ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
อย่าอิจฉาคนฝรั่งเศส เลิกงาน คือ เลิกงานจริง ๆ




Relaxing in a French cafe, untroubled by work emails.
Photograph: Sipa Press/Rex Features
พักผ่อนที่ร้านกาแฟฝรั่งเศส ไม่ต้องกังวลเรื่องงานจากอีเมลต่าง ๆ


ชาวฝรั่งเศสเมื่อถึงเวลาเลิกงาน  6 โมงเย็น คือ เลิกงานจริง ๆ
ข้อตกลงแรงงานฉบับใหม่ในประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับและยืนยันว่าพนักงาน
ต้องปฏิเสธการสั่งงานทางอีเมลจากเจ้านาย
รวมทั้งการสั่งงานทางสมาร์ทโฟนด้วย 
เมื่อเลิกงานแล้วและพักผ่อนที่บ้าน 

เรื่องแบบนี้ไม่ต้องอิจฉาคนฝรั่งเศสเลย
กับการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สำเนียงภาษาที่ไพเราะ
การควบคุมน้ำหนัก/อาหารการกินของตนเอง
ทำให้ได้มีข้อตกลงแรงงาน
เรื่องการทำงานหลัง 6 โมงเย็น
กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

แน่นอน มีข้อสังเกตว่าการสั่งงานของเจ้านาย
เป็นเรื่องการคุกคามลูกจ้างที่พักผ่อนที่บ้าน
ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
เพราะทำให้ชั่วโมงการทำงาน
ตามกฎหมายแรงงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ที่ได้มีข้อตกลงตามกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 2542
ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานยาวนานขึ้น
มากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างแน่นอน
สหภาพแรงงานได้ต่อสู้เรื่องนี้มายาวนาน
ตอนนี้สมาพันธ์นายจ้างและสหภาพแรงงาน
ได้ตกลงยอมรับข้อตกลงแรงงานฉบับใหม่
ทำให้ลูกจ้างไม่รับโทรศัพท์หลัง 6 โมงเย็นได้

ภายใต้ข้อตกลงแรงงานฉบับนี้
มีผลกระทบกับลูกจ้างนับล้านคน
ที่ทำงานด้านเทคโนโลยี่และการเป็นที่ปรึกษา
(โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ทำงานในหน่วยงานของ
Google, Facebook, Deloitte and PwC)



ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องดูข้อความในคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน
หรือข้อความอื่นใด ๆ ที่มีการส่งมาในเวลาหลังเลิกงาน
เพราะมีสิทธิ์เต็มที่ในการใช้ชีวิตแบบ la dolce vita
(ชีวิตแสนงาม/คุณภาพชีวิตที่ดี)
และทุกบริษัทต้องยืนยันและทำให้ลูกจ้างมั่นใจได้ว่า
ลูกจ้างจะไม่ได้รับแรงกดดัน/บีบคั้นใด ๆ 
จากการกระทำ/งดเว้นการกระทำดังกล่าวนี้
ทั้งนี้ตามจิตวิญญาณของกฎหมาย และของฝรั่งเศส
เช่นเดียวกันกับข้อตกลงแรงงานตามลายลักษณ์อักษรฉบับนี้

ถูกต้องแน่นอน ขณะที่เราคนอังกฤษ
ต่างตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่ อ่อนแอ หวาดกลัว เร่งรีบ
จากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซาก 
และมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล
ที่ทำให้เจ้านายในแวดวงธุรกิจและผู้ถือหุ้น
ต่างมีสิทธิพิเศษต่าง ๆ เหนือลูกจ้าง

คนฝรั่งเศสกำลังหยุดทำงานหลังเลิกงานแล้ว
ขณะที่พวกเราคนอังกฤษกำลังเริ่มงานหนัก
จากคำสั่งที่ล่าช้า เรื่องด่วนมาก ด่วนพิเศษ ด่วนสุดยอดพิเศษ
ทั้งกลางวันกลางคืนจากช่องทางการสั่งงานของเจ้านาย
ที่สั่งงานมาหลังเวลาหกโมงเย็น
ก่อนหรือหลังเวลากลับบ้านของพวกเรา
แทนที่พวกเราจะใช้ชีวิตแสนสุขที่บ้านของพวกเรา
กับต้องความพยายามสร้างสมดุลในการทำงาน/กับที่บ้าน
ด้วยการทำงานถึง 133 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เพื่อชีวิตครอบครัว/การอยู่รอดในที่ทำงาน

เรื่องแบบนี้ถูกต้องเป็นธรรมกับบางคนหรือไม่ แล้วทำเพื่อใคร 
C'est all right pour some, quoin?

หมายเหตุ
ปริบทนี้ค่อนข้างใช้ยากกับสังคมไทย
ที่มีระบบเจ้าขุนมูลนายระบบไพร่มาก่อน
ประเภทจ้างเงินเดือนหมื่นห้าแต่ใช้ตั้งแต่หัวจดเท้า
และจิกตามตลอดจากอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่

แต่ประเทศฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่
ที่มีการนำกษัตริย์ ขุนนาง พระ ชาวบ้าน
มาประหารชีวิตจำนวนมาก
แล้วยึดที่ดินแจกจ่ายกันถ้วนหน้า
ทำให้ภายหลังประชาชน
ต้องหันกลับมาพึ่งระบบกฎหมาย
ที่เป็นลายลักษณ์อักษรแทนการพึ่งพาตัวบุคคล

เพราะตัวบุคคลมีความโลเลไม่คงเส้นคงวา
จึงมีการยกร่างกฎหมายฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่
โดยจักรพรรดิ์นโปเลียนที่รุกรานชาติอื่นไปทั่ว
แต่ถ้อยคำภาษาที่ใช้ในกฎหมายฝรั่งเศส
เป็นคำง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้านที่อ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
หรือเรียกกันว่าให้ชาวบ้านช่วยกันร่างกฎหมาย
เพื่อความเป็นธรรมในสังคมชาวฝรั่งเศส

ขณะเดียวกันจักรพรรดิ์นโปเลียนฯ
ไม่ยอมรับระบบศาลยุติธรรมของรัฐ(หนึ่งในสามเส้าหลัก)
ในการผูกขาดพิจารณาคดีทุกประเภท
เพราะถือว่าผู้พิพากษา คือ ผู้ใช้ถ้อยคำ/ปากคำของกฎหมาย
ไม่ใช่ผู้ให้ความเป็นธรรมโดยตรงกับประชาชน
กระบวนยุติธรรมต้องเริ่มต้นจากชาวบ้าน ตำรวจ อัยการ  ทนายความ
ก่อนนำเรื่องเข้าสู่ศาลเพื่อพิจารณาตัดสินชี้ขาด

ดังนั้น ถ้าประชาชนมีปัญหากับเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องต่าง  ๆ แล้ว
ระบบกลไกของศาลยุติธรรมอาจล้าหลังไม่ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จึงมีระบบศาลปกครองที่พิจารณาแต่งตั้งคนมีความรู้ความสามารถ
จากภาครัฐและเอกชนในด้านการบริหารงานองค์กรหรือธุรกิจ
ผ่านการรับรองจากรัฐสภามาเป็นผู้พิพากษาศาลปกครอง
มาพิจารณาตัดสินชี้ขาดคดีพิพาษระหว่างรัฐกับประชาชน

ส่วนโครงสร้างตุลาการศาลปกครองไทย
มาจากข้าราชการไม่มีนักธุรกิจภาคเอกชนเลย
ดังนั้นจะเห็นว่าระบบศาลไทยมีการนำคนภายนอกมาร่วม
พิจารณาคดีความมากขึ้นเช่น ศาลแรงงาน ศาลคดีเด็กและเยาวชน
แต่อำนาจพิจารณาชี้ขาดสุดท้ายยังเป็นศาลที่เป็นข้าราชการอยู่ดี

ส่วนการยอมรับทำตามใจเจ้านายมีบ้าง
แต่ไม่ถึงกับต้องนอบน้อมแบบคนไทย
เพราะประวัติศาสตร์เดิมที่ผ่านมา
เคยฆ่าพวกเจ้าขุนมูลนายมาก่อน
เลยไม่ค่อยจะเกรงกลัวศักดิ์ศรีกันเท่าใดนัก

อาจารย์ผมคนหนึ่งที่เรียนในฝรั่งเศสหลายปีเล่าให้ฟังว่า
คนฝรั่งเศสชอบจิกกัดคนอเมริกันที่ชอบพูดว่า
ลูกค้า คือ พระเจ้า  
ถ้านั้นให้มันเสกของมาแ.กเองก็แล้วกัน
ไม่ต้องมาซื้อของร้านกรูให้เสียเวลา


เรียบเรียงจาก
//www.theguardian.com/money/shortcuts/2014/apr/09/french-6pm-labour-agreement-work-emails-out-of-office






ที่มาของภาพ  //goo.gl/g18nuo

เปรียบเทียบวันหยุดของชาติต่าง ๆ 

ที่มาของภาพ  //goo.gl/t4G09X



Create Date : 11 เมษายน 2557
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 7:24:14 น. 0 comments
Counter : 1120 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.