กองทัพอากาศศรีลังกาสั่งซื้อ MiG-29SM จำนวน 5 ลำ
เรื่องนี้เป็นข่าวว่ากำลังเจรจากันอยู่ไม่กี่สัปดาห์ แต่เมื่อสองสามวันนี้ข่าวออกมาแล้วครับว่าเซ็นสัญญาซะแล้ว ซึ่งไม่รู้ว่าเซ็นสัญญากันแบ้สจริงหรือไม่ หรือว่าแค่อยู่ในขั้นตอนการเจรจาแต่สื่อเข้าใจผิด .... ลองอ่านข่าวดูครับผม .... อ้อ ข่าวเขียนว่ากองทัพเรือศรีลังกา แต่ความจริงควรจะเป็นกองทัพอากาศครับผม
RUSSIA ANNOUNCES THE CONCLUDED SALES TALKS OF FIVE MIG 29 FIGHTER JETS TO SRI LANKA NAVY By Walter Jayawardhana
Moscow s Russian Information Center announced that the State Corporation for Russian Defence Export has concluded negotiations to sell five Mig-29 fighter jets to Sri Lanka s Navy. Believed to be used in the final assault on the Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE), the modern Russian aircraft is widely used by the Russian and Indian Airforces.
Unlike the older versions of Migs Sri Lanka bought earlier the air crafts are not only capable of carrying air to ground missiles but also air to air missiles that could destroy enemy aircraft flying. They could also do night flying. Mig 29 s were originally developed to fight the powerful US aircraft F16 Falcons and F/ A 18 Hornets of the United States airforce.
The Russian web site announced that the five Mig 29 jets belong to varieties of the Mig 29. Four of them will be Mig 29 SMs which are purely fighter jets and one will be Mig 29 UB which has both fighting as well as training capabilities.
The five jet aircraft will broaden the capabilities of the Sri Lanka navy military aircraft park that now consists of four modernized MiG-27. The deal has been estimated at $US75 million. The website further said.
The Russian website said before the state to state deal was concluded Sri Lanka also held negotiations with India , Pakistan , and China over new fighter jets purchasing, but the Russian proposal looked most beneficial.
The Mikoyan MiG-29 is a 4th generation jet fighter aircraft designed for the air superiority role in the former Soviet Union. Developed in the 1970s by the Mikoyan design bureau, it entered service in 1983 and remains in use by the Russian Air Force as well as in many other nations. NATOs reporting name for the MiG-29 is "Fulcrum", which was unofficially used by Soviet pilots in service.
The MiG-29S also has a limited ground-attack capability with unguided munitions, but in order to transform the MiG-29 into a true multi-role fighter, MAPO designed the MiG-29SM variant with the improved avionics necessary to carry and employ precision-guided weapons. The 'SE/SD/SM' improvements in the MiG-29S, combined with the development money made available for the naval MiG-29K, gave MAPO the incentive to forge ahead with the multirole MiG-29M (a.k.a MiG-33) "Super Fulcrum". Flight performance of the MiG-29S is but slightly reduced compared to the original MiG-29 due to the weight of the additional fuel and avionics. Only 48 MiG-29S airframes were produced for the Russian VVS before funding was cut. Of this number, it is unknown how many are the standard air-superiority 'S' version and how many are the multi-role 'SM' version. MiG-29SM "Fulcrum-C" (Product 9.13M) is Similar to the 9.13, but with the ability to carry guided air to surface missiles and TV- and laser guided bombs.
MiG-29KUB "Fulcrum-D" (Product 9.47) is Identical in characteristics to the MiG-29K but with tandem twin seat configuration. The design is to serve as trainer for MiG-29K pilot and is full combat capable. The first MiG-29KUB developed for the Indian Navy made its maiden flight at the Russian Zhukovsky aircraft test centre on January 22 2007.
//www.lankaweb.com/news/items08/200308-2.html
ข่าวนี้มีความน่าสนใจหลาย ๆ เรื่องทีเดียวครับ ลองไปตามดูกันแต่ละเรื่องเลยครับผม
อ้อ ขอเรียนให้ทราบว่า ความเห็นในบทความนี้ ถูกเขียนขึ้นตามสมมุติฐานที่ว่า เราไม่ทราบข้อมูลของการจัดซื้อครั้งนี้เลยไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ สเปกเครื่องที่ศรีลังกาต้องการ ไปจนถึงวันเวลาที่จะเข้าประจำการครับ
... held negotiations with India , Pakistan , and China ..... Russian proposal looked most beneficial.
ผมจำได้ลาง ๆ ว่าเคยมีข่าวว่าอินเดียกล่าวกับศรีลังกาว่าอินเดียสามารถขายอาวุธให้กับศรีลังกาได้โดยศรีลังกาไม่จำเป็นต้องจัดหาจากจีน
แต่อันนั้นก็ส่วนหนึ่งครับ ที่ผมยังงง ๆ นิด ๆ ว่าอินเดียเสนอเครื่องบินอะไรให้ศรีลังกาเมื่อพิจารณาจากในปัจจุบันที่อินเดียยังไม่มีเครื่องบินรบของตนออกขาย เป็นไปได้ว่าแบบเครื่องบินที่อินเดียเสนอให้น่าจะเป็น Tejas ในโครงการ LCA ครับ โครงการประสบปัญหาความล่าช้ามากมาย แต่อินเดียก็บอกว่าจะเดินหน้าโครงการต่อไปและจะสามารถผลิต Tejas เข้าประจำการได้ 2 ฝูงบินในปี 2010 ซึ่งก็คืออีกสองปีนับจากนี้เท่านั้น ฉะนั้นมีความเป็นไปได้ครับว่าข้อเสนอของอินเดียคือ Tejas ครับ
ส่วนจีนนั้น ถ้าให้เดาก็น่าจะมีเครื่องสองแบบที่จีนสามารถเสนอได้ คือ F-7 และ J-10 ครับ มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จีนจะเสนอ F-7 เนื่องจากศรีลังกามี F-7BS อยู่ในประจำการอยู่แล้ว และตอนต้นปีก็เพิ่งได้รับ F-7GS รุ่นใหม่จากจีนอีก 6 ลำ ดังนั้นจีนอาจจะคาดหวังให้ศรีลังกาสั่งซื้อ F-7 เพิ่มเติม (Follow-on order) ก็เป็นไปได้ อีกทั้ง F-7 ยังมีราคาไม่แพงมาก คือราวลำละ 15 ล้านเหรียญเท่านั้น
ทั้งนี้ F-7GS มีความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาหลายอย่างครับเช่นเรด้าร์ KLJ-6E ที่จีนผลิตเลียนแบบเรด้าร์ EL/M-2001 ของอิสราเอล (มีความสามารถน้อยกว่าหรือเทียบเท่าเรด้าร์ของ F-5E/F รุ่นมาตราฐาน) นอกจากนั้นนักบินยังสามารถใช้หมวกบินติดศูนย์เล็งร่วมกับจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ PL-9 ของจีน (เทียบเท่า AIM-9M) รวมถึงติดตั้งระเบิดและจรวดไม่นำวิถีได้หลายรายการ
สำหรับปากีสถาน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะเสนอ JF-17 ครับ ปากีสถานหาลูกค้าต่างชาติได้แล้วราว 3 รายคืออาร์เซอร์ไบจัน ซูดาน และซิมบับเวย์ JF-17 เป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพดีกว่า F-7 ในราคาที่แพงกว่ากันไม่เท่าไหร่ครับ
"... five Mig 29 jets .... Four of them will be Mig 29 SMs .... and one will be Mig 29 UB "
มาดูกันที่ผู้ชนะกันบ้างครับ MiG-29SM/UB
ตามข่าวกล่าวว่า ในสัญญานี้ศรีลังกาจะจัดหา MiG-29SM รุ่นที่นั่งเดี่ยวจำนวน 4 ลำ และ MiG-29UB รุ่นสองที่นั่งจำนวน 5 ลำครับ
MiG-29SM เป็น MiG-29 รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงจาก MiG-29 รุ่นมาตราฐานซึ่งจะทำให้ MiG-29SM เป็นเครื่องบินหลากภารกิจ (Multi-Role Fighter) อย่างแท้จริงครับ โดยการปรับปรุงประกอบไปด้วยการเปลี่ยนระบบ Avionic รุ่นใหม่ ปรับปรุงห้องนักบิน ติดตั้งระบบเรด้าร์ N019ME แบบใหม่ ระบบอาวุธสามารถติดตั้งได้ทั้งระบบอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้น เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ R-73, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ R-27ER1, จรวดนำวิถีอากาศสู่พื้น Kh-29, จรวดนำวิถีต่อต้านการแพร่คลื่นเรด้าร์ Kh-31, ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ KAB-500L, ระเบิดนำวิถีด้วยกล้องทีวี KAB-500KR ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงและหลาย ๆ อย่างไม่มีใช้ในกองทัพอากาศศรีลังกา (แต่ทั้งนี้เรายังไม่ทราบว่ากองทัพอากาศศรีลังกาจัดหาอาวุธอะไรบ้างเพื่อใช้กับ MiG-29SM)
ส่วน MiG-29UB นั้น เป็นรุ่นสองที่นั่งซึ่งน่าจะใช้เป็นเพียงเครื่องบินฝึกนักบินที่จะมาบินกับ MiG-29SM เท่านั้นครับ
".... The deal has been estimated at $US75 million."
ฟังครั้งแรกยังงง ฟังตอนนี้ยิ่งงงหนักครับ
ลำละ 75 ล้านเหรียญ เฉลี่ยแล้วคือลำละ 15 ล้านเหรียญเท่านั้น!!!!! ถือว่าถูกมากครับ และส่วนตัวแล้วคิดว่ามันถูกเกินกว่าที่จะเป็นเครื่องบินมือ 1 ใหม่เอี่ยมออกมาจากโรงงาน เมื่อเทียบกับกองทัพอากาศพม่าที่จัดหา MiG-29B/UB จำนวน 10 ลำ ในราคา 130 ล้านเหรียญครับ
ครั้งนี้เงินดอลล่าห์อ่อนตัว และราคาต่อลำสูงกว่า MiG-29B/UB มือสองรุ่นมาตราฐานของพม่า ทำให้ผมมีความเห็นว่าการจัดหาในครั้งนี้น่าจะใช้เครื่องบินมือสองของรัสเซียนำมาเข้ารับการปรับปรุงในมาตราฐาน MiG-29SM มากกว่าครับ
Over Shoot. Over Kill?
ปัจจุบันศรีลังกากำลังต่อสู้กับกลุ่มกบฏพยัคษ์ทมิฬอีแลม (Tigers of Tamil Eelam:LTTE) ซึ่งเป็นกองทัพของชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬท่ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากชาวศรีลังกาเชื้อสายสิงหลครับ แม้ว่าจะเป็นเพียงกลุ่มกบฏ แต่กองทัพของพวกเขาก็ถือได้ว่าเป็นกลุ่มกบฏที่มีศักยภาพสูงที่สุดในโลก โดยมีรถเกราะ รถถัง ปืนใหญ่ เรือโจมตีขนาดเล็ก เฮลิคอปเตอร์ ไปจนถึงเครื่องบินโจมตีเบา ฯลฯ ซึ่งจัดหามาจากตลาดมืดทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยก็ยังเป็นทางผ่าน
เมื่อพูดถึงเครื่องบินโจมตีเบาของ LTTE แล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของ LTTE เป็นอย่างมาก และในขณะเดียวกันก็เป็นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ของกองทัพอากาศศรีลังกาเช่นกันครับ กลุ่ม LTTE ใช้เครื่องบินฝึกใบพัดแบบ Z-143 ของบริษัท Zlin ในสาธาราณรัฐเช็คมาปรับปรุงและติดตั้งตำบลติดอาวุธซึ่งสามารถติดตั้งระเบิดขนาดเล็กที่ทางกลุ่มน่าจะพัฒนาขึ้นมาเองได้ LTTE ใช้เครื่องบินรุ่นนี้ 2 เครื่องในการโจมตีฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศศรีลังกา เป็นผลให้กองทัพอากาศรีลังกาสูญเสียอากาศยานและเครื่องบินขับไล่ชั้นดีไปเกือบ 10 ลำ รวมถึง F-7BS และ Kfir ซึ่งถูกผลิตในอิสราเอลด้วย
หลังจากเหตุการณ์ในช่วงนั้นกองทัพอากาศศรีลังกาจัดหาระบบเรด้าร์และระบบต่อสู้อากาศยานเข้ามาประจำการอย่างรีบเร่ง และจัดหาเครื่องบินหลายลำทดแทนเครื่องบินที่สูญเสียไป ซึ่ง MiG-29SM/UB ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ปัญหาก็คือ MiG-29 เหมาะสมหรือไปที่จะสู้กับกลุ่มกบฏ?
จะว่าเหมาะสมก็ไม่ผิดครับ เพราะ MiG-29 ก็ถือเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูง บรรทุกอาวุธได้มากกว่าเครื่องบินส่วนใหญ่ที่กองทัพอากาศศรีลังกามีประจำการในปัจจุบัน (กองทัพอากาศศรีลังกาประสบปัญหาที่ F-7 บรรทุกอาวุธได้น้อย) ทำให้การปฏิบัติภารกิจในแต่ละครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้มากขึ้น แต่สำหรับศรีลังกาแล้ว ยังถือได้ว่ามีภัยคุกคามในระดับต่ำ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่มีท่าทีเป็นศัตรู และกลุ่ม LTTE ก็มีเพียงเครื่องบินใบพัดที่เชื่องช้าเท่านั้น การต่อสู้กับเครื่องบินอย่าง Z-143 นั้นใช้เพียงเครื่องบินฝึกหรือขับไล่เบาก็ดูจะเพียงพอแล้ว เงิน 75 ล้านเหรียญอาจจะจัดหาเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าได้หลายลำ ซึ่งน่าจะเพิ่มปริมาณของเครื่องบินให้มากขึ้น เครื่องบินฝึกขั้นสูง/โจมตีเบาอย่าง K-8 Karakorum ของจีน หรือแม้แต่เครื่องบินฝึกใบพัดอย่าง Super Tucano ก็มีราคาที่ไม่แพงจนเกินไปครับ ที่สำคัญที่สุดคือประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการมากกว่า MiG-29 พอสมควรทีเดียว
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม MiG-29SM/UB ทั้ง 5 ลำก็ถือเป็นเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพอากาศศรีลังกาครับ และมีความเป็นไปได้ที่กองทัพอากาศศรีลังกาอาจจะพิจารณาจัดหา MiG-29SM/UB เพิ่มเติมในโอกาสต่อไป
อ้างอิง
"F-7G fighters to counter tiger air threat" //defencenet.blogspot.com/2008/02/f-7g-fighters-to-counter-tiger-air.html
tamilnation.org //www.tamilnation.org/
Create Date : 22 มีนาคม 2551 |
Last Update : 22 มีนาคม 2551 19:23:19 น. |
|
7 comments
|
Counter : 6249 Pageviews. |
|
|
|