตรวจผิดพลาดได้ง่าย
และเรื่องร้องเรียนและฟ้องร้องต่างๆมากขึ้น
หมอก็จะส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ๆหมด
ไม่กล้าที่จะรักษาที่โรงพยาบาลขนาดเล็ก
แม้ว่าจะสามารถรักษาได้ก็ตาม
ดังนั้นคนที่ได้รับผลกระทบคือตาสีตาสาที่มีรายได้น้อย
ต้องใช้เงินเก็บที่มีทั้งหมดเหมารถมาที่ในเมือง
และเสียค่ากินค่าอยู่อีกมากมาย
แม้ว่าจะรักษา “ฟรี” แต่ค่าเดินทางและค่ากินอยู่ไม่ฟรีนะครับ
และมันก็มีค่ามากจริงๆสำหรับชาวบ้านที่หาชาวกินค่ำ
.
๒. เมื่อส่งตัวมาโรงพยาบาลใหญ่มากขึ้น
โรงพยาบาลใหญ่ก็จะแออัดมากขึ้น
คนไข้ก็จะได้ตรวจช้ามากขึ้น
คิวการรักษาก็จะนานมากขึ้น
นานจนบางครั้งรักษาไม่ได้แล้ว
พอเป็นเช่นนี้เรื่องร้องเรียนต่างๆ
เช่นได้ตรวจช้าบ้าง หมอวินิจฉัยล้าช้าบ้างก็จะตามมา
แล้วมันก็จะเป็นวงจร ทำให้หมอและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานจริงๆท้อแท้
และเริ่มลาออกกันมากขึ้น
และจะเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
.
.
เรากำลังทำร้ายคนที่พยายามช่วยรักษาชีวิตของเรากันอยู่ครับ
.
ดังนั้นทางแก้ไข้คือ
.
๑. คนไทยต้องมีความรู้ในเรื่องของสุขภาพมากกว่านี้
และดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานให้ได้
รวมทั้งการเปิดใจรับสิ่งที่ถูกต้องที่ผู้รู้ได้อธิบายได้บอกกล่าว
ไม่ใช่ปิดกั้นทุกอย่าง คิดว่าตัวเองถูกเสมอ
และเชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ที่ส่งมาตามไลน์ตาม social
.
๒. อันนี้สำคัญมาก
คือผู้ใหญ่ข้างบนคงต้องมีมาตรการที่จริงจังมากกว่านี้
ต้องจริงใจที่จะแก้ปัญหามากกว่านี้
และคิดถึงสวัสดิภาพและขวัญกำลังใจของ “ผู้ปฏิบัติงาน” มากกว่านี้
อะไรที่ต้องเด็ดขาดก็เด็ดขาดครับ
อย่ามาอ้อยอิ่งกลัวร้องเรียนกลัวเสียฐานเสียง
กลัวที่จะไม่ได้ไปต่อ...
ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่เหลือคนที่ทำงานจริงๆครับ
.
.
หากยังเป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ
คนไทยนั่นแหละครับที่จะได้ผลกระทบ
และเมื่อมันเลวร้ายมากขึ้น
คนไทยจะได้รับการรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ที่รักษาคุณ “ด้วยหน้าที่” ไม่ใช่ "ด้วยหัวใจ”
.
.
ผมไปดูแลรักษาคุณลุงคุณป้าของผมก่อนนะครับ
ผ่าตัดไปหลายราย นอนรออีกหลายราย
มาไกลกันทีเดียว
ทุกคนรอผมอยู่... รอด้วยใจ
ผมก็จะพยายามรักษาด้วยใจเช่นกันครับ

cr หมอหนุ่ม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155040912168264&set=a.400083088263.178340.722948263&type=3&theater


โดย: หมอหมู วันที่: 29 กรกฎาคม 2560 เวลา:21:54:57 น.  

 
กระทู้ดี ๆ จากเวบพันทิบ .. จากคุณ defe_caola
แชร์ประสบการณ์ จากเด็กขายของเร่จนวันที่จบเฉพาะทาง
https://pantip.com/topic/34210529

เราตามอ่านกระทู้มาหลายเรื่อง ไม่รู้ว่าเรื่องของเราจะเป็นประโยชน์กับใครไหม แต่มันเป็นอดีตที่ดีมากๆสำหรับเรา อยากแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้นะ ^^

ชีวิตวัยเด็กบ้านเราไม่ค่อยมีเงิน พ่อเราขับรถจักรยานยนตร์รับจ้าง แม่เราขายของเล็กๆน้อยๆหน้าบ้านและตามตลาดนัด มีบางช่วงที่ไม่มีทุนก็เป็นลูกจ้างตามร้านอาหาร เราอาศัยกันอยู่ในบ้านเช่าหลังเล็กๆ ตอนเด็กๆเราไม่มีญาติ เพราะพ่อกับแม่หนีมาด้วยกันตั้งแต่วัยรุ่นแล้วก็ตัดขาดกันไป


เราช่วยแม่ทำงานตั้งแต่จำความได้ เก็บล้าง เก็บชาม คิดเงิน เดินโพยหวย ส่งของตามบ้าน เอาของมาเร่ขายตามถนน ขายเรียงเบอร์ เอาผ้าลูกไม้มาร้อย สานที่ลวกก๋วยเตี๋ยวที่ลวกสุกี้ ปั๊มตราไก่ซองเอกสาร ฯลฯ ทำทุกอย่างให้ได้เงิน แต่ถึงอย่างนั้นบ้านเราก็ไม่เคยมีเงินเก็บ มีแต่หนี้สิน วันๆหาเงินมาได้ก็ต้องเอาไปจ่ายหนี้เก่า วันไหนไม่มีเงินแล้วเค้ามาทวง เรากับน้องต้อง แกล้งทำเป็นไม่อยู่บ้าน ทำตัวเงียบๆจนกว่าเจ้าหนี้จะไป


ส่วนใหญ่เรากลับจากรร.ถ้าไม่ได้รับของไปขายก็จะอยู่บ้านคนเดียว บางครั้งก็อยู่กับน้องสาวที่ห่างกัน5ปี แม่สอนให้เราหุงข้าว ทำงานบ้าน ให้พอช่วยเหลือตัวเองได้ เคยมีครั้งนึงที่เราทอดไข่แล้วมันไหม้ กระทะไฟลุก ดีที่มีเพื่อนบ้านมาเห็น วันนั้นเราโดนตีแทบตาย หลายครั้งที่เรากินข้าวคลุกกับซีอิ้ว เพราะแม่ไม่ได้ทิ้งเงินไว้ให้ แต่คิดๆไปมันก็อร่อยดีนะ

เราเรียนประถมที่รร.วัดใกล้บ้าน ซ้อนมอเตอร์ไซค์พ่อไปรับไปส่ง เราเรียนได้ดี แม่สอนเสมอว่าต้องเรียนให้เก่งๆโตมาจะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อเหมือนแม่ แม่เรียนน้อย อ่านหนังสือไม่ออก พอเรากลับจากรร.อยู่บ้านคนเดียว แม่จะกำชับไม่ให้ออกไปไหน ต้องอ่านหนังสือ ทำการบ้าน ถ้าเราทำตัวดีและแม่มีเงิน เราจะได้การ์ตูนมาเป็นเพื่อนคลายเหงา ที่รร.พอสอบได้ที่1จะมีแจกเงินให้ ถ้าได้ที่1ของสายชั้นก็จะมีเงินเพิ่ม ครั้งแรกที่ได้เราดีใจมาก เป็น100บาทที่เรามีความสุขมาก กลับบ้านไปพ่อแม่ก็ชม

พอโตได้สักหน่อย เราช่วยแม่ขายของ บางครั้งขายไม่หมดก็ออกเดินขายตามสี่แยกบ้าง เดินตามถนนบ้าง คนเห็นก็ช่วยซื้อ เราทำเกือบทุกวันหลังเลิกเรียน ของขายหมดเราก็กลับบ้านไว โดยส่วนใหญ่เรากลับสักสามทุ่มได้ มันเหนื่อยนะ เดินมากๆขาก็ปวด แต่ต้องทำไม่งั้นจะไม่มีเงินไว้ใช้ ค่าอาหารเดือนเดือนละ150บาท เรายังติดทางโรงเรียนไว้ตั้งหลายเดือนเลย ถ้าโดนทวงเราก็จะอายเพราะฉะนั้นก็ต้องหาเงิน จะรอขอพ่อแม่ก็มีโอกาสที่จะไม่มี พึ่งตัวเองนี่ละดีที่สุด เสื้อผ้ารองเท้าหนังสือรองเท้านักเรียน เราไม่เคยมีของใหม่ พ่อกับเเม่จะไปขอข้างๆบ้านมาให้เรา

เราชอบการเรียน เรื่องเรียนเป็นสิ่งที่เราทำได้ดี เราสอบได้ที่1ทุกปีตอนประถม มีความสุขมากที่จะได้เงินส่วนตัวไว้ใช้ เป็นตัวแทนการแข่งขันโน่นนี้นั่น ตอบปัญหา แข่งเลข เล่านิทาน ภาษาอังกฤษ สวดสรภัญญะ แข่งชนะก็ได้เงิน อาจารย์ที่ร.ร.ก็จะมาติวให้ช่วงไปแข่ง เหมือนได้เรียนพิเศษแบบ Exclusive มีแบบฝึกหัดเสริมมากมายโดยไม่ต้องซื้อเอง ถ้าช่วงที่เราทำกิจกรรมของโรงเรียนเราไม่ต้องไปช่วยที่ร้านแม่ ไม่ต้องเดินขายของ ไม่ใช่ว่าเราไม่ชอบนะ แต่แม่อยากให้เราไปแข่งได้ที่ดีๆมากกว่า ถ้าผ่านระดับกลุ่มโรงเรียน ก็จะได้ไประดับจังหวัด ถ้าผ่านถึงระดับภาคหรือระดับประเทศเราก็จะได้ไปเที่ยวต่างจังหวัด ได้นอนโรงแรมที่มีแอร์ มีรูปถ่ายสวยๆ ที่สำคัญคือได้เงิน มีเงินมาใช้ส่วนตัว ซื้อหนังสือที่อยากได้ เราเสพติดและกระหายกับชัยชนะ งานโรงเรียนทางวิชาการเราลงแข่งเกือบทุกอย่าง ยกเว้นคัดลายมือกับวาดรูป ประกาศและโล่ที่ได้รวมๆกันสัก50-60ใบมั้งตอนประถม

เราสอบเข้ามัธยมในโรงเรียนหญิงล้วนแห่งนึง คนสอบมีพันกว่าคน เราได้ที่10ในนั้น เพื่อนที่โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง เพื่อนในกลุ่มพ่อแม่เป็นครู เป็นทหาร เป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นข้าราชการ แน่นอนบ้านเราจนสุด เรารับรู้ได้ถึงความแตกต่างของฐานะแม้เพื่อนคนอื่นจะไม่มีใครคิดก็เหอะ

เราเริ่มอายที่จะบอกว่าพ่อเราขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพื่อนมัธยมไม่เคยได้มาทำงานที่บ้านซ่อมซ่อของเรา เรากลับบ้านเร็วตลอดเพราะต้องมาขายของที่ตลาดนัด กว่าจะกลับก็ดึก ค่าเทอมกับเงินไปโรงเรียนส่วนใหญ่เราหาเองใช้เอง เราไปสายประจำเพราะมันเหนื่อยมันล้ามาก เราเรียนได้3.6-3.8 เราไม่ได้เป็นที่1อีกต่อไปเมื่อมาอยู่รร.ที่ใหญ่ขึ้น บางครั้งมันก็ท้อ ในขณะที่เพื่อนๆได้ไปเรียนพิเศษ แต่เรากลับต้องมาทำงานหาเงินงกๆ เราไม่เคยได้ไปเที่ยวนอกจากทัศนศึกษากับเพื่อนเลยสักครั้ง ต้องหาข้ออ้างมากมาย เช่นพ่อแม่หวง เป็นห่วงไม่ให้ออกจากบ้าน ทั้งที่ที่จริงพ่อแม่เราปล่อยมาก อยากทำอะไรก็ทำ อยากไปไหนก็ไป อยากกินไรก็กิน ตราบใดที่ไม่ได้ขอเงินพ่อกับแม่น่ะนะ

ช่วงม5-ม6 เรารู้สึกว่ามันไม่ไหวแล้ว เลยเข้าไปคุยกับอ.จ.ที่ปรึกษา ขอทุนการศึกษาอีกทุน (เราได้ทุนมูลนิธิโรงเรียนตั้งแต่ม.1ปีละ5,000บาทอยู่แล้ว)
เราทำงานน้อยลง ช่วงก่อนสอบเอ็นทรานซ์เรากัดฟันลงเรียนพิเศษ2วิชาที่เราคิดว่ามันอ่านเองไม่ไหวแน่ๆ เงินเก็บหมื่นกว่าบาททั้งชีวิตของเราหายไป การต้องไปปิดบัญชีที่ฝากมาตั้งแต่เริ่มเขียนหนังสือเป็นอะไรที่ทรมานมากจริงๆ

เราเรียนสายวิทย์เพราะเรายังไม่รู้ว่าอยากทำงานอะไรกันแน่ ช่วงสอบเราลงทั้งพื้นฐานวิศวะ วัดแววความเป็นครู เราทำคะแนน ไทย สังคม ได้ดีมาก น่าจะอยู่อันดับท็อปๆประเทศ ฟิสิกส์ได้เกิน90 พื้นฐานวิศวะได้สัก70มั้ง ชีวะได้เกินขั้นต่ำมานิดหน่อย สมัยเราสอบ2ครั้ง เรามาดูว่าคะแนนเราน่าจะถึงคณะแพทย์ ก็เลยลงไว้สามอันดับแรก บอกตรงๆว่าเราไม่รู้หรอกกว่าเราชอบหรือเปล่า แต่เรารู้ว่าทางบ้านจะดีใจถ้าเราเป็นหมอ และเราคิดว่าถ้าถึงขนาดสอบได้แล้วก็น่าจะเรียนได้ ปรากฎว่าเราติดคณะแพทย์ที่มหาวิทยาลัยที่ต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง เราดีใจมาก แต่ก็กังวลใจมากเหมือนกัน ไม่รู้ว่าที่บ้านจะมีคนส่งเงินให้หรือเปล่า เราจะหาเงินยังไงถ้าเราอยู่ไกลๆ เราคิดถึงบ้าน เราไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเลย

เทอมเเรกของการเรียน เเม่เราต้องไปขอยืมเงินจากญาติที่ไม่ได้ติดต่อกันมานานมาจ่ายค่าเทอมให้เรา โดนปฏิเสธใส่หน้าก็มีแต่เราก็เข้าใจนะว่าบ้านเราเครดิตไม่ดี เพื่อนส่วนใหญ่เป็นเด็กพื้นที่จากโค้วต้า/เรียนดี ส่วนกลางมีจำนวนน้อย เพื่อนที่รับน้องกรุงเทพส่วนใหญ่ไปรายงานตัวด้วยเครื่องบิน ส่วนเรากับพ่อนั่งรถไฟชั้นสองไปรายงานตัว 18 ชมของรถไฟไทยมันเมื่อยมาก

เด็กคณะเเพทย์โดยส่วนใหญ่บ้านจะค่อนข้างมีเงิน เราไม่มีเพื่อนจากโรงเรียนเก่าไป การหาเพื่อนใหม่เป็นเรื่องยาก เราไม่สามารถไปเที่ยวกับเพื่อนได้เพราะเราไม่มีเงิน เเค่นั่งกินร้านนมหน้ามอเรายังไม่อยากไปเลย ดีที่อยู่ในจังหวัดที่ค่าครองชีพถูก ค่าเรียนก็ถูก ใครว่าเรียนคณะแพทย์ต้องมีเงินมันไม่จริงเสมอไปนะ ค่าธรรมเนียมเรียนในแต่ละปีเสียไม่เกิน20,000 ค่าหอเทอมละ3,000รวมน้ำไฟ บังคับอยู่หอทุกคนตอนปีหนึ่ง ค่าข้าวที่โรงอาหารกลาง จานละ12-15บาท(สมัยเรานะ) น้ำ5บาท ช่วงก่อนกยศ.ออกเราได้เงินจากที่บ้านเดือนละสองพัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ไม่ครบ กินเเต่ข้าวใต้หอกับโรงอาหาร

ข้อดีของการเรียนคณะเเพทย์ที่เราคือการรับน้อง คือมันดีมาก!! ข้าวฟรีทุกเย็น วันเฟรชชี่ไนท์ก็จะมีพี่เอาขนมมาให้เยอะเเยะหอบสองมือไม่หมด เวลาเข้าห้องเชียร์ก็จะมีข้าวห่อๆให้ เราไม่เคยโดดซ้อมเชียร์เลย ช่วยประหยัดเราได้เยอะเลย พี่แต่ละปีก็จะพาไปเลี้ยงบ่อย ช่วงไหนไม่มีเงินก็เอาขนมที่พี่ให้มาเป็นเสบียงยามยาก กินเเทนข้าว ปีหนึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่ต้องใช้เงินซื้อtextbookเยอะ 2,000นี่คือเราอยู่รอดสบายๆเลยนะ

คืออยากบอกเด็กที่บ้านไม่ค่อยมีเงินว่า อย่ากลัวว่าเข้ามาคณะแพทย์แล้วจะไม่มีเงินเรียน คณะแพทย์มีทุนการศึกษาให้เยอะมาก เพื่อนเราทุกคนที่ขอทุนคือได้กันทุกคน คณะดูเเลเราดีมาก ขอแค่เข้ามาให้ได้ก็พอ

เราได้ทุนปีละ20,000บาทซึ่งเค้าจะแบ่งจ่ายเราเป็นรายเดือนเดือนละ2,000 รวมกับกยศ ที่ได้เดือนละ2,000บาท โดยรวมคือเราได้เดือนละ4,000 โหยมันดีมากอ่ะ อยากกินไรก็ได้กิน ไม่ต้องซื้อมาม่ามาตุนเเล้วกินซ้ำๆตอนเงินใกล้หมด ได้ออกไปกินนมกินขนมหน้ามอหลังมอบ้าง ช่วงที่เรียนมหาลัยเราแทบไม่ได้ทำงานเสริมเลย เราก็ใช้พอนะ

พอเข้าตัวคณะตอนพรีคลินิค เราสอบบ่อยมาก สอบทุกๆสองอาทิตย์ เงินส่วนใหญ่นอกจากกินก็หมดไปกับการซื้อtextbook หนังสือส่วนใหญ่ราคาแพง ยอมรับว่าซีรอกซ์มาซะมาก เราซื้อ anatomyแค่netterเล่มเดียวที่เป็นของจริง เป็นหนังสือที่เเพงที่สุดที่เคยซื้อ คือมันเครียดนะ ไหนจะเงินไม่มี คิดถึงบ้าน ไม่มีเพื่อนสนิท เวลาเขาไปเที่ยวกันเราไปไม่ได้เพราะไม่มีเงิน พอปฎิเสธบ่อยๆก็ไม่มีคนชวนละ โน้ตบุคก็อาศัยใต้หอหรือห้องสมุดเอาซึ่งมันลำบากต้องไปต่อคิวยืมใช้ ซึ่งมันเสียเวลาอ่านหนังสืออ่ะ อยากกลับบ้านก็กลับไม่ได้ เราต้องกันเงินส่วนนึงทุกเดือนมาซื้อโน้ตบุคใช้ทำงาน เราเก็บเงินได้ครบตอนใกล้ๆปีสาม นั่นเป็นโน้ตบุคตัวเเรกที่เราเป็นเจ้าของ

ปีสี่ปีห้าทำงานบนวอร์ด เล็คเชอร์สลับกับสอนข้างเตียง เขียนรายงานหัวหมุน ลงเวรส่วนใหญ่คือเที่ยงคืน ฝากท้องส่วนใหญ่ไว้กับอาหารโรงพยาบาล วนๆไปทุกวอร์ด งานส่วนใหญ่คือทำแล็ป เวลาราว์นก็จะอยู่ชั้นนอกของวงโคจร แต่เป็นด่านแรกๆที่อจ.จะถาม เวลาช่วงนี้ผ่านไปเร็วมาก เป็นปีแห่งการเรียนรู้จริงๆ เราได้เจอคนไข้ตัวเป็นๆ ได้เป็นเจ้าของเคสครั้งแรก โดนอัดบ้าง กินหัวบ้างทั้งจากอาจารย์จากพี่เป็นเรื่องปกติ นอกจากวิชาการก็มาเรียนรู้เอกสาร คีย์ยา เขียนservice note progress note ทะเลาะกันในกลุ่มก็เยอะ บางคนเวลาเห็นแก่ตัวก็ไม่เห็นแก่หน้าคนอื่น กั๊กความรู้ แกล้งบอกเเนวข้อสอบผิดๆ หรือกั๊กไม่ให้ข้อสอบเก่ากับคนอื่นนอกจากกลุ่มตัวเอง เเต่คนที่ดีๆก็มีนะ

ปีหกได้ทำงานเหมือนหมอจริงๆเกือบทุกอย่างภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีใบประกอบและไม่ได้เงิน เราได้วนไปตามรพ.ศูนย์ที่ทางโรงเรียนเเพทย์เราโคกันไว้ เปลี่ยนไปจังหวัดละวอร์ด ซึ่งการทำงานของรรพกับรพ.ศูนย์ค่อนข้างต่างทั้งปริมาณงาน การจัดการเอกสาร รพศูนย์จะเน้นงานservice อจและอินเทิร์นจะไม่ค่อยว่างมาสอนเรา เราต้องเรียนรู้เเละอยู่รอดให้ได้ด้วยตัวเอง ยิ่งเป็นเมเจอร์วอร์ดจะยิ่งเหนื่อยมาก ข้อดีคือได้ไปเปิดหูเปิดตา เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บางครั้งทำตามตำราทุกอย่างก็ใช้ไม่ได้

อีกอย่างคือที่คณะเราจะมีข้าวเย็นให้คนที่อยู่เวรกินฟรี ช่วยประหยัดเงินได้เยอะเลย รพ.ศูนย์ส่วนใหญ่ก็จะมีข้าวexternให้กินนะ บางที่นี่คืออร่อยอ่ะ บางที่นี่คือดีมาก มีทั้งข้าวกลางวันข้าวเย็นให้ ไหนจะสตาฟพาไปเลี้ยงจัดหนักจัดเต็มอีก ไม่มีเรียนหนักแล้วน้ำหนักลดหรอก เวลาเหนื่อยก็ต้องกินไม่งั้นจะนอนไม่หลับ อยู่เวรส่วนใหญ่ก็ไม่ได้นอนเพราะเป็นfirstcall ต้องตื่นมาคนเเรกแล้วค่อยปลุกพี่ไปตามลำดับ จะไปนอนก่อนก็ไม่ได้งานยังไม่เสร็จ

พอตอนจะจบก็ต้องเลือกว่าจะทำอะไรต่อ จะไปใช้ทุนไหมหรือจะเป็นอินเทิร์นที่มหาลัยต่อ เราไม่อยากจับฉลาก ไม่อยากพึ่งดวง เราอยากอยู่ใกล้ๆบ้านเเละอยากเรียนต่อด้วย ก็เลยเลือกเป็นแพทย์พี่เลี้ยงในรพศูนย์แห่งนึงที่สามารถสอบวุฒิบัตรได้ ข้อดีคือเราไม่ต้องไปจับสลาก ได้เรียนต่อในสาขาที่ต้องการเลย ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ได้เงินในระดับที่พออยู่รอดได้( ในรรพจะให้เงินเดือนเหมาจ่ายรวมๆแล้วเดนท์ได้สองหมื่นนิดๆ) มันก็จะมีGapช่วงที่จบมาแล้วยังไม่ได้ว.เพื่อนส่วนใหญ่ก็จะไปเที่ยวต่างประเทศกัน แน่นอนเราไปไม่ได้ เราแทบไม่มีเงินติดตัวเลย สิ่งเเรกที่เราทำหลังได้ว.เป็นของตัวเองคือการทำรพ.เอกชน อยู่เวรERออกOPD (ก่อนทำสัญญาเงินหมื่น) ก็พอมีเงินติดตัวนิดหน่อย ได้แบ่งให้แม่ไว้ใช้บ้าง

ช่วงทำงานเดือนเเรกๆก็ตกเบิก ได้เงินเเค่เงินเวรบางส่วนที่ใช้เงินบำรุงจ่าย เรารับเวรERที่สตาฟขายเยอะที่สุดในรุ่น เพราะเป็นแหล่งเงินที่ได้มาไวที่สุด ซึ่งมันเหนื่อยมากกับการไม่ได้นอนหลายๆวัน ไหนจะเวรวอร์ดที่ต้องอยู่อีก ERเคสก็เยอะ ต้องรับเคสจากรพชด้วย ที่เคยทำประวัติศาสตร์ไว้คือเวรดึก74 เคสตรวจคนเดียว ตอนเช้าก็ต้องไปราว์ด ไปทำงานวอร์ดต่อ

เงินตกเบิกจะได้ประมาณเดือนตุลา ซึ่งเราเริ่มทำงานตั้งแต่เม.ย เป็นหกเดือนที่ชีวิตยากลำบาก เงินที่ได้มีเเต่เงินเวรเดือนละประมาณ20,000แล้วเเต่ความถี่ในการอยู่เวร เราเรียนจบแล้วก็ต้องแบ่งเงินให้ที่บ้านใช้ ช่วยเงินค่าเทอมน้องสาว ทั้งๆที่เงินเดือน20,000นั่นละ วันที่เงินตกเบิกได้คือได้แสนนิดๆ โอ้ยยย โครตดีใจ เงินแสนเเรกในชีวิต วันนั้นนี่คือEuphoria ดอกไม้เบ่งบานในท้องทุ่ง หลังจากนั้นเงินก็เริ่มเข้าคงที่ทุกเดือนละ พอจบInt 1 ก็เป็นresidentที่รพ.ศูนย์นั่นต่ออีก3 ปี จนไปสอบได้วุฒิบัตร

เอาจริงๆเราว่าความเหนื่อย ความลำบากตอนทำงานมันน้อยมากจริงๆเมื่อเทียบกับตอนเด็ก เราเคยอยู่ในร้านอาหารโต้รุ่ง อดนอนเสิร์ฟ ล้างจานจนมือเป็นแผล ไม่มีใครสนใจ ขอเบิกเงินยังโดนไล่อย่างกับหมูกับหมา ตอนนี้เราดูเคสในห้องแอร์อดนอนบ้างได้นอนบ้างแต่ก็ไม่ได้ลำบากกายมาก ทำงานก็ได้เงิน แม้จะไม่ได้สูงแต่ก็พออยู่ได้ในระดับที่ดีกว่าคนอื่นในสังคมมาก

เราว่าเราโชคดีที่อยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา บ้านเราไม่เคยมาตัดสินเรื่องเรียนว่าเราควรหรือไม่ควรทำอะไร ตอนจบม.ต้นมีคนบอกให้เรามาเรียนสายอาชีพจะได้ทำงานได้ไวๆ แต่เราไม่ยอม เเม่ก็ไม่บังคับเรา เราอยากสายอะไรก็เรียน พ่อกับเเม่ไม่เคยว่า(รวมถึงไม่เคยชม)เรื่องเรียนเลย บอกให้เราตัดสินใจเองเเละเรียนรู้ผลลัพท์ด้วยตัวเอง

สุดท้ายนี้ ฝากทุกท่านที่เคยยืมเงินกยศเหมือนเรา ถ้ายืมเเล้วก็คืนเค้าเถอะ รุ่นน้องจะได้มีเงินไว้ใช้ต่อ ชีวิตเราถ้าไม่มีกยศ คงไม่ได้เรียนมาจนจบขนาดนี้ ส่วนตัวเราใช้หนี้กองทุนหมดตั้งแต่สองปีที่จบมาเเล้ว สงสารเด็กรุ่นต่อๆไปนะ

defe_caola
21 กันยายน 2558 เวลา 20:28 น.



โดย: หมอหมู วันที่: 25 สิงหาคม 2560 เวลา:19:40:46 น.  

 
7 วิธีสำหรับแพทย์เพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยขณะทำงาน
7 ways for doctors to stay safe at work

ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ามีเหตุการณ์รุนแรงซึ่งทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในขณะทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ทั้งนี้นับรวมทั้งความรุนแรงต่อร่างกายและบางครั้งก็เป็นถ้อยคำรุนแรงที่เกิดให้เกิดความเสียใจ ตามที่มีข่าวให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ

Dr. Jenny Hartsock ได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงใน KevinMD.com เมื่อที่ 7 กันยายน 2560 โดยกล่าวถึงความรุนแรงในขณะทำงานของแพทย์ว่าเกิดเพิ่มมากขึ้นและถูกรายงานน้อยกว่าที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งแนะนำแนวทางที่จะช่วยให้แพทย์รอดพ้นจากอันตรายอันเกิดจากการก่อเหตุรุนแรงโดยผู้ป่วยไว้น่าสนใจ จำนวน 7 ข้อ ดังนี้

1. ควรพยายามทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับความคาดหวังของผู้ป่วยให้เร็วที่สุด หรือถ้าทราบล่วงหน้าได้ก็ยิ่งดี

2. ควรทราบนโยบายและระบบรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาล และมีแผนเพื่อความปลอดภัยสำหรับบุคลากรที่พร้อมใช้

3. ควรตื่นตัวกับความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นจากประวัติการเคยก่อความรุนแรง โรคจิต การติดยาเสพติดของผู้ป่วย

4. เมื่อผู้ป่วยมีท่าทีที่จะก่อความรุนแรง ควรพยายามพูดนุ่มๆไม่ขึ้นเสียง ฟังและแสดงท่าทีเข้าใจ บอกผู้ป่วยว่าคุณทราบว่าเขากำลังรู้สึกขัดแย้ง บอกให้มั่นใจว่าคุณยินดีฟังและทราบความประสงค์ของเขา ให้ผู้ป่วยพูดโยไม่ขัด และถามว่าต้องการให้ช่วยอะไรบ้าง

5. ถ้ารู้สึกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงและไม่สามารถแก้ไขได้ ควรค่อยๆถอยห่างออกจากผู้ป่วย และออกไปแจ้งบุคลากรอื่นหรือพนักงานรักษาความปลอดภัย

6. ควรรายงานสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดในโรงพยาบาลเสมอ

7. ควรหาโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารเกี่ยวกับนโยบายรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาล และเสนอความคิดเห็นที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยของบุคลากร

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของบทความนี้ได้ที่: //www.kevinmd.com/blog/2017/09/7-ways-doctors-stay-safe-work.html


โดย: หมอหมู วันที่: 11 กันยายน 2560 เวลา:15:20:09 น.  

 
อยากให้น้องที่จะสอบเข้าแพทย์ได้อ่าน
https://pantip.com/topic/32432066

สำหรับน้องๆที่กำลังตัดสินใจจะสมัครเรียนหมอ
พี่ตั้งใจเขียนให้อ่านนะครับ
เชื่อว่าน้องๆอาจจะค้นหาข้อมูลอะไรมาเยอะแล้ว
พี่เป็นหมอคนนึงที่หลายสิบปีก่อน
เคยเป็นอย่างน้องๆในรูปด้านล่าง
เคยปักธงชาติบนหน้าอก
เคยตั้งใจอยู่เอาทุนไปเรียนต่อวิศวะ
แต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้อยากเรียนแพทย์
ตอนนั้นสงสัยปนไม่แน่ใจว่าอาชีพแพทย์ หลังจากสอบเข้าไปได้แล้ว
จะเกิดอะไรขึ้นกับเราต่อไป
แต่ก็ไม่มีใครมาอธิบายแบบตรงๆ
มีแต่มาอ้อมๆ แบบหล่อๆ เช่น
'เป็นหมอเหนื่อยนะ แต่เป็นอาชีพที่มีเกียรติ'
'เป็นหมอไม่รวยนะ แต่ก็ไม่จน'

- หมอเรียน 6 ปี จะได้จบเป็นแพทย์มีคำนำหน้า นายแพทย์ แพทย์หญิง

- ปีแรกเรียนคณะวิทย์
ปี 2-3 เรียนชั้น preclinic
ปี 4-6 เรียนชั้น clinic

- ปี 1 ยังใช้ทักษะคล้ายๆตอนม.ปลายอยู่บ้าง เรียนไป ทำกิจกรรมไป

- ปี 2 น้องจะได้เรียนศาสตร์ที่เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติ
ศัพท์แพทย์ ภาษากรีก ลาติน เป็นพันๆคำในช่วงเวลา 1 ปี
ส่วนใหญ่เป็นการท่องจำ ไม่ต้องไบรท์มากแต่ต้องขยัน สม่ำเสมอ
ใจต้องรัก เพราะต้องอยู่กับกลิ่นฟอร์มาลีนตลอดปี

- ปี 3 เรียนโรค เชื้อต่างๆ ร่างกายมนุษย์ที่ผิดปกติ
ท่องจำเป็นหลักเหมือนเดิม
คนที่สอบได้เกรดสูงๆ อาจจะไม่ใช่คนที่ได้คะแนนสูงตอนสอบเข้าก็ได้
เพราะรูปแบบการเรียนต่างออกไป

- ปี 4-6 คือการทำงาน
ต้องใช้ EQ มากกว่า IQ มากมายมหาศาล
ความรับผิดชอบ การเสียสละ รู้จักการทำงานเป็นทีม
ต้องทำงานกับพยาบาล รุ่นพี่ รุ่นน้อง
รูปแบบการเรียนฉีกออกไปจากที่น้องเคยรู้จักแบบสิ้นเชิง
เหมือนถูกถีบ ลงไปในมหาสมุทร
ความรู้มหาศาล ที่มองไปทางไหนก็ไม่เห็นฝั่ง
ก่อนสอบลงกอง (ไม่แก่จริงอาจจะไม่รู้จักคำนี้)
จะมีโพยข้อสอบลอยมาให้ท่องไปสอบ จากรุ่นพี่
น้องอาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่โพยเหล่านั้น
คือสิ่งที่เค้าต้องการให้เรารู้ก่อนจบแพทย์ออกไป
ต้องเรียนให้เป็น
จึงจะเอาตัวรอดได้ ในแต่ละภาควิชาที่วนผ่าน
อารมณ์ประมาณ เที่ยวญี่ปุ่นทุกจังหวัด ภายใน 30 วัน

- 5-6 ปีนี้น้องต้องจากที่บ้านมาอยู่หอพัก

- น้องต้องสามารถอดนอน สามารถทำงานได้ 36 ชั่วโมงต่อเนื่อง
อาจได้กินข้าววันละมื้อ
อาจต้องยืนในห้องผ่าตัด 10 ชั่วโมงไม่ได้นั่ง

- น้องอาจต้องเสียความสดใส ในชีวิตวัยรุ่นตอนปลายไป

- ถ้ามีแฟนต่างคณะ โอกาสที่ต้องจบด้วยการเลิกราค่อนข้างสูง

- น้องต้องทำเกรดให้ดีที่สุด
ถ้าพี่อยากสร้างภาพพี่จะพูดว่า
'เกรดไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตการเป็นแพทย์' ฟังแล้วหล่อมั๊ยครับ
แต่ในโลกความเป็นจริง
เกรดตอนเป็นนักเรียนแพทย์นี่แหละกำหนด ชีวิตมะ-รึงเลย

- กดดันมั๊ย? เวลาก็ไม่ค่อยมี งานก็หนัก ยังต้องพะวงเกรดอีก

- จบออกมา น้องต้องไปใช้ทุนต่างจังหวัด 3 ปี
ปีแรก มักจะอยู่รพ.ใหญ่ ทำงานเป็นควาย บางที่หนักชนิดถ่อยเถื่อนเลยหล่ะ
เดือนนึงอาจจะได้นอนแค่ 10 - 15 คืน
ปีสอง ปีสาม อาจจะสบายหน่อย ออกไปอยู่รพ. อำเภอ
แต่ไกลผู้ไกลคน

- มีไม่กี่คนในรุ่นที่ถูกเลือกเป็นอาจารย์ จะออกไปใช้ทุนแค่ 1 ปีและกลับมา
เรียนต่อเลย พิจารณาจากเกรด กับ เส้นสาย (ลูกอาจารย์ นามสกุลต่างๆ)

- สามปีนี้แหละ ที่น้องจะได้สัมผัสระบบสาธารณสุขของบ้านเราแบบเข้าไส้
ขาข้างนึง อยู่ในคุก พี่ไม่ได้พูดเกินเลย
ถ้าเกิดอะไรขึ้น หันไปรอบๆ อาจหาไม่เจอซักคนที่คอยช่วยเรา
นอกจาก ขยัน อดทน เสียสละ น้องต้องอยู่ให้เป็น
ทำอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุดต่อคนไข้และตัวเราเอง

- รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 6 หมื่นถึง 1 แสนนิดๆ
ถ้าคิดต่อชม. ต่ำกว่าแรงงานขั้นต่ำ
น้องต้องเก็บเงินส่วนนึงเอาไว้ ก่อนไปเรียนต่อด้วย
เพราะตอนเรียนต่อ เงินเดือนสองหมื่นนิดๆ

- น้องจากพ่อแม่มากี่ปีแล้วนะ ตอนนี้ ... 9 ปีแล้ว

- จบ 6 ปี บวกใช้ทุนสามปี ถ้าน้องจะออกจากรพ. อำเภอ
กลับเข้ามาอยู่เมืองใหญ่
ไม่ต้องกรุงเทพ แค่จังหวัดใหญ่
พี่บอกเลยว่า ไม่พอ
น้องต้องเรียนต่อ ยิ่งยุคของน้องด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึง

- การจะเรียนต่อมีสองแบบ
1. เรียนต่อในโรงเรียนแพทย์
2. ทำงานใช้ทุนในรพ. ใหญ่ เช่น รพศ.หลักๆตลอดตอนใช้ทุน 3 ปี บวกเพิ่มอีกนิดหน่อย
สามารถไปสอบอนุมัติบัตรเป็นแพทย์เฉพาะทาง
(ถ้าอยากทำแบบสอง น้องต้องสมัครตอนอยู่ปี 6 คนแย่งกันเยอะเหมือนกัน ดูเกรด กับ เส้น)

- ถ้าจะเรียนต่อในโรงเรียนแพทย์หลังใช้ทุนครบสามปี ทำได้สองแบบ
1. สมัครด้วยตนเอง เรียกว่า free train
2. สมัครแบบมีต้นสังกัดส่งให้มาเรียน เรียกว่า ทุนต้นสังกัด
คือน้องต้องกลับไปทำงานให้รพ.ต้นสังกัดหลังจากเทรนจบเป็นแพทย์เฉพาะทาง

- พื้นที่การได้เข้าเรียนต่อมีจำกัด ยิ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ดังๆ ยิ่งแข่งขันสูง
ถ้าเป็น free train น้องต้องได้เกรดสูงถึงสูงมาก
ทุนต้นสังกัด อาจไม่ต้องเกรดดีมาก แต่การจะได้ทุนต้นสังกัดนั้น
อาจต้องอาศัย เส้น และ ดวง ไม่ใช่ได้กันง่ายๆเช่นกัน

- การที่อาจารย์จะพิจารณารับว่าจะเอาใครมาเรียนต่อ
ไม่มีการสอบเข้า โดยทั่วไปจะดูสามอย่างตามลำดับดังนี้
1. เส้น
2. เกรด
3. ทุนต้นสังกัด
เค้าอาจจะเลือกกันตั้งแต่ก่อนเอาคุณไปสัมภาษณ์แล้วด้วยซ้ำ
(พี่พูดตรงไปมั๊ยวะเนี่ย)

- ไปๆมาๆมีแต่เส้น กับ เกรด

- การเทรนแพทย์เฉพาะทางใช้เวลา สามสี่ปี โดยเฉลี่ย
ต้องอดทนกับการโดนโขกสับ บางสาขาก็ถือว่าโหดมาก
ร้องไห้ ลาออก กันไปก็มี

- หลังจากจบแล้วก็ต้องอ่านหนังสือสอบบอร์ด

- จบแพทย์เฉพาะทางมาแล้วเราก็จะได้บอร์ด แต่ก็มักต้องเรียนต่อยอด
ในสาขานั้นๆอีก 2-3 ปี เพื่อให้ได้ subboard

- ช่วงที่เทรนอยู่ 3-6 ปีนี้จะค่อนข้างจนมาก เพราะรายได้สองหมื่น
ต้องอยู่เวรเพิ่ม การจะมีรถมีบ้านเป็นของตัวเอง แทบจะลืมไปได้เลย

- หลังจากเข้าแพทย์มาถึงตอนนี้ก็ ... 12 - 15 ปีแล้ว
อายุประมาณ 30 - 33 ปี น้องก็จะจบไปเป็นแพทย์เฉพาะทาง
เพิ่งได้เริ่มต้นชีวิต ขณะที่เพื่อนๆที่เรียนอาชีพอื่นไปถึงไหนกันหมดแล้ว

- การจะเชี่ยวชาญได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ทำงานอีกเป็นสิบปี
เพื่อที่จะมั่นใจมากพอในการรักษาคนไข้ซักคนนึง ให้ผิดพลาดน้อยที่สุด


รู้ด้านลบต่างๆแล้ว ทีนี้มาฟังด้านดีบ้าง

- แพทย์เปรียบเหมือนสื่อกลาง (media-) ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
เป็นคนที่อยู่บนเส้นของความเป็นกับความตาย
การตัดสินใจของเราบางครั้ง เลือกที่จะส่งวิญญาณไปสู่สุคติ หรือ เลือกที่จะให้เค้ามีชีวิตกลับคืนมา

- ศาสตร์ทางการแพทย์ มีไม่กี่คนในโลกที่มีโอกาสได้เรียน
'you are the chosen one'
อาจารย์ใหญ่ท่านอุทิศร่างท่านเพื่อแลกกับความรู้ในการสร้างแพทย์ขึ้นมา 1 คน
คนไข้มากมายในโรงเรียนแพทย์ที่เปรียบเหมือนครูที่สอนเรา ก่อนจะจบออกมา

- With great power comes great responsibility
... ความรู้อันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่สูงส่ง
ไม่มี super hero คนไหนที่ไม่ลำบาก เศร้ามากถึงมากที่สุดเกือบทุกคน
เราอาจจะได้รับการคาดหวังจากสังคมที่สูงมาก
เราอาจจะรู้สึกว่า ดูแลแต่คนอื่น พ่อแม่กับคนรักเรา กลับไม่เคยได้เหลียวแล
เราอาจจะรู้สึกว่าช่างไม่ยุติธรรมอะไรเลย ที่หมอเสียภาษีเป็นแสน แต่โดนด่าทุกวันว่าชั้นเสียภาษีนะโว๊ย
เราอาจจะรู้สึกว่า ตั้งใจช่วยชีวิตคนเต็มที่ แต่ถ้าพลาดขึ้นมาโดนฟ้อง ขาข้างนึงเหมือนอยู่ในคุก
ไม่ว่าเราเลือกที่จะเป็นหรือถูกกำหนดให้เป็น จงภูมิใจที่ได้เป็น

- น้องอาจจะได้ช่วยชีวิตคนเกือบร้อยคน ตั้งแต่อายุแค่ 25
ถึงแม้เค้าอาจจะไม่ได้เห็นคุณค่าของน้อง แต่น้องจะรู้สึกภูมิใจที่สุดเชื่อพี่

- เงินทองของนอกกาย คนเราเกิดมาอายุไม่ได้ยืนยาว
แต่การที่เราได้คืนอะไรให้กับสังคม ได้ช่วยชีวิตคน พี่ว่ามันเป็นที่สุดแล้ว

ขอโทษที่ยาวไป
พี่ไม่เคยพิมพ์เรื่องพวกนี้มาก่อน นี่เป็นครั้งแรกนะครับ
แต่อยากให้เหล่าน้องๆที่เป็น candidate ในการเข้าแพทย์ได้อ่าน
ตอนนี้ยังเลือกได้ ... จงเลือกมันด้วยตัวเองครับ

สมาชิกหมายเลข 1161428
9 สิงหาคม 2557 เวลา 10:45 น.



โดย: หมอหมู วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:21:34:05 น.  

 
https://pantip.com/topic/32432066 (ต่อ)

เรื่องเรียนต่อแล้วแต่สาขานะครับ

จริงๆเราดู (ไม่ได้เรียงลำดับ)
1 ความตั้งใจจริงในการเป็นหมอเฉพาะทางสาขานั้นๆ
2 ความรู้ความสามารถในเฉพาะทางสาขานั้นๆ
3 ที่ทำงานหลังการเรียนจบว่าตอบโจทย์ความขาดแคลนของสาขานั้นๆมั้ย

ปัญหาคือไอ้ทั้งสามข้อนั้น คณะกรรมการ ที่เพิ่งจะพบคุณวันแรกที่มาสัมภาษณ์จะไปตรัสรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีคุณสมบัติทั้งสามหรือไม่ ดังนั้นเราจึงพิจารณาจาก

1 เส้น ไม่มีวิธีใดจะดีกว่าการที่เรามีคนที่เชื่อถือได้บอกว่า น้องคนนั้นคนนี้มันผ่านเกณฑ์ทั้งสามข้อ แต่จริงๆกรรมการก็ดูนะครับว่าเส้นมาแบบไหน เส้นแบบคนแนะนำมานั้นรู้จักคนที่แนะนำจริงๆ(เคยทำงานร่วมกันจริงๆ)จะน่าเชื่อถือว่าแค่การฝากเพราะเป็นนามสกุลเดียวกัน เป็นลูกหลานเพื่อน

2 เกรด แม้ผลงานในอดีตจะไม่รับประกันผลงานในอนาคต แต่ คนที่เกรดดีกว่าก็มีโอกาสที่เขาจะมีความตั้งใจจริงในสาขานั้นๆมานานกว่าคนที่เกรดไม่ดี เพราะวิชาแพทย์ในสาขาเฉพาะทางนั้นแม้เกรดรวมจะห่วยมากแต่หากคนนั้นๆสนใจจริงก็มีโอกาสที่จะทำเกรดเฉพาะวิชาที่ชอบให้ดีได้ ปัญหาคือหลายคนมารู้จักตนเองช้าไปหน่อย

3 ทุน ทุนจะตอบโจทย์หลายอย่างคือ คนให้ทุนนั้นเขาต้องคัดกรองมาระดับหนึ่งแล้วเพราะการเบี้ยวใช้ทุนมันง่ายเหลือเกิน นอกจากนี้คนให้ทุนก็ต้องดูแล้วว่ามันน่าจะเรียนจบจริง สุดท้ายคือ การกลับไปใช้ทุนจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้ดีเพราะมันหมายถึงที่นั้นๆมันขาดแคลน


ดังนั้นในภาพรวมจะเป็นดังนี้
1 สาขาที่คนต้องการเรียนสูงมากๆ มักจะขึ้นชื่อว่าเส้นเป้นปัจจัยหลัก แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนที่มีสิทธิ์เรียนเหล่านั้นมีโปรไฟล์ที่ดีเยี่ยมเสียส่วนใหญ่ เช่น เกรดดีมากๆ เส้นดีมากๆ หน้าตาดีมากๆ(เกี่ยวมั้ยนะ) ยากมากจะพบคนที่ไม่ได้เรื่องแต่ได้เรียนเพราะมีเส้น ดังนั้นเพราะมันแข่งขันสูงแม้แต่คนมีเส้นก็ต้องเอาความสามารถมาแข่งขันกันด้วย ผมถามง่ายๆว่า จบที่หนึ่งรุ่น เป็นลูกอาจารย์สาขานั้น ไม่มีปัญหาสำคัญที่ไม่ควรรับ แล้วทำไมถึงจะไม่ได้เรียน แม้จะไม่ได้เป้นลูกอาจารย์ก็ตาม

2 สาขาที่คนต้องการเรียนมากกว่าที่รับฝึกอบรมเล็กน้อยเช่น 2-5 เท่าของที่รับ สาขาเหล่านี้คือสาขาหลักส่วนใหญ่ เช่น ศัลย์ อายุรกรรม เด็ก สาขาเหล่านี้จะมีการให้น้ำหนักที่หลากหลายขึ้น เกรดไม่ดี ไม่มีเส้น ไม่มีทุน ก็มีโอกาสได้เรียนถ้าเข้าตาพอ

3 สาขาที่คนสมัครน้อยกว่าที่รับ สาขาเหล่านี้กลับเป็นอีกสาขาที่เส้นสำคัญมาก เพราะคนที่มาเรียนหลายคนอาจเกรดไม่ดี ไม่มีทุน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะเรียนจบไหว และ ดีพอใช้ได้ เส้นจะมีความสำคัญ แต่ สำคัญในแง่รับรองว่าไม่แย่ ไม่เพี้ยน ไม่แปลก


สาเหตุหลักๆที่เรามักไม่รับคือ
1 มีความชอบสาขานั้นๆแบบแปลกๆ หรือเข้าใจสาขานั้นๆผิดเพี้ยนไป
ประเด็นนี้มักมาจากคำถามว่า "ทำไมถึงสนใจสาขานี้" หลายคนคิดว่าตัวเองชอบแต่ไม่เข้าใจว่าจริงๆว่าสาขานั้นเป็นอย่างไร แบบนี้รับมาเรียนมีปัญหาได้ง่าย หลายคนมีความคิดแปลกๆแม้ว่าน่าจะเรียนจบแต่จบไปเนราอาจได้เฉพาะทางนอกคอกซึ่งคงไม่ดีนัก

2 มีความเสี่ยงที่จะเรียนไม่จบ เช่น บุคลิก การเงิน ครอบครัว อาจไม่พร้อม
หลายคนทนความเครียดได้ไม่ดี หลายคนมีหนี้มหาศาล(ตอนเรียนเงินน้อยมากและไม่มีเวลารับจ๊อบ) หลายคนมีปัญหาครอบครัวที่ยังค้างคาอยู่ แบบนี้เรามักเลือกคนที่พร้อมกว่า ดีกว่ารับไปแล้วเรียนไม่รอด

3 มีความรู้พื้นฐานสาขานั้นต่ำมากๆ โดยเฉพาะต่ำกว่า นศพ.
มันคงยากจะเชื่อว่าชอบสาขานั้นจริง ถ้าแม่แต่คำถามที่นศพ.ควรตอบได้กลับตอบไม่ได้
เรื่องเกรดแม้หลายคนจะเกรดไม่ดี แต่การแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาตนเองอาจช่วยเปลี่ยนใจกรรมการได้เช่น การไปเข้าฝึกอบรมระยะสั้นในสาขานั้นๆ อยู่สม่ำเสมอ อ่านวารสารสำคัญๆของสาขานั้นๆอย่างต่อเนื่อง อีกทางแก้คือ เลือกมาฝึกงานที่สถาบันฝึกอบรมนั้นๆซะเลยให้เขาได้มีโอกาสประเมินเราอย่างตรงไปตรงมาว่าหน่วยก้านเป็นอย่างไร

4 มีคนแนะนำมาว่า ไม่ควรรับ เพราะ........
ตรงไปตรงมาครับ แน่นอนคุณสามารถแก้ตัวได้แต่ไม่ง่ายนะครับ ซึ่งคำแนะนำแบบนี้ไม่ได้มาง่ายๆ มันมักจะเกิดขึ้นเพราะคุณทำซึ่งเหล่านั้นซ้ำๆต่อเนื่อง

5 ปกปิด หรือ ไม่ยอมตอบคำถามจนกรรมการพอใจ
คนเราสามารถผิดพลาดได้ หากมันไม่ร้ายแรงคุณย่อมสมควรได้โอกาสแก้ตัว แต่ถ้าคุณปกปิดหรือไม่สนใจจะตอบคุณก็พลาดโอกาสนั้นไป เช่นสมมุติคุณได้เกรด A A C กรรมการถามว่าทำไมตอนแรกๆได้ A แต่เทอมสุดท้ายได้ C หากคุณตอบได้ดีพอเราก็พร้อมจะเข้าใจ แต่ถ้าคุณตอบแค่ว่า ไม่มีอะไร เราก็ยากจะเชื่อว่ามัน ไม่มีอะไร

ปล. สาเหตุที่การเรียนรอดจนจบสำคัญมากก็เพราะมันเป็นการกันที่คนที่พร้อมกว่าและการที่มี่คนออกไปคนที่เหลือจะเหนื่อยขึ้นมากครับ

ปล.2 หลักการส่วนตัวคือเราอยากฝึกให้หมอคนนั้นสามารถเป็นหมอของเราได้เมื่อเราเจ็บป่วยครับ ถ้าเราไม่มั่นใจแล้วเราจะให้เขาไปดูแลคนอื่นได้อย่างไร จริงมั้ย

oncodog
9 สิงหาคม 2557 เวลา 21:09 น.


โดย: หมอหมู วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:21:35:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]