|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
ความพร้อมรบของทอ.มาเลเซีย: ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก และบทเรียนสำหรับกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศมาเลเซียเมื่อดูจากเครื่องบินที่ประจำการแล้ว เราก็สามารถจัดเข้าสู่กองทัพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นอันดับสองของอาเซียน โดยมีอากาศยานที่ประจำการคือ
- MiG-29N จำนวน 18 ลำ - F/A-18D จำนวน 8 ลำ - Hawk 100/200 จำนวน 28 ลำ - F-5 ประมาณ 10 ลำ - MB339 จำนวน 8 ลำ - PC-7 จำนวน 20 ลำ
และกำลังสั่งซื้อ Su-30 MKM จำนวน 18 ลำ MB339 จำนวน 8 ลำ และ PC-7 อีกจำนวนหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า กองทัพอากาศมาเลเซียมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และน่าจะก้าวเข้ามาเป็นกองทัพอากาศ 1 ใน 10 อันดับ ๆ ของเอเชียได้เลยด้วยซ้ำ
แต่ ปัญหาหนึ่งยังฉุดทอ.มาเลเซียให้อยู่กับที่, "ความพร้อมรบของอากาศยาน"
บทเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมด
มาเลเซียมีภัยคุกคามหลายอย่างที่น่ากล่าวถึง การก่อการร้าย ความมั่นคงในช่องแคบมะละกา ความขัดแย้งกับสิงคโปร์และความหวาดระแวงต่อออสเตรเลีย ฉะนั้น มาเลเซียจึงดำเนินการเสริมสร้างกองทัพของตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปีทศวรรศตที่ 70 ถึง 80 (จำปีที่แน่นอนไม่ได้ครับ) มาเลเซียตัดสินใจสั่งซื้อ A-4C Skyhawks ส่วนเกินจากกองทัพสหรัฐจำนวน 80 ลำ โดยเข้ารับการปรับปรุงเป็น A-4PTM แต่จากราคาค่าปรับปรุงที่สูงกว่าที่คาดการ ประกอบกับมาเลเซ๊ยมีทรัพยากรที่สามารถรองรับเครื่องได้จำกัด ทำให้กองทัพอากาศมาเลเซียได้รับเครื่องแค่ 40 เครื่องเท่านั้น ส่วนเครื่องส่วนที่เหลือยังอยู่ในสหรัฐ
ต่อมา A-4PTM ของกองทัพอากาศมาเลเซียประสบปัญหาตกบ่อยครั้ง การซ่อมบำรุงมีปัญหา ทำให้กองทัพอากาศตัดสินใจกราวน์เครื่องทั้งหมดหลังจากประจำการมาแค่ 8 ปีเท่านั้น หลังจากนั้น A-4PTM ของทอ.มาเลเซียก็ไม่เคยทำการบินอีกเลย
จนต่อมา มาเลเซียก็ตัดสินใจซื้อเครื่องบินอีกถึง 3 แบบ คือ Hawk, MiG-29N และ F/A-18D และปัญหาอีกหลายอย่างก็ตามมา
ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษา
Hawk ของกองทัพอากาศมาเลเซียนั้นประสบปัญหาอย่างหนักในการซ่อมบำรุงและการบิน และประสบปัญหาตกที่บ่อยครั้ง จนทำสถิติเป็นกองทัพอากาศที่ใช้ Hawk ที่มีอัตราการตกที่สูงที่สุดในโลก!!! ล่าสุด เมื่อเดือนพ.ค.-มิ.ย. ปี 49 ในช่วงเวลาเพียง 3 อาทิตย์ มาเลเซียเสีย Hawk ไปอีก 2 เครื่อง พร้อมชีวิตนักบินอีก 3 คน บาดเจ็บอีก 1 คน ซึ่งน่าเชื่อว่าตอนนี้ยังเหลือ Hawk อีกประมาณ 20 กว่าลำ (ที่ทำการบินได้จริงจะน้อยกว่านี้)
MiG-29N ที่มาเลเซียใช้อยู่ก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน MiG-29N มีปัญหาซ่อมบำรุงที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และสายส่งกำลังบำรุงที่แย่ ทำให้อะไหล่ขาดแคลน ซึ่งมีข่าวว่า MiG-29N มีสภาพความพร้อมรบเพียง 30% เท่านั้น และแม้ได้รับอะไหล่ ความพร้อมรบก็ไม่เคยเกิน 60% เลย ล่าสุด เมื่อเดือนที่ผ่านมาก็มีข่าวว่ามาเลเซียเตรียมกราวน์เครื่อง MiG-29N ทั้งหมดและเก็บไว้เป็นเครื่องสำรองในปีหน้าทั้ง ๆ ที่ประจำการมาแค่ 12 ปีเท่านั้น โดยอ้างสาเหตุของการขาดแคลนนักบิน แต่ก็น่าเชื่อว่าส่วนหนึ่งต้องมาจากปัญหาอะไหล่แน่นอน
F-5E ของกองทัพอากาศมาเลเซีย ข่าวล่าสุดคือ บินไม่ได้ทั้งหมด และการ Upgrade ที่กำลังดำเนินการอยู่ก็ล่าช้าและถูกวิจารณ์ว่าไม่คุ้มค่า และการตัดสินใจปรับปรุงทั้ง ๆที่ไม่คุ้มค่าก็มาจากการตัดสินใจจากฝ่ายการเมืองนั้นเอง
ทั้งหมด ทำให้ F/A-18D ที่มีอยู่เพียงแต่ 8 ลำ น่าจะไม่เพียงพอที่จะป้องกันน่านฟ้ามาเลเซียได้แน่นอน
มาเลเซียจึงตัดสินใจซื้อ Su-30 MKM จำนวน 18 ลำ

ขาดแคลนนักบิน อีกหนึ่งปัญหาใหญ่
อีกเหตุผลที่มาเลเซียนำมาอ้างในการกราวน์ MiG-29N คือการขาดแคลนนักบิน
ปกติแล้ว ชาวมาเลเซียไม่ค่อยนิยมเป็นทหารกันนัก ทำให้นักบินของกองทัพอากาศส่วนใหญ่เป็นนักบินที่มีผลการเรียนปานกลางเท่านั้น และก็นิยมลาออกไปทำงานกับแอร์เอเซีย (ที่ต้องการนักบินจำนวนมาก) ทำให้ไม่ค่อยจะมีคนเก่ง ๆ มาบินเครื่องบินรบนัก ว่ากันว่านักบินมาเลเซียที่มีชั่วโมงบินสุงสุดกับ MiG-29N ก็มีชั่วโมงบินเพียงหลักร้อยต้น ๆ เท่านั้น (ส่วนทอ.บ้านเราครบ 1,000 ชม.กันทุกฝูงเป็นประจำ)
การขาดแคลนเครื่องบินฝึกก็เป็นอีกปัญหาใหญ่ PC-7 ที่ตกจนเป็นปกติทำให้ต้องซื้อเครื่องเพิ่มเติม และเครื่องบินฝึกในภารกิจฝึกนักบินสำหรับเตรียมเป็นนักบินรบขั้นสูงหรือ LIFT (Lead-In Fighter Trainer) ที่มี MB339 เพียง 8 ลำ จนทำให้ต้องจัดซื้อเพิ่มเติม
นี่ก็อีกปัญหาหนึ่งที่รอการแก้ไข.....
คำตอบของปัญหา????
การตัดสินใจกราวน์ MiG-29N อีกเหตุผลหนึ่งก็น่าจะมาจากการต้องเก็บนักบินเองไว้บินกับ Su-30 MKM จำนวน 18 ลำ ซึ่งแต่ละลำต้องใช้นักบิน 2 คน 2 X 18 = 36 คน กองทัพอากาศดูแล้วตอนนี้มีไม่เพียงพอ จึงต้องตัดสินใจกราวน์ MiG-29N
ถ้าคิดกันเล่น ๆ ตอนนี้ไม่มีนักบิน F-5 และ MiG-29N กำลังจะกราวน์ การเข้ามาแทนของ Su-30 ก็อาจจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ "แค่บางส่วน" เท่านั้น
ปัญหาการซ่อมบำรุงก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข และ ไม่แน่ อาจจะเพิ่มปัญหาขึ้นมาด้วยซ้ำ
ต้นตอของปัญหาคืออะไร
ผมมองไว้หลายประเด็นคือ
1. ปัญหาการเมืองแทรกแทรงการจัดซื้อ เหตุผลหลักของการที่มาเลเซียมีเครื่องบินหลากหลายแบบ หลากหลายค่ายก็คือมาจากความต้องการของนักการเมืองที่อยากซื้อเครื่องค่ายนี้ ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่เหมาะสม ไม่จำเป็น ผมเคยลองฟังคนมาเลเซีย list รายการมาว่ากองทัพทั้งสามของเค้าซื้ออาวุธจากที่ใดมาบ้าง พบว่ามีเกือบ 30 ประเทศ "จากทุกทวีป" เอเซีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ใต้ แอฟริกา 30 ประเทศ เท่ากับ 30 แหล่งผลิต 30 แหล่งอะไหล่ 30 สายการส่งกำลังบำรุง 30 การฝึก การศึกษา
น่าห่วงนะครับ
2. ปัญหาความไม่พร้อมทางด้านการเงิน มาเลเซียมักจะซื้ออาวุธตอบโต้กับสิงคโปร์ตลอด แต่ปัญหาก็คือมาเลเซียสายป่านไม่ยาวเท่าสิงคโปร์ ทำให้มีหลายอย่างมาแบบขาด ๆ เกิน ๆ พอเสีย เงินซ่อมก็ไม่ค่อยมี
3. ปัญหาความไพร้อมทางเทคโนโลยี มาเลเซียโตเร็วเกินไป จนทำให้อะไร ๆ ตามไม่ทัน ผมมองมาเลเซียอยู่ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ไทยมีช่างที่มีฝีมือยอดเยี่ยม การซ่อมบำรุงเป็นเลิศ แต่เงินซื้อของใหม่ไม่ค่อยมี ส่วนสิงคโปร์มีเงินมาก มีเทคโนโลยี แต่ไม่มีกำลังคน
ปัญหาคือ มาเลเซียกำลังพยายามเอาข้อดีของไทยและสิงคโปร์มารวมกัน แต่มาเลเซียไม่เคยสั่งสมประสบการณ์มานานแบบไทย ไม่มีเทคโนโลยีและเงินเท่าสิงคโปร์
บทสรุป
ผมไม่รู้จะสรุปยังไง ปัญหานี้ต้องให้คนมาเลเซ๊ยคิดทางแก้กันดูครับ
เราก็ได้แต่เอาใจช่วย เพราะผมก็ไม่อยากเห็นคนต้องตายไปพร้อมเครื่องบินที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างมีมาตราฐานน่ะครับ
Create Date : 13 กันยายน 2549 |
Last Update : 14 กันยายน 2549 21:57:10 น. |
|
15 comments
|
Counter : 4387 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Zepia IP: 158.108.12.148 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:13:08:32 น. |
|
|
|
โดย: sam IP: 58.9.59.149 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:17:43:41 น. |
|
|
|
โดย: ว่าที่นายเรืออากาศ IP: 125.24.172.118 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:18:38:58 น. |
|
|
|
โดย: สองนิ้ว IP: 203.151.24.20 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:19:56:04 น. |
|
|
|
โดย: Skyman IP: 203.121.187.3 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:21:41:25 น. |
|
|
|
โดย: pooktoon วันที่: 15 กันยายน 2549 เวลา:18:12:44 น. |
|
|
|
โดย: Skyman IP: 203.131.209.66 วันที่: 16 กันยายน 2549 เวลา:11:07:40 น. |
|
|
|
โดย: คาราโครัม IP: 203.188.57.13 วันที่: 21 ธันวาคม 2549 เวลา:18:37:29 น. |
|
|
|
โดย: คาราโครัม IP: 203.188.57.13 วันที่: 21 ธันวาคม 2549 เวลา:18:38:54 น. |
|
|
|
โดย: Dexter IP: 61.19.65.25 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:1:49:04 น. |
|
|
|
โดย: เหอะๆ IP: 203.118.100.72 วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:19:43:27 น. |
|
|
|
โดย: รน IP: 58.10.155.57 วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:12:32:59 น. |
|
|
|
โดย: ผ่านมา IP: 124.121.214.192 วันที่: 20 เมษายน 2551 เวลา:13:46:26 น. |
|
|
|
โดย: bomberman IP: 125.24.80.255 วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:13:22:35 น. |
|
|
|
โดย: kid IP: 71.126.52.59 วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:6:38:19 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
|
|
|
ไม่นึกว่าจะย่ำแย่ขนาดนี้
ผมเชื่อว่า ถ้า บข.20 เราออกมาเป็นน้องซู
เราก้อยังมีความสามารถในการซ่อมบำรุงนะครับ
เชื่อว่าช่างอากาศไทยมีฝีมือไม่แพ้ใครอยู่แล้ว
เผลอๆ อาจจะเก่งกว่าประเทศผู้ผลิตด้วยซ้ำ
ปล.ผมรู้สึกว่าช่วงนี้บอร์ดทั้งสองบอร์ดดูเงียบๆ ไงไม่รู้อ่ะครับ ท่านรู้สึกเหมือนกันมั๊ย
ปล.แก้คำผิดนิดนึงนะครับ "ไทยมีช่างที่มีฝีมือยอดเยี่ยม การซ่อมบำรุงเป็นเลิศ แต่เงินซื้อของใหม่ไม่ค่อยไม่"