|
 |
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
20 เมษายน 2553
|
|
|
|
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (1)

ก่อนหน้านี้ที่ผมยังไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมพระราชวังพญาไท หากมีใครมาถามว่า พระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 6 มีอะไรบ้าง ผมคงตอบได้ไม่กี่อย่าง เพราะก็คงเหมือนคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ ที่เราได้จะได้รับการสอนว่า ความก้าวหน้าส่วนใหญ่ในประเทศ ล้วนได้รับการริเริ่มในรัชกาลพระพุทธเจ้าหลวงเสียเป็นส่วนใหญ่
ยิ่งรัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์อย่างยาวนาน ก็ยิ่งมีเรื่องราวที่น่าเล่าขานมากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ที่ทรงครองราชย์เพียง 16 ปี แต่เมื่อผมได้ฟังพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 6 จากไกด์อาสาสมัครแล้วนั้น ผมรู้ตัวดีเลยว่าผมพลาดอะไรไปมากมาย
ฉนั้นบลอคนี้จึงได้เกิดขึ้น เพื่อบอกเล่าถึงพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ ที่พระองค์ได้ทรงสร้างและพระราชทานไว้ ให้กับพวกเราคนไทยทุกคน ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่าง ล้วนมาจากความคิดอันเป็นพระอัจฉริยะภาพอย่างมาก มากกว่าที่พวกเราไม่ควรจะมองข้ามไป
เรามาเริ่มย้อนเวลากลับไป ในสมัยนั้นกันเลย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9 พระองค์ ที่ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430) พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)
เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานพระนามว่า มหาวชิราวุธ แต่ยังมิได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียกว่า ลูกโต พระประยูรญาติในพระราชสำนัก จึงเรียกพระองค์ท่านว่า ทูลกระหม่อมโต
ในปี พ.ศ. 2431 พระองค์มีพระชนมพรรษาย่างขึ้น 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งพระราชพิธีพระราชทานพระสุพรรณบัฏตามขัตติยราชประเพณี และทรงสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม พระนามกรมคือ กรมขุนเทพทวาราวดี
เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และโรงเรียนสวนกุหลาบ ทรงเริ่มต้นการศึกษาภาษาไทยครั้งแรกกับพระยาอิสรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ทรงเริ่มเรียนภาษาอังกฤษเมื่อพระชนม์ 8 พรรษากับพระอาจารย์ชื่อโรเบิร์ต มอแรนต์
โชคดีที่ตอนนั้นพระองค์มิได้ทรงเป็นรัชทายาท ที่ต้องจำกัดการใช้ชีวิตอยู่เพียงในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงทรงส่งพระองค์ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ที่ๆ ซึ่งทำให้พระองค์ได้ทอดพระเนตเห็นชาติตะวันตกที่มีความเจริญก้าวหน้า และเข้ามาตัดผ่าประเทศสยามออกเป็นหลายส่วน ในยุคล่าอาณานิคม ทุกสิ่งที่พระองค์ได้เรียนรู้ จะได้นำมาพัฒนาชาติต่อไป
แต่ขณะทรงศึกษาอยู่นั้น เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ก็เสด็จสวรรคตลง พระองค์จึงทรงได้รับการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สืบแทนสมเด็จพระเชษฐา แต่ก็ยังทรงศึกษาต่อในประเทศอังกฤษต่อไป
พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาหลายแขนง ทางทหารทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิสต์ แล้วเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ทางด้านพลเรือนทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ ทรงปฏบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยเสด็จในฐานะผู้แทนพระองค์ ไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศใกล้เคียง
พระองค์เสด็จนิวัตพระนครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ที่ประสงค์จะให้พระองค์ได้มีโอกาสทอดพระเนตรประเทศบ้านเมืองอื่น นอกจากยุโรป โดยเสด็จผ่านประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2445
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาตั้งไว้ในพระรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงศ์ แต่ก็ทรงเศร้าสลด ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะแลกสิริราชสมบัติสำหรับพระองค์ กับการสูญเสียพระชนมชีพของสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระองค์จึงไม่โปรดที่จะการขึ้นครองราชย์
จนกระทั่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทูลเชิญเสด็จลงที่ห้องแป๊ะเต๋ง บนชั้น 2 พระที่นั่งอัมพรสถาน และท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการใหญ่น้อย ที่ชุมนุมอยู่ ทูลกระหม่อมอา ได้คุกพระชงฆ์ลงกับพื้น กราบถวายบังคมอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมเด็จเป็นพระเจ้าแผ่นดิน สืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ
และทันใดนั้นทุกท่านที่ชุมนุมอยู่ที่นั้น ก็ได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคม
Create Date : 20 เมษายน 2553 |
Last Update : 20 เมษายน 2553 15:56:18 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1249 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:8:34:21 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|