|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
คร่าว ๆ กับ.....กองทัพอากาศและโครงการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ของอินเดียและปากีสถาน
อินเดีย และปากีสถาน เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นปฏิบักกันอย่างรุนแรง และมีสงครามกันมาหลายครั้ง ครั้งล่าสุดคือ Kargil war ที่แคชเมียในปี 2542
ถ้าพูดถึงกองทัพอากาศ ทั้งสองประเทศต่างก็มีการพัฒนากองทัพอากาศที่น่าสนใจมากเช่นกัน มาวันนี้ เราลองไปดูคร่าว ๆ ดีกว่าครับว่า ทั้งสองประเทศเขาทำอะไรกันกับกองทัพอากาศของเขา และอะไรที่น่าเอาอย่าง อะไรที่ไม่ควรเอาอย่างครับ
กองทัพอากาศปากีสถาน
ปากีสถาน แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ไม่ไดร่ำรวยอะไรนัก แต่จากการที่มีศัตรูอย่างดินเดีย และมีปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนด้านอื่น จึงทำให้ปากีสถานจำเป็นต้องพยายามเสริมสร้างกำลังทางอากาศให้ทัดเทียม หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือป้องกันตนเองได้จากภัยคุกคามรอบด้าน ซึ่งอาวุธส่วนใหญ่จัดหาจากสหรัฐและยุโรป
แต่หลังจากการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ สหรัฐจึงประกาศการคว่ำบาตรอาวุธกับปากีสถาน ทำให้ F-16A/B Block 15 จำนวน 77 ลำที่ปากีสถานสั่งซื้อ ไม่สามารถส่งมอบได้ (แต่ได้รับเงินคืนภายหลัง) และเครื่องบินสหรัฐที่มีประจำการอยู่ก็ต้องประสบความยากลำบากในการดำรงความพร้อมรบไว้ และปากีสถานก็พยายามจัดหาอะไหล่จากประเทศที่สาม เช่น จัดหาอะไหล่ F-16 จากตุรกี เป็นต้น
ซึ่งการคว่ำบาตรนี้ทำให้ปากีสถานหันไปร่วมมือกับจีนอย่างใกล้ชิด โดยจัดหาเครื่องบินรบจากจีนจำนวนมาก เช่น F-7, A-5, K-8 เป็นต้น นอกจากนั้นยังร่วมมือกับจีนในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่อย่าง JF-17 อีกด้วย
กำลังรบทางอากาศของปากีสถานประกอบไปด้วย
- F-16A/B จำนวน 42 ลำ - F-7 จำนวน 180 ลำ - Mirage III/V จำนวน 200 ลำ - A-5C จำนวน 52 ลำ
การจัดหา J-10
ในปีที่แล้ว ปากีสถานประกาศการจัดหาเครื่องบินขับไล่ J-10 จากจีนจำนวน 36 ลำ พร้อมจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ SD-10 จำนวน 300 นัดจากจีน ซึ่งทำให้ปากีสถานเป็นลูกค้ารายแรกของ J-10 ซึ่งจีนเพิ่งพัฒนาใหม่
J-10 จะเข้ามาทดแทนเครื่องบินรบรุ่นเก่าของปากีสถานซึ่งประสบอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย
การจัดหา F-6C/D
นอกจากนั้น ปากีสถานยังประกาศการจัดหา F-16C/D Block 52 จำนวน 18 ลำ และจัดหา F-16 มือสองจำนวน 28 ลำซึ่งจะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น รวมถึงมี Option ที่จะจัดหา F-16C/D มือหนึ่งเพิ่มเติมอีก 18 ลำ โดยจำนวนการสั่งซื้อนี้ครั้งนี้ลดลงจาก 66 ลำ เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่ต้องนำไปใช้ในการฟื้นฟูประเทศที่เกิดปัญหาแผ่นดินไหว
ส่วน F-16 มือสองที่จัดหามาในครั้งนี้เป็น F-16 ในโครงการ Peace Gate III และ IV ซึ่งปาสีกถานสั่งซื้อและถูกสหรัฐคว่ำบาตรไม่จัดส่งเครื่องบินให้
F-16C/D ของปากีสถานจะได้รับการติดตั้ง AIM-120 AMRAAM และ AIM-9M เป็นอาวุธหลักในภารกิจอากาศสู่อากาศ สำหรับภารกิจอากาศสู่พื้น ปากีสถานเลือกจัดหา AGM-65 Maverick, JDAM และ ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ต่าง ๆ
ทั้งนี้ สหรัฐได้เริ่มส่งมอบ F-16 ให้กับปากีสถานแล้วจำนวน 2 ลำในกลางปีนี้ และจะทะยอยส่งมอบจนครบต่อไปในราวปี 2551 - 52
การจัดหา Saab 2000 AEW
นอกจากนั้น ปากีสถานยังสั่งซื้อ Saab 2000 AEW จากสวีเดนอีกจำนวน 6 ลำ ในสัญญามูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยติดตั้งรเด้าร์ ERIEYE เหมือนที่กองทัพอากาศไทยสั่งซื้อ
การพัฒนา JF-17
ปากีสถาน ร่วมมือกับจีนในการพัฒนา JF-17 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา เพื่อที่จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศปากีสถาน ทดแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าของจีน
อันที่จริง การพัฒนาในครั้งนี้ได้รับไม่ใช่ครั้งแรกที่ปากีสถานร่วมมือกับจีน โดยปากีสถานเคยร่วมมือกับจีนพัฒนา K-8 Karakorum ซึ่งเป้นเครื่องบินฝึกมาแล้ว
ปัจจุบัน JF-17 กำหลังได้รับการพัฒนาโดยวิศวกรของทั้งสองประเทศ โดยเครื่องบินต้นแบบหมายเลข 4 ได้ทำการบินแล้วในปีที่ผ่านมา ในการผลิตเพื่อเข้าประจำการนั้น ปากีสถานจะทำการผลิตเองในประเทศในราวปี 2008 - 2009 ซึ่งจะเป็นการผลิตเต็มรูปแบบในจำนวนราว 20 - 30 ลำต่อปี ในจำนวนความต้องการทั้งหมดราว 200 ลำ
JF-17 ใช้เครื่องยนต์ RD-93 ของรัสเซีย หรืออาจจะใช้เครื่องยนต์ WS-13 ที่จีนผลิตเอง ระบบเรด้าร์ที่ใช้น่าจะเป็น Grifo ของอิตาลีที่ปากีสถานเคยมีประสบการณ์ในการผลิต ห้องนักเป็นบินเบบ Glass Cockpit โดยมีเจอภาพ LCD ขนาดใหญ่จำนวน 3 จอ แสดงผลสถานะการบิน ข้อมูลจากระบบเรด้าร์ และระบบอาวุธ มีระบบ Datalink ซึ่งทำให้สามารถรับข้อมูลจากเรด้าร์ภาคพื้นดินหรือเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน (AEW&C) ได้ ระบบอาวุธสามารถติดตั้งระบบอาวุธได้หลากหลายเช่น ในภารกิจอากาศสู่อากาศ R-Dater, A-Darter ของแอฟริกาใต้, IRIS-T ของยุโรป, AIM-120 และ AIM-9 ของสหรัฐ, PL-9, SD-10 จากจีน ในภารกิจอาอาศสู่พื้น สามารถติดตั้งระเบิด จรวดได้จากทั้งจีน ยุโรป รัสเซีย และแอฟริกาใต้ นอกจากนั้นยังสามารถติดตั้งกระเปาะลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิค กระเปาะสงครามอิเล็กทรอนิค รวมถึงกระเปาะชี้เป้าได้
ปัจจุบัน มีลูกค้าต่างชาติที่สั่งซื้อ JF-17 เข้าประจำการแล้วคือ ซึมบับเว ซึ่งสั่งซื้อจำนวน 12 ลำ และอาร์เซอร์ไบจันจำนวน 24 ลำ ในราคาเพียงประมาณ 15 - 20 ล้านเหรียญต่อลำ นอกจากนั้นยังไม่หลายประเทศให้ความสนใจเช่น อิยิปต์ บังคลาเทศ ศรีลังกา อัลจีเรีย และพม่า เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของ JF-17 ยังจัดอยู่ในระดับเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 3 - 4 เท่านั้น โดยมีความสามารถใกล้เคียงกับ F-16C/D Block 30/32 หรือ MiG-29 รุ่นกลาง ๆ
กองทัพอากาศอินเดีย
กองทัพอากาศอินเดียถือเป็นหนึ่งในกองทัพอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีจำนวนอากาศยานในประจำการถึงราว 1,300 ลำ
อากาศยาน โดยเฉพาะเครื่องบินขับไล่ส่วนมากจะเป็นอากาศยานจากรัสเซีย และบางส่วนจะเป็นอากาศยานจากยุโรป อินเดียมีเนื้อที่กว้างขวาง ทำให้ในปัจจุบันจำนวนเครื่องบินขับไล่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ และมีเครื่องบินขับไล่ที่รอปลดประจำการอีกหลายร้อยลำ
แต่เครื่องบินที่ประจำการส่วนหนึ่งเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะ Su-30MKI ที่ถือว่าเป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลกแบบหนึ่ง นอกจากนั้นอินเดียยังทำการปรับปรุงเครื่องบินที่มีอยู่ในประจำการให้มีความทันสมัยมากเช่น อินเดียทำการปรับปรุง MiG-21 ให้สามารถยิงอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศในระยะนอกสายตา เปลี่ยนระบบเรด้าร์ และปรับปรุงโครงสร้าง ทำให้ MiG-21 รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงของอินเดีย สามารถเทียบชั้นได้กับเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4 แบบอื่น ๆ ได้เลยทีเดียว
แต่ทั้งนี้ อินเดียก็ต้องประสบปัญหาอุบัติเหตุของอากาศยานที่มีค่อนข้างบ่อย บางปีมาอากาศยานตกมากถึง 20 ครั้ง ซึ่งอินเดียก็พยายามแก้ไขอยู่เช่นกัน
กำลังรบทางอากาศของอินเดียประกอบไปด้วย
- Su-30MKI จำนวน 80 ลำ (และจำผลิตเพิ่มเป็น 250 ลำ) - Mirage 2000 จำนวน 52 ลำ - MiG-21 จำนวน 200 ลำ (บางส่วนได้รับการปรับปรุงโดยอิสราเอล) - MiG-27 จำนวน 120 ลำ - MiG-29 จำนวน 64 ลำ - Jaguar จำนวน 120 ลำ
การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ LCA Tejas
ในไม่ช้า MiG-21 ของอินเดีย จำเป้นต้องปลดประจำการ เนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน ดังนั้นอินเดียจึงได้เริ่มโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ด้วยตัวเองในโครงการ LCA (Light Combat Aircraft) ซึ่งจะใช้ทั้งในกองทัพอากาศและในเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือ
Tejas เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเล็ก ใช้เครื่องยนต์ F404-GE-IN20 ของสหรัฐ ห้องนักบินเป็นระบบ Class Cockpit มีจอภาพ 3 จอเพื่อแสดงข้อมูลทางการบิน มีจุดติดตั้งอาวุธ 7 แห่ง
ปัจจุบัน Tejas ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โดยบริษัท Hindustan Aeronautics Limited กำลังเริ่มผลิตเครื่องบินขั้นแรกจำนวนหนึ่งให้กองทัพอากาศอินเดีย โดยอินเดียวางแผนที่จะจัดหาทั้งหมดราว 250 -300 ลำ
แต่โครงการ LCA ประสบปัญหามากหมายหลายประการ ทั้งปัญหาด้านเทคนิค ความล่าช้า และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้ ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่โครงการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนั่นจะทำให้อินเดียจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนในการพัฒนากำลังรบใหม่เพื่อรับมือกับการพัฒนากำลังทางอากาศของปากีสถานและจีน
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ในโครงการ MMRCA
นอกจากนั้น อินเดียยังต้องการจัดหาเครื่องบินรบเพื่อทดแทนเครื่องบินรบของตนอีกส่วนหนึ่งที่ต้องปลดประจำการในอนาคต อินเดียได้เริ่มโครงการการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ (Multi-Role Combat Aircraft: MRCA) ในราวปี 2001 ซึ่งในช่วงนั้นอินเดียต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา น้ำหนักไม่เกิน 20 - 25 ตัน ซึ่งทำให้ตอนนั้นเครื่องบินที่อินเดียสนใจมี JAS-39 Gripen หรือ Mirage 2000-5 เป็นต้น แต่ภายหลังอินเดียเปลี่ยนการความต้องการของโครงการ ทำให้โอกาสเริ่มเปิดกว้างให้กับผู้ผลิตรายอื่น
ในปี 2004 อินเดียประกาศ Global Tender ในการจัดหาเครื่องบินรบในครั้งนี้ และได้ส่งคำร้องขอข้อมูล (Request For Information: RFI) ให้กับผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำของโลก 6 รายคือ Lockheed Martin (F-16 Block 70), Boeing (F/A-18E/F), Saab AB (JAS-39 Gripen), RAC-MiG (MiG-35), Eurofighter GmbH (Typhoon), และ Dassault Aviation (Mirage 2000-5) ซึ่งเป็นการร้องขอให้ผู้ผลิตที่ได้รับ RFI ส่งข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องบินของตนที่จำเป็นในการประเมินเบื้องต้นของกองทัพอากาศอินเดีย
แต่โครงการก็ยังเกิดความล่าช้า อันเนื่องมาจาการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ของอินเดีย (รวมถึงเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น MMRCA) ทำให้ในปี 2005 Dassault Aviation จำเป็นต้องประกาศเปลี่ยนแบบเครื่องบินที่ตนส่งเข้าแข่งขัน จาก Mirage 2000-5 มาเป็น Rafale เนื่องจากสายการผลิตของ Mirage 2000-5 จำเป็นต้องปิดลง และ Dassault Aviation ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในการคงสายการผลิตไว้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการผลิตจริงในกรณีที่อินเดียอาจจะไม่เลือก Mirage 2000-5 และเปลี่ยนข้อเสนอของตนเป็น Rafale แทน
ซึ่งในที่สุด เดือน สิงหาคม 2007 อินเดียได้ส่งคำร้องขอข้อเสนอ (Request For Proposal: RFP) ให้กับผู้ผลิตทั้ง 6 รายข้างต้น
รายละเอียดของ RFP ตัวจริงยังไม่มีการเปิดเผยมา แต่จากข้อมูลที่กองทัพอากาศอินเดียแถลงต่อสื่อมวลชนนั้น การจัดหาเครื่องบินในโครงการ MMRCA (Meduim Multi-Role Combat Aircraft) จะมีมูลค่ารวม 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยกองทัพอากาศอินเดียต้องการจัดหาเครื่องบินจำนวน 126 ลำ เพื่อมาปฏิบัติการภายใต้ Su-30MKI โดยเครื่องบินชุดแรกจำนวน 18 ลำจะทำการสร้างในประเทศผู้ผลิต ส่วนที่เหลือจะทำการผลิตในประเทศอินเดีย ทั้งนี้ ผู้ผลิตที่ได้รับเลือกจะต้องให้การตอบแทน (Offset) เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50% ของมุลค่าโครงการ หรือ 5 พันล้านเหรียญ ผู้ผลิตทั้ง 6 รายมีเวลาจนถึงเดือนมีนาคม 2008 ในการส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายให้กองทัพอากาศอินเดียพิจารณา หลังจากนั้นกองทัพอากาศอินเดียจะประกาศผู้ผลิตที่ได้รับคัดเลือกในขั้นแรกราว 2 - 3 ราย และจะทำการเจรจาเงื่อนไขทางการเงินกับผู้ได้รับเลือกในขั้นต้นทั้งหมดนี้ หลังจากนั้นจะทำการเลือกแบบผู้ชนะเพียงหนึ่งแบบ และทำการเจรจาเรื่องระบบอาวุธ การส่งกำลังบำรุง การจัดตั้งสายการผลิตในประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การตอบแทนตามสัญญา และจะทำการเซ็นสัญญาสั่งซื้อมูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในราวปี 2011 และเครื่องบินลำแรกน่าจะได้เข้าประจำการในราวปี 2013-2014
ตัวเลือกของอินเดียประกอบไปด้วย
JAS-39 Gripen
Saab AB มีประวัติที่ดีและน่าดึงดูดใจในแง่ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้การตอบแทน (Offset) โดย Saab AB ยินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งหมดของ Gripen ให้กับอินเดีย และเปิดโอกาสให้อินเดียผลิต Gripen ในประเทศ พร้อมทั้งยังให้อินเดียมีส่วนร่วมในการพัฒนา Future Gripen อีกด้วย
แต่ทั้งนี้ Gripen กลับเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้น้อยที่สุด เนื่องจาก Gripen นั้นตรงกับความต้องการในขั้นต้นของอินเดียเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ความต้องการของอินเดียเปลี่ยนไปเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดกลาง จึงทำให้ Gripen ไม่มีโอกาสมากนักในอินเดีย
F-16E/F Block 70
Lockheed Martin เสนอ F-16 Block 70 ซึ่งมีระบบต่าง ๆ ที่ทันสมัยทัดเทียมกับ F-16E/F Block 60 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่เป็นประบบที่เหมาะสมกับอินเดีย Lockheed Martin มีประวัติในการจัดตั้งสายการผลิตของ F-16 ในต่างประเทศด้วย นอกจากนั้น Lockheed Martin ยังได้ใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปติดตั้งกับ F-35 เข้าไว้ใน F-16 รุ่นนี้ เพื่อที่ในอนาคตการเปลี่ยนไปใช้ F-35 จะทำได้สะดวกขึ้น
แต่ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบกับมีหลายฝ่ายในอิเดียที่ไม่ต้องการให้จัดหาอาวุธจากสหรัฐ น่าจะเป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้ F-16 มีโอกาสไม่มากเท่าเครื่องบินแบบอื่น
F/A-18E/F
Boeing เสนอแผนแบบของ F/a-18E/F เข้าแข่งขันในโครงการ MMCRA เช่นกัน ซึ่ง Boeing ใช้ความได้เปรียบในการที่มีโรงงานบางส่วนในอินเดียเป็นจุดเด่น เพื่อที่จะได้ไม่มีความจำเป็นในการลงทุนเพิ่มเติมมากนัก นอกจากนี้ในส่วนของ Offset ตามสัญญา Boeing ยังพยายามที่จะเสนอ Offset ที่เกี่ยวกับเครื่องบินพลเรือนซึ่งตนเองเป็นผู้นำตลาดอยู่ในขณะนี้
แต่ทั้งนี้ นอกจากข้อจำกัดเดียวกับ Lockheed Martin แล้ว Boeing ยังขาดประสบการณ์ในการจัดตั้งสายการผลิตในต่างประเทศ จึงทำให้ F/A-18E/F มีโอกาสพอ ๆ กับ F-16 ของ Lockheed Martin
Rafale
ความประทับใจของอินเดียในประสิทธิภาพของ Mirage 2000 ในสงคราม Kargil War น่าจะช่วยในการเพิ่มโอกาสของ Rafale ในระดับหนึ่ง แต่ Dassault Aviation ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดตั้งสายการผลิตเครื่องบินของตนในต่างประเทศเช่นเดียวกับ Boeing และประเด็นของ Offset ที่ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนมากนัก จึงทำให้โอกาสในการได้รับเลือกยังอยู่ในระดับปานกลาง
Typhoon
ในรอบ 1 - 2 ปีที่ผ่านมา Typhoon ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากมาย แม้ว่าออสเตรียจะต้องลดจำนวนการจัดหาลงจาก 18 ลำเป็น 15 ลำเนื่องจากขาดงบประมาณ แต่ก็มีข่าวดีเมื่อซาอุดิอารเบียประกาศการจัดหา Typhoon จำนวนมากถึง 72 ลำ และอาจจะจัดหาเพิ่มอีก 24 ลำในอนาคต รวมถึงการพัฒนา Typhoon ใน Tranche 2 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องบินเต็มรูปแบบก็กำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ในปีนี้อินเดียได้ส่ง Su-30MKI ของตนเข้าร่วมฝึกกับ Typhoon ที่ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นการประเมินค่าของ Typhoon ไปด้วยในตัว
แต่การจัดตั้งสายการผลิตในประเทศอินเดียก็อาจจะทำให้ Typhoon ประสบความยุ่งยากในการดำเนินการ เพราะนอกจาก 4 สายการผลิตใน 4 ประเทศผู้ผลิตแล้ว ยังมีสายการผลิตในซาอุดิอารเบียที่ต้องไปจัดตั้งอีกตามสัญญาในการขายเครื่องบินจำนวน 72 ลำ จึงทำให้อาจจะมีปัญหาในการจัดหาร Logistic ระหว่าง 6 สายการผลิตทั่วโลกได้
MiG-35
นี่เป็นครั้งแรกที่เครื่องบินรบจากรัสเซียต้องแข่งขันกับเครื่องบนรบชาติอื่น ๆ ในอินเดีย เนื่องจากในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อินเดียมักจะจัดหาเครื่องบินรบจากรัสเซียโดยตรง แต่ในครั้งนี้ รัสเซียก็เสนอ MiG-35 หรือ MiG-29OVT ซึ่งเป็น MiG-29 รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงมากมาย โดยเพิ่มความสามารถหลายๆ อย่างเข้าไป ทำให้ MiG-35 เป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัยทัดเทียมกับเครื่องบินขับไล่ชั้นนำทั่วโลก ยิ่งการที่กองทัพอากาศอินเดียมีอากาศยานของรัสเซียประจำการจำนวนหลายร้อยลำ รวมถึงกองทัพเรือก็เพิ่งสั่งซื้อ MiG-29K รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ทำให้ MiG-35 น่าจะมีโอกาสได้รับเลือกมากที่สุด
แต่สิ่งที่รัสเซียต้องให้ความมั่นใจคือ MiG-35 จะมีคุณภาพที่ดีพอ เนื่องจากที่ผ่านมา อากาศยานของรัสเซียประสบอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อยในอินเดีย
คงต้องรอลุ่นกันยาว ๆ สำหรับโครงการ MMRCA ซึ่งเป็นโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกขณะนี้
สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Create Date : 02 ธันวาคม 2550 |
Last Update : 2 ธันวาคม 2550 15:07:48 น. |
|
5 comments
|
Counter : 7807 Pageviews. |
|
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 2 ธันวาคม 2550 เวลา:17:47:13 น. |
|
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 2 ธันวาคม 2550 เวลา:17:49:06 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 2 ธันวาคม 2550 เวลา:18:38:08 น. |
|
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 2 ธันวาคม 2550 เวลา:19:46:23 น. |
|
|
|
โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:17:37 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
|
|
|
|
|
|
|