Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เจ็บป่วยไปห้องฉุกเฉิน ... ตามมาตรฐาน ก็ยังต้อง " รอ " ^_^





ด้วยข้อจำกัดด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ ใน โรงพยาบาล รัฐ ( เอกชน )  ในประเทศไทย  และ ในต่างประเทศ จึงได้กำหนดมาตรฐาน คำแนะนำ แนวทางการจัดลำดับความสำคัญ ว่า ผู้ป่วยแบบไหน ต้องตรวจรักษาเร่งด่วน หรือ แบบไหน ที่รอได้ ...  หลายกรณี ผู้ป่วย และ ญาติ รู้สึกว่า ความเจ็บป่วยของตน(ญาติ) ฉุกเฉินเร่งด่วน  แต่เมื่อไปถึงห้องฉุกเฉิน แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ กลับไม่กระตือรือร้นเข้ามาตรวจรักษาดูแล จนทำให้เกิดปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกัน หลายต่อหลายครั้ง

ลองอ่าน ลองศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น บางครั้ง ความเข้าใจ เห็นใจ ก็อาจทำให้เรื่องราวต่าง  ๆ ผ่านไปด้วยดี ...

ยกตัวอย่างของประเทศไทย

ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลขอนแก่น ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 5 ระดับ ด้วยระบบค้ดกรอง Khon Kaen ESI (KESI) ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยวิกฤต        ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง”           ตรวจทันที
                กลุ่มที่ 2 เจ็บป่วยรุนแรง      ใช้สัญลักษณ์  “สีชมพู”        รอตรวจ 5-15 นาที
                กลุ่มที่ 3 เจ็บป่วยปานกลาง  ใช้สัญลักษณ์  “สีเหลือง”      รอตรวจ 15-30 นาที
                กลุ่มที่ 4 เจ็บป่วยเล็กน้อย   ใช้สัญลักษณ์  “สีเขียว”         รอตรวจ 30-60 นาที
                กลุ่มที่ 5 ผู้ป่วยทั่วไป        ใช้สัญลักษณ์  “สีขาว”          รอตรวจ 1-2 ชั่วโมง

https://em.kkh.go.th/advance/adv.services.html

****************************

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจำแนกประเภทผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บ
    แบ่งตามอาการบาดเจ็บ
    แบ่งตามความเร่งด่วนของการรักษา
    แบ่งตามกลุ่มโรค

การคัดกรองผู้ป่วยแบ่งเป็น 5 ระดับ

    ระดับ 1 สีฟ้า (Life threateningcondition)
          ภาวะเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ต้องช่วยเหลือทันที

    ระดับ 2 สีแดง (Emergency condition)
          ภาวะเจ็บป่วยรุนแรงที่ต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน (ระยะเวลารอคอยไม่เกิน 15 นาที )

    ระดับ 3 สีเหลือง (Urgency condition)
         ภาวะเจ็บป่วยเร่งด่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและอวัยวะหากให้การช่วยเหลือล่าช้า (ระยะเวลารอคอยไม่เกิน30นาที )

    ระดับ 4 สีเขียว (Less urgency condition)
         ภาวะเจ็บป่วยทั่วไป (ระยะเวลารอคอยไม่เกิน 60 นาที)

    ระดับ 5 สีขาว (Nonurgency condition)
         ภาวะเจ็บป่วยไม่ฉุกเฉิน (ระยะเวลารอคอยไม่เกิน 120 นาที)

https://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/2013/er.html

*******************************





infographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์     https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

รพ.เอกชน โวย "ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย    https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79

สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186






Create Date : 16 มกราคม 2561
Last Update : 16 มกราคม 2561 21:57:40 น. 0 comments
Counter : 12266 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]