|
 |
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
 |
19 ธันวาคม 2559
|
|
|
|
ประติมากรรมสำริดจากประโคนชัย : มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ (จบ)

ปราสาทหินเขาปลายบัดตั้งอยู่เนินเตี้ยๆ ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านยายแย้ม ตำบลยายแย้ม อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างเมืองประโคนชัย 40 กิโลเมตรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และห่างปราสาทเมืองต่ำทางทิศตะวันตกเพียง 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยปรางค์อิฐองค์เดี่ยว มีผัง 5X5 เมตร
พ.ศ.2532 หนังสือแผนที่โบราณคดีจังหวัดบุรีรัมย์ ของกรมศิลปากรให้ข้อมูลไว้ว่า ปราสาทปลายบัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถาน แต่ถูกระเบิดทำลายโดยนักขุดหาโบราณวัตถุเพื่อประโยชน์ส่วนตน ทำให้รูปลักษณ์ของปราสาทชำรุด จึงปรากฏเฉพาะบางส่วนของปราสาทเท่านั้น ทราบว่านักขุดหาโบราณวัตถุได้นำเอารูปเคารพในพุทธศาสนามหายาน จำนวนหนึ่งไปจำหน่าย บางองค์อาจไปอยู่ต่างประเทศแล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังเหลือแผ่นศิลาจารึก ที่นายพูน เลื่อยคลัง ราษฎรหมู่บ้านยายแย้ม นำมาจากปราสาทปลายบัด เมื่อครั้งที่ปราสาทถูกระเบิด อันเนื่องมาจากการขุดทำลาย โดยได้มอบให้กรมศิลปากร เมื่อเดือนมีนาคม 2513
เทวรูปที่พบทั้งหมดล้วนหล่อด้วยสำริด แบบทองแดงผสมดีบุก เทวรูปที่สูงกว่า 20 เซนติเมตร มีโครงเหล็กภายใน ทุกองค์มีหรือเคยมีเดือยที่ส้นเท้า องค์ใหญ่และรุ่นเก่ามีเดือยเป็นรูปแหลม รุ่นหลังมีเดือยสี่เหลี่ยม บางองค์มีส่วนผสมเงินสูง ทำให้น่าเชื่อว่ามาจากโรงหล่อที่ต่างกัน
เทวรูปมี 2 แบบ หนึ่งคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและสองคือพระเมตไตรย เข้าใจว่าทำขึ้นมาในพุทธศาสนามหายาน ที่นิยมในอินเดียเหนือในราชวงศ์คุปตะ ในขณะที่ภาคกลางและภาคอีสานเหนือในเวลานั้นเป็นยุคศิลปะทวารวดีในคติหินยาน ทำให้สงสัยว่าพุทธศาสนาแถบอีสานใต้ในยุคนั้นอาจจะเป็นนิกายที่ต่างออกไป
จึงกลายเป็นข้อสันนิษฐานว่า อาจมีความเชื่อที่แตกต่างไป อาศัยอยู่ร่วมกันในช่วงเวลาเดียวกัน ก่อนที่ทั้งหมดจะถูกกลืนกินโดยลัทธิไศวนิกายโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2

22 พ.ค. 2559 คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร จะจัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย มรดกไทยในอุ้งมือต่างชาติ
วิทยากรได้แก่ ผศ.ดร.สุรพล นาถะพินธุ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหะวิทยา ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึก ผศ.ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง อาจารย์ภาควิชาโบราณดี คณะโบราณคดี นางสาวภัคพดี อยู่คงดี นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร นายทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระ และ นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้าฝ่ายนิติการ กรมศิลปากร
จะเห็นได้ว่า วิทยากรนั้นมีอยู่หลายท่าน ทำให้พิธีกรมีเวลาให้แต่ละคนไม่มากเท่าไหร่ และตัดสลับไปมา ทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจ ความจริงควรเชิญมาให้น้อยกว่า เพียงแค่เรื่องประวัติของปราสาท ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจารึก และโลหะก็พอ แต่ละท่านจะได้มีเวลาเล่าได้เป็นเนื้อเป็นหนังมากกว่านี้
สรุปคือ ในทางประวัติศาสตร์ เรายังไม่ทราบอะไรมากว่าใครคือกลุ่มคนที่อยู่บริเวณนี้ ใครคือผู้สร้างเทวรูปเหล่านี้ แต่พื้นที่นี้น่าจะมีสิ่งที่น่าสนใจอะไรบางอย่าง ด้วยอยู่ใกล้ พื้นที่สำคัญเช่น ภูพระอังคารที่พบใบเสมาขนาดใหญ่ที่สลักรูปพระพุทธเจ้า ปราสาทพนมรุ้ง ในไศวนิกายที่ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟเช่นเดียวกับภูพระอังคาร และปราสาทเมืองต่ำ ดังนั้นในอดีตบริเวณโดยรอบนี้คงเป็นชุนชนขนาดใหญ่
ในทางโลหะวิทยา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ถ้าเราได้ตัวอย่างเทวรูปเหล่านี้มา ก็สามารถที่จะใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อสืบค้นแหล่งที่มาแหล่งที่สร้างเทวรูปนี้ได้ เพราะในตะกั่วนั้นมีความเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีอัตราส่วนการเสื่อมสลายตัวที่แน่นอน ดังนั้นตะกั่วแต่ละแหล่งจึงมีอัตราส่วนของตะกั่ว isotope กัมมันตรังสีที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้นหากเราเทียบกับแหล่งตะกั่วในเหมืองโบราณก็สามารถที่จะบอกได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการพิสูจน์เพื่อการทวงคืนเทวรูปเหล่านี้ เพราะเราไม่มีหลักฐานสำคัญนั่นก็คือภาพถ่ายเทวรูปตอนที่ขุดค้นพบได้ และทางประติกรรมวิทยาก็ยากที่จะแยกศิลปะกลุ่มนี้ออกจากของในกัมพูชาได้

สิ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องของจารึกที่ค้นพบในตัวปราสาทซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ที่ จารึกหลักที่ 1 มีลักษณะคล้ายใบเสมา ชาวบ้านในพื้นที่มอบให้กรมศิลปากร หมายเลข K. 1073 ระบุศักราช ตรงกับ พ.ศ. 1468 สมัยพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2
เนื้อหากล่าวถึง ศรีอีสานวรมันบุตรของของยโสวรมัน กษัตริย์เมืองพระนคร มีพระบรมราชโองการถึงขุนนางประจำท้องถิ่นให้รับทราบปักประกาศนี้ ที่พนมกาจโตน โดยหนึ่งในชื่อขุนนางซึ่งระบุในจารึก 1 ใน 8 คือ ศรีมหิธรวรมัน ซึ่งเราทราบกันว่า ต่อมาจะกลายเป็นราชวงศ์ที่มีอิทธิพลในแถบนี้ และจะยิ่งใหญ่จนมีลูกหลานไปครองเมือง ศรียโศธรปุระในเวลาต่อมา
อีกด้านหนึ่งของจารึกปลายบัด เล่าย้อนไปกว่า 100 ปี ถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ที่ครองเมืองหริหราลัย ได้มาทำบุญตรงนี้ โดยการถวายของต่างๆ อย่างข้าวเปลือก ข้าวสาร เนยใส ผ้านุ่ง ผ้าห่ม วัว ควาย ข้าทาส ฯลฯ
จารึกหลักที่ 2 พบโดยครูท่านหนึ่ง พ.ศ. 2542 อยู่ใต้วงกบที่ตกลงมากองที่พื้น โดยระบุศักราชที่ตรงกับ พ.ศ. 1464 ในรัชกาลพระเจ้าหรรษาวรมันที่ 1 จะเห็นได้ว่า จารึกไม่สามารถระบุได้ว่าปราสาทนี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปอย่างใด เพราะเทวรูปอยู่ในพุทศตวรรษที่ 8 แต่ตัวศาสนสถานสร้างหลังจากนั้นเกือบ 600 ปี แต่เห็นได้ว่า น่าจะเป็นศาสนสถานที่สำคัญ ระดับที่พระมหากษัตริย์เคยเสด็จมา
สรุป แม้จะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่สำคัญว่า เทวรูปสำริดกลุ่มนี้แท้จริงมีจำนวนเท่าไหร่ และพบที่ประเทศไทยจริงหรือไม่ เทวรูปกลุ่มนี้มีอายุเท่าใด ใครเป็นผู้สร้าง สร้างเพื่ออะไร และสิ่งที่สำคัญที่สุด เหตุใดจึงมีมารวมกันในที่แห่งเดียวเป็นจำนวนมาก โดยถูกห่อผ้าและฝังดินไว้

การทวงคืนเทวรูปสำริดเหล่านี้เกิดขึ้นโดยประชาชนกลุ่มหนึ่งทาง social media และยังไม่มีความคืบหน้าจากความร่วมมือของภาครัฐแต่อย่างใด ทั้งที่ความแตกต่างของเทวรูปกลุ่มนี้ไปจากศิลปะแขนงหลักของประเทศไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นปริศนาที่สำคัญ ในการไขความเชื่อท้องถิ่นว่า
ในพื้นที่อีสานเมื่อกว่าหนึ่งพันปีก่อน ก่อนที่การกำเนิดอาณาจักรพระนครในกัมพูชา ประชาชนทีมีความเชื่อทางศาสนาที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมากในภูมิภาคเหล่านี้ เหตุใดพระพุทธรูปเหล่านี้จึงต้องถูกปิดบังอำพรางไปจากสถานที่ให้กำเนิดขึ้นมา ศูนย์กลางของอาณาจักรศริจนาศะ ที่เคยมีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่นั้นอยู่ที่ใด
คำตอบนั้น อาจจะอยู่ในเทวรูปกลุ่มใหญ่ที่พลัดพรากไปจากดินแดนถิ่นกำเนิด การทวงคืนเทวรูปกลุ่มนี้กลับมาได้ อาจจะเป็นการไขปริศนาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะย้อนกลับไปถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่อาศัยในดินแดนแถบถิ่นนี้ อันเป็นที่มาของอาณาจักรพระนครในประเทศกัมพูชาปัจจุบันก็เป็นไปได้
Merry X'mas 2016 and A Happy New Year
Create Date : 19 ธันวาคม 2559 |
Last Update : 28 ธันวาคม 2559 16:31:18 น. |
|
8 comments
|
Counter : 3083 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
อ่านจนถึงบทสรุป ก็วิเคราะห์ต่อ คิดต่อไปไม่เป็นค่ะ แต่ชอบอ่าน
อวยพรล่วงหน้ายาวเลย แพลนไปเที่ยวไหนไกลหรือเปล่าคะ
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ชีริว Travel Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
Tui Laksi Sports Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
The Kop Civil Movie Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Food Blog ดู Blog
lovereason Book Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น