ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
สวนศิลป์ลดระดับเสียงเครื่องบินที่บินขึ้นลงได้



  ที่มา  //goo.gl/jWoPpO

ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสนามบิน 
Amsterdam’s Schiphol Airport
บริเวณรอบ ๆ ทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน  
มีการสร้างแนวป้องกันยกร่องพื้นดินและทางระบายน้ำ
รูปร่างเหมือนเหลี่ยมเพชรเชื่อมประสานกัน

Buitenschot Land Art Park คือ
พื้นที่สีเขียว/พื้นที่สาธารณะกว่า 80 เอเคอร์(200 ไร่)
ที่เหมือนงานศิลปะและแนวขุดยกร่องเป็นแนวสูง
พร้อมกับมีทางราบและทางระบายน้ำ
ใช้เป็นเส้นทางจักรยานและสนามกีฬา
แต่องค์ประกอบดังกล่าวเป็นส่วนเสริมเท่านั้น
เพราะวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แท้จริงคือ
การลดระดับเสียงความถี่ต่ำของเครื่องบินที่บินขึ้นลง

สนามบิน Schiphol ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Amsterdam
คือหนึ่งในสนามบินที่การจราจรพลุกพล่านมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
เป็นศูนย์กลางของ KLM Royal Dutch Airlines
และจุดแวะพักที่สำคัญในการขนส่งสินค้าไปที่ทวีปเอเซีย
มีเที่ยวบินขึ้นลงมากกว่า 1,600 เที่ยวในแต่ละวัน
เมื่อลองเปรียบเทียบกับสนามบิน Atlanta’s Hartsfield-Jackson
สนามบินที่การจราจรพลุกพล่านที่สุดในสหรัฐอเมริกาและในโลก
จะมีเที่ยวบินขึ้นลงมากกว่า 2,500 เที่ยวในแต่ละวัน
ดังนั้น  สนามบิน Schiphol จึงมีการจราจรพลุกพล่านและมีเสียงดัง



ที่มา  //goo.gl/jWoPpO


ในปี 1916 เมื่อกองทัพดัชท์ ได้สร้างสนามบิน
พวกเขาเลือกพื้นที่ลุ่มแห่งนี้เพราะขนาดของพื้นที่
ที่มีความราบ กว้างขวาง และเป็นที่โล่ง
ทำให้เหมาะสมกับการบินขึ้นลงของเครื่องบิน
แต่ในทางกลับกันคุณสมบัติดังกล่าวนี้
ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ คล้ายเสียงโทรโข่งยักษ์
ที่ส่งกระจายเสียงเครื่องบินไปรอบ ๆ บริเวณสนามบิน

ชาวบ้านและคนที่อยู่อาศัยในละแวกใกล้สนามบิน
ต่างเริ่มบ่นเกี่ยวกับเสียงดังของเครื่องบิน
ยิ่งในปี 2003 ที่มีการสร้างทางวิ่ง Polderban 
ที่ยาวที่สุดและทันสมัยที่สุดในสนามบิน
คนที่พักอาศัยสามารถได้ยินเสียงอึกทึกเหล่านี้
แม้ว่าอยู่ห่างไกลไปจากสนามบินถึง 18 ไมล์ (28.9 กิโลเมตร) แล้วก็ตาม
และเสียงก็ดังแบบไม่หยุดหย่อนด้วยในแต่ละวัน



ที่มา //goo.gl/h2YXEK


เสียงภาคพื้นดินจากการบินขึ้นลงของเครื่องบิน
เป็นเรื่องยากมากในการควบคุมเรื่องเสียง
เพราะเส้นทางเดินทางของคลื่นเสียง
ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยแผ่นคอนกรีตป้องกันเสียง
ที่วางอยู่ตามด้านข้างถนนหรือบนทางด่วนรถยนต์
เพราะเป็นคลื่นความถี่ต่ำ จะกระจายสัญญาณได้ไกลกว่า/ไร้ทิศทาง
จึงแทรกซึมเข้าไป/ทะลุแผ่นป้องกันเสียงได้

ต่อมาในปี 2008 ทางสนามบินได้แนวทางแก้ไขแบบใหม่เพราะหลังจากให้ 
Netherlands Organization for Applied Scientific Research [TNO] 
เป็นแกนนำในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเสียงนี้ 
ก็ค้นพบว่า ในฤดูใบไม้ร่วง  
หลังจากพื้นที่ทำไร่ทำนาที่ผ่านการไถพรวนแล้ว
ระดับเสียงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะร่องดิน/การยกร่องดินของชาวไร่ชาวนา
ที่มีในหลายแบบหลายแนวได้ดูดซับคลื่นเสียง
หรือลดทอนเสียงลงได้และทำให้เสียงเงียบลงได้

ประเทศ Netherlands มีชื่อเสียงและประวัติยาวนาน
ในเรื่องการสร้าง/ดัดแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
เพื่อตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของชาวบ้าน
เช่น ใน  Amsterdam มีการสร้างระบบคลองขุดด้วยคนโดยรอบ ๆ จำนวนมาก

ดังนั้น  โครงการขนาดใหญ่ในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงของสนามบิน Schiphol 
จึงได้เริ่มลงมือทำขึ้นมา  ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์แวดล้อมสนามบิน
เพื่อลดทอนระดับเสียงภาคพื้นดินให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้วยการอนุมัติให้ H+N+S Landscape Architects 



Dutch Profiles: H+N+S landscape architects


และศิลปิน Paul De Kort นักออกแบบสวนเขาวงกต



ที่มา //goo.gl/h2YXEK



ที่มา //goo.gl/h2YXEK



Paul De Kort  ที่มา  https://goo.gl/lfx3Ku


Paul De Kort ได้ใช้หลักการ/รูปแบบการทำงานในยุคศตวรรษที่ 17 ของ Chladni 
ที่ทำการทำลองเรื่องเกี่ยวข้องกับเสียง acoustics
นักวิทยาศาสตร์เยอรมัน Ernst Chladni ที่ใช้ทรายหรือเกลือ
โรยบนแแผ่นโลหะแล้วสีซอไปมา ผลจากเสียง
มีการสร้างแรงสั่นสะเทือนทำให้มีการกระจายรูปภาพตามเสียงได้
นอกจากนี้ Paul De Kort ยังได้ทำการศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับเทคนิคการทำฟาร์มในพื้นที่ลุ่มน้ำมาก่อน Harlemmermeer 
เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบครั้งนี้
" ผมพยายามสร้างสรรค์การเอื้อประโยชน์ร่วมกัน
ระหว่างองค์ประกอบภูมิประเทศที่มีแนวยกร่องเป็นสันเขา
กับสภาพแวดล้อมที่ดูน่าพึงพอใจ ” 






Chladni Plates


De Kort ใช้เครื่องมือ GPS ในการระบุ/กำหนดตำแหน่ง
เพื่อทำการไถพรวนรูปทรงแนวตั้งเป็นร่องที่สมมาตรจำนวน 150 แถว
มีความสูงถึง 6 ฟุตวัดจากด้านล่างของร่องที่ระบายน้ำได้ในตัว
ในหุบเขาจำลองแห่งนี้ ได้มีสวนหย่อมขนาดเล็กและเส้นทางรถจักรยาน
ทั้งยังได้สร้างประติมากรรมเพื่อเป็นเกียรติประวัติของโครงการนี้
ให้ชื่อว่า สดับตรับฟัง “Listening Ear ”  รูปร่างคล้ายจานพาราโบลาขนาดใหญ่
ที่วางตะหง่านอยู่เหมือนกำลังรับฟังเสียงรอบด้านของสนามบินแห่งนี้



ที่มาของภาพ //goo.gl/XDQLOL


โครงการนี้เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2013
Buitenschot (สวนศิลป์แนวร่องไถพรวน)
ลดระดับเสียงลงได้เกือบครึ่งหนึ่งได้ทันที
มีการติดตั้งตัวจับ/วัดระดับเสียงจำนวน 38 เครื่อง
รอบ ๆ บริเวณพื้นที่เป้าหมายโครงการแห่งนี้
และเมื่อได้มีการทดสอบอีกครั้งในปี 2014
เสียงในแต่ละพื้นที่ไม่เคยเกินกว่าระดับที่ต้องการเลย
รวมทั้งสนามบินพยายามที่จะร่วมมือในการลดระดับเสียงลง
ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางบินขึ้นลงตามแนวร่องดินดังกล่าว
รวมทั้งให้สายการบินต่าง ๆ พยายามปรับปรุงเส้นทาง/การบินอย่างรวดเร็วด้วย



ที่มาของภาพ //goo.gl/XDQLOL


ผลการศึกษาของ  NASA พบว่าโครงการสนามบิน Schiphol 
การเผชิญหน้ากับระดับเสียงที่หลากหลายมากมายของเครื่องบิน
เป็นกรณีศึกษาและสร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะถ้าความกังวลจากระดับเสียงมีการแก้ไขเพียงมิติเดียว
เช่น การลดจำนวนเที่ยวบินลง จะสร้างผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจได้
(ทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงได้อย่างมาก)
" การบริหารจัดการระดับเสียงของเครื่องบิน 
มีศักยภาพที่สร้างผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง
ต่อการพัฒนาของประเทศ ระหว่างประเทศ การค้า
และมีผลเชิงลบอย่างมากกับอุตสากรรมการบิน " ผลการศึกษาระบุไว้




ที่มาของภาพ //goo.gl/XDQLOL


เสียงจากเครื่องบินที่บินขึ้นลงในสนามบิน
เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงและคัดค้านกันมาก
มีการประท้วงกันมากเรื่องเสียงเหล่านี้ทั้งที่สนามบิน 
LaGuardia และ JFK ใน  New York City
และเรื่องการลดระดับเสียงในสนามบินนี้ทำให้ FAA 
กำลังสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
จากผลการศึกษาเรื่องเสียงในสนามบินเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี
ส่วนสนามบินที่การจราจรพลุกพล่าน เช่น ที่สนามบิน
Melbourne และ London’s Gatwick
ต่างกำลังเริ่มก่อสร้างแนวลดเสียงเลียนแบบธรรมชาติ
ที่คล้ายคลึงกับแบบสนามบิน Schiphol 



ที่มาของภาพ https://goo.gl/u4tBul


นักวางแผนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เพียงแต่สนามบิน
ต่างสนใจรูปแบบภูมิทัศน์ที่แก้ไขปัญหาเรื่องเสียงดัง
ใน Delhi ประเทศอินเดีย  ผู้อยู่อาศัยในละแวก  Panchsheel Park 
ต่างบ่นเกี่ยวกับเรื่องระดับเสียงอึกทึกที่สูงเกินขีดทั้งวันทั้งคืนแล้ว
และได้ยื่นคำร้องกับ National Green Tribunal หน่วยงานของรัฐสภา
ให้สร้างแนวร่องสวนเพื่อลดระดับเสียงลง



Listening Ear ที่มา //goo.gl/hKiZVv


ผลการศึกษากว่า 10 ปีของ U.S. National Parks Service
มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้
ระบุว่ามีระดับเสียงที่รบกวนในพื้นที่วนอุทยานกว่า 600 แห่ง
ที่ตรวจสอบพบได้ในแต่ละสถานที่
Kurt Fristrup นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นหัวหน้าทีมในการศึกษาเรื่องนี้
คาดการณ์ว่ามลพิษทางเสียงมีการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 20 ปี
การตรวจวัดและป้องกันเสียงแบบสนามบิน  Schiphol 
จะช่วยลดระดับเสียงให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงได้



Listening Ear ที่มา //goo.gl/hKiZVv


แต่สำหรับ Paul De Kort  กล่าวว่ารู้สึกเห็นใจเหมือนกัน
ที่ผู้โดยสารบนเครื่องบินไม่ได้ชื่นชมผลงานสวนศิลป์ของเขา
“ พื้นที่ลดเสียงอยู่เบื้องหลังเครื่องบินที่บินขึ้นลงในสนามบิน
ซึ่งความจริงแล้วผู่โดยสารต่างบินจากไปในทิศทางอื่น
ทำให้ไม่สามารถมองเห็นพื้นที่แห่งนี้ได้จากบนอากาศ(เครื่องบิน) "

เรื่องเล่าไร้สาระ

เนเธอแลนด์ มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น ฮอลแลนด์ ฮอลันดา ดัชส์ วิลันดา
ชาวดัชส์มีชื่อเสียงมากในเรื่องระบบชลประทาน
การสร้างคูคลองระบายน้ำและมีพื้นที่ส่วนมากต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
ในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเรียกว่า  ชาววิลันดา
ที่สงขลามีหลุมศพชาววิลันดา  
อยู่ตรงปากทางเข้าคลังน้ำมัน ปตท.
บริเวณมรหุ่มสุลต่านสุไลมาน 
(กูโบว์ ป่าช้าชาวมุสลิม ภาษาชาวบ้าน)
สันนิษฐานว่าเป็นศพชาววิลันดา
รายที่ได้รับการฝังน่าจะเป็นทหารรับจ้าง
หรือนายช่างที่มาก่อสร้างป้อมค่ายประตูเมืองสงขลา
หรือช่วยในการหล่อปืนใหญ่ของเจ้าเมืองสงขลา
สมัยสุลต่านสุไลมาน (ทวดหุม  ภาษาชาวบ้านสงขลาเรียกท่าน)
ต้นตระกูลนามสกุล ณ พัทลุง ศรียาภัย ทิพย์ธารา ณ ป้อมเพ็ชร
ที่เคยทำสงครามรบกับพระนารายณ์มหาราช
จนต้องเจรจาสงบศึกกันไม่มีใครแพ้ใครชนะ




เรื่องเดิม  สุลต่านสุไลมาน //goo.gl/hcDSpb

ส่วนในอินโดนีเซีย
ชาวบ้านจะเกลียดชังชาวดัชส์อย่างแรง
ใครที่ถูกเรียกคำนี้หมายความว่า
เป็นคนขี้โกงมากด้วยเล่ห์เหลี่ยมเต็มไปด้วยความชั่วร้าย
เพราะเคยบังคับคนพื้นเมืองให้ปลูกสมุนไพร
ส่วนมากเป็นพริกไทย และกาแฟ




และห้ามชาวบ้านกินกาแฟโดยเด็ดขาด
จนชาวบ้านต้องไปเก็บเม็ดกาแฟจากขี้ชะมด Kopi Luwak
ปรากฏว่าหอมอร่อยและรสชาติดีมาก
ก็ถูกห้ามเก็บกินกาแฟจากขี้ชะมดอีก
ราคากาแฟขี้ชะมดตอนนี้กิโลกรัมละหลายหมื่นบาทเป็นอย่างต่ำ
ผลความโลภและความชั่วร้ายของชาวดัชส์ 
ทำลายระบบนิเวศน์ประเทศนี้วอดวายไปมากมาย
และตามประวัติศาสตร์ชาวบ้านต่างอดตาย
จากการขาดแคลนอาหารและพื้นที่เพาะปลูกข้าว
จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมตอนอินโดนีเซียได้เอกราช
จึงขับไล่ไส่ส่งพวกดัชส์กับพวกลูกครึ่ง
ออกจากประเทศนี้ไม่ต่างจากไล่หมูไล่หมา

เรียบเรียง/ที่มา



Create Date : 17 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 มีนาคม 2559 21:51:47 น. 0 comments
Counter : 1247 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.