คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
7 พฤษภาคม 2563
space
space
space

ความศรัทธาของชาวพุทธ กับ สังเวชนียสถาน (ตอนที่ 9)

ความศรัทธาของชาวพุทธ กับ สังเวชนียสถาน 
(ตอนที่  9)

ความศรัทธาของชาวพุทธ กับ สังเวชนียสถาน ที่ฉันเล่า ก็ผ่านไปแล้ว
8 ตอน  บล็อกนี้  ก็เป็นบล็อกที่   9 แล้ว นะคะ 
อีก 2  บล็อก  ก็จะปิดทริป  ท่องแดนพุทธภูมิแล้ว ค่ะ   

วันนี้เป็นวันที่  29  ก.พ. ปีนี้  ก.พ.มี 29  วัน  4 ปี  จึงจะมี 29 วัน 1 ครั้ง
เช้านี้  พวกเราทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว  ฉันก็ต้อง
โด๊ปยาแก้ไข้ แก้หวัด ที่ จอยเตรียมมาให้ อีก 1 ชุด  เอม กินไปแล้วน่า
จะ 3  ชุด แล้ว  ยังไอ ไม่หายเลย  แต่ทานข้าวได้
ก็ไม่ห่วงอะไรมากนัก  อิ่มข้าวแล้ว  เรายังมีเวลาเหลืออยู่บ้าง  ก็ใช้ให้
เป็นประโยชน์ ด้วยการถ่ายรูปบริเวณวัดนี้  ค่ะ  




โต๊ะอาหารที่วัด ไทยภูริปาโล  ค่ะ  


มุมสวยและพระพุทธรูปในวัด ไทยภูริปาโล  ค่ะ 








คุณแม่และลูกสาวทั้ง 3  คน ค่ะ 






ผู้หญิงกับดอกไม้ เป็นของคู่กัน ค่ะ  อิอิ 


ถ่ายรูปกัน ที่อุโบสถของวัดนี้ ค่ะ  

หลังจากทุกคนพร้อมแล้ว  ก็เตรียมนั่งรถตุ๊ก ๆ เพื่อเดินทางไปที่พุทธ-
คยา  เพื่อกราบนมัสการสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้


นี่เป็นรถตุ๊ก ๆ ที่พาเราไปส่งที่พุทธคยา  ค่ะ  

ตรงหน้าวัด  พวกพ่อค้าอินเดียนำเสื้อผ้า  ผ้าพันคอ  มาขายหลายเจ้า
เหลือเกิน  ต่างพรีเซนต์   (present ) สินค้าของตนเอง
พูดภาษาไทยคล่องด้วย นะเนี่ย  คนไทยเราก็ชอบซื้อเป็นที่เลื่องลือ
อยู่แล้ว  ต่อราคากันอย่างสนุกสนาน  บางคน
ซื้อไปก่อน  พวกเรารู้ราคาที่คนอื่นซื้อ  ก็ต่อราคาต่ำลงไปอีกเล็กน้อย
ให้ก็ดี  ไม่ให้ถ้าอยากได้ก็ซื้อ  เดินหนีไปบ้าง
พ่อค้าอินเดียทั้งหลายก็ขายให้เหมือนกัน  ฉันก็ยังต่อเล่น ๆ ได้ผ้าพัน
คอ มา 1 ผืน  ผืนใหญ่เหมือนกัน  เห็นพี่จินดาซื้อผ้าพันคอ
สีเหลือง จะนำไปถวายพระที่พี่เขารู้จัก เออ! ดีเหมือนกัน  คิดถึงพระ
ลูกศิษย์  พระตู่ ที่ฉันเป็นสะพานบุญช่วยหาเจ้าภาพบวชพระ  บวชเณร
ภาคฤดูร้อนให้ท่านทุกปี  ปีใหม่  ท่านก็ให้น้องสาวของท่าน 
ช่วยส่งของฝากปีใหม่มาให้  มาอินเดียทั้งที  ก็เลยคิดว่า ซื้อผ้าพันคอ
สีเหลืองตามที่พี่จินดาซื้อ  ไว้ส่งให้ท่านได้ใช้
ในยามอากาศเย็น  เพราะวัดท่านอยู่บนเขาสูง  อากาศต้องเย็นมากกว่า
ปรกติ อันเป็นเรื่องธรรมดา  ค่ะ  นอกจาก ได้ผ้าพัน
สีสันสวยผืนใหญ่ และ สีเหลืองแล้ว  ยังได้เสื้อสไตล์อินเดีย มีปักด้วย
แขนยาว  ตัวยาว  สีขาว ไว้ใส่เวลาไปเข้าวัด 
ซื้อเผื่อให้เยาว์ 1  ตัวด้วย 
กว่าจะหลุดพ้นจากการขายของของเหล่าพ่อค้าอินเดียและรอสมาชิก
มาให้พร้อมเพรียงกัน  ก็เสียเวลาไปไม่น้อยกว่า 20 นาที
เช้านี้  รถตุ๊ก ๆ พาเราไปอีกทางหนึ่ง  ซึ่งเดินน้อยกว่า เมื่อคืนนี้ ค่ะ แต่
ก็ยังไกลอยู่ดี ค่ะ  ก่อนจะไปชมรูปกัน เรามารู้
ความเป็นมาของเรื่องราว พุทธคยา กันก่อน นะค่ะ 

คำว่า  "พุทธคยา"  เป็นคำที่เรียก กลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อ.คยา
รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย  เป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญ
ของชาวพุทธ ทั่วโลก  เพราะเป็นสถานที่ที่ พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ปัจจุบัน
พุทธคยา  มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดมหาโพธิ์"
อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วมระหว่างพุทธและฮินดู พุทธคยา
ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำ เนรัญชรา ไกลจาก
ฝั่งแม่น้ำประมาณ 350  เมตร  สัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของพุทธคยา
คือ  องค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ สูง 51 เมตร
ฐานวัดโดยรอบ 121.29  เมตร  ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถาน
สำคัญ  ภายในองค์เจดีย์ใหญ่  มีพระพุทธเมตตา
ประดิษฐานอยู่  พระพุทธรูปองค์นี้รอดจากการทำลายของพระเจ้า
ศศางกา  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะปาละ 
พุทธสถานที่สำคัญที่สุด  ก็คือ   "ต้นพระศรีมหาโพธิ์"  "พระแท่นวัชร- 
อาสน์" ที่ประทับตรัสรู้   พระแท่นวัชรอาสน์  
แปลว่า  พระแท่นมหาบุรุษใจเพชร  พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้าง
พระแท่นนี้ขึ้น  เพื่อเป็นอนุสรณ์  ต่อมาได้ขุดค้นพบ
เมื่อปี  2400   และได้มีการบูรณะ  มีขนาดยาว  8  ฟุต  กว้าง 4 ฟุตครึ่ง
หนา  6  นิ้ว    ประดิษฐานอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 
เป็นพระแท่นจำลองขึ้น ทับพระแท่นองค์เดิม  เพื่อเป็นหลักฐาน
ยืนยันว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ณ จุดนี้  ค่ะ   ปัจจุบัน  ประชาชนและ
รัฐบาลประเทศศรีลังกา  ได้ร่วมกันสร้างกำแพงแก้ว 
ทำด้วยทองคำแท้ ประดิษฐานรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่น
วัชรอาสน์  ปี  2545  วัดมหาโพธิ์  (พุทธคยา 
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  ประเภท มรดกทางวัฒนธรรม
ขององค์การยูเนสโก้ 
ความเป็นมาของต้น พระศรีมหาโพธิ์  ต้นแรก ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ 
ต้นแรก ที่พุทธคยานี้  พระอาจารย์เล่าว่า  เป็นต้นโพธิ์
สหชาติ  คือเกิดขึ้นพร้อมตอนเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ  ต้นแรกนี้มีอายุ
ถึง 352  ปี  มาถึงสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
จึงถูก พระชายาของพระเจ้าอโศกมหาราช ทำลาย เพราะอิจฉาที่
พระสวามี  หวงแหนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จนไม่สนใจพระนาง
ต้นโพธิ์ ต้นที่ 2  พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปลูกขึ้นใหม่  โดยนำหน่อ
ของต้นแรก  ต้นที่สองนี้ มีอายุได้ประมาณ 871-891 ปี
ถูกทำลาย ประมาณปี 1143-1163  ด้วยน้ำมือของกษัตริย์ฮินดู แห่ง
เบงกอล  พระนามว่า  ศศางกา  เพราะอิจฉาที่พุทธศาสนา
มีความรุ่งเรืองมากกว่า ศาสนาฮินดู   ต้นโพธิ์  ต้นที่ 3 ผู้ปลูก คือ 
พระเจ้า ปุรณวรมา   กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์
เมารยะ  ต้นโพธิ์ต้นที่ 3 นี้ มีอายุยืนกว่า  1258-1278 ปี  จึงล้มลงใน
สมัยที่อินเดียตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ต้นโพธิ์ต้นที่ 4  ผู้ปลูกคือ  นายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม
เมื่อปี พ.ศ. 2423  ยืนต้นมาถึง ปัจจุบันนี้  ค่ะ 
อนาคาริก  ธรรมปาละ  เป็นบุคคลสำคัญที่สุด  เป็นชาวศรีลังกา เป็นผู้
ที่เป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
ในประเทศอินเดีย  ค่ะ 



พวกเราลงจากรถตุ๊ก ๆ  ก็ต้องเดินมาทางถนนแคบ ๆ  ได้เจอป้ายนี้ก่อน
ที่จะเข้าสู่ตัว  พุทธคยา  เลยถ่ายไว้เป็นที่ระลึก ค่ะ 


ประตูทางเข้าไป  ค่ะ  


วันนี้ มีผู้ใหญ่ของ อินเดีย มาสักการะ ที่พุทธคยา  ประชาชนและ
นักท่องเที่ยวอย่างพวกเรา  ก็ต้องรออยู่เป็นชั่วโมงค่ะ 


นั่งพักกัน ค่ะ เพื่อรอเข้าองค์เจดีย์พุทธคยาไปกราบนมัสการที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์ และสวดมนต์  ค่ะ 


ระหว่างรอ  ไม่ให้เสียเวลาเปล่า ค่ะถ่ายรูปกันสนุกสนาน ค่ะ 




มีที่นั่งตรงหน้าห้องที่ฝากรองเท้า  ค่ะ 






ส่วนหนึ่งของ พุทธคยา  ลวดลายสวยมาก ค่ะ 

เมื่อจะเข้าตัวองค์เจดีย์  เราต้องผ่านจุดตรวจคัดกรองของเจ้าหน้าที่
เขาขอดูใบอะไร  ฉันก็ไม่รู้เรื่อง ที่แท้ ต้องการ
ใบแสดงว่า   เราได้เสียเงินค่านำกล้องถ่ายรูปที่ไม่ใช่โทรศัพท์ 
มัคคุเทศก์ จันดัล มาช่วยและวิ่งไปเสียค่านำกล้อง
ถ่ายรูปเข้าไปข้างใน  100  รูปี  เขาน่ารักมาก ค่ะ 


ต้นพระศรีมห​าโพธิ์  มีที่กั้นไว้  มีพระแท่นวัชรอาสน์  ค่ะ 
มีคนนำพวงมาลัยมานมัสการมากมาย ค่ะ 


อีกมุมหนึ่งของ พุทธคยา  ค่ะ 






รูปนี้ ท่านมหาเหมือนถ่ายให้ฉันกับน้องเบญจ์  ค่ะ 




เข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธเมตตาอีกครั้ง  ค่ะ  






ฉันถ่ายให้น้อง ๆ จากกล้องของฉัน ค่ะ   ทุกคนมีแต่กล้องมือถือ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ห้ามนำเข้าไป ค่ะ เพราะเล่ากันว่า
พวกก่อการร้ายเคย ใช้กล้องมือถือ กด ระเบิดเวลา ค่ะ 


พระอาจารย์นำพวกเรามานั่งสวดมนต์ด้านหนึ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์





ฉันมานั่งกับน้อง ๆ ที่ข้าง ๆ องค์เจดีย์  ห้อยขาได้ สบายหน่อยไม่ปวด
เข่า  ค่ะ  มีประชาชนและนักแสวงบุญมาเดินรอบ ๆ องค์เจดีย์ ค่ะ 


สวดมนต์เสร็จแล้ว  ก็ถ่ายรูปหมู่กัน  ค่ะ 


เข้าแถว เพื่อไปกราบพระศรีมหาโพธิ์ที่อยู่ภายในรั้ว  ค่ะ 


























รูปทั้งหมดที่ถ่ายหน้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นฝีมือของท่านมหาเหมือน

ต่อจากที่นี่  พระอาจารย์ก็พาไปชมสถานที่ต่าง ๆ  ที่พระพุทธเจ้าหลัง
จากที่ตรัสรู้แล้ว ได้ประทับอยู่ที่ พุทธคยา  เพื่อเสวยวิมุตติสุข
(ความสุขอันเกิดจากความหลุดพ้น)  พระองค์อยู่ที่นี่  7 สัปดาห์  ใน
7 สัปดาห์นี้  มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย
เช่น เรื่องตปุสสะและภัลลิกะ  สองพ่อค้า ที่ผ่านมาพบพระพุทธองค์ ได้
เห็นพระองค์มีผิวพรรณที่ผ่องใส จึงได้เข้ามาถวาย
ข้าวสัตตุผล และ สัตตุก้อน แด่พระพุทธองค์  (สัตตุ หมายถึง ข้าวคั่ว
ผง  สัตตุผง  คือ ข้าวตากที่ตำละเอียด  สัตตุก้อน
คือ ข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อน ๆ )  พระพุทธองค์เสวยอาหาร
แล้ว  
 ทรงแสดงธรรมแก่เขาทั้ง 2 จนเกิดความเลื่อมใส
ศรัทธาประกาศตนเป็นอุบาสกยึดเอาพระพุทธและพระธรรมเป็นที่พึ่ง
นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ 2 ที่เรียกว่า เทฺววาจิก
แล้วสองพี่น้องได้ทูลขอสิ่งหนึ่งจากพระพุทธองค์เพื่อนำไปบูชา
พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเกศา
พระเกศาก็ได้ตกลงมา 8 เส้น แล้วประทานให้ ตปุสสะและภัลลิกะได้
นำพระเกศาทั้ง 8 เส้นกลับไปยังอุกกลชนบท
แล้วบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ที่อสิตัญชนนคร ทำพิธีฉลองสมโภชเป็น
หลายวันหลายคืน มีตำนานเล่าขานว่าในวันอุโบสถ
สถูปเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาทั้ง 8 เส้นได้เปล่งรัศมีสีนิล


พระอาจารย์ได้พาพวกเราไปชมสถานที่ต่าง ๆ  ในแต่ละสัปดาห์ที่-
พระพุทธเสด็จไปเสวยวิมุตติสุข ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน
จนครบ  7  สัปดาห์  แต่ฉันก็จดไม่ทันหรอก ค่ะ  กล้องถ่ายรูปของฉัน
น้องเล็กก็ขอเอาไปช่วยถ่ายยังสถานที่ต่าง ๆ 
ฉันจึงรวบรวมรูปต่าง ๆ  ที่น้องถ่ายไว้และท่านมหาเหมือนถ่ายไว้บ้าง
มาให้สมาชิกชาวบล็อกแก๊งและน้อง ๆ ร่วมทริปชม ค่ะ 


พระอาจารย์ ดร.มหากิติพันธ์  เจอเพื่อน น่าจะพระรุ่นพี่  ค่ะ 







สถานที่ต่าง ๆ  ที่พระพุทธองค์เสด็จไป  สัปดาห์ละ 1 แห่ง ค่ะ 
พวกเรายืนฟังบ้าง  นั่งฟัง พระอาจารย์บรรยาย 






ส่วนหนึ่งในพุทธคยา แต่จำไม่ได้ว่า สัปดาห์ที่เท่าไหร่ แหะ แหะ 


บริเวณ รอบ ๆ พุทธคยา  มีคนมานั่งสมาธิ  ด้วยค่ะ 


ถ่ายรูปหมู่กัน ค่ะ  






ที่ตรงนี้  น่าจะเรียกว่า สระมุจรินทร์  ค่ะ 


พระอาจารย์ กำลังอธิบาย เกี่ยวกับสระนี้ ค่ะ 




พระมหาเหมือน ถ่ายให้พวกเรา  ค่ะ 














รูปชุดนี้ จากกล้องของฉัน  โดยฝีมือของน้องเล็ก  ค่ะ  เสียดายที่ไม่มี
รูปของฉันถ่ายกับรูปพุทธคยา  ตามหาเล็กไม่เจอ  ห้าห้า 
พวกเราเมื่อถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญในพุทธคยากันแล้ว  ก็เดินมาขึ้นรถ
ตุ๊ก ๆ  แล้วก็ต้องเผชิญกับพ่อค้าอินเดียตามตื้อซื้อสินค้าอีก ห้าห้า


นั่งรอความพร้อม ค่ะ จะได้ออกรถกลับวัดไทย ภูริปาโลทานข้าวเที่ยง


พรีเซนต์  สินค้ากัน ค่ะ 


ได้ซื้อไหม คะ  น้องเล็ก  อิอิ  

เมื่อขึ้นรถพร้อมแล้ว รถตุ๊ก ๆ ก็พาพวกเรากลับวัดค่ะ เพื่อทานข้าวเที่ยง
ทานข้าวมื้อเที่ยงกันแล้ว  พระอาจารย์ให้ทุกคนได้พักผ่อน
ถึงบ่ายสองโมง  ก็จะพาไปชมบ้านของนางสุชาดา ค่ะ  



มาถึง บ้านของ นางสุชาดา ค่ะ ภาพบน เป็นบ้านของนางสุชาดาใน
สมัยพุทธกาล  ค่ะ  ซึ่งปัจจุบันก็เหลือเพียงเนินเขาที่เห็น
มาทราบประวัติของ  นางสุชาดา  สักเล็กน้อย นะคะ  นางสุชาดา  เป็น
ลูกสาวของเสนานีกุฎุมพี  ในหมู่บ้าน เสนานิคม
ต. อุรุเวลาเสนานิคม  เมื่อย่างเข้าวัยสาว  นางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อ
เทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งที่ใกล้บ้านนาง
ตั้งปรารถนาขอพร สอง ข้อ  คือ 
1. ขอให้นางได้สามีที่มีบุญ มีทรัพย์สมบัติและมีชาติตระกูลเสมอกัน
2. ขอให้มีบุตรคนแรก เป็นผู้ชาย  
ถ้านางสมปรารถนาแล้ว  จะมาทำพิธีพลีกรรมแด่เทพยดา ด้วยของที่
มีมูลค่า 100,000 กหาปณะ
นางสุชาดา  ได้สมปรารถนาทั้งสองประการ  แต่นางก็ยังไม่ได้ไปทำ
พลีกรรมตามที่ได้บวงสรวงไว้  จนกระทั่งลูกชาย คือ ยสะ
แต่งงานแล้ว  จึงได้ปรารภที่จะไปทำพิธีพลีกรรมด้วยข้าวมธุปายาส
นางได้ให้สาวใช้ไปทำความสะอาดบริเวณใต้ต้นไทร
ที่ไปบวงสรวงไว้  สาวใช้ไปถึงบริเวณต้นไทร   ขณะนั้น  พระพุทธองค์
ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทร  ผินพระพักตร์ไปที่
ทิศตะวันออก  มีรัศมีออกจากพระวรกาย แผ่ซ่านไปทั่วบริเวณรอบ ๆ
นั้น  เห็นแล้วงดงามยิ่งนัก  เมื่อสาวใช้เห็นเช่นนั้น
ก็นึกว่า เทพยาดา คงจะออกมาเตรียมรับพลีกรรม แน่  ไม่ได้ทำการ
ปัดกวาด  รีบวิ่งกลับไปแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าว
แก่นางสุชาดา   เมื่อนางทราบดังนั้น  จึงรีบยกถอดข้าวมธุปายาสที่ใส่
ถาดทองคำขึ้นทูนศีรษะ  พร้อมด้วยเหล่านางบริวาร
ไปยังต้นไทร   ครั้นนางเห็นพระโพธิสัตว์  งดงามยิ่งนัก นึกว่าเป็น
เทพยาดา ที่มารับพลีกรรม  จึงได้ถวายข้าวมธุปายาส
พร้อมด้วยถาดทองคำ แด่พระพุทธองค์  ส่วนพระพุทธองค์เมื่อเสวย
ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้ว   ก็ได้ทำการเสี่ยงทาย
ทรงอธิษฐานว่า  ถ้าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็ขอ
ให้ถาดทองคำนี้  จงแล่นทวนน้ำ  ให้เป็นนิมิตหมายว่า
พระองค์จะได้ตรัสรู้   ถ้าไม่ได้ตรัสรู้ ก็ขอให้ถาดทองคำนั้นลอยไปตาม
กระแสน้ำเถิด   ปรากฏว่า  ถาดทองคำนั้นลอย
ทวนกระแสน้ำ และได้จมลงไปสู่ใต้ท้องน้ำ  กระทบกับถาดทองคำของ
พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ  ปรากฏเสียงดังก้องไปทั่ว
ท้องน้ำ  ทั่วปฐพี  อันเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เทวดา และพระยานาค
ใต้ท้องน้ำทราบว่า  จะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น
ในโลกนี้แล้ว อย่างแน่นอน ค่ะ 






ฟังพระอาจารย์ให้ความรู้แล้ว  ก็ถ่ายรูปหมู่กันค่ะ 


ขอรูปเดี่ยว ถ่ายกับบ้านนางสุชาดา สักรูป  ค่ะ  อิอิ
จากบ้านนางสุชาดาแล้ว พระอาจารย์พาเดินไปตามคันนา เดินไกลมาก
ดีที่แดดไม่ค่อยร้อนนัก  ระหว่างทาง  ชาวบ้าน
ปลูกผักกระหล่ำดอก  ผ่านทุ่งนา เขียวขจี  ทางเดินค่อนข้างแคบ เดิน
ไม่ดี อาจจะตกคันนาได้เชียวนะ  เดินไกลได้เหงื่อ
เพื่อจะไปชมศาลที่สร้าง  เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ตอนที่นางสุชาดามา
ถวายข้าวมธุปาสแด่พระพุทธเจ้า  ค่ะ มาชมภาพพวกเราค่ะ 


ทางเดินที่จะไปศาลของนางสุชาดา  ค่ะ 


กระหล่ำดอก  งามมาก ค่ะ   ภาพน้องนกกับจันดัล ค่ะ 


บรรยากาศระหว่างเดินทางไปศาลนางสุชาดา 


ประตูที่จะเข้าไปที่ ศาล นางสุชาดา  ค่ะ 


ศาล  ตอนที่นางสุชาดานำข้าวมธุปายาสมาถวายพระพุทธองค์ ค่ะ 






 
ถ่ายรูปหมู่กัน ก่อนอำลา ศาลนางสุชาดา  ค่ะ 

พวกเราก็ลงจากศาล นางสุชาดา  มารอรถข้างล่าง  ตอนต้นนึกว่า ต้อง
เดินไปตามคันนาเหมือนตอนขามา เสียอีก กำลังจะหมดแรง
ปรากฏว่า  รถก็เข้ามาได้นี่นา  ทำไมไม่ให้นั่งรถมาเหมือนนักท่องเที่ยว
คันอื่น ๆ หนอ  สงสัยพระอาจารย์ต้องการให้พวกเรา
เดินชมนก ชมไม้  ชมนาข้าวที่เขียวขจี   ผักที่ปลูก ไว้มากมายของ
ชาวไร่ ชาวนา  กระมัง เนี่ย  กว่ารถจะมา  นานมาก น่าจะ
ครึ่งชั่วโมงได้  ชาวอินเดียวทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็มาร้องขอทานกันเยอะ
มาก  ฉันไม่ได้มีเงินรูปีเลย  การให้ก็กลัวโดนรุม ห้าห้า
น้อง ๆ เลย ชวนกันถ่ายรูปในบริเวณนั้น  ถ่ายรอรถที่จะมารับพวกเรา





บริเวณที่พวกเรารอรถมารับพวกเรากลับที่พัก  ค่ะ 
ก่อนจะกลับวัด พระอาจารย์ให้พวกเราลงไปช้อปปิ้งกัน ฉันเป็นไข้ หนัก
หัวมาก  หนังตาก็ร้อนผ่าว  อีกอย่าง ไม่รู้จะซื้ออะไร 
เงินรูปี ก็ไม่มีด้วย  เลยนอนรออยู่ในรถ  คนที่ไม่ได้ไป นอกจากฉันแล้ว
ยังมีน้องประเทือง และ น้องวรรณ ด้วย 
พระอาจารย์ให้เวลา ถึง  6.30  น. น่าจะให้ไปเดินนช้อป 1 ชั่ววโมง 
ก่อนกลับ  ไม่รู้ใครซื้อโยเกิร์ต อินเดียวมาให้กินด้วย
ให้คนละถ้วย  โยเกิร์ตอินเดียอร่อยมาก  เย็น ๆ  กินแล้วชื่นใจมากเลย
กลับมาถึงวัด  ก็ได้ทานข้าวมื้อเย็น ค่ะ 
คืนนี้เรานอนพักที่วัดนี้อีก 1 คืน  ทานข้าวเสร็จแล้ว ก็มีการทอดผ้าป่า
เหมือนทุกวัดที่เราไปพัก  ค่ะ วัดนี้ทำบุญไป 440 บาท
เหลืออีกสองวัด ค่ะ ถามน้อง ๆ แล้ว จะได้เผื่อเงินทำบุญให้ครบทุกวัด

หลังจากที่พวกเราทานข้าวมื้อเย็นเรียบร้อยแล้ว  ก็เตรียมตัวทอดผ้าป่า
เย็นนี้  จอยนำยาแก้ไข้หวัดมาให้ฉันกับเอมอีกคนละชุด
ไข้หวัดของฉันที่ติดจากเอม  ยังทรง ๆ อยู่  กลัวว่าตอนกลับไทยจะ
โดนกักตัวเพราะเป็นไข้  เหลืออีกแค่สองวันต้องหายไข้
ให้ทัน  ไม่งั้นจะเดือดร้อนไปทั้งคณะโดนกักตัวหมด  ห้าห้า  โควิคเริ่ม
ระบาดเป็นวงกว้างขึ้นทุกวัน  พระอาจารย์ปลอบใจทุกคน
ว่า  ไม่ต้องห่วง เราต้องกลับไทยแคล้วคลาดปลอดภัยแน่นอน ไม่ต้อง
กังวลไปให้มาก เหมือนวาจาสิทธิ์  วันกลับไทยเราผ่านฉลุย
ไม่มีเจ้าหน้าที่มาตรวจเช็คอะไรเลย  อิอิ  



พระจากวัดไทย ภูริปาโล มาร่วมพิธีทอดผ้าป่า ค่ะ 






หลังจากพิธีทอดผ้าป่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถ่ายรูปหมู่กันเป็นที่ระลึกค่ะ

หลังพิธีทอดผ้าป่าแล้วทุกคนต่างแยกย้ายเข้าห้องตัวเอง  เพื่ออาบน้ำ
และจัดกระเป๋าเดินทางให้เรียบร้อย  เพราะพรุ่งนี้
เราต้องเดินทางไปเมืองพาราณสีแล้ว   คืนนี้ ก็ต้องรีบนอนเพื่อพักให้
เต็มที่  ไข้หวัดจะได้ทุเลาได้ดีขึ้น

การท่องแดนพุทธภูมิ ในตอนที่ 9 ของวันนี้ ก็จบลงไปอีกวันหนึ่ง เหลือ
อีก สองวัน  เราก็จะไปยังสถานที่ต่าง ๆ ครบ
ตามโปรแกรมที่วางไว้แล้ว ค่ะ  เพื่อน ๆ ชาวบล็อก  รวมถึงน้อง ๆ ที่ได้
ไปร่วมจาริกแสวงบุญครั้งนี้   สามารถติดตามการเล่าเรื่อง
ของฉันได้ต่อไป ในตอนที่ 10 และ 11 ค่ะ 
วันนี้ขอลาไปก่อน  สวัสดี  ค่ะ  


















 



Create Date : 07 พฤษภาคม 2563
Last Update : 16 พฤษภาคม 2563 10:39:33 น. 30 comments
Counter : 1364 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณกะว่าก๋า, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณทนายอ้วน, คุณkae+aoe, คุณชีริว, คุณSweet_pills, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณ**mp5**, คุณเริงฤดีนะ, คุณmambymam, คุณอุ้มสี, คุณSai Eeuu, คุณtuk-tuk@korat


 
มาตามไปด้วยภาพค่ะ
อาการบ้านหมุนมาเยือนพอท้วมๆ 55
กินยามาหลายวัน ค่อยดีขึ้นแล้ว
มาชวนอาจารย์ไปชมหนังสือเก่าด้วยค่ะ



โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:51:26 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์

เมื่อวานผมตามลิ้งค์จากเฟซบุ๊กของอาจารย์
เข้ามาอ่านแต่เม้นท์ไม่ได้
เช้านี้เม้นท์ได้เป็นปกติแล้วครับ

พุทธคยามองดูจากภายนอกเหมือนจะวุ่นวาย
แต่พอเข้าไปข้างในกลับเงียบสงบมากๆเลยนะครับ
ผมได้มาเดินในพุทธคยาสองรอบครับ
หลวงพ่อท่านจัดวันไว้สองวันเลยสำหรับการนั่งสมาธิ

โหวตครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:7:40:26 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:8:13:03 น.  

 
พุทธคยาคนเยอะตลอดเลยนะครับ

เคยฟังบรรยายประวัติศาสตร์ศิลปะ ของ มช ผู้บรรยายบอกว่าทับหลังมีที่มาจากการเอาพวงมาลัยดอกไม้ขึ้นไปแขวนบนเสาแบบในรูปนี้เลยครับ



โดย: ทนายอ้วน วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:13:57:50 น.  

 
โอ้ ดีจริงๆ ที่แวะไปเมื่อวาน ไม่งั้นเปลี่ยนบล็อกไปแล้ว
ขอบคุณอาจารย์ที่แวะไปนะครับ ถึงไม่เล่นเกมแต่ถ้าตั้งใจอ่านแบบอาจารย์ก็จะพบว่าเนื้อหามันน่าสนใจมากเลยเนอะ ^^

วันนี้มาต่อกันที่พุทธคยาครับ
เวลาซื้อของคนซื้อคนแรกๆเสียเปรียบนะ คนอื่นรู้ราคากันหมดแล้ว ยังไงก็ขายแพงกว่าไม่ได้
บางทีไม่มีใครซื้ออะไรเลย พ่อค้าก็เสียเที่ยวกันไป แต่ดูแล้วพ่อค้าอินเดียเอนเนอร์จี้ล้นเหลือจริงๆครับ พลาดคนนี้ไปขายคนนั้นต่อ ไม่มีด่าลับหลัง
เพิ่งรู้ว่าชื่อพุทธคยาเพระาอยู่ใน อ.คยา ด้วยครับ
นอกจากเจดีย์แล้ว ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระแท่นวัชรอาสน์ ก็สำคัญมากๆเลย แม้ต้นไม้จะรุ่นที่สี่แล้วก็เถอะ
ต้นปัจจุบันอายุร้อยกว่าปีเอง บางรุ่นอายุเป็นพันปีเลย โค่นไปก็น่าเสียดาย แต่ถึงอยู่ต่ออีกไม่นานก็คงถึงอายุขัยครับ
ที่นี่ต้องจ่ายเพิ่มค่ากล้องถ่ายรูป เหมือนบางวัดในพม่าเลยครับ
ผมก็ต้องซื้อตั๋วทุกที มาทั้งทีต้องเอารูปกลับไปด้วย
ที่เดียวที่ไปแล้วไม่ได้จ่ายคือพิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธีครับ ค่ากล้อง 100.- แพงเกิน!!!
ผู้ร่วมทัวร์ได้ถ่ายกับต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นภาพสำคัญเลยครับ
สระมุจลินทร์ นี่คือที่มีพญานาคชึ้นมาปกป้องพระพุทธเจ้าตอนบำเพ็ญเพียรใต้ศรีมหาโพธิ์ (เป็นที่มาของปางนาคปรก) เป็นต้นตำรับเลยใช่ไหมครับ หลายๆวัดที่สืบคติไปก็สร้างสระมุจลินทร์แบบนี้กันเยอะเลย

บ้านของนางสุชาดาเห็นหลายทัวร์ก็มาเมหือนกัน นี่คือซากอิฐแบบที่ชอบเหมือนวัดเชตวันและมหาวิทยาลัยนาลันทาครับ

โยเกิร์ตอินเดียนมแพะหรือนมวัวครับ ตอนไปตุรกีเคยกินโยเกิร์ตใส่ฝิ่น แพงก็แพง ไม่ได้อร่อยขึ้นเลย


โดย: ชีริว วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:19:56:01 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เพลงกระซิบนี่
เขียนจากตัวผมเองเลยครับ 555
ผมเป็นคนขี้อายมากครับอาจารย์
เลยไม่กล้าจีบสาวคนไหนเลยตอนสมัยเรียน 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 พฤษภาคม 2563 เวลา:22:39:47 น.  

 
กราบนมัสการพุทธคยาด้วยค่ะอาจารย์
ชมตอนกลางคืนว่างามแล้ว กลางวันก็งดงามมากนะคะ

อาจารย์สวดมนต์ด้านหนึ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์
เป็นช่วงเวลาที่สงบ
ขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์ด้วยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่พาชมบ้านของนางสุชาดาในสมัยพุทธกาล
และศาลนางสุชาดาด้วยนะคะ
บรรยากาศเดินผ่านแปลงดอกกะหล่ำและทุ่งนาดูเป็นธรรมชาติมาก

แล้วต๋าจะติดตามอ่านตอนต่อไปค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:0:22:56 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:3:30:20 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:18:55 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ขอบคุณครับ
อาจารย์ช่วยวิเคราะห์เนื้อเพลงไว้
และเขียนได้ตรงใจกับที่ผมเขียนเนื้อเพลงเหล่านี้เลยครับ

ผมรวบรวมทั้ง 5 เพลงไว้ในบล็อกแเดียวกัน
เพราะเพลงเหล่านี้พูดถึงความสูญเสียและการลาจาก
ซึ่งใครก็ไม่อาจหนีพ้นได้เลยครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:14:35:31 น.  

 
พระศรีมหาโพธิ์ตรงนี้น่าไปเยื่อนจริงๆ ครับ

บ้านของ นางสุชาดาก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เหลือทิ้งไว้คือเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาให้ทุกคนได้กล่าวถึง


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:22:46:55 น.  

 
สวัสดีครับ อาจารย์สุ
มาเที่ยวแดนพุทธภูมิ ไหว้พระ ด้วยครับ
ดอกไม้ในกระถาง ที่วัดไทยภูริปาโล ดอกไม้ดอกใหญ่ จริงหรือปลอมครับ ดอกใหญ่มาก
พุทธคยาใหญ่โต อลังการมากครับ ดูขลังกว่าพุทธคยาจำลองในเมืองไทย
บ้านนางสุชาดาใหญ่โตมากครับ



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 13 พฤษภาคม 2563 เวลา:23:09:06 น.  

 
ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับคอมเมนท์และกำลังใจค่ะ
ต๋าจะติดตามอ่านอีกสองตอนที่เหลือนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะอาจารย์



โดย: Sweet_pills วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:0:01:10 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:03:40 น.  

 
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
พอดีตอนนี้มีโทรน์ช่องหนึ่งของเรา กำลังฉาย
"สิทธัตถะ ศาสดาโลก"
ชอบดูทุกวันเลยครับ


โดย: พายุสุริยะ วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:11:23:49 น.  

 
ความศรัทธาของชาวพุทธ
ที่มีต่อสังเวชนียสถาน
และศาสนาพุทธ


โดย: นกสีเทา วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:11:47:06 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

อากาศที่เชียงใหม่ร้อนมาก
มากจนผมยังนั่งทำใจ
ว่าจะเริ่มต้นออกกำลังกายยังไงดี 555

นั่งเฉยๆเหงื่อก็ออกท่วมตัวแล้วครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 พฤษภาคม 2563 เวลา:17:16:45 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:37:09 น.  

 
ไปเที่ยวอินเดียได้ทานอาหารอินเดียบ้างหรือเปล่าครับอาจารย์ ดูในยูทูปแล้วกลัวอาหารอินเดียไปเลยครับ คนทำเค้าไม่รักษาความสะอาดกันเลย ฮ่าๆๆๆ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 15 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:42:53 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 15 พฤษภาคม 2563 เวลา:15:20:43 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเขียนบันทึกประวัติศาสตร์เป็นเพลงครับอาจารย์
ทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดง ทั้งน้ำท่วมใหญ่

ช่วงนี้มีโควิด
ก็เขียนเพลงเก็บไว้สองเพลงครับ 5555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2563 เวลา:16:36:03 น.  

 
มานั่งเอี้ยมเฟี้ยมกราบด้วยคนค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:5:12:03 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:21:53 น.  

 
ชอบลืมทำน้ำส้มพริกตำครับ เพราะเป็นคนกินก๋วยเตี๋ยวจืดๆ ไม่ปรุงอะไรเลยครับ พอทำก๋วยเตี๋ยวจะลืมทำน้ำส้มพริกดองประจำ ฮ่าๆๆๆ


ดอกรักเร่ดอกใหญ่มาก สีสวย


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:6:44:02 น.  

 
อ้าว...ยังไม่ได้มาอ่าน
อ้าวยังไม่ได้โหวตให้ครูเหรอเนี่ย
อร๊ายยยย อนุโมทามิค่ะครู

แวะมาอ่านครูเขียนผิดนิดหนึ่งค่ะ
ตรงประโยคนี้

ถ้าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ขอ
ให้ถาดทองคำนี้จงแล่นทวนน้ำ
ให้เป็นนิมิตหมายว่า
พระองค์จะได้ตรัสรู้
ถ้าไม่ได้ตรัสรู้
ก็ขอให้ถาดทองคำนั้น
ลอยไปตามกระแสน้ำเถิด
ปรากฏว่า
ถาดทองคำนั้นลอยทวงกระแสน้ำ..

ตรง ...ลอยทวงน้ำน่ะค่ะ
คำถูกต้องเป็น "ลอยทวนน้ำ"

อร๊ายยยย
อุ้มยังแอบเห็นคำผิด


โดย: อุ้มสี วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:9:05:13 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

มีพี่คนนึง
เคยบอกผม
ว่าน่าจะลองเขียนเพลงธรรมะออกมาเยอะๆ
ผมเพิ่งเขียนได้ประมาณ 4เพลงเองครับ 555

จริงๆถ้าจะทำก็น่าจะพอทำได้
ผมเขียนบทกวีธรรมะไว้เยออะพอสมควร
ปรับคำนิดหน่อย ใส่ทำนองลงไป
ก็น่าจะได้เพิ่มอีกหลายเพลงเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:16:12:13 น.  

 
สายบุญนะคะอาจารย์สุ ช่วงนี้ สาธุด้วยค่ะ


โดย: Sai Eeuu วันที่: 16 พฤษภาคม 2563 เวลา:21:15:26 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2563 เวลา:7:00:58 น.  

 
ขอบคุณครับอาจารย์

ผมแก้ไขคำผิดเรียบร้อยแล้วครับ
บางทีพิมพ์เร็วๆก็เผลอไปจริงๆ
พริ้ว กับ พลิ้ว ผมน่าจะพิมพ์สลับเป็นประจำเลยล่ะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 พฤษภาคม 2563 เวลา:13:42:06 น.  

 
มาย้อนเที่ยวต่อ
ขอบพระคุณที่พาเที่ยวค่ะอาจารย์


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 22 พฤษภาคม 2563 เวลา:14:41:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space