เรือ เรือ เรือ เรือ เรือ.......อันว่าด้วย "ชื่อของเรือรบ"
โดยส่วนมากแล้ว ประเพณีการตั้งชื่อให้กับยานพาหนะทางทหาร จะใช้กับเรือรบมากกว่า (แต่ทอ.ไทยก็มีเครื่องบินที่ตั้งชื่อเช่นกัน เช่น "ทีปังกรรัศมีโชติ" หรือ "พุทโธ, ธัมโม, สังโฆ")
แต่การตั้งชื่อให้กับเรือรบนั้นมีหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการและน่าสนใจอยู่มิใช่น้อย และก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทและประเทศ
วันนี้ ผมจึงขอเขียนเรื่องเบาสมองสักหน่อย ในเรื่องของเกร็ดในการตั้งชื่อเรือรบครับ
คำนำหน้าชื่อเรือ (Ship Prefix)
เรือรบก็เหมือนกับมนุษย์อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่มี "คำนำหน้าชื่อ" ปรากฏอยู่
เรือคำนำหน้าชื่อหรือ "prefix" ของเรือรบเป็นเรื่องที่น่าสับสนอยู่พอสมควรสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับเรือรบลำสีเงิน ๆ นัก และสื่อมวลชนส่วนมาก (หรือแทบทั้งหมด) ก็จะเรียก prefix ผิดกันทั้งนั้น
เรามีดูวิธีเรียกที่ถูกกันโดยตัวอย่างกันดีกว่าครับ
USS..HMS..INS..HTMS ฯลฯ
ตัวอักษรตามที่พาดหัวมานี่แหละครับคือ prefix ของเรือ
ที่มาของแต่ละอันนั้น ส่วนมากจะมาจากคำย่อของประโยคใดประโยคหนึ่ง ซึ่งประโยคนั้นมักจะบ่งของสถานะของเรือหรือกองทัพเรือของประเทศนั้น ๆ
ตัวอย่างครับ
USS ซึ่งเราคุ้นเคยกันดี เพราะเป็น prefix ของเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐทุกลำ USS มาจาก United State Ship หรือเรือรบของสหรัฐนั้นเอง แต่ถ้าเป็นหน่วยยามฝั่งหรือ United States Coast Guard ก็จะใช้ prefix ว่า USCGC ซึ่งย่อมาจากคำว่า United States Coast Guard Cutter
ตัวอย่างเช่น USS Nimitz เป็นต้น
ถัดมา เป็นเรื่อง prefix ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรือรบของราชนาวีหลวงอังกฤษ (เราเรียกราชนาวีหลวงอังกฤษว่า Royal Navy) ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้ว พระประมุขของประเทศเหล่านี้จะทรงเป็นจอมทัพหรือผู้บังคับบัญชาสุงสุด ดังนั้น เรือรบทุกลำก็เปรียบเสมือนเรือรบของพระมหากษัตริย์นั้นเอง
ในกรณีของสหราชอาณาจักรนั้น มีสมเด็จพระราชินีเป็นพระประมุข ทำให้ prefix ของราชนาวีหลวงอังกฤษคือคำว่า HMS ซึ่งย่อมาจาก Her Majesty's Ship นั้นเอง
และประเทศที่อยู่ใน commonwealth ต่างก็รับเอาหลักการนี้มาใช้ เพราะมีสมเด็จพระราชินีอลิสเบธที่ 2 เป็นพระประมุขเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
ออสเตรเลีย ใช้คำว่า HMAS ซึ่งมาจากคำว่า Her Majesty's Australian Ship แคนาดา ใช้คำว่า HMCS ซึ่งมาจากคำว่า Her Majesty's Canadian Ship
เป็นต้น
ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขก็ใช้ชื่อในแนวทางคล้าย ๆ กัน เช่น เนเธอแลนด์ ใช้คำว่า HNLMS ซึ่งมาจาก His Netherlands Majesty's Ship หรือนอร์เวย์ใช้คำว่า HNoMS ซึ่งมาจาก His Norwegian Majesty's Ship สังเกตุนะครับว่าจะมีตัว o เล็ก ๆ อยู่ด้วย
แต่กรณีนี้ใช้ไม่ได้กับเรือรบของกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นนะครับ แม่ว่าจะมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นพระประมุขก็ตาม แต่เรือของญี่ปุ่นนั้นขึ้นต้นว่า JDS ซึ่งมาจาก Japan Defense Ship นั้นเอง เหตุผล..เพราะญี่ปุ่นไม่มีกองทัพเรือครับ มีแต่กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลขนาดใหญ่ยักษ์เท่านั้น
สวีเดนนั้นใช้ HMS เหมือนกับราชนาวีหลวงอังกฤษ แต่มาจากภาษาสวีเดนว่า Hans majestäts skepp หรือ His Majesty's Ship เช่นกัน
มีตัวอย่างอีกประเทศหนึ่งที่ใช่ภาษาตัวเองเป็นตัวย่อของเรือรบแบบสวีเดน นั้นก็คือตรุกีครับ ใช้ตัวย่อว่า TCG ซึ่งมาจากภาษาตรุกีว่า Türkiye Cumhuriyeti Gemisi แปลว่า Ship of the Turkish Republic
หลายประเทศที่เป็นสาธารณรัฐ มักใช้ R นำหน้า เช่น RSS ย่อมาจาก Republic of Singapore Ship หรือ ROKS ซึ่งมาจาก Republic of Korea Ship
prefix ของราชนาวีไทย
โดยเป็นทางการแล้ว เรือรบที่มีขนาดมากกว่า 200 ตันขึ้นไป จะได้รับพระราชทานชื่อและมีสิทธิ์ใช้คำนำหน้าว่า "เรือหลวง"......เรือหลวง นะครับ ไม่ใช่ เรือรบหลวง ที่สื่อมวลชนมักจะเรียกผิดกันบ่อย ๆ และมีคำย่อว่า ร.ล. ซึ่งมีจุด 2 จุดครับ
ส่วนภาษาอังกฤษของเรือรบไทยใช้ว่า HTMS ซึ่งย่อมาจาก His Thai Majesty's Ship นั่นเอง
ส่วนลำไหนที่มีขนาดไม่ถึง 200 ตัน ก็จะใช่ชื่ออื่นครับ อย่าง ต.991 เป็นต้น (ภาษาอังกฤษว่า T.991)
อีกทั้ง คำว่าราชนาวี ยังใช้เรียกกองทัพเรือของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเท่านั้น ทำให้เราจะไม่ได้ยินใครเรียกว่า ราชนาวีสหรัฐ, ราชนาวีรัสเซีย, ราชนาวีจีน, จะมีก็แต่ราชนาวีไทย, ราชนาวีสวีเดน, ราชนาวีอังกฤษ ฯลฯ
ฉะนั้น คำว่าราชนาวี จึงศักดิ์สิทธิ์และทรงคุณค่ามาก เพราะไม่ว่าประเทศนั้นจะใหญ่แค่ไหน แต่ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ก็หมดสิทธิ์ใช้ครับ
ชื่อของเรือ
สำหรับชื่อของเรือนั้นฟรีสไตล์ครับ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละกองทัพเรือว่าจะตั้งชื่อว่าอะไร แต่โดยรวม ๆแล้ว ชื่อที่นำมาตั้งก็มักจะเป็นบุคคลสำคัญ สถานที่สำคัญ เมืองสำคัญ แม่น้ำสำคัญ ยุทธนาวีที่สำคัญ ฯลฯ
ยกตัวอย่างเรือของสหรัฐจะเห็นภาพที่สุดครับ เช่น...
USS Nimitz ตั้งตามชื่อ จอมพลเรือ Chester William Nimitz ผู้บัญชาการกองเรือภาคพื้นแปซิฟิคของสหรัฐในสงครามโลกครั้งทีสอง เจ้าของฉายา "Islands Hopper"
USS Ticonderoga ตั้งที่ตามค่าย Ticonderoga
USS Los Angeles ตั้งชื่อตามเมือง Los Angeles
USS Mobile Bay ตั้งชื่อตามยุทธนาวีที่ Mobile Bay
แต่ก็มีบางประเทศ ที่ชื่อของเรือไม่เข้าหลักการนี้เลย นั่นก็คือสิงคโปร์ครับ ที่จะใช้คำในภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายที่ต้องการมาตั้งชื่อเรือ เช่น
RSS Formidable แปลว่ามีพลังอำนาจ RSS Endurance แปลว่า ความเป็นอมตะ หรือ RSS Sea Wolf แปลว่าโจรสลัด เป็นต้น
หลักการตั้งชื่อเรือรบของราชนาวีไทย
สำหรับหลักเกณท์ของเรือรบไทยที่มีขนาดมากกว่า 200 ตัน มีหลักเกณฑ์ดังนี้ครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก "ข่าวสารนาวี" ปีที่ 12 ฉบับที่ 299 ธ.ค. 2548
เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า
เรือฟริเกต ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล. ตาปี
เรือคอร์แวตต์ ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่นร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
เรือเร็วโจมตี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือเรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งชื่อตามเรือรบในสมัยโบราณ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช และเรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อวังหวัดชายทะเล
เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจจานุ
เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิสำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย
เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล. อ่างทอง เรือหลวงสิมิลัน
เรือตรวจการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ -เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.หัวหิน ร.ล.แกลง -เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.พาลี ร.ล.คำรณสินธุ
เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.จันทร ร.ล.ศุกร์
เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เหมือนกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชื่อเรือนั้นให้ขอพระราชทาน และให้ใช้ว่าเรือหลวงนำหน้า
เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ให้ตั้งชื่อด้วย อักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้ายอักษร กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งให้ เช่น เรือ ต. 91 เรือต. 991 เป็นต้น
[ภาพ: เรือหลวงนเรศวร]
ปล. ทำไมจึงตั้งชื่อว่าเรือหลวงนเรศวร, เรือหลวงตากสิน, เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย....ทั้ง ๆ ที่ทั้ง 4 ลำนี้เป็นเรือฟริเกต อันนี้ผมสงสัยครับ มันเข้าหลักเกณฑ์เรือหน้าที่พิเศษหรือเรือพิฆาตหรือเปล่า???? รอคุณ zedth มาเฉลยครับ
... ... ...
และคุณ zedth ก็มาเฉลยแล้วครับ
"สำหรับเรือ พิฆาต จะตั้งชื่อตาม ชื่อของพระมหากษัตริย์ , บรรดาศักดิ์ของวีรบุรุษผู้มีความสำคัญของชาติ ซึ่ง ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ ร.ล.พุทธเลิศหล้านภาลัย เข้าใจว่าแต่เดิม จัดอยู่ในประเภทเรือพิฆาต ดังจะเห็นได้จากตัวย่อ ว่า DDG ในสมัยอยู่ในอเมริกา รวมถึงเรือชั้น ตากสินด้วย ซึ่งต่อมาเรือพิฆาตหมดความนิยมไป ก็เลยถูกรวบไปเป็นเรือฟริเกตแทน
ส่วนเรือฟริเกต โดยแท้จะตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.เจ้าพระยา บางประกง สายบุรี กระบุรี ตาปี คีรีรัฐ
เรือควอเวต ตั้งชื่อตามเมืองหลวง , เมืองสำคัญทางประวัติศาตร์ หรือยุคสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามีครบแล้ว คือ ศรีอยุธยา , ธนบุรี , รัตนโกสินทร์ , สุโขทัย ซึ่งถ้ามีเรือลำอื่นมาอีก คงจะตั้งชื่อตามเมืองหลวงเป็นแน่ครับ
เรื่อง ตัวย่อ HTMS นั้น ผมหาตัวเรื่อง หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องไม่เจอครับ ว่าจะใช้แบบ มีจุด คือ H.T.M.S. หรือไม่มีจุด คือ HTMS กันแน่ครับ แต่ก็เห็นใช้กันทั้งสองแบบ ยังงัย ถ้ามียศใหญ่โต จะเข้าไปค้นในกองประวัติศาสตร์ดูนะครับ
ต่อไปเรื่อง เรือดำน้ำ ทั้งสี่ลำ มีรายละเอียดการตั้งชื่อที่นี่ครับ //zedth.exteen.com/20060905/entry
เรื่องชั้นของเรืออ่านที่นี่ครับ ซึ่งตรงนี้แนะนำให้อ่านและทำความเข้าใจครับ เพราะชั้นของเรือในความหมายของไทยนั้น เป็นอีกความหมายหนึ่ง แตกต่างจาก class ในภาษาอังกฤษ อย่างสิ้นเชิงเลยครับ //zedth.exteen.com/20060322/ship-class
จริง ๆ เรือ ต.991 นั้นนั้น ไม่เข้าหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือเลย ซึ่งทำให้มีการแก้ไขระเบียบการตั้งชื่อเรือ ส่วนแก้อย่างไรนั้น จำไม่ได้เสียแล้ว หลักฐานอ้างอิงก็ไม่อยู่ใกล้มือเสียด้วยครับ "
... ... ...
หมดเรื่องคุยเกี่ยวกับเรื่องชื่อแล้วครับ เท่าที่นึกออกน่าจะมีแค่นี้
นอกจากเรื่องชื่อแล้ว ยังมีเรื่องของชนิดของเรืออีกด้วยครับ ถ้าสนใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับว่า เรือพิฆาต เรือฟริเกต คืออะไร เชิญที่นี่ครับ
"การแบ่งประเภทของเรือรบและการตั้งชื่อเรือ"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=01-05-2006&group=1&blog=1
สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ
Create Date : 21 พฤษภาคม 2550 |
Last Update : 21 พฤษภาคม 2550 21:14:47 น. |
|
15 comments
|
Counter : 16803 Pageviews. |
|
|
|
โดย: Sea Sparrow IP: 125.25.5.109 วันที่: 22 พฤษภาคม 2550 เวลา:16:38:16 น. |
|
|
|
โดย: Skyman IP: 210.246.196.1 วันที่: 23 พฤษภาคม 2550 เวลา:0:28:57 น. |
|
|
|
โดย: อยากรู้ IP: 203.188.15.105 วันที่: 26 มิถุนายน 2550 เวลา:1:33:36 น. |
|
|
|
โดย: อืมๆ IP: 124.121.85.107 วันที่: 4 กรกฎาคม 2550 เวลา:22:12:59 น. |
|
|
|
โดย: Yuttarity IP: 58.9.65.204 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:20:21 น. |
|
|
|
โดย: Kwang IP: 124.121.174.213 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:05:44 น. |
|
|
|
โดย: KAE IP: 124.157.168.20 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2550 เวลา:21:38:02 น. |
|
|
|
โดย: KAE IP: 124.157.168.20 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2550 เวลา:21:41:29 น. |
|
|
|
โดย: zedth IP: 202.91.18.204 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:16:45:31 น. |
|
|
|
โดย: june_rohan IP: 124.120.253.125 วันที่: 7 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:20:07 น. |
|
|
|
โดย: ทหารเรือรุ่นปี 2537 IP: 202.149.25.225 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2551 เวลา:1:07:12 น. |
|
|
|
โดย: ทหารเรือรุ่นปี 2537 IP: 61.19.220.5 วันที่: 6 ธันวาคม 2551 เวลา:11:22:14 น. |
|
|
|
โดย: ลูกอดีตทหารเรือ IP: 112.142.40.42 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:41:56 น. |
|
|
|
โดย: ion IP: 119.63.65.174 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:9:44:52 น. |
|
|
|
โดย: Monkey King IP: 110.77.135.63 วันที่: 22 พฤษภาคม 2560 เวลา:9:28:16 น. |
|
|
|
|
|