|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
|
กองทัพอากาศไทย ปะทะ กองทัพอากาศมาเลเซีย
หมายเหตุ: ผมไม่มีเจตนาที่จะเขียนบทความกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและมาเลเซีย ไม่มีเจตนาที่จะเหยียดเชื้อชาติและศาสนา ไม่มีเจตนาที่จะยุโยงส่งเสริมให้เกิดสงคราม และเขียนบทความนี้ขึ้นเพียงแค่การเสนอแง่มุมหนึ่งของความเห็นผมเท่านั้น ดังที่การเปรียบเทียบเช่นนี้มักปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
ผมเห็นมีบางทีเหมือนกันที่มีกระทู้เกี่ยวกับกองทัพไทยแล้วจะมีการขอให้เปรียบเทียบศักยภาพระหว่างไทยกับพม่า ไทยกับมาเลเซีย ฯลฯ เสมอ ดังนั้นผมจึงคิดว่าน่าจะลองประมวลความคิดของผม (จากมุมมองของพลเรือน) ออกมา เมื่อท่านอ่านจบแล้วก็สุดแท้แต่จะพิจารณาว่าอย่างไร
Head To Head
อย่างแรกเราก็ต้องมาดูกันก่อนว่าใครมีอะไรบ้าง ดังนี้ครับ (เสนอเฉพาะเครื่องบินขับไล่และโจมตี)
กองทัพอากาศไทย - F-16 A/B/ADF จำนวน 61 ลำ - F-5 B/E/F จำนวน 36 (???? บวกลบซัก 2) - L-39 ZA/ART 34 ลำ - Alpha Jet 20 ลำ - AU-23A 24 ลำ หมายเหตุ: เครื่องบินที่ยิงขีปนาวุธพิสัยปานกลาง (70 กม.) คือ F-16 ADF 16 ลำนอกนั้นสามารถติด AIM-9 ระยะใกล้ได้ทั้งหมดยกเว้น AU-23A ส่วน F-5 1 ฝูง (ฝูง 211) สามารถติดขีปนาวุธพิสัยใกล้ Python 4 ได้
กองทัพอากาศมาเลเซีย - Su-30 MKM 18 ลำ - MiG-29N 14 ลำ - F/A-18D 8 ลำ - MB-339 A/C 24 ลำ - Hawk 108/208 22 ลำ - F-5 E/F/E Tiger II 15 ลำ หมายเหตุ: เครื่องบินส่วนใหญ่สามารถยิงขีปนาวุธพิสัยปานกลางได้คือ R-27 และ AIM-7 (60 - 100 กม.) และสามารถติดขีปนาวุธพิสัยใกล้ได้ทั้งหมด
เทคโนโลยีต่อเทคโนโลยี
เนื่องด้วยกองทัพไทยไม่ได้พัฒนามานานแล้ว ต่างจากกองทัพมาเลเซียที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยแผนพัฒนากองทัพ (ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 9) ทำให้เทคโนโลยีทางฝั่งมาเลเซียนั้นดูจะทันสมัยกว่า และมาอาวุธใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ตลอดเวลา ต่างจากเราที่ยังเป็นอาวุธในยุคสงครามเย็นอยู่เลย
 AIM-120C (ซ้าย) และ AIM-9 ทอ.ไทย
สงครามที่มองไม่เห็นตัว
ในปัจจุบันเทคโนโลยีขีปนาวุธนำวิถีทั้งที่นำวิถีด้วยเรด้าห์ (AIM-120, R-77) พัฒนาไปมาก โอกาสที่จะเกิดการต่อสู้ระยะประชิด (Dog fight) จึงน้อยลง นี่จึงทำให้ประเทศที่มีขีปนาวุธพิสัยปานกลาง (เช่น AIM-120 หรือ R-77) นั้นกุมความได้เปรียบเอาไว้ในสงครามทางอากาศ เพราะเครื่องบินสามารถโจมตีศัตรูได้ก่อนในระยะที่ศัตรูมองไม่เห็น (Beyoond Visual Range: BVR) และทำให้ศัตรูดำเนินมาตราการตอบโต้ได้ยากขึ้น ขีปนาวุธระยะปานกลางที่ฝ่ายไทยมีคือ AIM-120C AMRAAM ซึ่งมีระยะยิงไกลสุด 70 กม. ซึ่ง AIM-120 ถือเป็นขีนาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เปรียบเทียบกับ AIM-7 Sparrow ของมาเลเซียที่ประสิทธิภาพอาจจะต่ำกว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามาเลเซียได้ประจำการด้วยขีปนาวุธ R-77 Adder ซึ่งเป็นแบบคล้าย ๆ กับ AIM-120 แต่ระยะทำการไกลกว่าหรือไม่ แต่เชื่อกันว่าอย่างน้อยการสั่งซื้อ Su-30 MKM ก็น่าจะติด R-77 มาด้วย โดยภาพรวมทั้งหมดแล้ว ถ้าเกิดสงครามขีปนาวุธพิสัยกลางขึ้นมาจริง ทอ.ไทยต้องประสบกับความยากลำบากในการหลบหลีกและตอบโต้ เพราะ 1. เครื่องบินที่ยิง AIM-120 ได้ของเรามีแค่ 16 ลำ 2. ระยะยิงของ AIM-120 สั้นกว่าขีปนาวุธจากรัสเซียมากถึง 30 กม.ทำให้อาจจะเกิดการสูญเสียขึ้นได้ง่าย
 Alpha Jet A ทอ.ไทย
สนใจเกี่ยวกับ Air to Air Missile ในเอเชียคลิ้กที่นี่ //www.ainonline.com/Publications/asian/asian_04/d2_missilep22.html
สงครามระยะสายตา
แต่ที่น่าสนใจก้คือ ถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถหลบหลีกห่าขีปนาวุธของกันและกันได้ เมื่อเข้าใกล้กันก็ต้องให้ขีปนาวุธพิสัยใกล้จำพวก AIM-9 Python 4 หรือ R-73 สู้กัน มาเลเซียประจำการด้วยขีปนาวุธพิสัยใกล้แบบ R-73 Archer ซึ่งเป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ที่มีประสิทธิภาพสูงมากและจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกเมื่อใช้งานร่วมกับหมวกบินศูนย์เล็ง (Helmet Mounted Display) บน MiG-29N ซึ่งนักบินเพียงแค่มองไปยังเป้าหมายเท่านั้นก็สามารถยิงขีปนาวุธเข้าต่อตีเป้าหมายได้ทันที
 R-73 Archer
ส่วนไทยก็ประจำการด้วย Python 4 ซึ่งเป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ของอิสราเอลที่สามารถติดตั้งได้ที่เครื่อง F-5 ของฝูง 211 กองบิน 21 และใช้ร่วมกับหมวกติดศูนย์เล็งได้เช่นกัน
 Python 4
ฉะนั้นมวยคู่ R-73 และ Rython 4 จึงเป็นมวยถูกคู่ และดูได้ยากว่าใครจะชนะ เพราะต่างก็ประสิทธิภาพยอดเยี่ยมด้วยกันทั้งคู่ แต่ไทยอาจจะได้เปรียบกว่าตรงที่เครื่องบินที่ติดขีปนาวุธนั้นคือ F-5 ที่เล็ก คล่องตัวสูง ทำให้ยากต่อการ Lock เป้าหมาย ซึ่งจำเป็นมากในการต่อสู้ประยะประชิด
 MiG-29N Malaysian Air Force
จำนวน....ใครว่าไม่สำคัญ
นับกันหยาบ ๆ แล้วตอนนี้เรามีเครื่องบินรบประมาณ 170 กว่าเครื่อง แตกต่างจากมาเลเซียที่มีอยู่แค่ 100 เครื่องเท่านั้น (1.75:1) และถ้านับให้ละเอียดขึ้นมาสักนิดโดยเปรียบเทียบแค่เครื่องบินประเภท Fighter ก็จะได้ว่าไทยมีประมาณ 90 ลำ ส่วนมาเลเซียมีประมาณ 50 ลำ (1.8:1) ทำให้หลาย ๆ คน (คนที่ว่านี้คือคนอื่นที่ไม่ได้เป็นคนไทยหรือคนมาเลย์) มองกันว่าไทยน่าจะมีโอกาสมากกว่าในแง่จำนวน ในที่นี่คงไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องขนกันมาทีเดียว 90 ลำ แต่หมายความว่าถ้าต้องซ่อมบำรุงก็จะสามารถ Rotation เครื่องได้ และถ้าเกิดการสูญเสีย เครื่องที่เหลืออยู่สามารถรับช่วงต่อได้ อันนี้เป็นความเห็นของหลาย ๆ คน
 L-39 ZA/ART ทอ.ไทย
ความพร้อมรบ...การดูแล...และการฝึก
ไทยค่อนข้างจะโชคดีที่ได้ฝึกกับประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาและอาตี๋เล็กผู้ร่ำรวยอย่างสิงคโปร์ปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง (Cobra Gold กับ Cope Tiger) จึงทำให้เราน่าจะมีการฝึกที่หลากหลายกว่า หลังจากติดตามมาซักระยะผมพบว่าเครื่องบินมาเลเซียมักจะประสบอุบัติเหตุตกบ่อย ซึ่งไม่ทราบว่ามาจากการบำรุงรักษาหรืออุบัติเหตุจริง ๆ แต่เครื่องไทยที่ตกนั้นส่วนใหญ่มาจากปัจจัยที่ไม่ใช่เรื่องเครื่งยนต์
 F/A-18 D Malaysian Air Force
สรุป...การเปลี่ยนแปลงของดุลอำนาจและการรักษาช่องว่างของมัน
ด้วยปัญญาเศรษฐกิจของเรา เราคงจะไม่สามารถไปไล่ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างมาเลเซียที่มีน้ำมันได้ สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือพยายามรักษาช่องว่างที่มันกว้างอยู่แล้วไม่ให้มันกว้างไปกว่านี้ และพยายามบีบให้มันแคบลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งโครงการจัดหาเครื่อวบินรบฝูงใหม่และโครงการปรับปรุง F-16 ช่วงครึ่งอาวุการใช้งาน (Mid-Life Upgrade:MLU) จำนวน 36 ลำที่ทอ.เสนอไปนั้นก้คงจะช่วยบีบช่องว่างเหล่านั้นให้แคบขึ้นมาได้บ้าง
Create Date : 06 เมษายน 2549 |
Last Update : 14 ธันวาคม 2550 12:36:36 น. |
|
23 comments
|
Counter : 30797 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: my_view วันที่: 6 เมษายน 2549 เวลา:7:39:27 น. |
|
|
|
โดย: 90210 วันที่: 6 เมษายน 2549 เวลา:10:07:39 น. |
|
|
|
โดย: -- IP: 124.120.63.183 วันที่: 7 เมษายน 2549 เวลา:21:40:18 น. |
|
|
|
โดย: jubchay IP: 58.9.15.253 วันที่: 9 เมษายน 2549 เวลา:17:59:51 น. |
|
|
|
โดย: Vagabundo IP: 140.116.133.6 วันที่: 9 เมษายน 2549 เวลา:22:34:35 น. |
|
|
|
โดย: MSTN IP: 58.147.54.228 วันที่: 22 เมษายน 2549 เวลา:15:03:04 น. |
|
|
|
โดย: Frodo_Fowl IP: 203.113.16.250 วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:23:29:15 น. |
|
|
|
โดย: ข้าวหลาม IP: 203.155.183.33 วันที่: 5 พฤษภาคม 2549 เวลา:17:15:49 น. |
|
|
|
โดย: cccp IP: 81.1.109.41 วันที่: 10 พฤษภาคม 2549 เวลา:3:21:53 น. |
|
|
|
โดย: บราแกรม IP: 125.25.7.112 วันที่: 20 ธันวาคม 2549 เวลา:22:41:36 น. |
|
|
|
โดย: kara IP: 125.26.122.12 วันที่: 24 เมษายน 2550 เวลา:23:11:58 น. |
|
|
|
โดย: พระทอง IP: 58.9.186.133 วันที่: 25 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:24:29 น. |
|
|
|
โดย: คนเหนือเสียง IP: 124.121.175.201 วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:17:18 น. |
|
|
|
โดย: ปรากด IP: 203.113.17.157 วันที่: 16 กรกฎาคม 2550 เวลา:7:54:57 น. |
|
|
|
โดย: Mr.?? IP: 125.25.136.111 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:39:33 น. |
|
|
|
โดย: จิงมั้ย IP: 203.118.100.72 วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:19:54:34 น. |
|
|
|
โดย: aim IP: 61.91.188.245 วันที่: 11 กันยายน 2550 เวลา:19:34:15 น. |
|
|
|
โดย: 007 IP: 125.25.219.57 วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:10:49:35 น. |
|
|
|
โดย: แdง IP: 125.25.219.57 วันที่: 1 ตุลาคม 2550 เวลา:10:55:57 น. |
|
|
|
โดย: โคมัสสึ IP: 202.44.136.50 วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:16:12:32 น. |
|
|
|
โดย: ทอแสง IP: 58.8.44.78 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:16:30 น. |
|
|
|
โดย: แน่ว IP: 222.123.33.175 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2550 เวลา:18:57:43 น. |
|
|
|
โดย: สงสัย IP: 125.24.106.188 วันที่: 8 ธันวาคม 2550 เวลา:18:18:10 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
|
|
|