 |
9 ตุลาคม 2558
|
|
|
|
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (7)

30 สิงหาคม 2546 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)ได้ประชุมกันที่เมือง Gdansk ประกาศจดทะเบียนจารึกหลักที่ 1 ภายใต้โครงการมรดกความทรงจำของโลก (Memory of the World Project) เป็นการจุดสู่กระแสสังคมเรื่องความจริงแท้ศิลาจารึกหลักที่ 1 อีกครั้ง การเสอนข่าวย่อมไม่มีอะไรดีไปกว่า การยกบทความของ อ. พิระยะ มาเล่นใหม่
12 กรกฎาคม 2547 ประชาชนและนักเรียนนักศึกษาชาวสุโขทัยกว่า 5000 คน จัดการชุมนุมเดินขบวนรอบเมืองสุโขทัย ต่อต้าน ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ และนายไมเคิล ไรท์ ที่ออกมานำเสนอประเด็นทางวิชาการ ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้น ไม่ได้สร้างขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหง
ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการหมิ่นพระปรีชาสามารถ ทำลายศรัทธาของประชาชน จากนั้นได้เดินทางไปยังลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการปราศรัยโจมตีนักวิชาการดังกล่าว พร้อมจัดพิธีเผาพริกเผาเกลือสาปแช่ง จี้ให้ยุติความเคลื่อนไหว
14 ก.ค. 2547 รายการถึงลูกถึงคนได้นำเสนอเรื่องปัญหาหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ผู้ร่วมรายการ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร อ.ธวัช ปุณโณทก อ. ศรีศักร วัลลิโภดม และสมศักดิ์ คำทองคง ประธานคณะทำงานเครือข่ายชุมชนลูกพ่อขุนรามคำแหง
โดยสรุป พิธีกรเอาประเด็นที่ อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ ตั้งข้อสังเกตมาถามผู้ร่วมรายการ แน่นอนว่า อ. ประเสริฐ ณ นคร และ อ. ธวัช ปุณโณทก เป็นฝ่ายที่เชื่อว่า จริง ในขณะที่ อ. ศรีศักร วัลลิโภดม ออกตัวว่าไม่มีความรู้ แต่น่าจะเป็นพระยาลิไท และสมศักดิ์ คำทองคง มาให้สัมภาษณ์ในฐานะคนสุโขทัยที่โดนลบหลู่ความเชื่อ

ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาแห่งความเงียบสงบ แต่แน่นอนว่า หากมีใครออกมาจุดกระแสหรือตั้งกระทู้ ก็จะมีการถกเถียงกันเช่นเดิม กรกฎาคม 2558 ในมติชนออนไลน์มีคอลัมม์เขียนโดย อ. รุ่งโรงจน์ อภิรมย์อนุกูล เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงคือวรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์
ใจความโดยสรุป คือการกล่าวถึงที่มาของการค้นพบศิลาจารึกหลักที่1 และกล่าวสรรเสริญถึงความกล้าหาญของ อ. พิริยะไกรฤกษ์ ที่พยายามค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์แนวความคิดของตนเอง ไม่ยังเคยมีใครที่จะมีค้นคว้าสืบหาหลักฐานได้เท่านี้มาก่อน
แต่ก็มีข้อเห็นแย้งว่า
ในสมัยที่รัชกาลที่ 4 พบเพียงจารึกแค่ศิลาจารึกหลักที่ 1 และหลักที่ 4 เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะแต่งเรื่องโดยใช้จารึกหลักที่ 2 ที่พบในภายหลัง
ในสมัยของพระองค์ ไม่เอกสารชิ้นใดกล่าวถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เลย พระองค์นำพระนามนี้มาจากที่ใดเพื่อมาใส่เป็นชื่อในศิลาจารึกหลักที่ 1

คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ที่เป็นหนึ่งในหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวว่าพญารามราชเสวยราชย์ก่อนพญาบานเมือง แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กลับเล่าตรงข้ามว่า พระยาบานเมืองเป็นพี่ เสวยราชย์ก่อนพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกยืนยันในสมัยหลัง ตามลำดับกษัตริย์ในจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ซึ่งพบในรัชกาลปัจจุบัน
ทำไมจารึกเสียเวลาเล่าประวัติของ พ่อขุนรามคำแหงเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ซึ่งผิดปกติกว่าจารึกหลักอื่น ที่เป็นเรื่องการอุทิศสิ่งของให้พุทธศาสนา ความจริง จารึกพระเจ้ามเหนทรวรรมัน จารึกวัดป่ามะม่วง และจารึกวัดพระยืน ก็มีการกล่าวถึงประวัติผู้สั่งให้สร้างจารึกเช่นกัน
รูปแบบอักษร มีพยัญชนะและสระอยู่ในบรรทัดเดียวกัน คล้ายอักษรอริยกะ แต่จารึกวัดบางสนุก พบที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2484 ก็มีอักขวิธีและรูปแบบตัวอักษรเหมือนกับในศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นไปไม่ได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเคยทอดพระเนตรจารึกหลักนี้
รูปแบบอักษรอริยกะที่ ทรงประดิษฐ์นั้น ใช้สำหรับการเขียนภาษาบาลี จำเป็นที่จะต้องมีพยัญชนะตัวซ้อนเพื่อให้ทราบว่าตัวใดเป็นตัวสะกด ถ้าจารึกหลักที่ 1 เป็นของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จริง ทำไมไม่มีระบบพยัญชนะตัวซ้อนในจารึกหลักนี้
หากนำจารึกหลักที่ 1 มาเทียบกับจารึกสมัยพระยาลิไท จะพบว่ามีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของการเขียนภาษา

คำบางคำเหมือนกับเอกสารในสมัยหลัง เรื่องก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด เพราะเอกสารสมัยอยุธยาบางชิ้นก็มีคำบางคำในเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ การที่ศัพท์และวลีบางวลีในจารึกหลักที่ 1 เหมือนกับจารึกหลักอื่น ก็ไม่ใช่การคัดลอก เพราะสมัยพระองค์มีแค่จารึกวัดป่ามะม่วง ภาษเขมร
พระองค์จะมาคัดลอกคงไม่ได้ แต่การพบคำที่เหมือนกับจารึกหลักอื่น เป็นการยืนยันว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของจริง เพราะไม่มีความขัดแย้ง ถ้าเราจะยืนยันว่าจารึกหลักนี้เป็นของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จริง ทำไมเราไม่เปรียบเทียบกับพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ซึ่งยังคงเหลือมาถึงปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งมันก็พบว่าสำนวนภาษา ในจารึกกับพระราชนิพนธ์ของพระองค์ไม่มีอะไรที่เหมือนกัน
ในศิลาจารึกหลักนี้มีการใช้ ตัว ฃ ฅ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ได้ตรวจพบว่า คำที่ใช้อักขระ 2 ตัวดังกล่าวเหมือนกับในภาษาไทขาว แสดงให้เห็นว่า สมัยสุโขทัยยังสามารถแยกเสียงระหว่าง ข กับ ฃ และ ค กับ ฅ ได้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ก็แยกสองเสียงนี้ไม่ได้แล้ว พระองค์จะใช้สองคำนี้อย่างไร
จารึกหลักนี้เป็นหลักศิลาและใช้เส้นจารที่ใหญ่ ผิดกับจารึกวัดพระเชตุพน และวัดราชประดิษฐ์ที่เป็นของรัตนโกสินทร์ที่ใช้แผ่นหินและเส้นจารที่เล็ก
Create Date : 09 ตุลาคม 2558 |
Last Update : 23 พฤษภาคม 2559 11:05:35 น. |
|
3 comments
|
Counter : 2427 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
อืมม์..มีข้อมูลที่ชวนคิดแฮะ
ถ้าได้ไปกินแล้วเป็นไงก็บอกกันบ้างนะคะ แมกซ์บีฟน่ะค่ะ แหะๆ