 |
14 ตุลาคม 2558
|
|
|
|
Operation Orchard: The beginning of Syrian civil war (1)

ไม่กี่วันก่อน มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ถึงความล้มเหลวของสหรัฐ ในการส่งอาวุธและเงินให้กับฝ่าย Free Syrian Army แต่กลายเป็นว่า 1/3 ของยุทธภัณฑ์กลับตกไปอยู่กับกลุ่ม ISIS เป็นการยอมรับทางอ้อมว่า สหรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังสงครามกลางเมืองครั้งนี้
คำถามสำคัญคือ ทำไมสหรัฐจึงต้องให้ความช่วยเหลือกลุ่มกบฏ เพื่อล้มล้างรัฐบาลที่ถูกกฎหมายของประธานาธิบดีอัสซาดแห่งซีเรีย มูลเหตุหนึ่งน่าจะเป็นการเปิดวงล้อมให้แก่รัฐบาลซาอุดิอารเบีย จากนิกายชีอะห์ที่หนุนหลังโดยประเทศอิหร่าน
ได้แก่ รัฐบาลในประเทศอิรักทางตะวันออกเฉียงเหนือ กบฏเยเมนทางใต้ และรัฐบาลซีเรียทางตอนเหนือ แต่นอกเหนือจากเหตุจูงใจที่เห็นได้อย่างชัดเจนดังกล่าวแล้ว การมุ่งล้มรัฐบาลของซีเรียในครั้งนี้ มันเริ่มขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อน
ในปฏิบัติการออร์ชาดของประเทศอิสราเอลนั่นเอง

ปี 2001 ประธานาธิบดีอัสซาดเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ หน่วยข่าวกรองมอสสาดสงสัยว่าซีเรียมีแผนที่จะสร้างอาวุธนิวเคลียร์ พวกเค้าถกเถียงกัน แต่ไม่มีข้อมูลหรือข่าวกรองอื่นใดยืนยันในเรื่องนี้
ปี 2004 อิสราเอลระแคะระคายว่ามีการสื่อสารอะไรบางอย่าง จากเมือง Al-kibar ในทะเลทรายทางตอนเหนือของซีเรียไปเกาหลีเหนือ พวกเค้าต้องการพิสูจน์ว่ารัฐบาลซีเรียกำลังกระทำการซ่อนเร้นอะไร
22 เม.ย. 2004 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงบนขบวนรถไฟที่สถานี Nampo เกาหลีเหนือ ประชาชนตายอย่างน้อย 700 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก เกาหลีเหนือออกมาให้ข่าวว่า เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี
หน่วยข่าวกรองอังกฤษเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่เป็นฝีมือของมอสสาด พวกเค้าเชื่อว่ามีนักวิทยาศาสตร์ซีเรียเดินทางในขบวนรถไฟมรณะนี้ และหนึ่งในโบกี้นั้นบรรทุกสารกัมมันตรังสีที่จะถูกนำกลับไปยังซีเรีย
ธ.ค. 2006 หนังสือพิมพ์อังกฤษรายงานว่ามอสสาดได้ส่งทีมสายลับ ไปขโมยข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ของซีเรีย ที่เดินทางมาประชุมใน London ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ที่ถูกส่งกลับไป ยังหน่วยข่าวกรองในกรุงเทอาวีฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่อิสราเอลตกใจ
พวกเค้าพบรูปและข้อมูลความก้าวหน้าโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีรูปแบบเดียวกับโรงงานนิวเคลียร์ในประเทศเกาหลีเหนือ เป็นที่แน่นอนแล้วว่าพวกเค้าได้รับการถ่าายทอดเทคโนโลยีมา แต่อิสราเอลได้แต่สงสัยว่า เรื่องดังกล่าวถูกปิดลับไปได้อย่างไร

ย้อนกลับไปในปลายทศวรรษที่ 90 ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน ได้ซื้อเทคโนโลยีการผลิตสารยูเรเนียมเข้มข้นจากประเทศฝรั่งเศส มีความเป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียว อิรักกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ที่โรงงาน Osirak ทางตอนเหนือไม่ไกลจากกรุงแบกแดด
เมื่ออิสราเอลยืนยันว่าโรงงานดังกล่าวยังไม่ได้เริ่มดำเนินการผลิต ซึ่งแปลว่า หากโรงงานถูกทำลายจะไม่มีสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ออกไปทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ภายนอกโรงงาน ปฏิบัติการ Opera ที่มีเดิมพันสูงได้เกิดขึ้น
เครื่องบิน F16 จำนวน 8 ลำ ติดระบิด 2000 ปอนด์ พร้อมเครื่องบินคุ้มกัน บินสูงจากพื้นทะเลทรายไม่กี่ร้อยฟุต เพื่อหลบระบบเตือนภัยทางอากาศ เหนือน่านฟ้าประเทศเพื่อนบ้าน ตรงเข้าทำลายโรงงานนิวเคลียร์ ก่อนที่ประเทศอิรักจะได้เริ่มดำเนินการสร้างอาวุธตามแผนที่ตั้งใจไว้
มันเป็นข้อความที่เด่นชัดไปถึงทุกประเทศที่เป็นปรปักษ์กับอิสราเอลว่า ไม่ว่าจะต้องใช้สิ่งใด จะมีความเสี่ยงมากแค่ไหน ต้องละเมิดสิ่งใดก็ตาม แต่ตราบนั้นจะต้องไม่มีประเทศใดที่คิดจะสร้างอาวุธที่เป็นภัยคุกคามได้ หลังจากนั้นประเทศอิรักก็ล้มเลิกโครงการนี้ จนกระทั่งถูกสหรัฐบุกเข้าไป

ต้นปี 2007 นายกรัฐมนตรี Ehud Olmert ของอิสราเอลไฟเขียว ให้กองทัพอากาศฝีกซ้อมการบินโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ในซีเรีย 1 เดือนต่อมา อิสราเอลได้รับข่าวกรองยืนยันอีกครั้งว่า โครงการนี้อิหร่านได้สนับสนุนงบประมาณถึง 1,000 ล้านเหรียญแก่ซีเรีย
เพราะหากสำเร็จ อิหร่านอาจจะใช้ซีเรียเป็นฐานผลิตยูเรเนี่ยมเข้มข้น โดยอิหร่านเองจะไม่ถูกเพ่งเล็งจากสหรัฐอเมริกาและหน่วยงานสากล พ.ค. 2007 อิสราเอลปล่อยดาวเทียมสอดแนม Ofek-7
ก.ค. 2007 เกิดการระเบิดในโรงงานที่เมือง Musalmiya มีทหารเสียชีวิต15 ราย บาดเจ็บ 50 ราย ไม่มีการแถลงการณ์จากซีเรีย เว็บไซท์ด้านหารทหารคาดการณ์ว่า เป็นอุบัติเหตุระเบิดระหว่าง การทดสอบเพื่อติดตั้งก๊าซมัสตาร์ดบนหัวรบขีปนาวุธสกั๊ด
หนังสือพิมพ์สหรัฐรายงานว่า รัฐบาลอิสราเอลตรวจพบความเป็นไปได้ ของการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ในประเทศซีเรีย
กลางเดือน ส.ค. 2007 หน่วยคอมมานโดอิสราเอล 12 นาย เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ไปเก็บตัวอย่างดินและน้ำ ที่อยู่รอบๆ โรงงานในเมือง Al-Kibar กลับมาตรวจสอบ พวกเค้าพบว่า ไม่พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในดินและน้ำ
แสดงว่า โรงงานที่ Al-Kibarยังไม่มีการเปิดดำเนินการ
Create Date : 14 ตุลาคม 2558 |
Last Update : 16 ตุลาคม 2558 9:34:32 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1559 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|