Group Blog
มกราคม 2563

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยว ... เวลาเดินช้าที่ .. น่าน - วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน, น่าน Thailand
พิกัด GPS : 18° 45' 29.91" N 100° 47' 30.03" E

 



สถานที่ท่องเที่ยวแห่งถัดไปที่จะพาไปเที่ยวกันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองน่านมากๆ  อยู่บนยอดดอยเตี้ยๆบริเวณที่เคยเป็นเมืองน่านเก่า  ไม่ไกลจากตัวเมืองครับ
 
 




วัดพระธาตุแช่แห้ง  จ.น่าน


 
 

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่านและพุทธศาสนิกชนที่เคารพนับถือตั้งอยู่ที่หมู่ 3  บ้านหนองเต่า  ตำบลม่วงตึ๊ด  อำเภอภูเพียง   จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปไม่ไกลครับ  ราวๆ 2-3  กิโลเมตรเส้นทางสายน่าน-แม่จริม เท่านั้น  เดิมวัดพระธาตุแช่แห้งเป็นวัดราษฎร์  ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง

 
การไปเที่ยวน่านคราวนี้เจ้าของบล็อกพาคุณนายแม่ไปเที่ยวด้วยก็เลยไม่ได้เดินขึ้นบันไดนาคหน้าวัดครับ  เจ้าของบล็อกขับรถขึ้นมาจอดทางด้านข้างของพระธาตุแช่แห้งนอกระเบียงคด  จากที่จอดรถคุณนายแม่เดินบนพื้นราบไปกราบพระธาตุภายในระเบียงคดได้เลยครับ
 
 

มีตำนานเล่าว่าในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จประทับสรงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก  ที่บ้านห้วยไคร้ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งองค์พระธาตุแช่แห้ง   พระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอแห้งที่เจ้าเมืองถวายให้ แต่เพราะลูกสมอนั้นมีลักษณะค่อนข้างแห้งจึงต้องนำไปแช่น้ำเสียก่อนแล้วจึงเสวย จากนั้นเมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จกลับก็ได้ตรัสว่า  หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้วต่อไปภายหน้าจะมีเจดีย์พระบรมธาตุของพระองค์ ณ สถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า  “
พระธาตุแช่แห้ง”   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานและมีการถวายพระเพลิงเสร็จแล้วพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง  เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา  (ปี) 
 
 
ตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า
วัดพระธาตุแช่แห้ง สร้างขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 1896   ในสมัยพญาการเมืองครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน)   ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไทในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย  (ปัจจุบันคือ  วัดป่ามะม่วง)   เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระมหาธรรมราชาลิไทได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุ  7  พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด  มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2  องค์ มีวรรณดั่งมุก 3  องค์   และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ  2   องค์  พระพิมพ์เงิน  พิมพ์คำ (ทองคำ)  อีกอย่างละ  20  องค์  ให้แก่พญาการเมือง จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ  พระพิมพ์เงิน  พิมพ์คำ  มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้)  ให้กลมเหมือนก้อนศิลา  ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
 


ต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร  มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้




 





 
องค์พระธาตุส่องประกายสีทองสุกปลั่งสามารถมองเห็นได้แต่ไกล  ลักษณะสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าเป็นทรงล้านนาแต่ได้รับอิทธิพลมาจากพระธาตุหริภุญไชย  เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส  สูง  2  เส้น  หรือ  55.5 เมตร  ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 22.5 เมตร  บุด้วยทองจังโก  (ทองเหลืองที่ตีเป็นแผ่นบางๆ)  ทั้งองค์  มีรูปทรงเพรียวสมส่วน 





 



ชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง  2  ชั้น  ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม  ประดับบัวลูกแก้วอกไก่  ที่ฐานชั้นนี้มีเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่มุม 
 


ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงสูง  1  ชั้น  แล้วเป็นฐานสี่เหลี่ยมตัดมุมวางเหลื่อมกัน  2  ชั้น  (ชั้นบนเป็นฐานสี่เหลี่ยมตัดมุมจนเกือบคล้ายๆฐานแปดเหลี่ยม)  ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงในสัณฐานทรงกลมประดับตกแต่งคล้ายๆกลีบบัวบาน  หรือลายใบไม้  ลายดังกล่าวนี้คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง เมื่อล่วงเข้า พุทธศตวรรษที่ 24 แล้ว


 
ตั้งแต่ชั้นมาลัยเถาจนถึงยอดมีลักษณะคล้ายพระธาตุหริภุญไชยแต่มีสัดส่วนที่เพรียวกว่า 






 
 
คำว่า
“แช่แห้ง” นี้ ถือว่าเป็นปริศนาธรรมอย่างหนึ่ง โดยอาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
 


“แช่แห้ง เป็นคำที่เป็นมงคลยิ่งและเป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนาขั้นสูงที่นักปราชญ์โบราณได้ใช้คำที่มีความหมายที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเป็นปฏิปักและตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงมาผสมกัน คือคำว่า “แช่” หมายถึงการนำวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ทำให้จมลงในน้ำ จึงทำให้วัตถุสิ่งของนั้นเกิดการเปียกขึ้น เปรียบเสมือนคนเราที่จมอยู่ในห้วงกิเลสตัณหาทั้งปวง ส่วนคำว่า “แห้ง” หมายถึง การนำวัตถุสิ่งของที่ทำให้เปียกนั้นมาทำให้แห้ง เปรียบเสมือนคนเราที่ได้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาปฏิบัติจนหลุดพ้นจากห้วงกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง
 
ดังนั้นคำว่า “แช่แห้ง” จึงได้ความหมายทางพุทธปรัชญาว่า บุรุษหรือสตรีที่จมอยู่ในภาวะความเปียกของโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสตัณหา อวิชชาต่าง ๆ ยอดมหาบุรุษหรือยอดสตรีเท่านั้นที่จะทำตัวให้แห้งให้พ้นจากภาวะความเปียกของกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ เพราะคำว่าแช่เปรียบก็คือต้นเหตุแห่งทุกข์ คำว่าแห้งก็ย่อมหมายถึงทางแห่งการดับทุกข์ซึ่งตรงกับอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รวมความทั้งหมดแล้วคือ หนทางแห่งนิพพาน”

 
 



 


นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล





 
 
 


ถ้าจะถ่ายรูปพระธาตุทั้งองค์แนะนำมุมที่ด้านหลังพระวิหารครับ  เพราะด้านนี้เป็นลานกว้างมาก  สามารถ่ายรูปพระธาตุได้เต็มองค์เลยครับ










 
พระวิหารหลวง  อยู่ข้างๆกับองค์พระธาตุทางด้านทิศใต้ 
 
 

วิหารหลวง  หรือ  พระวิหารพระเจ้าอุ่นเมือง  อยู่ทางด้านทิศใต้ติดกับองค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีหลังคาซ้อนเป็นเชิงชายออกเป็นชั้นๆ  พระวิหารมีขนาด  6  ห้อง  ห้องกลางมีขนาด  3  ห้อง  และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า  2  ห้องและด้านหลัง  1  ห้อง  มีประตูเข้า  4  ด้าน  คือด้านหน้า  ด้านหลัง  และด้านข้างตรงกับพระประธาน  2  ข้าง
















 
 




ตรงเชิงบันไดด้านหน้าทางเข้าพระวิหารมีสิงห์คู่นั่งชันขาอยู่สองข้างทางเข้าเฝ้าอยู่หน้าประตู ตัวด้านฝั่งซ้ายเรียกว่า
สิงห์สรวล ฝั่งขวาเรียกว่า สิงห์คายนาง เป็นประติมากรรมปั้นปูนแบบพม่าที่ดูสวยงามและแลดูมีชีวิตชีวาน่าเกรงขาม





 
 



ส่วนบนซุ้มเหนือประตูทางเข้าทั้งสองด้าน มีลวดลายปูนปั้นฝีมือสกุลช่างเมืองน่านเป็นรูปพญานาคราช 8 ตัว เกี่ยวกระหวัดรัดกันเป็นบ่วงเรียกว่า อัฏฐพญานาค  สลับกับรูปดอกบัวตูม  7  ดอก










 
 
ลองสังเกตเสาคู่ด้านหน้าตรงทางเข้าด้านในนะครับ  ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น  เดิมนั้นคงทาสีประดับกระจกเหมือนที่วัดภูมินทร์และวัดพระธาตุช้างค้ำ  ปัจจุบันกระจกและสีได้หลุดออกไปหมดเหลือแต่ตรงช่วงล่างของสาที่ยังพอเห็นได้ว่าทาสีชาด  (แดง)  เอาไว้  แล้วทำให้คิดต่อไปว่า  เดิมพระวิหารคงเป็นศาลาโถงเหมือนกับพระวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวง  วัดไหล่หินหลวง  และวัดปงยางคก  จังหวัดลำปาง  เมื่อมีการทำผนังล้อมรอบพระวิหารเสาคู่หน้าที่มีการประดับประดาลวดลายปูนปั้นด้านหน้าเลยถูกโบกปูนทับเหลือให้เห็นลวดลายปูนปั้นบนเสาแต่เพียงด้านในพระวิหาร
 









 


พื้นพระวิหารปูด้วยเสื่อตลอดทั้งพระวิหาร  นุ่มเท้ามากครับ





 
 

ด้านบนขื่อพระวิหารก็มีพระพุทธรูปไม้แกะที่พุทธศาสนิกชนทำมาถวายเป็นพุทธบูชาเต็มไปหมดเลยครับ










 
เพดานพระวิหารประดับด้วยดอกพิกุลทอง





 




กลางพระวิหารเป็นฐานชุกชีขนาดใหญ่ประดับลวดลายสัตว์หิมพานต์













บนฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ  8  องค์  พระประธานปางสมาธิศิลปะสกุลช่างน่านองค์ใหญ่ที่สุด  ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองประทับอยู่บนกลีบบัวมีนามว่า 
“พระเจ้าอุ่นเมือง”






 




พระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มด้วยปูนลงรักปิดทองศิลปะล้านนา  ประทับบนกลีบบัวองค์ที่มีขนาดรองลงมามีนามว่า 
“พระเจ้าล้านทอง”  เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน
 

องค์ที่ 3  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับบนฐานลายดอกพุดตาน องค์ที่ 4 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับบนฐานกระต่ายชมจันทร์

 
องค์ที่ 5 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ที่ 6 เป็นพระพุทธรูปไม้ประทับยืนพระนามว่า
พระเจ้าก๋าคิง
 

ส่วนองค์ที่ 7 และ 8  ประดิษฐานอยู่ชั้นที่ลดลงมาเป็นพระพุทธรูปปางเทวดาประทับยืน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่านอีกองค์ ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจาก องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550  โดยนำทองที่ได้จากการบูรณะองค์พระธาตุแช่แห้งในปี 2536 มาหล่อขึ้นใหม่





 
 
 
















เมื่อไหว้พระธาตุและพระในพระวิหารเสร็จก็ออกมาทางด้านหน้านอกระเบียงคดขององค์พระธาตุแช่แห้ง  เราจะเดินไป  วิหารพุทธไสยาสน์  (พระนอน)   เสียดายที่วันที่เจ้าของบล็อกไปเค้าปิด  แต่ภายในประดิษฐานพระนอนองค์สีทองอร่าม ยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร และยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเก่าแก่อีกด้วย











 
 
 


ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง  เรียกว่า 
“งานประเพณีหกเป็งไหว้สาพระมหาธาตุแช่แห้ง”  ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ของทางเหนือ  ตรงกับเดือน  4  ภาคกลางซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี  มีการถวายครัวตาน  ปฏิบัติธรรมสวดเจริญพระพุทธมนต์  และจุดบ้องไฟดอก บ้องไฟขึ้นถวายเป็นพระพุทธบูชา
 
 
สามารถเดินทางไปสักการะพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน   ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.






 
 
















134134134

 



Create Date : 24 มกราคม 2563
Last Update : 24 มกราคม 2563 20:54:42 น.
Counter : 1716 Pageviews.

27 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณkatoy, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสองแผ่นดิน, คุณKavanich96, คุณtoor36, คุณSai Eeuu, คุณกะว่าก๋า, คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณRinsa Yoyolive, คุณธนูคือลุงแอ็ด, คุณkhimyo, คุณtuk-tuk@korat, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณJinnyTent, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณnonnoiGiwGiw, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี

  
เจิมๆๆๆ
กราบพระธาตุคู่บ้าน คู่เมืองน่าน
โดย: katoy วันที่: 24 มกราคม 2563 เวลา:21:49:36 น.
  
มีความสุขมากๆที่ได้มากราบไห้วพระแทบทุกวัดที่น่านค่ะ

ส่วนวัดพระธาตุแช่แห้ง ถ้าไห้วพระเสร็จจะเดินข้ามถนนไปกินเล้ง
แซ่บอร่อยสุดๆเลยจ้า แถมได้ซื้อของฝากติดมือกลับมาอีกสะดวกค่ะ
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 24 มกราคม 2563 เวลา:22:22:23 น.
  
ด้วยความยินดีครับ



จังหวัดน่านเป็นอีกจังหวัดที่ผมยังไม่เคยไป
แต่รู้ว่ามีวัดสวยๆเยอะเลย
อย่างวัดพระธาตุแช่แห้งก็ดูน่าไปเยี่ยมชมมากๆเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 มกราคม 2563 เวลา:22:43:13 น.
  
มาเที่ยวน่านเนินเนิบต่อครับ
สาธุ ไหว้พระธาตุแช่แห้งด้วยครับ
คุณบอลไป ทางวัดกำลังบูรณะเจดีย์พระธาตุ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 24 มกราคม 2563 เวลา:23:50:23 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 24 มกราคม 2563 เวลา:23:56:49 น.
  
รู้ที่มาของชื่อแล้วล่ะ หามาตั้งนาน ว่าทำไมต้องแช่แห้งด้วย 555
โดย: Sai Eeuu วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:0:41:56 น.
  

สวัสดียามเช้าครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:5:39:59 น.
  
น่าไปๆกราบพระธาตุแช่แห้งช่วงวันมาฆะบูชา
ตามว่าจังค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:8:13:23 น.
  
ตอนรินไปพระธาตุแช่แห้ง ก็ได้สีฟ้าสดๆ แบบนี้เลยค่า
ทั้งฟ้าแจ่มๆ แต่แดดแรงพอสมควร
มีร้านขายของที่ระลึกผ้าเมืองน่าน สวยๆ ทั้งนั้นเลยทีนี่

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:16:10:09 น.
  
มากคน
มากความ

คำนี้ยังเป็นจริง
อยู่ตลอดจริงๆครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:21:46:54 น.
  
ตามมาเที่ยวด้วยคน น่าเสียดายอย่างตรงที่บูรณะอยู่บางส่วน โชคดีนะครับฟ้าเปิดแบบนี้ สีสวยเลย แต่อาจร้อนหน่อย
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 25 มกราคม 2563 เวลา:23:37:33 น.
  
น่าไปเที่ยวจังครับ
โดย: ธนู ลุงแอ็ดชวนเที่ยว (ธนูคือลุงแอ็ด ) วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:0:43:22 น.
  
สวัสดียามเช้าครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:6:29:24 น.
  
สารภาพว่าสับสนตลอดระหว่างช่อแฮ-แช่แห้ง

เขียนเล่าได้ละเอียดมากค่ะ ไว้จะหาโอกาสพาคุณพ่อผู้เกิดปีเถาะไปสักการะพระธาตุแช่แแห้งมั่ง
โดย: khimyo วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:8:20:44 น.
  
ที่เป็นไม้ไผ่สานไว้ที่หน้าต่างเขาเรียก ต๋าแหลวค่ะ

---

จากบล็อกข้าวซอยร้านก๋วยเตี๋ยวแดนเมืองอร่อยค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:10:48:27 น.
  
ขอบคุณที่เข้าไปชมฝีมือทำกับข้าวที่บ้านค่ะน้องบอล
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:10:56:12 น.
  
ผมอยากไปน่านมากเลยครับ ไม่ไม่มีโอกาสได้ไปเลย
ปีที่แล้วซื้อห้อง รร ไว้ แต่ดันป่วยต้องขายห้องไป เสียดายมากครับ
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:13:27:33 น.
  
นานทีจะได้เห็นพระธาตุแช่แห้งไม่มีนักท่องเที่ยวเต็มไปหมด
ชอบบรรยากาศแบบนี้มากค่ะ

ก่อนหน้านี้หลายปี เคยไปไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยว
แต่ปีหลัง ๆ ไปเจอนักท่องเที่ยว กับเสียงประกาศดังไปหมด
เจอแบบนี้สองครั้ง เข็ด ไม่อยากไปเลยค่ะ
ใจไม่สงบเลย
โดย: JinnyTent วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:19:24:48 น.
  
เขียนได้ข้อมูลละเอียดละออ พร้อมภาพประกอบสวยงามค่ะ
ดูไกล ๆ สีทองอร่ามงามตา แต่พอดูใกล้ ๆ กลายเป็นทองจังโก้นะคะ

ขอบคุณที่ไปคุยเรื่องต้นไม้ที่บล็อกด้วยค่ะ
ทั้งแพรเซี่ยงไฮ้และดอกบัวเคยปลูกทั้งคู่เมื่อนานมาแล้ว
แต่ตอนนี้ไม่เหลือสักต้น 555
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:22:24:23 น.
  
กู่ฉินกับกู่เจิ้งไม่เหมือนกันครับ
กู่ฉินจะเก่ากว่า เล่นยากกว่า
เสียงก็ไม่เหมือนกันครับ
จริงๆผมก็ชอบทั้งสองแบบเลยครับ
มีเสน่ห์ต่างกันออกไป

ลองเสิรช์ดูในกูเกิ้ลก็ได้ครับ
ผมว่าเสียงของกู่ฉินมีเสน่ห์ดีนะครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:22:50:31 น.
  
เพิ่งเห็นว่ามีคนมาชนแก้วเราด้วย..
เลยต้องตามกลับมาชนด้วยถึงน่าเรยเนี่ยะ
แต่จะเอาแก้วเข้าไปชนในวัดท่าจะไม่ดี
ขอเปนขอบๆรั้วด้านนอกแล้วกันล่ะเนอะ​ อิอิ

ปล.ตามไปเที่ยวด้วยคนนะครัช
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 26 มกราคม 2563 เวลา:23:29:30 น.
  
นั่งดูภาพ อ่านคำบรรยาย ฟังเสียงดนตรีพื้นเมืองเหนือเพลินเลยครับ

ฟังแล้วกึ๊ดเติงหาบ้านตี่เจียงใหม่ 555

เมื่อก่อนผมก็สงสัย แช่แห้งเป็นแบบไหน ทีนี้รู้แล้วครับ

โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 27 มกราคม 2563 เวลา:6:05:10 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 มกราคม 2563 เวลา:6:44:55 น.
  
ภาพสวยมากค่ะ
เคยไปที่พระธาตุแช่แห้งหลายปีมาแล้วค่ะ
โดย: newyorknurse วันที่: 28 มกราคม 2563 เวลา:3:41:23 น.
  
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Review Food Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
nonnoiGiwGiw Review Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Diarist ดู Blog
เริงฤดีนะ Food Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Music Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

ตามมาแอ่วเมืองน่านด้วยคนจ๊ะน้องบอล
โดย: อุ้มสี วันที่: 29 มกราคม 2563 เวลา:10:23:24 น.
  
พระธาตุสวยงามมากเลยค่ะ​ >> สล็อตออนไลน์ฟรีเครดิต

โดย: สมาชิกหมายเลข 5615256 วันที่: 31 มกราคม 2563 เวลา:11:55:00 น.
  
เห็นข้อครั้งแรก ทนายอ้วน นึกว่าจะพาไปทานอะไรอร่อย อิอิ. ล้อเล่นค่ะ แค่อ่านแล้วรู้สึกหิว

อยากไปเที่ยวเมืองน่านมากคะ ขอบคุณที่เอาเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันนะคะ
โดย: โน้ตตัวดำ วันที่: 15 เมษายน 2563 เวลา:12:44:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]