 |
7 ตุลาคม 2558
|
|
|
|
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (6)

สมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาจึงได้มีพระดำรัสปืดการอภิปรายว่า ข้าพเจ้าไม่กลัว เพราะคิดว่าถ้ามีคนที่สงสัยอะไร ก็น่าที่จะให้โอกาสเขาอธิบายความเห็นของเขาด้วยเหตุด้วยผลของเขา ซึ่งเราก็สามารถมาพิจารณาได้ภายหลัง ถึงอย่างไรก็ดี เราไม่ควรยึดถืออะไรนัก
ทุกอย่างในโลกนี้ก็ไม่เที่ยง ถ้าหลักที่ 1 นี้เป็นของปลอม อะไรก็จะมาลบ การที่เรามีภาษาของเรา ซึ่งมีตัวเขียนของเราที่ใครสร้างขึ้นก็ตาม มีสถาปัตยกรรมของเรา และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นของเราไม่ได้
ทรงมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยเรื่อง การพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยนำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ 1 คือ หลักจารึกนครชุม ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ ศิลาจารึกภาษามคธ และภาษาไทย กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสันดร และพระแท่นมนังคศิลาบาตร มาเปรียบเทียบกัน
พ.ศ. 2534 ก็มีการรายงานผลว่าผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน เป็นเครื่องมือสำคัญ
เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่าง แล้วหาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิว กับส่วนที่อยู่ข้างในของศิลาจารึกทั้ง 3 หลักมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน
จึงสรุปผลการพิสูจน์ว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 ผ่านกระบวนการสึกกร่อน มาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึกหลักที่ 3 วัดศรีชุม และหลักที่ 45 ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ จึงเป็นอันยุติว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของดั้งเดิม มิใช่ทำขึ้นใหม่

แต่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย ชัชวาล ปุญปัน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เผยแพร่บทความโต้แย้ง ใจความโดยสรุปว่า
1. ยังไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะสามารถวัดอายุว่า มนุษย์ได้นำก้อนหินก้อนนั้นมาแกะสลักเมื่อใดได้โดยตรง 2. การทดสอบนี้มีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถจะสุ่มตัวอย่างได้อย่างเพียงพอ เพราะคงไม่มีใครกล้ากะเทาะศิลาจารึกหลักที่ 1 ออกมาหลายตำแหน่ง
3. ศิลาจารึกหลักที่ 1 คงตั้งอยู่กลางแจ้งมาตลอด เพราะสุโขทัยสมัยนั้น ยังเป็นป่ารก หากจมดินอยู่จะไม่สามารถค้นพบได้ ต่างจากหลักอื่นซึ่งพบในสมัยหลัง สภาพนั้นตั้งอยู่ในวิหาร จารึกหลักที่ 1 จึงมีความแตกต่างจากหลักอื่นๆ แล้วจะนำมาเปรียบเทียบการผุผังด้วยกันได้อย่างไร
4. วิธีจะการหาร่องรอยของการผุพังอยู่กับที่แบบในงานวิจัยนี้ ที่ขาดไปก็คือไม่สามารถหาหินทรายแป้งแบบเดียวกับจารึกหลักที่ 1 แต่จารึกในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันมาเปรียบเทียบได้
ดังนั้นจึงมีคำถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหินทรายแป้งแบบเดียวกัน แต่ถูกจารึกในสมัยรัชกาลที่ 4 อาจจะมีสภาพการผุผังเหมือนกันก็ได้

ฝ่ายที่เชื่อว่าจารึกไม่ได้ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยก็ก็ยังคงมีการตั้งข้อสังเกตอยู่
เช่น ไมเคิล ไรท์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องเนื้อหาและการใช้ภาษา ก็สรุปยืนยันว่า จารึกหลักที่ 1 จะเป็นอื่นใดไม่ได้ นอกจากฝีมือปัญญาชนชาวสยามในคริสตวรรษที่ 19 ซึ่งช่ำชองพุทธศาสนาและยังคุ้นกับความคิดของนักปราชญ์ก้าวหน้าในยุโรป

นอกจากนี้ก็ยังมีสายกลาง อย่าง อ. ศรีศักดิ์ วัลลิโคดม นักวิชาการอิสระ ก็ไม่เชื่อว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่น่าจะสร้างในสมัยพระยาลิไท เพราะเป็นจารึกทางการเมืองพื่อใช้อ้างความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยอ้างไปถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง หรือเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี

อีกท่านที่เป็นสายกลาง คือ อ. พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑกรมศิลปากร มีความเห็นว่า ไม่ได้ทําในสมัยพ่อขุนรามคําแหง และไม่ได้ทําในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วย
เพราะข้อความ 17 บรรทัดแรกของจารึกเขียนว่า กูชื่อนั้น พ่อกูชื่อนี้ แต่บรรทัดที่ 18 กลับจารึกว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคําแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี" หมายถึง พ่อตายแล้ว แสดงว่าเขียน หลังสมัยพ่อขุนรามคําแหงแน่นอน และแม้แต่ 17 บรรทัดแรกก็อาจไม่ได้จารึกสมัยพ่อขุนรามคําแหงก็ได้ เพราะการใช้สรรพนาม กู เพื่อเป็นการเล่าเรื่องก็เป็นวิธีเล่าเรื่องแบบหนึ่ง
เป็นไปไม่ได้ว่าในสมัยสุโขทัยมีการใช้สระผสมแล้ว เช่น สระ เอือ จนกระทั่งสมัยใกล้สมัยรัชกาลที่ 4 จึงมีการใช้ สระเอือ เช่นคำว่า เมือง
แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะไม่มีทางที่คนในสมัยนั้น จะมีความรู้ทางประวัติศาสตร์มากพอที่จะเล่าเรื่องต่างๆ โดยไม่ขัดแย้งในภายหลัง เมื่อเรามารู้จักหรือเห็นภาพสุโขทัยจากหลักฐานและข้อค้นพบภายหลัง จนสามารถสร้างภาพให้แก่เมืองสุโขทัยได้อย่างถูกต้อง
เช่น ในจารึกบอกว่ามีลานเหมือนสนามหลวง อาจจะใช้สำหรับประกอบพิธีอยู่ระหว่างประตูเมืองกับศูนย์กลางของเมือง แต่ลานนี้เลิกใช้ไปหลังจากนั้น100 ปี และสร้างวัดคร่อมแทน กว่าท่านจะเสด็จไปที่กรุงสุโขทัยก็ไม่หลงเหลือร่องรอยอะไร
และยังมีอีกหลายเรื่องที่เราเพิ่งมาค้นพบภายหลังด้วยหลักฐานใหม่ ๆ หากรัชกาลที่ 4 ทรงทำหลักศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นมาจริง ก็น่าสงสัยว่า ท่านทราบเรื่องเหล่านี้มาก่อนได้อย่างไร อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ทักท้วงว่า ท่านศึกษามาก รู้มาก อาจจะรู้มาก่อนแล้วก็เป็นได้
Create Date : 07 ตุลาคม 2558 |
Last Update : 8 ตุลาคม 2558 15:47:08 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1776 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
ง่ะ เราเองก็กินได้น้อยลงค่ะ เมื่อก่อนกินได้มากกว่านี้เยอะมากๆ