tuk...tuk more than one or cannot run
<<
เมษายน 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
1 เมษายน 2563

เชียงใหม่ - วัดต้นปิน วัดเล่าเรื่องเมืองล้านนา



ทีแรกว่าจะลงสั้น ๆ อ่านไปอ่านมา กลายเป็นการอ่านประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านทางวัดต้นปิน

วัดต้นปิน ต้นปินเป็นภาษาเหนือแปลว่า ต้นมะตูม ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนปิน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่

ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า

สมัยก่อนตั้งอยู่บริเวณ “โรงเรียนบ้านดอนปินวิทยาคาร” เรียกว่า “วัดพระจันทร์”

ครูบาเจ้าอุปนันทเถระ พร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมสมัยนั้นได้ย้ายมาตั้งวัดใหม่ เมื่อประะมาณ พ.ศ. 2366

ณ ที่ดอนปิน ห่างไปทางทิศตะวันออกวัดพระจันทร์ประมาณ 500 เมตร








วิหารคือที่อยู่ของพระพุทธรูป เป็นเขตพุทธาวาส หันหน้าไปทางตะวันออก

มีศาลาบาตรรอบวิหาร








ศาลาครูบาศรีวิชัย








ศาลาครูบาอุปนันทะเถระ

ท่านเป็นผู้ย้ายวัดพระจันทร์จากที่เดิม มาตั้งที่วัดต้นปินปัจจุบัน








ประวัติวัดพระจันทร์








จากประวัติวัดข้างบน

ท้าวความก่อนว่า

หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐา ที่ปกครองล้านนาเสด็จกลับไปครองหลวงพระบางเพราะพระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคต

กษัตริย์ล้านนาว่างลง ถึง 4 ปี 2091-2094

ขุนนางจึงได้อัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิ เชื้อสายพญามังราย ที่เมืองนายมาครองล้านนา (ปี พ.ศ. 2094-2012)


***

คำว่าเชื่อสายพญามังราย

ย้อนไปราว 200 ปีก่อน ท้าวความถึง

พญามังรายมีโอรส 3 พระองค์ คือขุนเครือง ขุนคราม ขุนเครือ

เมื่อพญามังรายมาตีหริภุญไชย

ขุนเครื่องครองเชียงรายคิดกบฎ พญามังรายจึงให้สังหารเสีย

ขุนครามหรือพญาไชยสงคราม ได้ครองเชียงราย

และเมื่อชนะศึกหริภุญไชยพญามังรายได้ยกเมืองเชียงดาวเป็นรางวัลอีกเมือง

ขุนครามจึงมาพักที่เชียงดาวในเดือน 5-8 พอเดือน 9-4 จะไปอยู่เชียงราย และให้ภรรยาองค์หนึ่งดูแลเมืองเชียงดาว

ขุนเครือ ซึ่งครองเมืองพร้าว เป็นชู้กับภรรยาขุนคราม พญามังรายจึงส่งขุนเครือไปเมืองพองใต้

ขุนนางที่นั่นจึงสร้าง " เมืองนาย " ขุนเครือให้ประทับ

พระเจ้าเมกุฎิจากเมืองนาย จึง มีเชื่อสายพญามังราย


***

ความสำคัญของวัดพระจันทร์

จากตำนานวัดร้างนอกกำแพงในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ของ อรุณรัตน์ เขียววิเชียร

จัดพิมพ์โดยสุริวงค์บุ๊คเซนเตอร์

ข้อมูลเอกสารกล่าวว่า

พระเจ้าเมกุฏิได้เสด็จไปครองผ้าขาวที่วัดพระจันทร์ และทรงไปรับศีลแปดที่วัดเชียงมั่น

เมื่อครั้งประกอบพิธีราชาภิเษกขั้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่

เป็นที่น่าสังเกตว่า วัดพระจันทร์ และวัดเชียงมั่น เป็นวัดนอกกำแพงเมืองและวัดในกำแพงเมืองซึ่งห่างกัน 10 กม.

จึงมีข้อสันนิษฐานดังนี้

1. วัดพระจันทร์ เป็นชื่อวัดที่มีความเป็นมงคล หมายถึงความสงบร่มเย็น

2. วัดพระจันทร์คงจะเป็นวัดนิกายรามัญวงศ์

เพราะ ในสมัยพระเจ้าสุทโธธรรมราชา (พระเจ้ากรุงอังวะ พม่าเรียก สะโดะ-ธรรมราชา)

ยกกองทัพมาปราบปรามแว่นแคว้นล้านนาไทย ตีได้เมืองน่าน เมืองเชียงราย เชียงแสน

และตีได้เมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2174 เชียงใหม่จึงได้ตกอยู่ในอำนาจของพม่าอีกวาระหนึ่ง

ท่านได้ส่งพระทั้งวัดสวนดอก (รามัญวงศ์) และป่าแดง (ลังกาวงศ์)

ไปเรียนธรรมที่อังวะแล้วกลับมาสอนธรรมที่เชียงใหม่

พระเหล่านั้นกลับมาก็มาสอนธรรมอยู่ที่วัดตำหนักใหม่ และ วัดพระจันทร์

ต่อมาจากสายวัดสวนดอก รามัญวงศ์ เพราะมีสัญญลักษณ์คือเจดีย์ (=กองมู) ของพม่าตั้งอยู่

3. พระเมกุฎิถูกส่งไปครองเมืองนาย หรืออาณาจักรแสนหวี ซึ่งเป็นอาณาเขตของพม่า

เมื่อกลับมาจึงนับถือนิกายรามัญวงศ์

4. ขบวนแห่ราชาภิเษกเจ้าเมืองเชียงใหม่ ต้องเป็นขบวนใหญ่มีบริวารมากมาย

และยังต้องประกาศให้ชาวเชียงใหม่รับทราบการราชาภิเษกเจ้าเมืองเชียงใหม่

การทำพิธีราชาภิเษกนั้นเป้นพิธีพิเศษมาก มีพิธีระเบียบมากมาย

และคงจะทำตามพิธีของกษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวไว้ว่า

"ขบวนแห่เข้ามาทางประตูชัยหัวเวียง ยี่ทัตถียาณตัวประเสริฐ

หื้อหมู่ลัวะจูงหมาปาแชกหาบไก่เข้าก่อน " ดังนี้

- แชกเป็นเครื่องสานทรงสอบสำหรับใส่สิ่งของ ใช้สะพายหลังคล้ายเป้ -

(*ให้ลัวะจูงหมาหาบไก่นำพาแขกเข้าเมือง*)


เหตุที่ต้องย้ายวัด

ท้าวความว่า

พม่าเข้ามายึดเมืองเชียงใหม่ถึงสามครั้ง

ครั้งที่ 1 ราชวงศ์ตองอูโดยบุเรงนอง พ.ศ. 2101-2280

พระเจ้าบุเรงนองเมื่อตีเชียงใหม่ได้ในสมัย พระเจ้าเมกุฏิ

โปรดให้ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าเมกุฏิ ครองเชียงใหม่ต่อไป

ถึง พ.ศ. 2007 พระเจ้าเมกุฏิถูกจับไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี เพราะคิดแข็งเมือง

และแต่งตั้งให้นางพญาวิสุทธิราชเทวี (พระมารดาพระเจ้าเมกุฎิ) ครองเมืองต่อมาได้อีก 14 ปี ถึง พ.ศ. 2121 พระนางทิวงคต

พม่าให้เจ้าฟ้าสารวดี หรือมังนรธาฉ่ วงศ์บุเรงนอง มาครองเมืองเชียงใหม่

พ.ศ. 2122-2150 เชียงใหม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ... พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ พ.ศ. 2126

และให้เชื้อสายของบุเรงนองที่ครองเมืองเชียงใหม่ ครองต่อไปคือ

มองซายเทา พ.ศ. 2150-2151

มองกวยตอ พ.ศ. 2151-2153

อนุชามองกวยตอ พ.ศ. 2153-2157 สิ้นวงศ์บุเรงนอง


ครั้งที่ 2 นอตเปตลุนแลตลุนมิน (มหาธรรมราชา สุทธรรมราชา พ.ศ.2158-2191)

โดยเชื้อวงศ์เจ้าเมืองน่านคือเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม หรือเจ้าศรีสองเมือง

ที่ครองเชียงใหม่ แต่ พ.ศ. 2157-2174 ได้แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อพม่า

พระเจ้าสุทโธธรรมราชายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่

และจับตัวเจ้าพระยาพลศึกซ้ายไชยสงครามไปขังไว้ที่กรุงหงสาวดี

โปรดให้พระยาหลวงทิพยเนตรเจ้าเมืองฝางมาครองเมืองเชียงใหม่ได้ 19 ปี

พระยาหลวงทิพยเนตรถึงแก่กรรม

พระแสนเมืองหรือพระยาแสนหลวงบุตรได้ครองเมืองในพ.ศ. 2193 ครองได้ 13 ปี

เสียเมืองแก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก) พ.ศ. 2205


ครั้งที่ 3 พระเจ้ามังระแห่งราชวงศ์คองบอง พ.ศ. 2306-2319

ครั้งที่สามนี้พม่าส่งคนมาปกครองแทนเมียงหวุ่น ... เมืยงหวุ่นแปลว่าเจ้าเมือง

คือโป่มะยุง่วนหรือโป่มะยีหวุ่น แต่ชอบโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ชาวเมืองจึงเรียกว่าโป่หัวขาว

โป่หัวขาว ข่มเหงขูดรีดชาวเมืองอย่างมาก ทั้งยังขัดแย้งกับขุนนางท้องถิ่น นำไปสู่การปะทะกันประปราย

พ.ศ.2312 เขคคายน้อยพรหม ขุนนางท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากพม่า

สู้รบกับโป่หัวขาว เขคคายน้อยพรหมเสียชีวิต ... ยังค้นไม่เจอว่า เขคคายน้อยพรหมคือท่านใด

พระยาจ่าบ้านสู้รบกับโป่หัวขาวอีก พระยาจ่าบ้านแพ้ หนีไปพึ่งเมืองใต้

ใช้เวลาขับไล่พม่าออกจากล้านนาถึง 30 ปี อิทธิพลพม่าจึงสูญสิ้นออกไป








จากประวัติการย้ายวัดข้างบน นำมาต่อยอดดังนี้

1. พ่อน้อยสุข เลขา อดีตมัคทายกวัดต้นปิน (เสียชีวิตแล้ว) เล่าว่า

เคยมีพระธุดงค์จากสยามเมืองใต้ถือใบถา (ลายแทง) มาสืบเสาะหาวัดพระจันทร์

เพื่อจะขุดหาสมบัติอันมีค่าของวัด

ครูบาอุปนันทเถระเจ้าอาวาสขณะนั้นเกรงว่าจะเป้นอันตราย จึงได้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ ณ ดอนปิน

และสั่งชาวบ้านไม่ให้พูดถึงวัดพระจันทร์อีก วัดพระจันทร์เลยหายไปกับกาลเวลา

2 จาก ตำนานธรรมพื้นเมืองเล่าว่า

ม่านทั้งหลายอันมาอยู่กับบ้านกับเมือง กวนควี (รบกวน) อุปปริโทษบาปไหม

ไพร่บ้านไหนเมืองอยู่ไหน กิ๋นไหนบ่ได้ ทั้งจาวเจ้าสรมณ์ก็อยู่บ่เป็นสุข

โปม่านคนหนึ่งเป๋นโม้ยหงวนเจียงแสนบ่อกึดราชก๋าน

สังเต่าปาลูกน้องแอ่ขุดหาของอยู่ตั้งอั้น คนตังหลายลวดฮ้องว่า"โป่ผีวิน" ตะอั๊นแล

ภัยจากโป่ต่าง ๆ ที่มาอยู่เชียงใหม่ที่มุ่งขดหาสมบัติของเก่า

อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ครูบาอุปนันทเถระย้ายวัดหนีไปสร้างวัดใหม่

พร้อมกับพระพุทธรูปยืนสององค์ เรียกว่าพระจันทร์

... ข้อสันนิษฐานที่ 2 เราคิดว่าไม่น่าใช่เพราะเวลาย้ายวัดเป็น พ.ศ.2366 หมดอำนาจโป่ แล้ว หรือว่าลูกน้องโป่ที่เคยขุด ก็ยังขุดอยู่ ...





ด้านหน้าพระวิหาร ประดับกระจกสี

หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์มีร่างกายสีเขียวประทับในซุ้มนาค

เคียงข้างด้วยเทพพนม และลวดลายพรรณพฤกษา

ลง พ.ศ. 2520








บันไดมกรคายนาค








ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปธรรมจักร (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และกวางหมอบ (หมายถึงป่ามฤค...สัตว์ที่คล้ายกวางมีเขา... ทายวัน)

แสดงถึงการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นครั้งแรก ... ปฐมเทศนา

บานประตูเป็นเทพพนมที่ยืนบนช้างสามเศียร ... น่าจะหมายถึงพระอินทร์บนช้างเอราวัณ








พระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย บนฐานชุกชี

ประดับลวงลายติดกระจกสีรูป กลีบบัวและดอกไม้ และบัวแปดกลีบ

ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน ซึ่งเป็นพระคู่วัดมาตั้งแต่เป็นวัดพระจันทร์




















ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ








และทศชาติชาดก








สัตตภัณฑ์ คือ เชิงเทียนที่ใช้จุดดวงประทีปทั้งเจ็ดเล่ม

สัญลักษณ์แห่ง “สัตตบริภัณฑ์” บริวารล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ลวดลายดอกไม้ในซุ้มนาค









ธรรมมาส และ ขันแก้วทั้งสาม - พานสามเหลี่ยมที่ใช้ใส่ดอกไม่ธูปเทียนบูชาสักการะพระรัตนตรัย








บานหน้าต่าง








พระอุโบสถ

หน้าบันประดับลายปูนปั้นพรรณพฤกษา ตกแต่งด้วยกระจกสี

ด้านหน้ามีสิงห์เฝ้าอยู่สองตัว








พระเจดีย์

ทรงปราสาทยอดเจดีย์

ฐานเขียงสี่เหลี่ยม

ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมย่อเก็จยืดสูงขึ้นเป็นเรือนธาตุปราสาท

ทุกด้านมีซุ้มแก้วประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ประดับในซุ้มด้วยกระจกสี

ถัดขึ้นไปเป็นชั้นมาลัยเถาแปดเหลี่ยมซ้อนกันเจ็ดชั้น

รับกับองค์ระฆังทรงกลมสีทอง บัลลังก์ ก้านฉัตร ปลี ปกฉัตรสีทอง 9 ชั้น








หอไตร








หอระฆัง







ประตูหลังวัด








ชิ้นนี้ชอบมาก











Create Date : 01 เมษายน 2563
Last Update : 12 มีนาคม 2566 15:22:03 น. 29 comments
Counter : 201 Pageviews.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่ตุ๊ก

วัดนี้ก่ยังบ่าเกยไปเลยครับ
พี่ตุ๊กลงประวัติวัดไว้โดยละเอียดเลย
ดีจังครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:6:48:56 น.  

 
เจิมๆๆๆ
วัดสวยมากๆ
ไว้โควิดพ้นไป
จะไปเยืยนค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:6:50:20 น.  

 
เชียงใหม่ไปบ่อย
ไว้มีโอกาสจะไปเที่ยวเยี่ยมชมและกราบพระวัดต้นปิน ค่ะ


โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:7:22:38 น.  

 
สวัสดีครับ แวะมาเที่ยวด้วยครับ

ชอบบานประตูครับ ดูฝีมือช่างประณีตมากครับ
ขอบคุณที่นำเพลงหลากหลายมาให้ฟังครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:7:38:22 น.  

 
มาเที่ยว ไหว้พระด้วยครับ พี่ตุ๊ก
สถาปัตยกรรมล้านนาชมกี่ครั้ง เห็นแล้วก็อยากไปบ้าง



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:8:32:26 น.  

 
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
นี่คือภาพไปเที่ยวก่อนวิกฤตการณ์ใช่มั๊ยคะพี่ตุ๊ก



โดย: หอมกร วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:8:32:38 น.  

 
นั่งอ่านหลายรอบ ยังงง..อยู่ครับ เพราะมี
เจ้าหลายองค์

ที่น่าสนใจคือ พระเจ้าเมกุฏ เป็นลูกของ "ขุน"
องค์ไหน..มี 3 องค์..กาว่าเป็น "ขุน"
แล้ว พระเจ้าเมกุฎ เปลี่ยนจื่อกาว่าพระนาม
เป๋นอะหยัง..
แหะ ๆ ผมแยกบ่าออก.. บ่าใจ่ตี่นี่อย่างเดียว
ผมไปอ่านตี่ พม่าเหมือนกัน.. เจ้านี่นักแต้ๆ
ไผ แข็งเมืองก็ฆ่า...


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:9:13:12 น.  

 


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:9:45:25 น.  

 
ส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:11:16:37 น.  

 
ดูแล้ว รู้แต่ว่า ถ้าจะมาชม สถาปัตยกรรมล้านนา ก็ต้องมาวัดนี้เลยนะครับ ทั้งโบสถ์และเจดีย์
ยังสมบูรณ์อยู่มาก

ส่วนเรื่องประวัตินี่ ถ้าคุณตุ๊กออกสอบ
อ.เต๊ะ ต้องตกแน่ๆ เพราะจำได้แต่เรื่อง มีชู้เรื่องเดียว แฮ่ๆ555

ปล.เรื่องเรียนออนไลน์นี่ ดีกับเด็กที่ขยันเท่านั้น เด็กขี้เกียจ จะยิ่งหนักกว่าเก่าอีกนะครับ
ดูแล้ว น่าจะตกแยะกว่าเดิมแน่ครับ555



โดย: multiple วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:13:33:28 น.  

 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ตามมาเที่ยววัดด้วยค่ะ
ลูกปิน ก็คือลูกมะตูมนี่เอง

อ่านไปอ่านไป เริ่มตาปรือค่ะ
ได้เวลาเอนหลัง...ไปก่อนนะคะ


โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:14:36:42 น.  

 

สวัสดีครับพี่ตุ๊ก

บันทึกประวัติวัดในบล็อคแบบนี้มีประโยชน์มากครับพี่ตุ๊ก
หากมีใครต้องการค้นข้อมูลวัดหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องใน google ก็เจอ
อาจจะยาวหน่อยนึง แต่ก็ไม่ได้มากจนเป็นหนังสือประวัติศาสตร์นะครับ

วัดในประเทศไทยนี่สวยงามจริงๆ ไม่ว่าภาคไหน
ดีนะที่ช่วงก่อนหน้านี้พี่ตุ๊กไปเที่ยวมาเยอะ
ช่วงนี้คงไปไหนไม่ได้ไกลแบบนั้นนะครับพี่



โดย: สีเมจิก (สมาชิกหมายเลข 5106714 ) วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:15:57:16 น.  

 
โก่งคิ้ววัดนี้สวยจริงๆครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:16:01:12 น.  

 
ตามมาไหว้พระด้วยค่ะ
เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานเกือบสองร้อยปีเลยนะคะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:19:32:17 น.  

 
ประวัติยาวนานพอๆ กับกรุงรัตนโกสินทร์เลย วัดนี้สวย (ไม่เคยไป)

ตรงราวจับคงทำเพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกในการขึ้นลง แต่ทำให้ดูสวยน้อยลงเยอะเลย

เนื้อหาอัดแน่นเต็มที่เลยนะครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 1 เมษายน 2563 เวลา:23:53:28 น.  

 
กราบพระค่ะพี่ตุ๊ก

ลวดลายประดับและลายแกะสลักมีความหมายและงดงามมาก
ยังไม่เคยไปวัดนี้ค่ะ
ขอบคุณพี่ตุ๊กที่พาชมนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:0:41:49 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:2:37:03 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ตุ๊ก




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:5:55:13 น.  

 
สรุปตามนี้...ก็จะเห็นว่า พม่า ครอบครองเมืองเชียใหม่ มาถึง 3 ครั้ง
รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 225 ปี
ไม่น้อยเลยนะครับ
เชียงใหม่ จึงมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองเพราะเชียงใหม่ คือประเทศหนึ่งในอดึต
นี่แหละเสน่ห์ของเชียงใหม่.....


โดย: พายุสุริยะ วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:10:47:04 น.  

 
ใจนี่เตลิดได้ง่ายจริงๆครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:13:29:32 น.  

 
ตามมาเที่ยววัดบ้านปินอีกครับ ชอบมั่งมองพระพุทธรูปครับ เย็นกาย เย็นใจดีครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:14:25:34 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะพี่^^



โดย: สันตะวาใบข้าว วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:19:27:47 น.  

 
tuk-tuk@korat Travel Blog

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ


โดย: mariabamboo วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:21:42:01 น.  

 
ขอบคุณพี่ตุ๊กสำหรับกำลังใจนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 2 เมษายน 2563 เวลา:23:05:43 น.  

 
ดีนะพี่ตุ๊กเฉลย
ในบรรทัดที่สองว่าวัดต้นปิน
ต้นปินคือมะตูม


โดย: อุ้มสี วันที่: 3 เมษายน 2563 เวลา:3:25:17 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่ตุ๊ก



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 เมษายน 2563 เวลา:6:21:07 น.  

 
ข้อมูลคาดว่ามีพิมพ์ผิด ตรง พ.ศ. และบางจุด ส่วนเนื้อหายังขาดตกบางส่วนทำให้ข้อมูลไม่ต่อเนื่อง การรวบรวมข้อมูลยังไม่ดีอ่านแล้วจึงเข้าใจอยาก แต่โดยรวมถือว่าทำได้ดีครับ


โดย: นที จักรเงิน IP: 171.4.233.49 วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:13:14:36 น.  

 
จาก คห.27 คุณนที จักรเงิน
ขอบคุณค่ะ

เขียนย่อเสียคนอ่านอ่านยากเลยนะคะ

ที่ตั้งใจคือขยายความข้อมูลที่หามาได้
ในแผ่นข้อความสีน้ำเงินจากวัด
เพื่อให้ข้าพเจ้าเองเข้าใจ
ก็เลยลงเผื่อใครจะสงสัยด้วย

เช่น
พระเจ้าเมกุฏิ
เชื้อสายพญามังราย - ทางไหน
ที่เมืองนาย - ไปอยู่เมืองนายได้อย่างไร

บางส่วนก็คัดลอกมาเลยเพื่อให้ท่านที่สนใจอ่าน ด้วยหนักใจที่จะนำมาตีความซึ่งอาจจะไม่ตรงกับท่านผู้รู้ได้เขียนไว้น่ะค่ะ

ขอบพระคุณที่เข้ามาอ่าน และติชม
เพื่อเป็นข้อคิดในการเขียนเรื่องต่าง ๆ ต่อไปค่ะ





โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 ธันวาคม 2564 เวลา:14:08:11 น.  

 
Create Date : 01 เมษายน 2563
Last Update : 26 เมษายน 2563 12:19:04 น. ลบ Blog แก้ไข Blog 28 comments
Counter : 1849 Pageviews.


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 มีนาคม 2566 เวลา:15:21:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]




งานหลักคืองานอดิเรก

10 บล็อกล่าสุด


This I Promise You - NSYNC ... ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 350


What I Did For Love - Josh Groban ... ความหมาย


วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง



Oh, Pretty Woman - Roy Orbison ... ความหมาย


I Will Whisper Your Name - Michael Johnson ... ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 349


เชียงใหม่ - วัดสันทรายหลวง อำเภอสันทราย



In Dreams - Roy Orbison ... ความหมาย



ลำปาง - วัดพระธาตุหมื่นครื้น ... อย่างฉุกละหุก ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 348



For Lovin' Me - Gordon Lightfoot ... ความหมาย


เชียงใหม่ - วัดสันทรายมูล อำเภอสันทราย















ของแต่งบล็อกจาก
ป้าเก๋า "ชมพร"
คุณญามี่
คุณ Rainfall in August
ขอบคุณค่ะ

[Add tuk-tuk@korat's blog to your web]