Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
2 ตุลาคม 2558

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (4)





งานวิจัยนี้ถูกนำไปสู่การอภิปรายที่สยามสมาคมเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1
ในวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2532 ณ ห้องประชุมใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
สำนักงานใหญ่ ถ. สีลม กรุงเทพฯ มีพระดำรัสเปิดโดย
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ฯ ในฐานะประธานในที่ประชุม

อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติมจากบทความเดิมว่า

ศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ รัชกาลที่ 4 เป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น
มีการชี้เค้าเงื่อนไว้ในหนังสืออภินิหารการประจักษ์
ที่นิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ในปีพุทธศักราช 2411 เป็นหนังสือที่กล่าวถึงบุญบารมีของรัชกาลที่ 4

ที่ทรงพบแท่นศิลาที่ชาวเมืองนับถือว่าเป็นของขลังไม่มีใครเข้าไปใกล้
แต่พระองค์เสด็จขึ้นประทับบนแท่นศิลานั้น รับสั่งว่า
"อยู่ทำไมกลางป่า ไปอยู่บางกอกด้วยกันจะได้ฟังเทศน์จำศีล"
เมื่อพระองค์เสด็จกลับจึงโปรดเกล้าฯให้ชะลอมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดสมอราย

มีเรื่องเทพยดามาทูลว่า ต่อไปพระองค์จะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ
คล้ายกับพระยาลิไทที่เคยเป็นองค์รัชทายาท แต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ในทันที
ทั้งสองพระองค์จะได้มีโอกาสศึกษาพระไตรปิฏกอย่างลึกซึ่งเสียก่อน
ดังเนื้อหาในจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วงภาษาเขมรที่ถูกลงมาพร้อมพระแท่น

แต่ในหนังสือเล่มนี้กลับไม่มีการกล่าวถึง การนำจารึกหลักที่ 1 ลงมาด้วย
ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะหลงลืมที่จะกล่าวถึงเรื่องสำคัญเช่นนี้



สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเลือกแปล
โดยยกเอามาแต่เฉพาะบางเหตุการณ์ เริ่มที่มหาศักราช 1214 ศกปีมะโรง
พ่อขุนรามคำแหงให้ปลูกไม้ตาล 14 ปีเข้า จึงให้ช่างถากขดานหินกลางไม้ตาลนี้
และในวันอุโบสถก็โปรดให้พระเถระผู้ใหญ่สวดธรรมแก่เหล่าอุบาสก
หามิใช่วันอุโบสถพระองค์เองก็เสด็จขึ้นประทับออกว่าราชการ

ตรงกับพระราชดำริของเจ้าฟ้ามงกุฎเมื่อเสด็จสุโขทัยที่ตรัสกับแท่นศิลาว่า
"ให้ไปบางกอกด้วยกัน จะได้ฟังเทศน์ถือศีล" น่าจะสันนิษฐานได้อีกว่า
พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าหากเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติขึ้นเมื่อใด
ก็คงใช้แท่นศิลานี้เป็นบัลลังค์ แต่ก็มิได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์เท่านั้น

หนังสือแสดงวิธีการเปลี่ยนมหาศักราชมาเป็น พ.ศ. โดยการบวกด้วย 621
ซึ่ง อ. พิริยะนำได้ลองเปลี่ยนพุทธศักราชนั้นมาเป็นคริสต์ศักราชพบว่า

ม.ศ. 1214 ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงปลูกต้นตาลก็จะตรงกับปี พ.ศ.1835
แต่หากเปลี่ยนจาก พ.ศ. เป็น ค.ศ. ตรงๆ ปีนั้น คือสองปีก่อนที่เจ้าฟ้ามงกุฎ
จะเสด็จไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบวร
อีก 14 ปีต่อมาจึงโปรดเกล้าฯให้ช่างถากกระดานศิลา (พระแท่นมนังคศิลา)
ก็จะตรงกับปี ศ.ศ.1849 คือสองปีก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์

แต่เนื้อหาต่อไปเรื่องที่พ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุ กลับกล่าวว่า
เป็นปีศักราช 1209 ปีกุน แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ระบุว่าเป็นศักราช
1207 ปีกุน เป็นเจตนาที่จะแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างของเวลาสองปี



ดังนั้นถ้าเอาสองปีมาเพิ่มเข้าไป

ม.ศ. 1835 ปีที่พ่อขุนรามคำแหงปลูกต้นตาล +2
ตรงกับ ค.ศ 1837 ที่เจ้าฟ้ามงกุฎจะเสด็จไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบวร
ม.ศ. 1849 ปีที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดเกล้าฯให้ช่างถากกระดานศิลา +2
ตรงกับ ค.ศ. 1851 ที่เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์พอดี

ม.ศ. 1209 ที่พ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุออกไปให้คนทั้งหลายเห็น
แล้วเอาลงไปฝังไว้กลางเมืองศรีสัชนาลัย หากบวก 623 จะตรงกับ ค.ศ.
ที่เจ้าฟ้ามงกุฎโปรดเกล้าฯให้ขุดศิลานิมิตแล้วทรงให้ผูกนิมิตใหม่

ม.ศ 1205 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ลายสือไทยนั้น หากบวก 623
จะตรงกับปีที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระราชศรัทธาที่จะนำเอาพระวินัยมอญ
มาเป็นข้อปฏิบัติในธรรมยุตนิกาย และอาจจะทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรอริยกะ

สรุปได้ว่า ศิลาจารึกหลักนี้น่าจะจารขึ้นในช่วง พ.ศ. 2376 – 2398
หรือระหว่างปีที่พระองค์ทรงค้นพบจนถึงพระราชทานแก่เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าไม่สามารถนำศิลาจารึกหลักนี้
มาใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยสุโขทัยได้





 

Create Date : 02 ตุลาคม 2558
2 comments
Last Update : 5 ตุลาคม 2558 15:10:28 น.
Counter : 2104 Pageviews.

 

ยังไม่เคยอ่านบทความวิเคราะห์ของ อ. พิริยะ เลยครับ เป็นข่าวที่ถกเถียงกันเมื่อหลายปีก่อน ได้อ่านแบบสรุปในบล็อกนี้ก็ได้เห็นหลายมุมมองดี ^^
อีกเรื่องที่ถกเถียงหาข้อยุติกันยาวนานก็เห็นจะเป็นที่ตั้งของเจดีย์ยุทธหัตถีพระนเรศวรครับ

 

โดย: ชีริว 3 ตุลาคม 2558 8:11:24 น.  

 

สรุปเป็นอันแน่แท้ แน่นอน ... ใช้อ้างอิง ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้สิคะนี่

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 7 ตุลาคม 2558 17:39:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]