คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
6 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ชวนเป็นเจ้าภาพและตัวแทนบวชพระ บวชเณรและเที่ยววัดไหว้พระ
ชวนเป็นเจ้าภาพและตัวแทนบวชพระ บวชเณรและเที่ยววัดไหว้พระ
 
เรื่องพิธีการบวชพระ บวชเณร  เป็นประเพณีหนึ่งของไทยเรา ที่ผู้เป็น
พ่อแม่ต้องการให้ลูกของตนบวช  โดยมีความเชื่อว่า
ถ้าลูกบวชให้ตนจะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์   ซึ่งความเป็นจริง
จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่  ไม่มีคำตอบค่ะ  แต่สิ่งหนึ่งที่ฉันเชื่อว่า
  การที่ผู้ชายได้บวชเรียนในพุทธศาสนา  สิ่งที่พวกเขาควรจะได้มาก
ที่สุด นั่นคือ  การมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะ
ของพระพุทธเจ้า แต่การจะได้ธรรมะมากหรือน้อยเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่
กับความตั้งใจในการบวชเรียนและระยะเวลาในการบวช
อีกส่วนหนึ่ง ค่ะ  และมีโอกาสนำธรรมะที่ได้ศึกษานั้นไปประยุกต์ใช้ใน
การดำรงชีวิตประจำวันของเขา ค่ะ 
         
ฉันมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพในการบวชพระบวชเณรมาหลายปีและเป็น
สะพานบุญในการเชิญชวนเพื่อนและลูกศิษย์
ที่สนใจเป็นเจ้าภาพหรือร่วมเป็นเจ้าภาพตามกำลังความสามารถของตน โดยเริ่มต้นจากลูกศิษย์ของฉันคนหนึ่ง
ที่บวชเรียนอยู่ที่ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร  จังหวัดสุรินทร์  ได้เชิญ
ฉันเป็นเจ้าภาพบวชพระบวชเณร ซึ่งทางวัดได้จัดบวช
ในภาคฤดูร้อน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กนักเรียนที่ฐานะทางบ้านค่อนข้าง
ยากจน หรือผู้ที่ต้องการบวชพระแต่ขาดปัจจัยบ้าง
  ฉันก็เป็นสะพานบุญให้ทุกปี  และได้ไปร่วมถวายผ้าไตรที่วัดบวรนิเวศ
วรวิหาร  ซึ่งเจ้าอาวาสวัดศาลา ฯ (หลวงพ่อเยื้อน)
นำผู้ที่บวชลงมาบวชที่วัดบวร  ฉันได้ไปร่วมงานบวช โดยมีลูกศิษย์
ขับรถพากันไปร่วมพิธี  ค่ะ  
       
ในปลายปี 2562  โควิด 19  เริ่มระบาด และระบาดหนักในเดือน
เมษายน ปี 63  ทางวัดบวรฯ จึงไม่ได้จัดการบวชพระ
บวชเณรเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ  วัดเขาศาลาฯ จึงจัดบวชพระ เณร ที่วัด
ของตนเอง ฉันเลยได้แต่เป็นสะพานบุญชวนเพื่อน
และลูกศิษย์เป็นเจ้าภาพและส่งปัจจัยไปให้หลวงศิษย์จัดการเอง
ไม่มีโอกาสไปร่วมงานบวช
  
ปี 2565  ปีนี้  ฉันก็ยังเป็นสะพายบุญเชิญชวนเพื่อนและลูกศิษย์ทั้งมี
รายเก่าและรายใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก  ปีนี้ ได้ชวนเพื่อน
ที่เคยไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดียอีก 3 คน มีลูก
ศิษย์ของฉันที่ชอบไปปฏิบัติธรรม
ได้กัลยาณมิตรหรือที่เรียกว่า ญาติธรรมมาอีกหลายคนเพิ่มขึ้นมา 
ทำให้ได้เจ้าภาพและผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพจำนวน
มากที่สุด  มากกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา  เราจึงคิดที่จะไปร่วมพิธีบวชที่วัด
เขาศาลาอตุลฐานะจาโรและมีรายการ
ให้หลวงศิษย์ตู่ (ลูกศิษย์ที่บวชอยู่วัดนี้ ) พาพวกเราไปไหว้พระที่วัด
ต่าง ๆ ของ จังหวัดสุรินทร์ด้วย   
     
 เรากำหนดไปวันที่ 29-31  มี.ค. และ 1 เม.ย. โดยจอยเอารถตู้ของเขา
ไป  คิดแต่ค่าน้ำมันเฉลี่ยกัน 4   คน  จุ๊และแฟนเขา
ไม่ไป กลัวโควิด 19  ไปครั้งนี้  เราประหยัดเรื่องค่าที่พักเพราะว่า เรา
พักกันที่วัดเขาศาลาฯ  3 คืน  เราทำบุญเป็นค่าน้ำค่าไฟ
ให้ทางวัด เป็นเงิน 2,000 บาท 
     
เช้าวันที่ 29  มี.ค.  จอยมารับฉันที่บ้านสายเกินเวลานัดหมาย ประมาณ
เกือบชั่วโมง  เพราะตื่นสาย  จากบ้านฉันก็ไปรับเอม
ที่คลองเตย  เท่ากับเราออกจากกรุงเทพฯ น่าจะประมาณ7 โมงเช้า 
กินข้าวมื้อเช้า เป็นก๋วยจั๊บ น่าจะเข้าเขต
จังหวัด ฉะเชิงเทรา  อาหารมื้อเช้าเสร็จ  ก็เริ่มออกเดินทาง  จอยศึกษา
เส้นทางที่จะไปสุรินทร์มาก่อน  เดินทางไปทางสระแก้ว
ตาพระยาเติมแก๊สระหว่างทางไป   เราเก็บเงินกันคนละ 2,000 บาท
เป็นค่าใช้จ่ายกองกลาง ให้จอยเป็นคนจัดการ
เวลาเติมแก๊สและกินข้าว 

   รถเราแล่นมาเรื่อย ๆ คุยกันไป สนุกสนานในรถ  เข้าเขตบุรีรัมย์ แล้ว 
ได้ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ด ก็ตกลงใจเสี่ยงดวงกินที่ร้านนี้  มีคนมากินก่อนเรา
อยู่ 3-4 คน  รอไม่นานก็ได้กินแล้ว  รสชาติ
ก็โอเค อร่อยใช้ได้  ราคา ดูเหมือนชามละ 50 บาท 




อาหารมื้อกลางวัน ค่ะ 

กินเสร็จพวกเราก็เดินทางต่อ  ฉันโทรหาหลวงศิษย์ ถามถึงจุดสังเกต
ทางที่จะเข้าวัดศาลาฯ  พระตู่บอกว่า ให้สังเกตทางเข้าวัด
จะมีงูใหญ่สองตัวอยู่บนยอดประตู  มีพระพุทธเจ้าอยู่กลางงูสองตัวนี้
 พวกเราก็ขับรถตามจีพีเอสและการบอกทาง
ของจอย (เธอถนัด)  โชเฟอร์ ทูล  คนเดิมที่พาเราไปฉลองพิธียกฉัตร
ที่ จ. เลย ก็จะขับตามที่จอยบอก 
 ในที่สุด เราก็มาถึงวัดเขาศาลาฯ  ทางประตูเข้าวัด มีงู ตัวใหญ่ สองตัว
 มีองค์พระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงกลาง
  จากทางนี้ยังต้องขับรถเข้าไปอีกน่าจะหลายร้อยเมตรอยู่ เป็นทาง
ลาดยาง  หลวงศิษย์ตู่ ยืนรอพวกเราอยู่ 
ทักทายนมัสการ พระตู่แล้ว  ตอนนี้ พระตู่แนะนำ  คิว  น้องที่พวกเรา
เป็นเจ้าภาพจะบวชพระให้ เป็นเด็กหนุ่มเพิ่งจบ
การศึกษา ป.ตรี ส่วนเณรอีก 3 รูปยังไม่ได้มาจากหนองคาย 
 พอดีจอยนำขนมจะมาร่วมจัดโรงทานด้วย  บางอย่างเป็นขนมเค้ก
จำเป็นต้องเข้าตู้เย็น  พวกเราจึงขับรถไปที่กุฏิหลวงตู่
  เพื่อนำขนมของจอยไปเก็บที่กุฏิท่านก่อน  
   
กุฏิพระตู่ ติดเชิงเขา อากาศดีมาก กุฏิท่าน สมถะมาก ๆ เป็นห้องแคบ ๆ
มีเตียงและเก้าอี้ไม้ สำหรับรับแขกที่มาเยี่ยม
  มีตู้หนังสือ 1 ตู้  และเตียงไม้เล็ก ๆ สำหรับจำวัด ไม่มีแอร์ ค่ะภายใน
กุฏิท่านเตรียมผ้าไตร  เครื่องบวชทั้งหลายอยู่
ในห้องท่านเรียบร้อยแล้ว  พวกเราเลยถ่ายรูปในกุฏิท่านมาด้วย ค่ะ 



ผ้าไตร  และเครื่องบวชที่พระตู่เตรียมไว้ให้เจ้าภาพ ค่ะ  พระตู่ท่านจะ
ให้ฉัตรในภาพนี้กลับบ้านไปไว้ห้องพระเพื่อความเป็นสิริมงคล
แต่ฉันบอกว่า เอาไว้ที่วัดดีกว่า จะได้ใช้งานบวชในปีถัดไป  ประหยัด
ค่าใช้จ่ายด้วย  พระตู่เล่าให้ฟังว่า มีคนมาขอไปบ้านด้วย 
แต่พระตู่บอกว่า ต้องถามเจ้าภาพ (เจ้าของรายใหญ่ อิอิ) ก่อน ฉัน
ตอบไปว่า  ไม่ให้ ให้เป็นสมบัติของวัดไป  อิอิ 
ความเชื่อของคนนี่ ห้ามยากเนาะ เขาเชื่อว่าได้ฉัตร (ร่ม) นี้ไปแล้ว
จะเกิดความโชคดี ร่ำรวย  นั่นเอง 



ถ่ายหมู่กันค่ะ  



น้องคิว ที่เราเป็นเจ้าภาพบวชพระให้ เป็นตากล้องให้พวกเราด้วย เป็น
เด็กหนุ่มที่เรียบร้อย มีสัมมาคารวะดี  ค่ะ 

จากนั้น พระตู่พาพวกเราไปที่ห้องพัก ซึ่งอยู่ชั้นล่าง  ทูลช่วยยกกระเป๋า
มีคิวมาช่วยอีกคน ค่ะ  มาชมห้องพักค่ะ 



ห้องพักของฉันกับเอม ค่ะ มี 4 เตียง  สะดวกสบาย ค่ะ ห้องน้ำอยู่
ด้านนอกเดินไปนิดเดียว ค่ะ 

หลังจากที่ถ่ายรูปกันเรียบร้อยแล้ว  พระตู่ก็พาพวกเราชมบริเวณวัดเขา
ศาลาฯ  ซึ่งมีเนื้อที่เกือบสองหมื่นไร่  บริเวณวัด
มีสิ่งก่อสร้างเป็นพระพุทธรูป เกจิอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ตั้งตระหง่าน
ให้ผู้มาเยี่ยมได้กราบสักการบูชากัน  ด้านหลัง
ของวัดมองลงไปเป็นป่าเขาลำเนาไพร  ต้นไม้เขียวขจี  มีธารน้ำไหล
อยู่ข้างล่าง ดูร่มรื่น  สงบ อากาศเย็นสบายค่ะ
  มาทราบประวัติของวัดสักเล็กน้อย ค่ะ 

ประวัติวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร 
             
 วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร  นับว่าเป็นพุทธอุทยาน ที่เป็น Unseen
ของสุรินทร์ ที่ตั้งอยู่อำเภอบัวเชด  จังหวัดสุรินทร์ 
ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ ครอบคลุม
ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้
และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น
แหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม           
 ความเป็นมาของวัดเขาศาลาฯ ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้
อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศ
บริเวณพื้นที่ป่าเป็น เขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนิน
โครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่ง
แวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร  
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระ
สังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 
 และนี่เป็นสาเหตุที่เวลามีการบวชพระ บวชเณร  ในภาคฤดูร้อน
 เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาฯจึงนำผู้ที่จะบวชพระ
  บวชเณรจากเขาศาลา ฯ มาร่วมบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเปรียบ
เสมือนหนึ่งเป็นวัดพี่ วัดอุปถัมภ์วัดเขาศาลา ฯ นั่นเอง
             
 ปี พ.ศ.2539   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรง
ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี   คณะกรรมการวัดได้มีมติ
ในการจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อเป็นอนุสรณ์ เนื่องในมหา มงคลวโรกาส
ครั้งนั้น    ลักษณะพระอุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์
ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ดัวยพลังศรัทธาสามัคคี และความ
มานะพยายามของพระครูภาวนาวิทยาคม (เยื้อน ขนฺติพโล) 
เจ้าอาวาสตลอดจนคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป
ที่ได้ร่วมกันเสียสละกำลังกาย และทุนทรัพย์อุปถัมภ์
การก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ต้องใช้งบทางราชการแต่อย่างใด 
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อ พ.ศ.2541เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ตามแบบพระธรรมวินัย และทาง
วัดได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต 
               ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เลือกพุทธอุทยาน   ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมี
พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหมในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธี

  เมื่อมาถึงทางเข้าวัดจะพบกับอุโมงค์พญานาคที่สวยสดงดงาม ใหญ่
และยาว  ประมาณ  200 เมตร ความกว้างประมาณ 4 เมตร
   นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวที่
สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ 
 ซึ่งอุโมงค์พญานาค ทอดยาวขึ้นไป  ทางเดินลาดด้านในจะค่อยๆ ชัน
ขึ้น  จนถึงปลายอุโมงค์ จะพบกับต้นไม้ใหญ่
ที่ปกคลุมบริเวณวัด เหมาะกับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เพราะมีความ
สงบ ร่มเย็นเป็นอย่างมาก  สภาพแวดล้อม เหมาะกับ
การศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง ผืนป่า
บางส่วนติดชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอย
การตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ป่าทั้งผืนแห่งนี้
จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอิสานใต้ของประเทศไทย           
             
ผาพระภูศาลา เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระ
แล้วได้เดินชมธรรมชาติของผาแห่งนี้  ซึ่งผาแห่งนี้
ตั้งอยู่บนเขาภายในวัด   มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ให้สักการะจนอิ่มบุญ
ยังจะได้อิ่มใจกับบรรยากาศทัศนียภาพที่งดงาม
จากลานชมวิวของวัดด้วย  นับว่ามาถึงตรงนี้แล้วต้องสูดอากาศอัน
บริสุทธิ์เข้าไปให้เต็มปอด เพราะทัศนียภาพ
ที่นี่เหมาะกับการทำจิตใจให้สงบอย่างยิ่ง บริเวณลานโล่งบนผา
พระภูศาลาพบกับพระประธานองค์ใหญ่ของวัด
เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่สีทอง  หรือ “พระพุทธบารมี
สยามบุรีพิทักษ์” เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว
อย่าลืมสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนเข้าไปเยี่ยมชมวิว จุดต่างๆ  ซึ่ง
บริเวณจุดชมวิวของที่นี้  เรียกว่า ผานางคอย
มีลักษณะเป็นลานหินโล่ง   มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และรูปปั้น ของ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ให้สักการบูชา
  ตั้งอยู่รอบ ๆ ลานหินริมหน้าผายลธรรมชาติได้อย่างชื่นใจ เมื่อเรามอง
ลงจากจุดชมวิว ไปยังด้านล่างจะพบกับอ่างเก็บน้ำบ้านจรัส 
 ทอดยาวจนถึงแนวเทือกเขาพนมดงรักซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ระหว่างไทย-กัมพูชา  อีกด้วย        
           
วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วม
โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สมัครใจมา
ปฏิบัติธรรม โดยไม่ถือเป็นวันลาตามมติคณะรัฐมนตรี
ในการพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
         (รวบรวมและเรียบเรียงจาก อินเทอร์เน็ต) 





 

พระอริยเจดีย์  สร้างปี2548  ใช้ทำวัตรสวดมนต์  สอนกรรมฐาน สอน
สมาธิ   เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ
สำคัญๆของพระสายป่าในภาคอีสาน





































ทั้งหมดเป็นภาพบนผาพระภูศาลา

มื้อเย็นวันนี้  พระตู่พาพวกเราลงจากเขา ไปที่ถนนคนเดินแถวสังขละ 
พระตู่รออยู่ในรถ  พวกเราซื้อน้ำปานะ
(น้ำขิงและน้ำเต้าหู้มาถวายท่าน)   ส่วนพวกเราไปเดินตลาดคนเดิน
ซึ่งมีขายอาหารมากมาย  แต่พวกเรากินข้าวมันไก่
ที่ริมถนน  รสชาติ ก็โอเค นะ 



ตลาดถนนคนเดิน ค่ะ 



มีอาหารขายหลากหลาย  ค่ะ 

  กินเสร็จแล้วก็ขับรถกลับวัดไปที่พัก ที่พระตู่จัดไว้ให้ 3 ห้อง  ให้ทูล 1
ห้อง  ฉันกับเอม 1 ห้อง  จอยกับวรรณอีก 1 ห้อง
ห้องน้ำก็อยู่ใกล้ ๆ กัน กับที่พัก (ห้องนอน)  พวกเราเข้าห้องพักฉันไป
หาจอยที่ห้อง  เพื่อจัดการเรื่องที่จะต้อง ถวายเงิน
พระอุปัชฌาย์  พระคู่สวด  ค่าน้ำค่าไฟ  ค่าวิทยากร  และค่าอาหารโรง
ทาน  โดยฉันปรึกษาเรื่องเหล่านี้กับพระตู่
  ซึ่งฉันไม่เคยได้ทำ เพราะทุกปี เราไปถวายผ้าไตรอย่างเดียวแล้วก็
จบ  แต่ครั้งนี้  เราบวชที่วัดเขาศาลาฯ ได้เข้าไปอยู่ในพิธีบวช
ได้เห็นขั้นตอนในการบวช  ก็เป็นสิ่งใหม่สำหรับฉัน ค่ะ  ฉันกับจอยช่วย
กันจัดปัจจัยใส่ซอง  องค์อุปัชฌาย์  3,000 บาท
  พระคู่สวด  2,000 บาท  ค่าน้ำค่าไฟ 2,000  บาท  ค่าอาหารโรงทาน
1,000 บาท ค่าวิทยากร พาชมวัด 2,000 บาท
(พระตู่)  รวมเป็นเงิน 10,000 บาท  เราหารกัน 4 คน ก็ออกกันคนละ
2,500 บาท  จัดใส่ซองที่จอยเตรียมมาอย่างเรียบร้อย
เป็นซอง ๆ ไป
 
วันที่ 30  พระตู่นัด ให้พวกเราเตรียมพร้อม เดินทางเวลา 6.30 น.
  ฉันตื่นตีสี่กว่า  อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัวเสร็จ  ออกมา
รอรถตรงเวลา  พระตู่  คิว และ เณร หลานของ คิว ที่จะร่วมบวชครั้งนี้
4 รูป  มาพร้อมหน้า  เณรน้อย น้องชายเณรพี่คนโต 
เป็นฝาแฝด อายุ 10 ขวบ กำลังน่ารักเชียว ส่วนเณรที่เป็นพี่ชาย กำลัง
จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย  เห็นบอกว่า อยากเรียน
ทันตแพทย์  ส่วนคิว ซึ่งเป็นน้าชาย เรียนจบแล้ว  กำลังหางานทำอยู่  
      ก่อนออกจากวัด  ยังมีเวลา เลยถ่ายรูปกับหางพญานาค
ที่เป็นถ้ำยาว 200 เมตร เป็นโมงค์ที่จะเดินออกไปหน้าวัดได้ ค่ะ  ถือ
เป็นจุดไฮไลท์จุดหนึ่งของวัด ค่ะ  



หางพญานาค  ค่ะ ใกล้ที่พักของพวกเรา



พระอริยเจดีย์  สร้างปี2548

 ขับรถออกมาได้หน่อย ได้พบหลวงพ่อเยื้อน เจ้าอาวาส นั่งฉันข้าว
กับพระอีก 2-3 รูป  พวกเราเลย
ลงจากรถไปกราบท่านก่อน ได้ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกด้วย 



กราบหลวงพ่อเยื้อน เจ้าอาวาส ค่ะ 

     มาถึงหน้าวัด  พวกเราถ่ายรูปที่หน้าวัดก่อนออกเดินทางต่อไป 
ทิวทัศน์สวยงาม แปลกตาดี ค่ะ มาชมรูป ค่ะ 
 




ประตูทางเข้าวัดศาลาอตุลฐานะจาโร  งดงามมาก ค่ะ 
  
แห่งแรก ที่พระตู่พาไป ก็คือ  เสาหลักเมือง ค่ะ  มาชมภาพของพวกเรา



ถ่ายหมู่กันเสาหลักเมืองของ จังหวัดสุรินทร์ ค่ะ 



ทิวทัศน์ด้านนอกของ เสาหลักเมือง ค่ะ 





หน้าประตูมีเทวดาเฝ้าประตูอยู่ค่ะ 


  

 ถ่ายรูปเดี่ยว รูปคู่ รูปหมู่ ที่เสาหลักเมืองและรอบ ๆ วัดนี้แล้ว  พระตู่ก็
พาไปร้านก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น เจ้าอร่อยของสุรินทร์ 
มีคนมากินที่ร้านนี้หลายคนอยู่ เป็นก๋วยเตี๋ยวเจ้าเก่าแก่ที่สืบทอดมา
แต่ปู่ย่าตายายมาเป็นรุ่น ๆ  (พระตู่เล่า) 
รสชาติก็อร่อยตามคำแนะนำ ค่ะ 






   
  กินเสร็จเดินข้ามฟากไปถ่ายรูปกับเจ้าเมืองที่อยู่ตรงวงเวียน  และอีก
ฟากหนึ่งมีรูปปั้นช้าง  พวกเราก็สนุกสนานในการถ่ายรูป
กับช้าง เณรน้อยฝาแฝดสนุกสนานกับการขี่ช้างรูปปั้นกันพวกเรา
ถ่ายรูปกับช้างหลายรูปเหมือนกัน  มาชมภาพเรา ค่ะ 







รูปอนุสาวรีย์นี้  คือ พระยาสุรินทร์ภักศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม)
เจ้าเมืองคนแรกของ จังหวัดสุรินทร์
เป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานการปกครองจังหวัดสุรินทร์  ค่ะ 



หนูน้อยฝาแฝดสนุกสนานได้ขี่ช้างรูปปั้นหิน ค่ะ 



ถ่ายหมู่ 3 คนสักภาพ ค่ะ 







ก่อนลาจากลานช้างหิน ตรงนี้  ก็ถ่ายรูปหมู่กันอีกรูป ค่ะ

วัดที่เราไปสักการะต่อไป คือ วัดบูรพาราม  ค่ะ  เป็นวัดที่สวยงามมาก
เป็นวัดที่มีพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ดุลย์อยู่ที่นี่ด้วย ค่ะ
มาทราบประวัติของวัดบูรพาราม  ค่ะ 

       ประวัติวัดบูรพาราม   
  
วัดบูรพาราม  ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓๐ ถนนจิตรบำรุง  ตำบลในเมือง  อำเภอ
เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต
ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๖๕ ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีหรือ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ ผู้สร้าง  คือ  พระยา
สุรินทร์ศรีณรงค์จางวาง (ปุม)
 เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกสร้างเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๐๐ ถึง
๒๓๓๐ โดยประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เรียกว่า "วัดบูรพ์"
เดิมเป็นวัดมหานิกายเป็นวัดเก่าแก่มีพัฒนาการที่ยาวนานตามยุคตาม
สมัย  ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ สมเด็จ
พระมหาวีรวงศ์(ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลและอนุมัติให้
วัดบูรณ์เป็นวัดในสังกัดธรรมยุตและได้นิมนต์
พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ให้
มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส
และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการวัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรด
เกล้าฯให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และเป็นวัดสำคัญของจังหวัดสุรินทร์  เนื่องมา
จากเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระชีว์
(หลวงพ่อประจี) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของสุรินทร์ เป็น
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ไม่ปรากฏหลักฐานว่า
สร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม
ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุข
นับเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาอย่างมาก
 หลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๔  ศอก
ประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ใกล้ศาลากลางจังหวัด หลวงพ่อ
 ที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
ของเมืองสุรินทร์   เป็นสถานปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุรินทร์ แห่งที่ ๑
ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๙ วันที่ ๒๙
กันยายน ๒๕๔๙ พระราชวรคุณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด
(ธ) เป็นเจ้าสำนัก
         
ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ดุลย์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูป
เหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล พร้อมทั้งภาพประวัติ
พระเถระด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันประกอบด้วยพระอาจารย์เสาร์
พระอาจารย์มั่นและลูกศิษย์
          รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน
          (พ.ศ. 2400-พ.ศ. 2476 ไม่ทราบชื่อเจ้าอาวาส)
          1. พระราชวุฒาจารย์ (ดุลย์ อตุโล) พ.ศ. 2476-พ.ศ. 2526
          2. พระรัตนากรวิสุทธิ์ (เสถียร สถิโร) พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2538
          3. พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน
              (ที่ถ่ายกับหลรวบรวมและเรียบเรียงจาก อินเทอร์เน็ต) 


















ออกจากวัด บูรพารามแล้ว  ก็มุ่งไปวัดสุทธิธรรมาราม  วัดนี้ เป็นวัด
สาขาของวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร 
(หลวงพ่อเยื้อน เจ้าอาวาส) 
มาถึงวัด ก็เจอหลวงพ่อนั่งอยู่  พวกเราถือว่าโชคดี  ก่อนออกจากวัด
ก็เจอท่านกำลังฉันเช้า  แล้วตอนนี้เราก็เจอท่านที่วัดนี้
ซึ่งเป็นวัดสาขาของท่าน พวกเราก็เข้าไปกราบท่าน ซึ่งนั่งอยู่บนเตียง
ไม้ ด้านล่างเป็นห้องโถงกว้าง ๆ  อากาศที่นี่ มีลมพัดสบาย
ไม่ร้อน ค่ะ  ท่านได้บอกกับหลวงศิษย์ พระตู่ว่า  "ปีนี้พระตู่ได้เลื่อน
สมณศักดิ์ เป็น พระครูสมุห์ "  พวกเราก็ขอ
แสดงความยินดีด้วยที่ท่านได้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนพุทธศาสนาให้แก่
โรงเรียนในจังหวัดสุรินทร์  ช่วยงานวัดในด้านต่าง ๆ
มานานมากพอสมควร ค่ะ  เรามาทราบประวัติของวัดสุทธิธรรมาราม ค่ะ


 ประวัติวัดสุทธิธรรมาราม   
       
  วัดสุทธิธรรมาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๒ หมู่ที่ ๑๘ บ้านสุขสนาม ซอยศรี
ณรงค์ ๙ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์ ๓๒๐๐๐
       
  ความเป็นมาของการสร้างวัด สุทธิธรราราม   สืบเนื่องมาจาก   เมื่อวัน
ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ พระพิศาลศาสนกิจ
(หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) ได้รับการถวายที่ดิน จำนวน ๑ แปลง จาก
คุณพ่ออร่าม - คุณแม่มุกดา ศุภกาญจน์ สองสามีภริยา
ผู้ใจบุญซึ่งเป็นน้องสาวกับน้องเขย..

 ต่อมา   ตระกูลสุทธิธรรม ได้ปรารภกับพระเดชพระคุณ พระพิศาล
ศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาส
วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ว่า "...ถ้าหลวงพ่อได้ขึ้นเป็นเจ้าคณะ
จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นพ่อเมือง
ฝ่ายสงฆ์แล้ว ควรจะมีวัดครองในเมืองสมควรแก่บุญญาบารมี.  โดยมี
วัตถุประสงค์ ดังนี้ 
       
 ๑) เพื่อสร้างเป็นวัดในพระพุทธศสนา ร่วมสืบสานจรรโลงพระพุทธ
ศาสนาให้รุ่งเรืองสถิตสถาพร อีกเจตนาหนึ่งของผู้ถวาย
(ตระกูลสุทธิธรรม) คือ
     ๒) เพื่อขอขมากรรมต่อองค์หลวงพ่อเยื้อนซึ่งตนเคยได้รับคำสั่งให้
จับตัวในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ (ขณะดำรงตำแหน่ง
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายความมั่นคง) แต่ด้วยเดชะบุญทำให้
หลวงพ่อรอดพ้นจากข้อกล่าวหามาได้ และ
     ๓) เพื่อให้องค์หลวงพ่อมีวัดครองอยู่ในตัวจังหวัดในฐานะเป็นพ่อ
เมืองจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายพุทธจักร ในระยะบุกเบิก
เริ่มต้นนั้นหลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล ได้นำกำลังพระเณรและทหารจาก
ร.๒๓พัน ๓ สร้างศาลามุงหญ้าคา จำนวน
๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์
ชั่วคราวพอเป็นสถานที่ทำกิจกรรม
ทางพระพุทธศาสนา และสร้างกุฏิหญ้าคา จำนวน ๓ หลัง ขนาดกว้าง
๒ เมตร ยาว ๕ เมตร เป็นที่พักอาศัยหลบแดดหลบฝน
สำหรับพระภิกษุ สามเณร ในยุคบุกเบิกนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สำนักปฏิบัติธรรม
ค้นหาจิต"แต่ที่ชาวบ้านคุ้นหูและนิยมเรียก
ติดปากมากที่สุด คือ "วัดใหม่หลวงตาเยื้อน, วัดใหม่บิ๊กซี, วัดบ้านสุข
สนาม" หลวงพ่อได้ส่งพระภิกษุจาก
วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรซึ่งเป็นวัดต้นสังกัดมาประจำหมุนเวียนไป
เรื่อยๆ เพื่อสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในชุมชน
เนื่องจากเป็นที่พักสงฆ์แห่งใหม่ที่ตั้งขึ้นใจกลางชุมชนชาวบ้านที่อาศัย
อยู่ใกล้เคียงได้ยินเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้า - เย็น
ทุกวัน ๆ ทำให้บางคนเกิดความสงสัยว่ามีงานอะไร ทำไมได้ยินเสียง
พระสวดมนต์ทุกเช้าค่ำ จึงตามมาดู และได้สนทนาธรรม
สอบถามความเป็นมาทำให้ทราบ และคลายความสงสัย

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นใน
พระพุทธศาสนามีนามว่า "วัดสุทธิธรรมาราม"
สังกัด คณะสงฆ์ธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕

 พวกเราคุยกับหลวงพ่อได้พักใหญ่  จอยมีพวกผ้าห่มมาถวายท่านด้วย 
ก็นำมาถวาย ส่วนฉันมีหมวกไหมพรมที่ให้ไหมพรม
และค่าแรงให้สุรีย์ช่วยถักมาถวายท่านด้วย 1 ใบ  ถวายเสร็จแล้ว
  พวกเราก็ขึ้นลีฟต์ไป  น่าจะชั้น 6 ไปกราบองค์เจดีย์ 
ซึ่งเจ้าอาวาสเยื้อนสร้างเพื่อระลึกถึงหลวงปู่ดุลย์ซึ่งเป็นองอุปัชฌาย์
ของท่าน  ชั้นนี้ต้องขึ้นบันไดไปข้างบน  ซึ่งเป็นที่โล่งกว้าง 
พวกเราถ่ายรูปกับองค์เจดีย์กัน และลงมาถ่ายรูปหมู่ด้วยที่ ชั้น 6
  ซึ่งมีรูปปั้นหุ่นขึ้ผึ้งของพระเกจิอาจารย์สำคัญ ๆ
อยู่ 4 องค์ ค่ะ  มีพระประธานอยู่ตรงกลางให้พวกเราได้สักการะ
ด้วยค่ะ  พวกเราถ่ายรูปหมู่หน้าองค์พระประธาน  ค่ะ   มาชมรูป ค่ะ



ถวายหมวกไหมพรมให้ท่านเจ้าอาวาส พระอาจารย์เยื้อน ค่ะ 



จอยได้ถวายผ้าห่ม  แด่ ท่านเจ้าอาวาส ท่านเยื้อน ค่ะ 




ทิวทัศน์ที่มองจากบนเจดีย์ลงไปชั้นล่าง ค่ะ 



เจดีย์บนชั้นดาดฟ้า ของวัดสุทธิ ค่ะ 



รูปหมู่ที่หน้าองค์พระประธาน วัดสุทธิธรรมาราม ค่ะ 



หุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ที่เป็นที่รู้จักและเคารพ ค่ะ คิดว่าทุกคนคงรู้จักค่ะ










รูปหมู่ที่พระประธานชั้น 6  ค่ะ 

       ลงลีฟต์มาถึงชั้นล่าง  หลวงพ่อเยื้อนยังคงนั่งอยู่ที่เตียงไม้เหมือนเดิม  พวกเราไปกราบลาท่านเพื่อเดินทางไปวัดอื่นต่อไป  และได้ถ่ายรูปหมู่กับท่านไว้เป็นที่ระลึกด้วย ค่ะ 





ถ่ายรูปหมู่กับหลวงพ่อ เยื้อน ค่ะ 

วัดต่อไป คือ วัดโยธาประสิทธิ์  มีรูปหลวงปู่ดุลย์องค์ใหญ่อยู่กลางเป็น
จุดเด่น  วัดนี้พวกเราไม่ได้เข้าไปในตัววัด
อยู่แต่หน้าวัดถ่ายรูปกันเล็กน้อย เพราะใกล้เที่ยงแล้ว เดี๋ยว
ถวายเพลไม่ทัน  ค่ะ 





มื้อเที่ยงวันนี้  เราได้ร้านส้มตำ ไก่ย่าง ข้าวเหนียว และตำอื่น ๆ  ฉันเดิน
ไปสั่งอาหารตามที่หลวงศิษย์บอก คือ ข้าวเหนียว
ไก่ย่าง และส้มตำ ให้หลวงศิษย์ ค่ะ คนขายเข้าใจดีแซงคิวทำให้พระตู่
ก่อน  อาหารพวกเรา จอยเป็นคนสั่งตามเมนูที่เขา
มีให้เราสั่ง ส้มตำ มีทั้งใส่ปลาร้าและไม่ใส่  สั่งมาเต็มโต๊ะ บางอย่างก็
ไม่อร่อยเลย เก็บกลับวัดไปเลี้ยงน้องหมาที่วัด  
คือ ไส้หมูปิ้ง ค่ะ อิอิ 



สั่งอาหารหลากหลาย บางอย่างฉันก็กินไม่เป็น อิอิ

 อิ่มท้องแล้ว พระตู่ก็พาพวกเราไปที่ อุทยานแห่งชาติพนมสวาย  มา
รู้จักอุทยานแห่งนี้สักเล็กน้อยค่ะ 
 วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบล
คือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่
ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอ
เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย"
เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า
"มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วยภูเขา 3 ลูก
ติดต่อกันซึ่งมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล"
แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 150 เมตร
"พนมเปร๊า แปลว่า "เขาชาย" มีความสูงประมาณ 220 เมตร
"พนมสรัย" แปลว่า "เขาหญิง" มีความสูงประมาณ 210 เมตร
รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริงคือ พนมสวายคือ
ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป
เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า
มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้
จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่าง ๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง 
วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติ
แห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย 
 ผ่านซุ้มประตูเป็นที่ตั้งของสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เกจิอาจารย์
ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงสำหรับ
ชาวสุรินทร์ และทั่วประเทศ ทางเข้าสถูปแขวนระฆังทอดยาวไปจนถึง
ตัวสถูป  ตรงนี้  ฉันกับจอย ได้ซื้อไม้เคาะระฆัง 
อันละ 100 บาท มั้ง เป็นการทำบุญให้วัดและนำกลับมาเป็นของที่ระลึก
ด้วย ค่ะ  ได้ไม้เคาะระฆังแล้ว  ฉันกับจอยก็เริ่มเดิน
ตีระฆังไปเรื่อย ๆ  ซึ่งมีหลายร้อยใบ  ตีไป เปลี่ยนมือตีกันไป  แต่ฉันกับ
จอยก็ตีจนครบ 
         
พระพุทธสุรินทรมงคล ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขา เป็นพระพุทธรูป
สีขาว ปางประทานพร ภปร สำหรับทางขึ้นมีบันได
จำนวน 200 กว่าขั้น ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยระฆังจำนวน 1080
ใบ ให้ผู้มาเยือนเคาะเพื่อความเป็นสิริมงคล 
เมื่อเดินขึ้นไปจะพบกับศาลาหลังเล็กหลังหนึ่ง เป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธรูปองค์ดำ อยู่ด้านหน้าของพระพุทธสุรินทรมงคล
 เป็นศาลาที่สร้างด้วยลวดลายสลักงดงามศิลปะแบบขอมโบราณ   ที่นี่ 
พวกเราก็ไม่มีใครยอมเดินขึ้น  เลยได้แต่ยกมือไหว้อยู่ข้างล่าง  ค่ะ 

พระพุทธสุรินทรมงคล พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่เด่นสง่ามองเห็นได้
แต่ไกล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจชาวเมืองสุรินทร์
เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางประทานพร หน้าตักกว้าง 15 เมตร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ พระราชทานนามไว้ โดยสร้างแล้วเสร็จ
เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2520 ดำเนินการสร้างโดยพุทธสมาคม
จังหวัดสุรินทร์
     
 ด้านหลังพระพุทธสุรินทรมงคล มีบันไดทางเดินลงไป มีจุดชมวิวที่
สวยงามของท้องทุ่งนาเขียวขจีของชาวสุรินทร์ได้
กว้างไกล  พวกเราก็ไม่มีใครขึ้นไปชมทิวทัศน์เลย ค่ะ 
       
จุดต่อไป วัดพนมศิลาราม มีอุโบสถที่โดดเด่นขนาดใหญ่ใช้เป็นวิหาร
และศาลา มีวิหารพระสังกัจจายน์ ให้ประชาชนได้กราบไหว้
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนวธรรมชาติพร้อมกับทำบุญไหว้พระสบายใจ
ไปพร้อมกัน  พวกเราก็ไม่ได้เข้าไปชมโบสถ์ ค่ะ
  หลวงศิษย์ซื้ออาหารปลาให้ฉันถุงหนึ่งไปโปรยให้ปลาในคลองแถว
นั้นกิน ค่ะ ปลาตัวโต ๆ ทั้งนั้นเลย 
เวลาทำการ : ทุกวัน 8.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : เสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท
ติดต่อ วนอุทยานพนมสวาย 044 518 132  (รวบรวมและเรียบเรียง
จาก อินเทอร์เน็ต) 
 














ออกจากที่อุทยานแห่งชาติพนมสวาย   จอยบอกว่า อยากไปวัดที่มีเมรุ
เผาศพที่สวยที่สุดในโลก แต่จอยจำชื่อไม่ได้  ดูเหมือน คิว
จะหาในกูเกิลจนเจอ  เด็กสมัยใหม่เก่งทางโซเชี่ยลมาก  ในที่สุดเรา
ก็เจอวัดนี้ ชื่อว่า วัดสังข์มงคล  เรามาถึงที่นี่
น่าจะบ่ายสองกว่าแล้ว อากาศร้อนมาก ๆ  ฉัน เอม จอย  มาถ่ายรูปเมรุ
ที่บอกว่า สวยที่สุดในโลก  ก็สวยจริง ๆ ค่ะ 
เป็นสีทองทั้งเมรุ  มีสัตว์ในป่าหิมพานต์  กินนร  กินรี  ยักษ์ สวยงาม
มาก  พวกเราก็ถ่ายรูปกันไว้เป็นที่ระลึก  ส่วนคนอื่น
ไปเข้าร้านขายน้ำของวัดกันหมด  พวกเราตามไปทีหลัง
เรามาทราบประวัติของวัดนี้สักเล็กน้อย ค่ะ 
     
 วัดสังข์มงคล   
       
 วัดสังข์มงคล ตั้งอยู่ที่  บ้านขยอง ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์  มีหลวง
พ่อญา สีลวัณโณ เป็นเจ้าอาวาส  เป็นพระนักพัฒนา
วัยเพียง 37 ปี  แต่สามารถสร้างวัดได้สวยงามและใหญ่โต ทั้งศาลา
การเปรียญ กุฏิ และปฏิสังขรณ์ต่างๆ ที่สวยงามอยู่เต็มวัด
       
 วัดนี้ก่อตั้งและเริ่มก่อสร้างมาวันที่ 11 ก.พ. 2554 มีแต่กระต๊อบให้พระ
จำพรรษา แรกๆ ก็ไม่ได้มีแนวคิดสร้างให้เมรุสวย
และใหญ่ขนาดนี้ เดิมเผาศพแบบเชิงตะกอนธรรมดา  ญาติโยมจึงรวบรวมบริจาคตามศรัทธา ประมาณ 5 หมื่นบาท
วันหลังมาชาวบ้านบริจาคคนนี้เสา 1 ต้น คนนั้นเสา 1 ต้น เสาจึงมี
จำนวนมาก ตอกเสาเข็มตอกไปตอกมา จึงใหญ่ขึ้น 
จึงอยากสร้างให้เป็นเหมือนเมรุลอย ให้แปลกตาไป แต่ไม่ได้คิดให้มี
ลายวิจิตร ทำไปทำมาก็เป็นไปเองอย่างอัตโนมัติ
พลังศรัทธาก็มาเองเรื่อยๆ ไม่มีนายทุนช่วย ชาวบ้านบริจาคช่วยกันร้อย
สองร้อย พันสองพันตามกำลังชาวบ้าน

 วัดสังข์มงคล  มีจุดเด่นอยู่สองเรื่อง  เรื่องที่ 1  คือ เมรุเผาศพที่
สวยงาม จนได้มีการกล่าวขานกันว่า
เป็นเมรุเผาศพที่สวยที่สุดในประเทศไทยและในโลก ค่ะ
  เมรุเผาศพ ดังกล่าว สร้างขึ้นด้วยงบประมาณร่วม 14 ล้านบาท ซึ่งมี
ลวดลายที่วิจิตรสวยงามเป็นอย่างมาก
โดยมีสีทองเหลืองอร่ามทั้งเมรุและหาดูได้ยากยิ่ง แตกต่างจาก
เมรุเผาศพของวัดทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก
บางคนมองเผินๆ คิดว่าเป็นอุโบสถ เพราะชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยเห็น
เมรุที่สวยขนาดนี้มาก่อน ซึ่งตั้งแต่ฐานเมรุ
ไปจนถึงยอดเมรุ บริเวณโดยรอบประกอบด้วยลวดลายไทยประยุกต์
มีความวิจิตรสวยงาม ทั้งประติมากรรมปูนปั้นลอยตัว
 องค์เทวดา ยืนถือพุ่ม หอก ธนู และดาบ อยู่รอบเมรุทั้ง 4 ทิศ ซึ่งมี
ความสง่างดงามยิ่งนัก รวมทั้งเทวดา
ที่นั่งเชิญฉัตร เรียงรายอยู่ตามราวบันไดขึ้นเมรุที่สวยงามทั้ง 4 ทิศ และ
ยังมีสัตว์หิมพานต์และพญานาคต่าง ๆ ประดับรอบตัว
เมรุทั้งด้านบนและด้านล่าง ทั้ง 4 ทิศอีกด้วยออกแบบจำลองให้เป็น
เหมือนเขาพระสุเมรุ เลยเอาสัตว์หิมพานต์มาตั้ง
ซึ่งทำให้คนเข้ามาวัดแล้วไม่กลัว เห็นเมรุแล้วไม่น่ากลัว ไม่กลัวความ
เป็นจริงที่ต้องเจอ   เด็กน้อยก็เข้ามาดูมาศึกษาได้
สถานศึกษา หน่วยงานราชการต่างๆ ก็เข้ามาดู เป็นศิลปะของสุรินทร์
 ลวดลายต่างๆ เน้นแบบเขมรสุรินทร์
ประยุกต์ลวดลายผสมผสาน ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี งบประมาณ
13 กว่าล้านบาท ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาก็จะสอบถาม
เรื่องความสวยงาม ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งจะแฝงด้วยคติธรรมต่างๆ 
ส่วนที่ชาวบ้านว่าสวยที่สุดในไทยในโลก
ท่านเจ้าอาวาสว่า  ไม่ได้สวยอะไรกว่าใคร เพียงแต่รูปแบบแตกต่าง
จากที่อื่น  เพราะแถวนี้มีแห่งเดียว  นอกจากนี้ยังมีราชรถ
หรือรถเข็นศพ ไว้บรรทุกเคลื่อนศพมายังเมรุที่มีลวดลายสวยงามไม่แพ้
กัน ทั้งหมดเป็นการออกแบบของหลวงพ่อญา สีลวัณโณ
เจ้าอาวาสวัดสังข์มงคล ที่ออกแบบลวดลายประยุกต์รูปแบบของเมรุ
ต่าง ๆโดยไม่ได้ใช้นักออกแบบมืออาชีพมาจากไหน
เกิดจากการได้เห็นแบบจากที่ต่างๆ แล้วนำมาประยุกต์สร้างขึ้นเอง ใช้
เวลาสร้างตั้งวันที่ 11 ก.พ. 2560 เสร็จวันที่ 10 ก.พ.
2562 รวมระยะเวลาสร้าง 2 ปีพอดี ได้ทำบุญฉลองไปวันที่ 29-30
มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเมรุแห่งนี้เป็นเมรุที่ใช้
ประจุไฟฟ้าและเผาด้วยน้ำมัน ปล่องควันสร้างซ่อนไว้ 2 ปล่องมอง
ผิวเผินแทบจะไม่เห็น   และตั้งแต่สร้างเสร็จ
พบว่ามีประชาชนทยอยหลั่งไหลเข้ามาชมเมรุและร่วมทำบุญกับวัด
จากทั่วสารทิศและต่างจังหวัดอย่างไม่ขาดสาย 
ที่สำคัญเมรุดังกล่าว ยังแตกต่างไม่เหมือนใคร เพราะมีเตาเผาเป็น
ระบบควบคุมอากาศ (Starved Air)
ปลอดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมรุเผาศพ นี้ได้รับการออกแบบ
และพัฒนาตามหลักวิศวกรรม โดยทีมวิศวกร
ที่มีระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย มีสัญญาณไฟแจ้งเตือนตอนเผา พร้อมจอแสดงผลตัวเลขดิจิทัล
ที่สามารถปรับตั้งค่าความร้อน และเวลา ได้ตามต้องการ นอกจากนี้
ทางวัดยังได้ออกแบบประยุกต์เพิ่มเติมเอง
ด้วยการใช้รอกในการเคลื่อนศพจากข้างบนเมรุหลังจากตั้งโลงศพ
ประกอบพิธีฌาปนกิจเสร็จ ก็จะมีการเคลื่อนโลงลง
มายังเตาเผาด้านล่างด้วยการใช้รอกไฟฟ้าที่ดัดแปลงทำขึ้นเองได้
อย่างลงตัวอีกด้วย ถือว่านอกจากจะเป็นเมรุที่สวย
ที่สุดแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ไม่เหมือนใคร และยังรักษ์โลกอีกด้วย
        เมรุเผาศพ ออกแบบจำลองให้เป็นเหมือน
เขาพระสุเมรุ เลยเอาสัตว์หิมพานต์มาตั้ง ซึ่งทำให้คนเข้ามาวัดแล้วไม่
กลัว เห็นเมรุแล้วไม่น่ากลัว ไม่กลัวความเป็นจริงที่ต้องเจอ
ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาก็จะสอบถามเรื่องความสวยงาม ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ
อะไร ซึ่งจะแฝงด้วยคติธรรมต่างๆ 
      
จุดเด่น เรื่องที่สอง  คือ   ร้านกาแฟดังกล่าวมี 2 ชั้น มีที่นั่งไว้ต้อนรับ
พุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดได้มานั่งพักผ่อน
ในร้านกาแฟ พร้อมทั้งมีการสร้างจำลองบรรยากาศของน้ำตกและ
ตกแต่งภายในร้านอย่างสวยงามไม่แพ้ร้านกาแฟหรู ๆ
ตามแลนด์มาร์กต่างๆ หรือร้านกาแฟอเมซอนอีกด้วย แถมราคจำหน่าย
เพียงแก้วละ 25,30 และ 40 บาท ซึ่งเป็นร้านกาแฟ
สวัสดิการของวัด นำรายได้มาเป็นค่าน้ำค่าไฟ บริหารจัดการในวัดและ
บูรณปฏิสังขรณ์ต่างๆ ในวัด ทั้งนี้การสร้างวัด
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฝีมือของทั้งหลวงพ่อเอง พระสงฆ์ สามเณร และ
ชาวบ้านที่มาช่วยกันลงแขกค่อย ๆ สร้างขึ้น
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและสร้างความสามัคคีในชุมชน โดย
งบประมาณที่สร้างจะได้มาจากการบริจาคทำบุญ
ของบรรดาศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวของ
หลวงพ่อญาสีลวัณโณ ทั้งสิ้น
     วัดยังไม่มีโบสถ์ จึงซื้อที่เพิ่มอีก 21 ไร่ และไว้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม
ด้านข้างก็ทำเกษตรชุมชน เกษตรผสมผสาน
หางานให้ชาวบ้านได้ทำ หน่วยงานต่างๆ ที่สนใจก็เข้ามาดูงานได้
เปิดเป็นแหล่งสหกรณ์ชุมชน มีปันผล ชาวบ้าน
จะได้มีงาน จะได้ไม่ต้องไปทำงานที่อื่น สิ่งเหล่านี้ หลวงพ่อเจ้าอาวาส
เป็นผู้ริเริ่มคิดขึ้น ค่ะ 
(รวบรวมและเรียบเรียง จาก อินเทอร์เน็ต)  



ส่วนหนึ่งของเมรุเผาศพ ค่ะ งดงามมาก ๆ ค่ะ







เราพักผ่อนอยู่ร้านค้าของวัดนานมากพอสมควร  โดยซื้อน้ำผลไม้
จากร้านนี้ดื่มกันคนละแก้ว นั่งคุยกันไป ส่วนพระตู่ก็กำลัง
คุยกับ คิว เพื่อเตรียมงานโกนผมบวชนาคคืนนี้ ค่ะที่นี่มีแอร์ด้วยเลยนั่ง
กันอย่างสบาย ๆ จนน่าจะบ่ายสี่ได้แล้ว
  พวกเราก็ออกจากวัดนี้ไป เพื่อไปกินข้าวมื้อเย็น  ก็เป็นตลาดคนเดินที่
เมื่อวานเราไปกินนั่นแหละ ค่ะ แต่เปลี่ยนอาหาร
ฉันกับจอย มากินเลือดหมู  จอยกินโจ๊กอีกชาม  แม่ค้าให้เครื่องในและ
ผักตำลึงมากมาย  อิ่มท้องเลย  ส่วนคนอื่น ๆ
แยกไปกินอาหารตามที่ชอบ  ขากลับก็แวะร้านขายน้ำเต้าหู้และน้ำขิง
ซื้อไปถวายเป็นน้ำปานะแด่ หลวงศิษย์  ค่ะ 
    กลับถึงวัด ก็ได้พักผ่อนสักครึ่งชั่วโมง  ก็ถึงเวลานัดที่จะมีพิธีโกนผม
เรียกว่า นาค  เพื่อเตรียมบวชเป็นพระและเณรในวันพรุ่งนี้ ค่ะ
  พระตู่และคิว พร้อมกับหลาน ๆ ที่จะร่วมบวชเณรช่วยกันจัดเก้าอี้
  ช่วยกันขนผ้าไตรทั้งหมดที่อยู่ในกุฏิของพระตู่
มาไว้ที่ใต้ถุงกว้าง โล่ง ที่จะทำพิธีโกนผม ค่ะ  ช่วงนี้ ได้พบรุ่งซึ่งขับรถ
มาสมทบงานบวชพระ เณร ครั้งนี้ด้วย ค่ะ 
    เวลานัดโกนผม นัดไว้ประมาณทุ่มหนึ่ง  พวกเราก็ไปถึงที่ทำพิธีตาม
นัด ค่ะก่อนเริ่มพิธีโกนผม ทุกคนก็ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกก่อน ค่ะ 
     
 ประมาณทุ่มเศษ ๆ  พระที่จะมาช่วยโกนผมนาค  ก็มาถึงที่ห้องโถงที่
เราจะทำพิธีโกนผมนาค  ซึ่งก่อนที่จะให้พระโกนผมนาค
  พวกเราได้ทำพิธีขลิบผม คิวและหลาน ๆ ก่อนที่พระจะมาโกน
ผมนาคค่ะ   มาชมภาพ ค่ะ 



หลวงศิษย์กำลังจัดผ้าไตรเตรียมงานให้พวกเราถวายผ้าไตร 



หลวงศิษย์เตรียมเครื่องบวชอย่างขะมักเขม้น ไม่ขาดตกบกพร่อง



พวกเราถ่ายรูปหมู่กับน้อง ๆ ที่เตรียมมาขลิบผมผู้บวช ค่ะ


  
รุ่ง ถ่ายรูปกับน้อง ๆ ที่จะบวช ค่ะ 


         
พวกเราถ่ายรูปหมู่กันก่อนที่จะมีการ ขลิบผมให้นาค  ค่ะ 



ก่อนมีพิธีขลิบผมนาค  มีพิธีให้นาคถือเครื่องบวชมากราบพระอาจารย์
และเจ้าภาพบวช ค่ะ 



เริ่มพิธีขลิบผมให้นาค ค่ะ  พวกเราขลิบผมไปแล้วก็อวยพรนาคด้วย 









พระอาจารย์ที่จะทำหน้าที่โกนผมให้นาค เริ่มโกนผมที่ละคน โดยเริ่ม
จากนาคพระก่อน แล้วตามด้วยเณร ค่ะ 









นาค เณรน้องสองพี่น้องฝาแฝด ค่ะ 



มาถ่ายรูปกับนาคน้อย ด้วย ค่ะ 





ทุกคนเอ็นดู นาคเณรน้อย ฝาแฝด ค่ะ อยากมีรูปไว้เป็นที่ระลึก  ค่ะ 



หลังจากที่โกนผมทุกคนเสร็จแล้ว ก็ไปเปลี่ยนชุดขาวเป็นนาค
โดยสมบูรณ์แล้ว ค่ะ 
ต่อจากนี้  พวกเราต้องมีพิธีถวายผ้าไตรแด่พระภิกษุ โดยมีพระอาจารย์
ที่มาทำพิธีโกนผมนาค พระ เณร เป็นผู้ทำพิธีรับมอบ ค่ะ 



กล่าวคำบาลีถวายผ้าไตร ตามพระอาจารย์ ค่ะ 







ฉันถวายผ้าไตรหลายครั้งกว่าคนอื่น  เพราะฉันเป็นทั้งเจ้าภาพและ
ตัวแทนเจ้าภาพที่ไม่สามารถมาถวายด้วยตัวเองค่ะ 



จอยและวรรณ ถวายพระไตร  ค่ะ 


       
เมื่อถวายผ้าไตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก็มีการถ่ายรูปหมู่กันกับนาคทั้งหมด อีกครั้งหนึ่ง ค่ะ  งานขลิบผมนาคและโกนผมนาคโดยพระภิกษุ คืนนี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว  พวกเราก็แยกย้าย
กันเข้าที่พัก  อาบน้ำ เตรียมเข้านอน  วันนี้กิจกรรมต่าง ๆ ก็จบลงเพียงเท่านี้  พรุ่งนี้ก็จะเป็นพิธีบวชพระ ค่ะ  โปรดติดตามตอนที่ 2 ต่อไป ค่ะ  สวัสดี ค่ะ 


 



Create Date : 06 พฤษภาคม 2565
Last Update : 13 พฤษภาคม 2565 9:29:20 น. 28 comments
Counter : 815 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณThe Kop Civil, คุณKavanich96, คุณกะว่าก๋า, คุณเริงฤดีนะ, คุณร่มไม้เย็น, คุณtuk-tuk@korat, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณmultiple, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณtoor36, คุณอุ้มสี


 
เพิ่งจะร่วมทำบุญบวชพระกับรุ่นพี่สมัยมัธยมครับ พี่เค้าเป็นสายบุญครับ มีบุญมาบอกเรื่อยๆ บอลก็ทำไปตามฐานะครับ มีมากทำมาก มีน้อยทำน้อย ส่วนใหญ่จะไม่เคยขาด ถ้าเห็นที่พี่เค้าโพสนะครับ บอลคิดว่าเราต้องมีบุญอยู่ด้วยจึงเห็นพี่เค้าโพสชวนทำบุญ ต้องต่อบุญไปเรื่อยๆครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 8 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:48:55 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยครับ



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 8 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:13:59 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 9 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:13:25 น.  

 

อนุโมทนาบุญครับอาจารย์

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆเลยครับ
ร่วมสืบสานพุทธศาสนาให้สืบทอดไปยาวนาน

ทุกคนที่ร่วมเป็นเจ้าภาพ
ยิ้มแย้ม สดใส เบิกบาน
อิ่มใจ อิ่มบุญครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:31:40 น.  

 
จากที่บล็อก


บอลหมายถึึงรุ่นพี่เค้ามาชวนทำบุญอ่าครับบบ อิอิ


ขอโทษด้วยนะครับที่ทำให้เข้าใจผิด


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 9 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:59:51 น.  

 
อนุโมทนาสาธุบุญด้วยครับอาจารย์


โดย: The Kop Civil วันที่: 9 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:54:15 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

พี่โน๊ตชอบแซวแม่ตัวเอง
แถมแซวแบบน่ารักจริงๆครับ
ผมชอบดูเดี่ยวไมโครโฟนมากๆ
ดูครบทุกภาคเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 พฤษภาคม 2565 เวลา:17:46:16 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:12:46 น.  

 

อนุโมทนาบุญ
กุศลผลบุญเสริมส่งให้สุขภาพแข็งแรงๆ
ค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 พฤษภาคม 2565 เวลา:10:37:01 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมรีวิวหนังสือของพี่วรพจน์ในบล็อกตัวเองหลายเล่มเลยครับ
เป็นหนึ่งในนักเขียนที่ผมชื่นชมมากๆ
พี่เขาทำบทสัมภาษณ์ได้ดีจริงๆครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 พฤษภาคม 2565 เวลา:11:06:48 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:13:08 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 พฤษภาคม 2565 เวลา:13:08:59 น.  

 

ไว้รออ่านตอน 2 นะคะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:06:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเองก็ไม่ค่อยอ่านวรรณกรรมเยาวชน หรือนิยายแปลครับ
ไม่เช่นนั้นคงได้อุดหนุน สนพ.ผีเสื้ออีกหลายเล่มเลย
เล่มที่ผมชอบมากที่สุด คือ ปรัชญาชีวิตครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:51:36 น.  

 
โอ้ อาจารย์ทำบุญแยะนะครับนี่
เป็นเจ้าภาพบวชทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งคนหนุ่ม ทั้งเด็กๆ ได้กุศลแรง

วัดเขาศาลา นี่เนื้อที่กว้างขวาง สุดลูกหู ลูกตาจริงๆ หมื่นกว่าไร่
บรรยากาศ บนเขาก็สดชื่นสวยงาม
อุโมงค์พญานาคนี่ อเมซิ่งจิงเกอเบลล์มาก ยาวตั้ง 200 เมตร
ถ้า อ.เต๊ะไปต้องเรียก มอไซค์วินแน่ เดินไม่ไหวครับ ไกลเกิน555

ที่เที่ยวที่กิน แถวนั้นก็แยะนะครับ เสาหลักเมืองนี่ ภายในสวยงามมากออกแนวไทยๆ แต่ภายนอกออกแนวขอมปราสาทหิน

ทริปนี้ได้ไปอีกหลายวัดทั้งวัดบูรพาราม วัดสุทธิธรรมาราม วัดสาขานี่
ทันสมัยมากเลยนะครับมีลิฟต์ขึ้นเจดีย์ด้วย สุดยอดเลยนะครับ

ส่วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย นี่บันได 200ขั้น เป็น อ.เต๊ะ ก็คิดหนักเหมือนกัน ยิ่งอาจารย์ปวดขาปวดเข่า ไหว้ข้างล่าง ส่งจิตไปก็พอนะครับ555

วัดสังข์มงคล นี่ ความรู้ใหม่เลยนะครับ อ.เต๊ะ ก็พึ่งจะรู้ว่าเป็นวัด
ที่มีเมรุ สวยที่สุดในประเทศไทย ระบบก็ทันสมัยไฮเทคมีรอกไฟฟ้าเลื่อนได้ด้วย

ทริปนี้ได้บวชทั้งพระทั้งเณร ได้บุญเต็มอิ่ม อ.เต๊ะ ต้องขออนุโมทนากับอาจารย์ด้วยนะครับ

ปล.บล็อกใหม่พึ่งจะ ถ่ายรูปได้หน่อยเดียวเองครับ
ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวันด้วย เดี๋ยวอัพเมื่อไร จะมาบอกอาจารย์สุนะครับ





โดย: multiple วันที่: 11 พฤษภาคม 2565 เวลา:19:54:46 น.  

 

สวัสดีค่ะอจ.
อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 12 พฤษภาคม 2565 เวลา:0:22:27 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:51:14 น.  

 
สำนักพิมพ์ open books
มีเจ้าของชื่อคุณภิญโญ
เป็นคนเก่งมากๆครับอาจารย์
พี่โญศึกษาปรัชญาจีนเยอะมาก
หนังสือตัมภีร์โบราณดีดี
พี่เขาแปลเก็บไว้หมดเลยครับ
ผมก็ตามซื้อมาอ่านทุกเล่ม
ไม่มีพลาดเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤษภาคม 2565 เวลา:13:02:57 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:28:32 น.  

 
อนุโมทนาบุญค่ะอาจารย์ยาวมากๆๆๆๆ



โดย: หอมกร วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:8:24:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

งานของคุณยัน จัน ก็มีเอกลักษณ์ที่ไม่มีเหมือนใครจริงๆครับ
ผมเขียนคนละแบบกับคุณยัน จัน
ของผมจะเหมือนงานพู่กันจีนมากกว่าครับ

บล็อกผมจะมีงานเขียนของคุณยัน จันมารีวิวอีกหลายเล่มเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:13:31:53 น.  

 
อนุโมทนาบุญกับอาจารย์ค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:26:10 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์

อยากเม้นเยอะๆ ครับ แต่เส้นเลือดที่มืออยู่ๆ ก็แตกแล้วปวดมาก
เลยพิมไม่ค่อยไหวครับ ไว้จะค่อย ๆ มาพิมนะครับอาจารย์


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:51:11 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยครับ

ถือเป็นกิจกรรมที่ดีครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 13 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:47:12 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:58:51 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เดือนนีั้ผมจะรีวิวงานหนังสือของคุณยัน จัน
ต่อเนื่องกันหลายเล่มเลยครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:11:42:57 น.  

 
ตามมาอ่าน


โดย: อุ้มสี วันที่: 14 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:18:45 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:59:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space