JAS-39 Gripen: กรณีสหรัฐกดดันไทยหลังจากจัดซื้อเครื่องบินจากสวีเดน
ซื้อ"กริพเพน" เจอสหรัฐกดดัน มรสุมลูกใหม่ของกองทัพอากาศ 21 ตุลาคม 2550 21:24 น.
ทอ.เจอมรสุมลูกใหม่แม้ ครม.จะอนุมัติให้จัดซื้อ "กริพเพน" ด้วยงบผูกพัน 10 ปี 3.4 หมื่นล้าน แต่ก็ต้อง "เจอตอ" เมื่อบริษัทค้าอาวุธสหรัฐส่งหนังสือมาทวงถามว่า เหตุใดจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่กองทัพไทยเคยซื้อเครื่องตระกูล เอฟ มาหลายสิบปี
"ทางล็อกฮีตมาร์ตินทวงถามว่า เหตุใดไทยจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่ไทยและสหรัฐเคยเป็น "พันธมิตรนอกนาโต" มาอย่างแน่นแฟ้น ยาวนาน แถมเครื่องทั้ง เอฟ5 และเอฟ 16 ก็เคยซื้อของสหรัฐมาตลอดหลายสิบปี!!"
ในที่สุดกองทัพอากาศ (ทอ.) ก็ได้เฮกันดังๆ เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน 10 ปี มูลค่ารวม 34,400 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่น JAS-39 GRIPEN ของประเทศสวีเดน
เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่F-5 E ซึ่งใช้งานมา 30 กว่าปี และใกล้ปลดประจำการเต็มที
อันที่จริงความเป็นมาของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี2546 โดย ทอ.วางยุทธศาสตร์ไว้ที่การดูแลเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ "ภาคใต้" บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
โดยเครื่องที่อยู่ในข่ายพิจารณามีอยู่3 รุ่น คือ F-16 C/D ของสหรัฐอเมริกาJAS-39 GRIPEN ของสวีเดน และ SU-30 MK ของรัสเซีย
แต่แผนการจัดซื้อก็ต้องมีอัน"สะดุด" เรื่อยมาด้วยเหตุผลเรื่องงบประมาณ และข้อครหาเรื่อง "คอมมิชชั่น"
กว่าจะคืบก็ต้องรอถึงรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหารซึ่งกระทรวงกลาโหมได้เสนอเรื่องขอความเห็นชอบหลักการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข (F-5E) ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2550
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 พิจารณากลั่นกรองโดยได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550
คณะกรรมการมีมติให้ทอ.นำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดย พล.อ.อ.ชลิตพุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550
เมื่อวันที่12 ตุลาคม 2550 จึงมีการประชุม "วาระพิเศษ" มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่
พล.อ.สุรยุทธ์พล.อ.พงษ์เทพเทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวุฒิพันธ์วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายสมศักดิ์โชติรัตนศิริ ผู้อำนวยการจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 5 สำนักงบประมาณ
พล.อ.อ.ชลิตพุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศพล.อ.อ.อิทธพรศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ และ พล.อ.ท.ม.ล.สุทธิรักษ์เกษมสันต์ ปลัดบัญชีทหารอากาศ
นายกรัฐมนตรี"เห็นชอบด้วย" และสั่งการให้บรรจุเข้าวาระการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 กระทั่งมีมติจัดซื้อในที่สุด
เดิมกองทัพอากาศเสนอของบประมาณ3.4 หมื่นล้านบาท เป็นงบผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 แต่รัฐบาลท้วงติงเรื่องงบประมาณที่สูงเกินไป
ทอ.จึงเสนอไปใหม่ว่าจะขอแบ่งการจัดซื้อเป็น 2 เฟส...
เฟสแรก จำนวน 6 เครื่อง เป็นเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท เป็นงบผูกพันตั้งแต่ปี 2551-2555
เฟสสุดท้าย จำนวน 6 เครื่อง เป็นเงิน 15,400 ล้านบาท เป็นงบผูกพันตั้งแต่ปี 2556-2560
เครื่องรุ่นนี้จะนำมาทดแทนเครื่องเอฟ 5 ที่ประจำการอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552-2554
ปัจจุบันมีกองทัพอากาศ4 ชาติที่มีเครื่องบินรุ่นนี้ประจำการอยู่คือ สวีเดน185 เครื่อง แอฟริกาใต้ 28 เครื่อง สาธารณรัฐเช็ก12 เครื่อง และฮังการี14 เครื่อง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทอ.ตัดสินใจเลือกเครื่องจากสวีเดนนอกเหนือจากสมรรถนะก็คือ "ของแถม" ที่มากมายเป็นประวัติการณ์ ได้แก่
1.เครื่องบินแอร์บอร์นเออร์ลี่ วอร์นนิ่ง จำนวน2 เครื่อง
2.ขีปนาวุธโจมตีอาร์บีเอส15 พร้อมเรดาร์ ERIEYES จำนวน2 ตัว ติดเครื่องบิน SAAB 340 จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องบิน SAAB เครื่องเปล่าอีก 1 เครื่อง
พร้อมทั้งให้"รหัสข้อมูลพิเศษ" เกี่ยวกับรายละเอียดของเครื่องบิน ซึ่งบริษัทอื่นไม่ได้มอบสิ่งนี้ให้ โดยรหัสพิเศษชุดนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตของกองทัพอากาศ
ขณะที่ระบบสื่อสารปกติภาคพื้นดินปกติจะต้องมีสายในการติดต่อพูดคุยแต่กริพเพนมีเทคโนโลยีไร้สาย หรือ "บลูทูธ" ในการสื่อสาร
ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานระบุว่า ของแถมมากับเครื่องบินกริพเพน คือ เรดาร์ ERIEYES จำนวน2 ตัว ติดเครื่องบิน SAAB 340 จะเป็นจานเรดาร์ที่ติดตั้งไว้บริเวณตัวเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินมีการติดจานเรดาร์เวลานำเครื่องบินสู่อากาศจะทำให้ตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ไกลขึ้น
"เวลาฝึกยุทธวิธีร่วมโคปไทเกอร์ระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐ ทั้งสองประเทศจะมีเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศเข้ามาฝึกด้วย ทำให้มีประสิทธิภาพสูง เพราะสามารถตรวจจับเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ได้ไกลกว่าเรดาร์ที่ติดอยู่กับเครื่องบินอย่างเดียว"
ข้อดีอีกอย่างของกริพเพนคือระบบดาต้า ลิงค์ ซึ่งเหมือนระบบเชื่อมโยงข้อมูลของ"อินเทอร์เน็ต" ระหว่างเครื่องบินกับเครื่องบิน
"สมมติมีสิ่งผิดปกติลอยอยู่บริเวณพื้นที่ กทม. และเรามีเอแวคอยู่บริเวณ จ.สระบุรี ข้อมูลก็จะปรากฏอยู่บนจอเรดาร์ไกลถึง จ.นครราชสีมา แต่หากเป็นเครื่องบินทั่วไปจะปรากฏอยู่แค่บริเวณปริมณฑลเท่านั้น ทั้งนี้ เรดาร์ของกริพเพนอาจจะด้อยกว่าของ ซู-30 หรือ เอฟ 16 แต่เรดาร์ของกริพเพนสามารถต่อสัญญาณถึงกันได้ ซึ่งเครื่องแบบอื่นไม่สามารถทำได้"
นอกจากนี้ประเทศสวีเดนยังให้ทุนการศึกษาจำนวน 200 ทุน โดยเป็นทุนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมอากาศยาน
มองลึกไปอีกชั้น...ยุทธศาสตร์ของสวีเดนคือป้องกันภัยคุกคามจาก "รัสเซีย" เจ้าของ ซู-30 เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้กริพเพนจึงถือว่ามีความเหมาะสม เพราะอย่างน้อย...เพื่อนทางทิศใต้ของเราก็มี ซู-30 ไว้ประจำการอยู่ก่อนแล้ว !!!
แต่ฝันที่ทำท่าว่าจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมของเหล่าเสืออากาศคงต้อง"ลุ้นหนัก" กันอีกยกเมื่อบริษัท ล็อกฮีตมาร์ติน ยักษ์ใหญ่ค้าอาวุธจากสหรัฐได้ทำหนังสือทวงถามมายังกระทรวงการต่างประเทศ และส่งผ่านถึงกองทัพอากาศว่าเหตุใดจึงเปลี่ยนมาซื้อเครื่องจากยุโรปแทน
เนื้อหาในหนังสือฉบับดังกล่าวทางล็อกฮีตมาร์ตินทวงถามว่า เหตุใดไทยจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่ไทยและสหรัฐเคยเป็น "พันธมิตรนอกนาโต" มาอย่างแน่นแฟ้นยาวนาน แถมเครื่องทั้ง เอฟ5 และเอฟ16 ก็เคยซื้อของสหรัฐมาตลอดหลายสิบปี!!
อย่างไรก็ตามวงในของกองทัพอากาศก็เชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหาต่อการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน โดยหากสหรัฐจะไปบีบให้สวีเดนล้มเลิกสัญญากับไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการรัฐประหาร เราก็เตรียมแก้เกมไว้แล้ว โดยอาจจะมีการเซ็นเอ็มโอยูให้อียูเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในไทย และส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้เปิดแอลซี ซึ่งสหรัฐคงไม่มีเหตุผลที่จะมากดดันได้อีก
วงในบอกด้วยว่าเหตุที่ตัด เอฟ 16 ออกไปนั้นเนื่องจากเมื่อติดต่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินและการเสนอราคา บริษัทล็อกฮีตมาร์ตินก็ไม่ได้สนใจที่จะติดต่อกลับมามากนัก และยังไม่ยอมลดราคาให้ด้วย ซึ่งถือว่ามีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ ด้วยเหตุนี้กองทัพอากาศจึงทำการตัดเครื่องเอฟ 16 ออกไปเป็นตัวเลือกแรก
ส่วนข้อกังวลว่า "อะไหล่" ที่จะมาสนับสนุนให้แก่เครื่อง F-16 A/B ของกองทัพอากาศสหรัฐอาจจะไม่ขายให้นั้น วงในคนเดิมบอกว่า ไม่มีปัญหา เพราะกองทัพได้เตรียมแก้ปัญหานี้ไว้แล้ว ปัจจุบันทางสิงคโปร์มีเครื่อง F-16 C/D ประจำการอยู่เป็นหลัก
ทั้งนี้สิงคโปร์ก็มีเครื่อง F-16 A/B ประจำการอยู่และมีอะไหล่สำรองไว้ด้วย ฝ่ายไทยจึงสามารถขอความช่วยเหลือเรื่องอะไหล่ได้ โดยมี "ข้อแลกเปลี่ยน" เป็น "สถานที่ฝึกบิน" ในฐานทัพอากาศไทย !!
ฝันของเสืออากาศไทยทำท่าจะเป็นจริงได้หรือไม่...แรงกดดันจากมหามิตรอเมริกาจะมีฤทธิ์เดชแค่ไหน...ต้องติดตามดูให้ดี!
ทีมข่าวความมั่นคง
//www.komchadluek.net/2007/10/mili/u001_164293.php?news_id=164293
กรณีนี้น่าสนใจครับ สหรัฐทำแบบนี้บ่อยมาก แทบทุกประเทศ ตั้งแต่ก่อนซื้อจนถึงระหว่างซื้อ ถ้าลูกค้าเก่าของเขาปันใจไปให้อาวุธของชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็นยุโรป รัสเซ๊ย หรือจีน เขาจะต้องออกมาออกว่า ผิดหวัง และไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศเหล่านั้นถึงไม่ซื้ออาวุธของเขา
เรื่องอย่างงี้มันเป็นเรื่องเงินครับ เงินล้วน ๆ เงินมันไม่เข้าใครออกใคร แต่มันต้องเข้ากระเป๋ากรู ฉะนั้นถ้ายูยังอยากภักดีกับไออยู่ ก็ซื้ออาวุธไอซะ
นี่เขายังแค่บอกว่าผิดหวัง ถามว่าทำไม และอ้างความเป็นพันธมิตรนอกนาโต้เท่านั้นนะครับ ประเทศอื่นโดนแรงกว่านี้ เช่นบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเช็คกับสหรัฐจะได้รับผลกระทบถ้าไม่ซื้อ F-16 ของเขา (สุดท้ายเช็คก็ไปเลือก Gripen และก็ได้รับเครื่องเรียบร้อยแล้ว) หรือบอกนอร์เวย์ว่าความสัมพันธ์ทางการทหารจะต้องได้รับผลกระทบถ้านอร์เวย์ไม่เลือก F-35 (นอร์เวย์กำลังประเมินค่า F-35, Typhoon, และ Gripen-N อยู่)
จากข่าวหลาย ๆ ข่าว ทุกประเทศที่ฟังสหรัฐพูดแบบนี้ ควันออกหูทุกคน ดูอย่างคุณ Vladimira Dvorakova ซึ่งเป็นหัวหน้าวิชารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปรากพูดหลังจากได้ยินสหรัฐสิครับ แกบอกว่ายิ่งสหรัฐพูดอย่างนี้ ลืมได้เลยว่าเช็คจะเลือกเครื่องบิน F-16 เพราะมันจะแสดงให้เห็นว่าเช็คอยู่ใต้อำนาจของสหรัฐ
บางที สหรัฐอาจจะคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่ จึงทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องสนใจ ทุกประเทศต้องทำตามที่ตนต้องการ ......... แต่อย่าลืมนะครับว่า ประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย เป็นรัฐเอกราช มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะทำอะไรโดยไม่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม และไม่จำเป็นต้องตามสหรัฐทุกอย่าง
รัฐบาลไทยก็ต้องคิดให้ดีครับ แม้ว่าข้อความของสหรัฐต่อไทยจะไม่แรงเท่าประเทศอื่น แต่ก็ควรคิดซะว่า สหรัฐไม่ใช่พ่อ ...... (ขอยืมคำพูดใครบางคนมาแปลงหน่อยนะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนหรือคัดค้านเขาคนนั้นนะครับ)
ข่าวอ้างอิง
PRAGUE, Czech Republic - The United States threw away its chances of selling F-16s to the Czech Republic by mishandling aspects of a competition ultimately won this week by the Swedish government with its JAS-39 Gripen, according to leading Czech political analysts.
The United States underestimated the competition and made a series of mistakes in its lobbying efforts by failing, among other things, to grasp the complexity of the Czech political scene, they told The DAILY.
The United States, which offered used but upgraded F-16s, made an error in underestimating the Swedish offer, according to Vladimira Dvorakova, head of political sciences at the University of Economics in Prague. The Swedish offered 14 brand new aircraft at a relatively low cost, while the U.S. offer came fifth and last in a technical valuation process, she said.
"It was quite clear that the Gripen was the best proposal for the evaluation commission and it would be very difficult for the government to decide against these proposals," she said.
The United States, she continued, still could have turned the situation around because the government, which has decided to hold exclusive talks with Sweden next month, was not bound by the commission's recommendations.
But any hopes were killed off by comments from outgoing U.S. Ambassador Craig Stapleton, who said Czech-U.S. relations could be affected by the Czech government's final decision, she said. Stapleton's comments were interpreted widely in the Czech press as a veiled threat.
"At the moment I read what the U.S. ambassador said, it was quite clear that it would not be possible for the government to choose an American aircraft," she said. "Ministers would be seen as being under pressure from America and accepting everything American. Any cabinet would be very afraid of this because of our experience with the Soviet Union, when everything recommended by them was immediately done."
Radek Khol, head of the center for security analysis at the Prague-based Institute of International Relations, said late-in-the-day lobbying efforts, combined with the ambassador's comments, ended any realistic chance of the United States securing a deal.
"The statement which the ambassador made was, in my reading, rather unhelpful. The way he presented the issue, and especially the threat of Czech problems in NATO and worsening of Czech relations with the U.S., was sufficient for government ministers to go firmly behind the experts and recommend the Gripen," he said.
Khol said the United States underestimated the strength of the Swedish bid and the complexity of Czech politics in view of enlargement of the European Union, which the Czech Republic is scheduled to join next year.
"The U.S. talked about the proven record of F-16s but this [supersonic aircraft contract] wasn't seen here as a purely military agreement. It was balancing pro-Americanism and the European Union," he said.
//www.aviationweek.com/aw/search/autosuggest.jsp?docid=3863&url=http%3A%2F%2Fwww.aviationnow.com%2Favnow%2Fnews%2Fchannel_aerospacedaily_story.jsp%3Fview%3Dstory%26id%3Dnews%2Fbarx12223.xml
On October 31, 2003, the three-month period for development of feasibility studies was terminated and the bidders proposals were submitted: o 7 countries presented their bids Belgium, Canada, France, Germany, The Netherlands, Sweden and the USA. o Turkey withdrew on 15 Oct 2003. o By the decree No. 1050, dated 20 October 2003, Bids Review and Evaluation Commission was appointed. This nine-member joint commission included representatives of the Ministry of Defence, Ministry of Foreign Affairs, Ministry of Commerce and Industry, and Ministry of Finance.. On November 30, 2003, the interdepartmental commission completed the Feasibility Studies assessment and, based on the set criteria, established bids order which was then presented to all government members by the Minister of Defence. The Commission recommended the bid submitted by the Kingdom of Sweden on the JAS-39 Gripen complex system as the most favourable. The bid on F-16 MLU aircraft by the Kingdom of Belgium placed second, bids submitted by Canada, Netherlands and the USA followed. On December 17, 2003, the Government of the Czech Republic decided the Swedish bid is the best one for the Armed Forces of the Czech Republic. Minister of Defence Miroslav Kostelka, Minister of Finance Bohuslav Sobotka, Minister of Industry and Trade Milan Urban and Minister of Foreign Affairs Cyril Svoboda were commissioned to negotiate procurement of fourteen aircraft exclusively with the Kingdom of Sweden. On June 14, 2004, agreements between the Czech Republic and the Kingdom of Sweden concerning the lease of JAS-39 Gripen aircraft for the needs of the Czech Armed Forces were signed at the Ministry of Defence. By these agreements, the Czech Republics airspace protection will be secured through leasing the JAS-39 aircraft for the duration of 10 years (2005 till 2015)
//www.army.cz/scripts/detail.php?id=6372
US keeps pushing Norway to buy Joint Strike Fighter jets
US President George W Bush's new man in Oslo applied some not-so-subtle pressure on Norway to buy US Joint Strike Fighter jets this week, saying a failure to do so would weaken military operations between the countries. Not true, responded a top Norwegian military official.
//www.aftenposten.no/english/local/article1327310.ece
Create Date : 23 ตุลาคม 2550 |
Last Update : 23 ตุลาคม 2550 20:48:29 น. |
|
6 comments
|
Counter : 5291 Pageviews. |
|
|
|