ข้อมูล ฐานบินนอกประเทศสิงคโปร์ทั่วโลก
Ch-47D Chinook ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ณ กองบิน 2 ลพบุรี
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมาก ประกอบกับน่านฟ้าที่น้อยอยู่แล้วถูกใช้ไปในกิจการการบินพลเรือนเกือบทั้งหมด ซึ่งทางออกของสิงคโปร์มีอยู่สองทางก็คือการฝึกโดยใช้เครื่องจำลองการบิน (Simulator) และการฝึกในต่างประเทศ
สิงคโปรืมีการเจรจาขอเช่าและขอใช้พื้นที่การฝึกจากมิตรประเทศในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งสิงคโปร์จะเสียค่าธรรมเนียมในรูปแบบที่ต่างกันออกไปตามแต่ละประเทศ เช่น ในรูปแบบทางเศรษฐกิจ หรือการส่งมอบสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้
ฐานบินในต่างประเทศของสิงคโปร์ประกอบด้วย
ออสเตรเลีย: ฐานทัพอากาศเพิร์ท (Pearce AFB:YPEA) Rwy 05/23, 18L/36R, 18R/36L Position 31º 40' 4.0S 116º 0' 54.0E
ฐานบินนี้เป็นฐานบินสำหรับฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศสิงคโปร์ โดยปัจจุบันประจำการโดยฝูงบิน 130 มีเครื่อง S.211 ประจำการ และในอนาคตจะถูกแทนที่ด้วย PC-21
ออสเตรเลีย: ฐานทัพอากาศโอ๊คเล่ย์ (Oakey AFB:YBOK)Rwy 14/32, 09/27, 05/23 Position 27º 24' 42.0S 151º 44' 6.0E
ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ AS332M Super Puma และ AS532UL Cougar ในฝูงบินที่ 126
บูรไน: สนามบินนานาชาติบรูไน (Brunei International Airport:WBSB) Rwy 03/21 Position 4º 56' 39.0 N114º 55' 42.2E
เป็นฐานบินของหน่วยแยกของฝูงบินที่ 120 ซึ่งประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ AB-205
ฝรั่งเศส ฐานทัพอากาศ Cazaux (Cazaux AFB:LFBC)Rwy 06/24 Position 44º 31' 59.9N 1º 7' 30W
เป็นฝูงบินฝึกขั้นปลายของกองทัพอากาศสิงคโปร์ชื่อว่าฝูง 150 ประจำการด้วยเครื่อง A-4SU และ TA-4SU
สหรัฐ: ฐานทัพอากาศลุค (Luke AFB:KLUF)Rwy 03L/21R, 03R/21L Position 33º 32' 6N 112º 22' 59.0W
เป็นที่ตั้งของฝุงบินขับไล่ที่ 425 ประจำการด้วย F-16C/D
สหรัฐ: Grand Prairie Municipal Airport, DallasRwy 17/35 Position 32º 41' 54.9N 97º 2' 47.5W
ประจำการด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ CH-47D Chinook ในหน่วยบินที่ 149
ในไทยนั้น กองทัพอากาศสิงคโปร์ทำสัญญาเช่ากองบิน 23 เพื่อใช้ในการฝึกของเครื่องบินแบบ F-16C/D เป็นเวลา 15 ปี โดยสิงคโปร์มอบ F-16A/B จำนวน 7 ลำพร้อมอะไหล่อื่น ๆ ให้เป็นค่าตอบแทน พร้อมด้วยสัญญาการใช้สิ่งอุปกรณ์ซึ่งกันและกันในกรณีที่สิงคโปร์ใช้ฐานบินในไทยหรือไทยเดินทางไปฝึก ณ ต่างประเทศ เช่นการฝึก Picth Black ณ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น.
คำชี้แจงจากกองทัพอากาศในช่วงที่มีการเซ็นสัญญา
ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับไทย สิงคโปร์จึงของเช่าพื้นที่ฝึกบิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. บันทึกความเข้าใจ ฯ ฉบับนี้กำหนดข้อตกลง และเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน แทนการที่กองทัพอากาศไทย จะให้การสนับสนุนกองทัพอากาศสิงคโปร์ แต่เพียงฝ่ายเดียว ๒. กองทัพอากาศฝ่ายหนึ่งอาจพิจารณาให้กองทัพอากาศ อีกฝ่ายหนึ่งยืมเครื่องมือ , ชิ้นอะไหล่ หรืออุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุสิ้นเปลือง (Consumables) และวัสดุหมดเปลือง (Expendables) ได้ โดยกองทัพอากาศฝ่ายหลังจะใช้คืนพัสดุดังกล่าว หรือใช้คืนเป็นเงิน ให้กับกองทัพอากาศฝ่ายแรก ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศไทย อย่างยิ่งในกรณีที่ต้องการวัสดุอุปกรณ์เร่งด่วน และไม่สามารถจัดหาได้ทันเวลา ๓. ในกรณีที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ต้องการจะส่งเครื่องบินของตน มาฝึกในประเทศไทย จะต้องทำการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง ซึ่งการวางกำลังของกองทัพอากาศสิงคโปร์ มิใช่การเข้ามาเช่าฐานทัพแต่อย่างใด โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ มีสถานะเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ และจะต้องปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของประเทศไทย อย่างเคร่งครัด ในส่วนของกองทัพอากาศไทย สามารถพิจารณาอนุมัติ ให้กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาฝึกได้หรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ฉุกเฉิน เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือความมั่นคงในภูมิภาค เช่น เกิดการสู้รบ หรือเกิดความไม่มีเสถียรภาพภายใน กองทัพอากาศไทยสามารถระงับการวางกำลัง หรือการฝึกของหน่วยบินแยกกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ กองทัพอากาศ สามารถยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ฯ ฉบับนี้เมื่อใดก็ได้ ๔. กองทัพอากาศไทยจะเป็นผู้กำกับดูแลหน่วยบินของสิงคโปร์ รวมไปถึงกำหนดจำนวนเครื่องบินในการวางกำลังแต่ละครั้ง จำนวนคน รวมไปถึงรายละเอียดด้านพื้นที่การฝึก เส้นทาง ความสูงและระยะเวลาในการบินโดยละเอียด ทั้งนี้กองทัพอากาศไทย จะคำนึงถึงความปลอดภัย ผลประโยชน์และผลกระทบด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ
รายละเอียดการมอบเครื่องบิน F-16 A/B จำนวน 7 เครื่อง
จากการที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้จัดหาเครื่องบินรบแบบ F-16 C/D เข้าประจำการ จึงได้ยุติการใช้งานเครื่องบินแบบ F-16 A/B และจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี (Preservation) โดยปกติอายุการใช้งานของเครื่องบินแบบ F-16 A/B ตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ๘ , ๐๐๐ ชั่วโมงบิน ซึ่งเครื่องบินแบบ F-16 A/B ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ทำการบินโดยเฉลี่ย ๔ , ๐๐๐ ชั่วโมงบิน คงมีอายุการใช้งานเหลือโดยคิดเป็นร้อยละ ๕๐ หากใช้งานตามปกติสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี นอกจากนั้น เครื่องบินดังกล่าว ยังได้รับการปรับปรุง ทั้งในส่วนของโครงสร้าง , อุปกรณ์ , เครื่องยนต์ รวมทั้ง Software/Firmware ซึ่งมีความทันสมัย กว่าเครื่องบินแบบ F-16 A/B ของกองทัพอากาศไทย โดยภาพรวมเครื่องบินเหล่านี้มีคุณลักษณะเดียวกันกับ เครื่องบินแบบ F-16 ของฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ ฯ ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ ดังนั้นการบรรจุเครื่องบิน F-16 A/B Block 15Z ชุดนี้เข้าประจำการ จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการซ่อมบำรุง หรือในเรื่องความปลอดภัยในการบินแต่อย่างใด นอกจากนั้นเครื่องมือ , ชิ้นอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุน ซึ่งจะได้รับมอบ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ และการซ่อมบำรุง ในอนาคต นอกจากนี้กองทัพอากาศไทย จะได้รับมอบอะไหล่และอุปกรณ์อันเป็นยุทโธปกรณ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงมากกว่า ๓ , ๒๐๐ รายการเพื่อนำมาเสริมกำลังรบ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการจัดหาแต่อย่างใด นอกจากนี้เครื่องบินแบบ F-16 B ( ๒ ที่นั่ง ) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการฝึกนักบิน ปัจจุบันกองทัพอากาศ ยังขาดแคลนและจัดหาได้ยาก ปัจจุบันกองทัพอากาศไทย มีเครื่องบินสองที่นั่งอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่พอต่อการฝึก นักบินพร้อมรบอย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาวะปัจจุบัน กองทัพอากาศไทย ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินสองที่นั่ง เพิ่มเติมได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตได้ปิดสายการผลิตไปแล้ว การที่ กองทัพอากาศสิงคโปร์ประสงค์จะมอบเครื่องบินแบบ F-16 A/B ให้โดยไม่ผูกพันใด ๆ จึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ กองทัพอากาศไทย
Credit : //www.scramble.nl/airforces.htm
Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2550 |
Last Update : 14 ธันวาคม 2550 13:36:24 น. |
|
1 comments
|
Counter : 5566 Pageviews. |
|
|
|
มองมุมไหนก็คุ้มครับ มาฝึกแค่ปีล่ะไม่กี่ครั้ง ถ้าเค้าให้เราเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึก ยิ่งดีมากเลยครับ หรือให้เข้าร่วมการวิเคราะห์รูปแบบการวางกำลังของมาเลเซีย ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งกล่อง
1.ถ้าได้ฝึกร่วมกันก็ยิงดีมาก
2.เรื่องของสำรองเปิดโอกาสให้เราใช้ด่วนได้ก่อน เท่ากับว่าเค้าสแปร์ แต่เราหยิบเมื่อไหรก็ได้แล้วจ่ายตังคืนที่หลัง เป็นประโยชน์อย่างมาก
กองทัพมักจะได้สัญญาแบบได้เปรียบหรือมีประโยชน์ตลอดแต่รัฐบาลนี่...ชอบเสียค่าโง่ แต่ตัวบุคคลได้ประโยชน์ ตลอด..