รถบรรทุก 4 ตันวิ่งเร็วที่สุดในโลก (605 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
The World's Fastest Jet Powered Truck
Shockwave รถบรรทุกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยใช้เครื่องยนต์เครื่องบินเจ็ท 3 เครื่องยนต์ สามารถเร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 400 ไมล์ต่อชั่วโมง (643.7376 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ห้ามขับรถยนต์ตามหลังรถบรรทุกคันนี้โดยเด็ดขาด
Shockwave คือชื่อรถบรรทุกคันนี้ ที่ดัดแปลงมาจากรถบรรทุก Peterbilt Semi มีน้ำหนักรถ 4 ตัน ใช้เครื่องยนต์เจ็ท Pratt & Whitney J34-48 jets ถึง 3 เครื่องยนต์ โดยนำมาจากเครื่องยนต์เจ็ทที่ใช้ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐ ที่เรียกว่าเครื่องยนต์เจ็ท T-2 Buckeye เครื่องยนต์เจ็ทที่ติดตั้งไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ทำให้แต่ละเครื่องยนต์รีดแรงม้าได้ถึง 12,000 แรงม้า ด้วยการติดตั้งเครื่องยนต์เจ็ทถึง 3 เครื่องยนต์ ทำให้มีแรงขับเคลื่อนรวม 36,000 แรงม้า เร่งความเร็วที่ 1/4 ไมล์ (0.402336 กิโลเมตร) ในเวลาเพียง 6.5 วินาที
(หรือ 402.336 ในเวลาเพียง 6.5 วินาที หรือ 61.897 เมตรในเวลา 1 วินาที 1 G ค่าอัตราเร่งปกติที่ไม่มีการเคลื่อนที่ การทำให้เกิดแรง G มากกว่า 1 คือ ต้องเร่งได้มากกว่า 9.80665 เมตรต่อ 1 วินาทียกกำลังสอง)
Shockwave สามารถวิ่งชนะรถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่น ทำให้ได้รับการบันทึกว่าเป็นรถบรรทุกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยการวิ่งที่ความเร็ว 376 ไมล์ต่อชั่วโมง (605.113344 กิโลเมตรต่อช่วโมง) ถังน้ำมันบรรจุ 190 แกลลอน (719.228239 ลิตร) และกินน้ำมันถึง 180 แกลลอนกับการใช้พลังงานเต็มที่
Neal Darnell ผู้สร้างและคนขับ วัย 64 ปีกล่าวว่า มันเป็นประสบการณ์ที่เยี่ยมมาก คุณแทบจะไม่เชื่อเลยจนกว่าคุณจะได้ทดลองขับมัน
Chris Darnell ลูกชายวัย 31 ปี ที่ได้ร่วมขับรถบรรทุก Shockwave หัดขับรถยนต์ครั้งแรกตอนวัย 7 ขวบ กล่าวว่า การเพิ่มอัตราการเผาไหม้ของเครื่องยนต์อีก 2 เครื่องยนต์เพิ่มแรงขับเคลื่อนและแรงม้า Shockwave ได้รีดพลังเครื่องบินเจ็ทได้ถึง 6 เท่าของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง
ในการเร่งความเร็ว คนขับที่เคยผ่านประสบการณ์ที่ความเร็ว 6G จะรู้สึกได้ เราจึงต้องชะลอความเร็วเจ้าอสูรร้ายที่ด้วยร่มของกองทัพอากาศจำนวน 2 ตัว ที่สามารถสร้างแรงต้านชะลอความเร็วถึง 9G ในการขับเคลื่อนได้ถ้าหากมีขึ้น "
Shockwave สร้างขึ้นครั้งแรกโดย Les Shockley ในปี 1984(2527) ซึ่งตอนนี้มีอายุกว่า 30 ปีแล้ว พ่อลูกทั้งสองคนนี้ได้ซื้อรถคันนี้มาและปรับปรุงใหม่ในปี 2012(2555) ทั้งสองจะเฉลิมฉลองรถบรรทุกที่อัตราเร่งบนพื้นถนนที่เร็วที่สุดในโลก ในการทดสอบสมรรถภาพอีกครั้งที่เส้นทางข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับแคนนาดา
เรื่องเดิมเกี่ยวกับรถยนต์
FIAT S76 - Beast of Turin trailer
หมายเหตุเพิ่มเติม
1 G ค่าอัตราเร่งปกติที่ไม่มีการเคลื่อนที่ การทำให้เกิดแรง G มากกว่า 1 คือ ต้องเร่งได้มากกว่า 9.80665 เมตรต่อ 1 วินาทียกกำลังสอง นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ว่าวัตถุตั้งนิ่ง ๆ อยู่กับพื้นโลกจะมีอัตราเร่งเท่ากับ 1 G เครื่องบินที่บินด้วยความเร็วสูง หรือเลี้ยวโค้งหรือหักโค้ง จะเกิดอัตราเร่งมากกว่า 1 G รถแข่งฟอร์มิวลาวัน ขณะเลี้ยวโค้งด้วยความเร็วสูง สามารถสร้างอัตราเร่งให้ตัวรถเองและคนขับได้ 3-4 G
เราทราบดีว่าเลือดเป็นของเหลวไม่ต่างจากน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ โดยธรรมชาติแล้วของเหลวจะไหลลงต่ำตามแรงโน้มถ่วง และจะไหลลงเร็วยิ่งขึ้นเมื่อถูกกดดัน เลือดในร่างกายคนจะไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ด้วยการบีบรัดของหัวใจและหลอดเลือด ในสภาวะแวดล้อมตามปกติที่ตัวนักบินมีอัตราเร่ง 1 G คืออยู่นิ่งๆหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็น 10 หรือ 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การไหลเวียนของเลือดจะเป็นปกติทุกอวัยวะจะมีเลือดไปเลี้ยงโดยเฉพาะสมอง สมองที่ไม่ขาดเลือดจะทำให้นักบินตื่นตัว คิด ตัดสินใจและเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ รวมถึงมองเห็นภาพได้ชัดเจน แต่เมื่อใดที่สมองขาดเลือดพฤติกรรมทั้งหมด จะกลายเป็นตรงกันข้าม นักบินจะหมดสติ ที่เคยมองเห็นชัด ๆ จะพร่าพราย เมื่อเลือดไม่ไปเลี้ยงสมองและตา เพื่อป้องกันไม่ให้สมองนักบินขาดเลือด เขาจึงต้องมีเครื่องช่วยกดดันไล่เลือดขึ้นเลี้ยงสมองอยู่ตลอดเวลา
เปรียบเลือดเป็นน้ำในกระป๋องนมผูกเชือกที่เราเหวี่ยงเป็นวง ยิ่งเหวี่ยงเร็วยิ่งพบว่ากระป๋องนั้นยิ่งหนัก หมายความว่าอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำพยายามดันตัวเอง ให้ทะลุก้นกระป๋องด้วยแรงที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าก้นกระป๋องอ่อนนุ่มและเปื่อยน้ำก็จะพุ่งออกจากตรงนั้น เปรียบได้กับเลือดของเราที่ถูกเหวี่ยงให้ไหลจากหัวไปกองที่เท้าขณะเครื่องบินหักเลี้ยว ยิ่งเครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงแรงจีก็ยิ่งรุนแรง เราไม่รู้สึกถึงแรงจีในรถยนต์ธรรมดาหรือเครื่องบินโดยสารเพราะอัตราเร่งไม่รุนแรงพอ กล่าวคือทั้งสองตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วไม่ฉับพลันเท่ากับ เครื่องบินรบความเร็วสูงเช่นเครื่องบินขับไล่หรือโจมตี ที่การออกแบบและกำลังของเครื่องยนต์สามารถก่อให้เกิดอัตราเร่งได้มากกว่า 1 G หรือ 9.80665 เมตรต่อวินาทียกกำลังสองเมื่อเปลี่ยนทิศทางทั้งนั้น
ถ้า 1 G เท่ากับน้ำหนักปกติ การที่เครื่องบินบินมาแล้วลดความเร็วฉับพลัน เพื่อหักเลี้ยวแทบเป็นมุมฉากจนทำให้เกิดอัตราเร่งหนีศูนย์ขึ้นมากกว่า 1 G ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่ 4 ถึง 9 น้ำหนักของเครื่องบินและนักบินก็จะเพิ่มขึ้นชั่วขณะตั้งแต่ 4 ถึง 9 เท่า(ปัจจุบันเครื่องบินรบทำ G ได้มากที่สุดถึง 12 แต่นักบินกับ G สูทปกติทนได้ 9 เว้นแต่กับ G สูทรุ่นใหม่ที่ทำให้นักบินทนแรง G ได้เท่าเครื่องบิน) อันหมายความว่านักบินน้ำหนัก80 ก.ก.จะมีน้ำหนักเป็น 80 คูณจำนวนแรง G้ ตั้งแต่ 2 ถึงคูณ 9 ยิ่ง G มากเลือดก็ยิ่งไหลลงเท้าเร็ว ถ้าเลี้ยวแล้วคงอัตราเร่งไว้นานอาการหน้ามืดตามัวก็ยิ่งนาน วิธีสู้กับแรง G หรือไล่เลือดกลับสู่สมองตามหลักง่าย ๆ คือ ต้องบีบเส้นเลือดในส่วนต่ำที่สุดของร่างกายถึงส่วนกลางให้ตีบเพื่อไล่เลือดกลับ จะบีบได้ก็ต้องมีแรงกดดันสม่ำเสมอตลอดช่วงขาและหน้าท้อง ตรงนี้แหละที่จีสูทหรือชื่อเต็มๆว่าแอนตี้จีสูท(anti-G suit)เข้ามามีบทบาท
Create Date : 07 มกราคม 2558 |
|
0 comments |
Last Update : 1 มีนาคม 2559 21:00:38 น. |
Counter : 2295 Pageviews. |
|
 |
|