|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | |
|
|
 |
2 กุมภาพันธ์ 2555
|
|
|
|
เหตุการณ์ รศ. 112 (10)

ภาพทหารฝรั่งเศสในประเทศเวียดนาม ปี 1888
22 กรกฎาคม พ.ศ.2436
ม.ปาวีได้รับคำตอบจากรัฐบาลไทยความว่า 1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่อยู่ทางใต้เส้น แลตติจูด 18 เหนือนั้นรัฐบาลไทยยอมยกให้เป็นดินแดนในการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับญวน ส่วนแม่น้ำโขงตอนใต้แลตติจูต 18 เหนือลงมาจนถึงตอนที่ไหลเข้าไปในดินแดนเขมรนั้น ให้ถือเป็นเส้นปันเขตแดน เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือทั้ง 3 ประเทศ 2. กองทหารไทยที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่ระบุไว้ในข้อ 1 จะได้ถอยกลับมาสิ้นภายใน 1 เดือน 3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอแสดงความเสียพระทัยในกรณีอันนำมาซึ่งความเสียหาย แก่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำและที่คำม่วนและการกระทบกระทั่งกันที่ปากน้ำเจ้าพระยาด้วย
จะปล่อยตัวบางเบียนไปและปฏิบัติตามคำเรียกร้องของรัฐบาลฝรั่งเศสอื่น ๆ ด้วยถ้าเห็นว่าจำเป็น โดยอนุโลมตามลักษณะแห่งความยุติธรรมและตามความเป็นเอกราชของประเทศไทย
4. บุคคลใดที่ต้องหาว่าได้ทำการย่ำยีชนชาติฝรั่งเศสเป็นการส่วนตัวในคดีใดก็ดี อันปรากฏว่าละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมืองหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ก็จะลงโทษตามรูปคดีนั้น ๆ หรือหากว่าสมควรจะชดใช้เป็นค่าทำขวัญ ก็จะได้ชำระให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตนั้นให้เสร็จสิ้นไป
5. รัฐบาลฝรั่งเศสกับรัฐบาลไทยได้โต้แย้งกันมาเป็นเวลานานในเรื่องเกี่ยวกับชนชาติฝรั่งเศส ขอเรียกร้องให้ชำระเงินที่ตนต้องได้รับความเสียหายเพราะข้าราชการไทยดำเนินการผิดนั้น ข้อนี้ในนามแห่งรัฐบาลไทยขอปฏิเสธว่า ไม่ใช่ความผิดของข้าราชนั้น ๆ
6.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยอมชำระเงิน 2,000,000 ฟรังค์ ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส และความเห็นว่าชอบที่จะจัดตั้งกรรมาธิการผสมพิจารณาเงินค่าทำขวัญ 3,000,000 ฟรังค์ ถ้าได้พิจารณาให้ละเอียดเป็นราย ๆ ตามสมควรแก่การแล้ว รัฐบาลไทยเชื่อในความยุติธรรม ของรัฐบาลฝรั่งเศสว่าจะได้รับเงินจำนวนที่เหลือคืนจากที่ได้จ่ายไปจริง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2436
หลังการพิจารณาดูเหมือน ม. ปาวี จะไม่พึงพอใจในคำตอบที่ได้จากรัฐบาลสยาม 12.00 น. มีการชักธงชาติฮอลแลนด์ขึ้นที่สถานทูตฝรั่งเศส 16.00 น. ม.ปาวี พร้อมด้วยคณะฑูตลงเรือแองคองสตังต์ 19.00 น. เรือฝรั่งเศสทั้งสามลำจอดทอดสมอที่ปากน้ำเจ้าพระยา

แผนที่อินโดจีนฝรั่งเศส หลังการเสียดินแดนของไทยครั้งสุดท้าย
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2436
เมื่อน้ำขึ้นแล้วเรือรบฝรั่งเศสทั้งสามลำก็ออกเดินทางผ่านสันดอนปากแม่น้ำ นาวาเอก เรอกุลุซ์ ผู้บังคับการเรือลาดตระเวนฟอร์แฟต์ซึ่งจอดคุมเชิงอยู่ภายนอกสันดอน ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ได้ส่งทหารหนึ่งหมวดขึ้นยึดเกาะสีชัง
แล้วออกประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.1893 เวลา 11.00 น. ชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ ของประเทศไทยที่อยู่ระหว่างแหลมเจ้าลายและแหลมกระบัง จะเป็นเขตที่กองเรือในบังคับบัญชาของนาวาเอก เรอกุลุซ์ จะทำการปิดอ่าว บรรดาเรือของชาติที่เป็นไมตรีกันให้เวลาอีกสามวันเพื่อถอยออกไปจากตำบลนี้
เรือใดที่พยายามฝ่าฝืนจะได้จัดการไปตามนัยแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ และสัญญาทางไมตรีที่ใช้อยู่กับประเทศเป็นกลาง ณ ปัจจุบันนี้
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2436
เมื่อพลเรือตรี ฮูมานน์ ผู้บัญชาการกองเรือภาคตะวันออกไกลมาถึงเกาะสีชัง ได้ออกประกาศปิดอ่าวไทยฉบับที่ 2 มีความว่าเนื่องจากฐานะแห่งการตอบแทนกระทำแก่กัน และกันระหว่างฝรั่งเศสกับไทยและโดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เขตปิดอ่าวกำหนดไว้ดังนี้
เขตที่ 1 ปิดตั้งแต่เส้นขีดจากแหลมเจ้าลายถึงแหลมกระบัง เขตที่ 2 ปิดตั้งแต่เส้นขีดจากเกาะเสม็ดถึงแหลมลิงให้เวลาอีกสามวันบรรดาเรือ ของชาติที่เป็นไมตรีหรือเป็นกลาง เพื่อบรรทุกสินค้าให้เสร็จและถอยออกไปนอกเขต
แต่ผ่อนปรนให้ถุงเมล์ผ่านเข้าไปกรุงเทพได้ โดยให้ปล่อยเรือที่นำถุงเมล์มาจากยุโรปให้เข้าไป จนถึงท่าจอดเรือเกาะสีชัง เพื่อไม่ขัดขวางการติดต่อในทางการค้าของชาวยุโรปในกรุงเทพ บรรดาจดหมายและไปรษณีย์ภัณฑ์ดังกล่าวทาง ม.ปาวี จะเป็นผู้จัดส่งไปให้โดยเร็วที่สุด
พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสได้นำหนังสือยอมรับคำขาด ไปยื่นแก่ ม.เดอแวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสความว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงเสียพระไทยอย่างยิ่งเมื่อได้ทรงเห็นว่า คำตอบของรัฐบาลไทยต่อคำเรียกร้องของรัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งได้ยื่นมาและเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้บังคับมานั้นถือเสมือนว่ายังไม่ให้ความพอใจแก่รัฐบาลฝรั่งเศส
Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2555 |
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2555 14:01:54 น. |
|
2 comments
|
Counter : 2449 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
เขาว่าแปะแล้วหัวใจจะโตขึ้นก็พยามจ้องให้โตขึ้น ๆ ๆ ๆ ค่ะ
วันนี้ก็มาแปะเพิ่ม