ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
กองทัพจัดซื้อรถเกราะล้อยางจากยูเครน: ขอโต้แย้งข่าวที่ไม่เป็นจริง

ย้อมแมว 4 พันล้านดับไฟใต้ซื้อยานเกราะเก่าเก็บยูเครน


โดย ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2550 08:39 น.

ที่ปรึกษาบริษัทค้าอาวุธรัสเซียร้อง สตง.ให้สอบการประมูลยานเกราะล้อยางเอื้อประโยชน์ให้บริษัทค้าอาวุธจากยูเครนคู่แข่งขัน เผยคณะกรรมการฯ ยอมให้ยื่นซองทั้งที่ปิดรับไปแล้ว แถมนำยานเกราะเก่ายุคสงครามเย็นนำมาย้อมแมวเป็นของใหม่ ขายให้กองทัพบกผิดเงื่อนไขข้อกำหนด เผย ผบ.ทบ.เห็นชอบผลประมูลแล้ว รอ ผบ.สูงสุด เสนอรมว.กลาโหม เซ็นอนุมัติ เตือนระวังซ้ำรอยทีวีวงจรปิดคุณภาพแย่

นายมงคล สติพลัน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายบริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด เข้าร้องเรียนต่อ “ผู้จัดการรายวัน” ภายหลังเดินทางไปยื่นหนังสือที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้เข้าตรวจสอบการประมูลจัดซื้อจัดจ้างยานเกราะล้อยางของกองทัพบกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนายมงคล ระบุว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เสนอแบบจากประเทศยูเครนทั้งที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนตามระเบียบการประมูลที่ถูกต้อง และทำผิดเงื่อนไขข้อกำหนดทีโออาร์

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวดำเนินการเพื่อจัดหายานเกราะล้อยางประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท

ในหนังสือเรียกร้องดังกล่าวระบุว่า ตามหนังสือประกาศเชิญชวนบริษัทต่างๆ นำเสนอเอกสารและราคาเบื้องต้นด้วยตนเองในวันที่ 16 พ.ค.2550 ภายในเวลา 16.30 น. หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะปิดรับข้อมูล ซึ่งในวันดังกล่าวมีผู้นำเสนอรวมทั้งสิ้น 10 ราย และมีกำหนดให้มาฟังคำชี้แจงรายละเอียดและตอบคำถามในวันที่ 17 พ.ค.2550 ณ สโมสรกองทัพบก แต่ปรากฏว่าได้มีตัวแทนของบริษัทจากประเทศยูเครน ซึ่งไม่ได้มีการยื่นซองคัดเลือกตามกำหนดเวลาเข้ายื่นซองภายหลังโดยการอนุเคราะห์ของกรรมการคัดเลือกแบบยานเกราะบางท่าน จึงทำให้ผู้เสนอแบบรายอื่นไม่ได้รับความเป็นธรรมในขั้นตอนการคัดเลือกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

ทั้งนี้ ตามคำสั่งของกองทัพบกที่ 2/2550 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ได้ระบุกรอบอำนาจและหน้าที่ของคณะทำงานไว้ว่า ให้มีการพิจารณาเลือกแบบที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 แบบ และรายงานผลต่อคณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบกภายในเดือนพ.ค. 2550 ซึ่งภายหลังจากวันที่กำหนดให้มีการแสดงข้อมูลต่อคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 – 22 พ.ค.ได้มีการคัดเลือกแบบจำนวน 4 แบบ ได้แก่ ประเทศแคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) ประเทศรัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ประเทศฟินแลนด์ และประเทศยูเครน (บริษัท UKRSPETS Export จำกัด)

ผู้ร้องเรียน ระบุว่า ขณะนี้คณะกรรมการพิจารณาผลการประมูล ได้ตัดสินในเบื้องต้นให้บริษัทจากประเทศยูเครน เป็นผู้ชนะการประมูลเนื่องจากเสนอราคาถูกที่สุด และ ผบ.ทบ. เห็นชอบในผลการประมูลแล้ว รอเสนอเรื่องให้ ผบ.สูงสุด เซ็นอนุมัติ ก่อนเสนอเรื่องไปยัง รมว.กลาโหม ทั้งที่มีข้อสังเกตว่า 1 ) บริษัทดังกล่าวทำผิดขั้นตอนไม่มายื่นซองตามกำหนด

2) บริษัทดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการประมูลที่ “คณะทำงานพิจารณาเลือกแบบยานเกราะล้อยางของกองทัพบก” ชี้แจงแก่ผู้แทนบริษัท เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2550 ณ แหล่งสมาคมนายทหาร กรมสรรพาวุธทหารบก โดยระบุไว้ในข้อ 3.2.1 ว่า “ต้องเป็นยุทโธปกรณ์ใหม่ ไม่เก่าเก็บหรือเคยใช้งานมาก่อน” ดังนั้น รถหุ้มเกราะที่นำมาเสนอต้องเป็นรถใหม่จากสายการผลิตใหม่ แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการได้คัดเลือกแบบโดยไม่ทราบมาก่อนว่ายูเครนไม่ได้มีสายการผลิตรถใหม่ แต่มีรถเก่าจำนวนมากที่พร้อมนำมาดัดแปลงเสนอขายให้กองทัพไทย

ทั้งนี้ รถยานเกราะที่ยูเครนนำมาพัฒนาเป็นรุ่นปรับปรุง ชื่อรุ่น BTR 3 E 1 ที่นำมาเสนอขายให้กองทัพบก เป็นรถยานเกราะที่ดัดแปลงมาจากยานเกราะรุ่น BTR 70 ของสหภาพโซเวียต ซึ่งยุติการขายไปแล้วหลายปี แต่มีประจำการอยู่ในยูเครนมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจำนวน 1,105 คัน

3) มีข้อสังเกตว่าล้อยางของยานเกราะรุ่น BTR 3E1 ไม่สามารถทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ เนื่องจากประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีสำหรับยางป้องกันกระสุนขนาดดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งานในกองทัพบกได้

ผู้ร้องเรียน ยังชี้ว่า การเดินทางไปดูงานของคณะกรรมการ ระหว่างวันที่ 19 – 24 มิ.ย. 2550 ทางประเทศยูเครนได้พาคณะไปดูโรงงานเก็บยุทโธปกรณ์ต่างๆ ทั้งรถถัง รถหุ้มเกราะซึ่งเป็นของเก่าสมัยที่ยูเครนอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต และสหภาพโซเวียต ใช้ยูเครนเป็นฐานการผลิตและคลังเก็บยุทโธปกรณ์ในยุคสงครามเย็น หรือเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลาย และยูเครนแยกตัวออกมาตั้งเป็นประเทศ นั้น มีคำถามว่า การเดินทางไปดูรถหุ้มเกราะล้อยางและโรงงานสต็อกอะไหล่ของคณะกรรมการ ได้ตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ว่าเป็นชิ้นสำหรับอะไหล่รถหุ้มเกราะที่ผลิตใหม่หรือเป็นอะไหล่เก่าที่สำรองไว้ตามมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตรถหุ้มเกราะล้อยาง การไปดูงานของคณะกรรมการฯ อาจได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้ดูรายการผลิตรถใหม่

ในการประมูลจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางครั้งนี้ นายวลาดิเมียร์ กราฟอฟ ผู้ช่วยทูตพาณิชย์รัสเซียประจำประเทศไทย ผู้ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการในการเสนอขายยานเกราะล้อยางในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ได้ทำหนังสือไปถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการกองทัพบก เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 สอบถามถึงความชัดเจนโปร่งใสในการคัดเลือก จัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกในครั้งนี้ เนื่องจากในบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 10 แบบ 10 บริษัท จาก 10 ประเทศ ไม่ปรากฏการเข้าร่วมของรถจากประเทศยูเครนเลย

ทางด้านนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวแล้วและคาดว่าจะมีการเสนอผู้ว่าการ สตง. เพื่อพิจารณาตรวจสอบภายในสัปดาห์นี้

อนึ่ง การจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อป้องกันเหตุร้าย เช่น การติดตั้งระบบทีวีวงจรปิด ที่ผ่านมามีปัญหาใช้งานไม่ได้หรือใช้ได้ไม่เต็มที่ เช่น เหตุการณ์ระเบิดกลางหาดใหญ่ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทีวีวงจรปิดได้เพราะคุณภาพไม่ดี ไม่สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้ต้องสงสัยได้ชัดเจน

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000076976



รถเกราะล้อยางนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องติดอาวุธขนาดหนักครับ เพราะภารกิจหลักของมันคือ ขนส่งทหารราบ ซึ่งรถเกราะทั้ง Stryker ของสหรัฐ LAV-III ของแคนนาดา หรือตระกูล BTR ของรัสเซียและยูเครน ก็จะติดตั้งปืนกลเป็นอาวุธหลักทั้งสิ้นครับ ซึ่งถ้าต้องการภารกิจที่แตกต่างออกไป จะมี variant ให้เลือกว่าจะติดตั้งป้อมปืนรถถัง จรวดต่อสู้รถถัง หรือจรวดแซมครับ

ทั้งนี้ เรื่องนี้มันอาจจะมีนอกมีในครับ (ไม่เคยวิจารณ์อย่างนี้มาก่อนเลย) เพราะตั้งแต่ 2 ปีโน้นทบ.เลือก LAV-25 ของแคนนาดาเอาไว้ โดยแลกกับข้าว แต่โครงการล้มไป มาคราวนี้จะเอา BTR-3 รุ่นเดียวกับที่พม่าสั่ง ซึ่งผมไม่เชื่อว่าระบบของมันจะเข้ากับกองทัพเราได้ดี อีกทั้งยังน่าจะมีปัญหาการซ่อมบำรุงอาวุธใหม่ ๆ จากค่ายโซเวียตเดิมที่เราไม่เคยมีอะไหล่ตามมาอีกด้วยครับ ส่วนตัวสนับสนุนให้เลือกของแคนนาดาหรือของสหรัฐมากกว่าครับ (LAV-III,Stryker)

ผมไม่อยากให้ซื้อมา วิ่งได้แค่ 5 ปี แล้วก็จอดสนิทครับ

สงสัยคอมเพรสเซอร์มันแรงครับ ลมเลยเย็นโดนใจ

แต่ทั้งนี้ ผมขอยืนยันว่า รถเกราะของยูเครนสามารถกันกระสุนได้แน่นอน และยูเครนก็มีเทคโนโลยีที่ว่านี้แน่นอน อีกทั้งรถในตระกูลนี้ยังไม่ปิดสายการผลิตแต่อย่างใด ทั้งนี้ ถ้าตัดเรื่องมีนอกมีในออกไป ถ้าสำนักข่าวในบ้านเราศึกษาตลาดอาวุธมากกว่านี้สักนิด จะพบว่าการส่งหนังสือในลักษณะนี้คือแท๊กติกในการขายอาวุธของแต่ละฝ่าย ที่จะดิสเครดิตซึ่งกันและกันเท่านั้น และส่วนใหญ่ข้อมูลที่กล่าวมาในหนังสือก็จะเป็นข้อมูลประเภทศรีธนนท์ชัย หรือจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่เอามารวมๆ กันให้ดูเหมือนจริงครับ ซึ่งไม่ว่าฝ่ายไหนก็ทำกันอย่างนี้ ฉะนั้น การนำเสนอข่าวของสำนักข่าวในบ้านเราควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดด้วยครับ

ผมขออนุญาตมีอคติ แต่สำนักข่าวผู้จัดการเขียนข่าวกองทัพมั่วทุกเรื่อง ย้ำว่าทุกเรื่องจริง ๆ ตั้งแต่เรื่องสิงคโปร์ที่กองบิน 23 เรื่องบ.ข. 20 จนถึงเรื่องรถเกราะนี้ ที่แม้จะไม่ได้มั่วเอง แต่ก็เขียนข่าวที่คนอื่นเขาสร้างข้อมูลขึ้นมา โดยไม่ได้ตรวจสอบเลยแม้แต่น้อย

ถ้าจะตรวจสอบ ไปตรวจสอบประเด็นที่ว่า ทำไมรถเกราะยูเครนถึงแหกด่านมาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ดีกว่าหรือครับ แทนที่จะเอาข้อมูลมั่ว ๆ ของบริษัทที่เขาดิสเครดิตกันมาเป็นประเด็นทางการเมือง แล้วสุดท้าย ถ้าโครงการล้ม ทหารภาคใต้ไม่ได้รถเกราะ ยังต้องนั่งรถกระบะ นอกจากโทษคนทุจริตแล้ว ผมก็คงต้องโทษกลุ่มผู้จัดการด้วยครับ

เซ็ง



Create Date : 04 กรกฎาคม 2550
Last Update : 8 กรกฎาคม 2550 14:17:12 น. 0 comments
Counter : 2469 Pageviews.

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.