Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
5 ตุลาคม 2558

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (5)




อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้อรรถาธิบายว่า

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นนี้เป็นกุศโลบายที่พระองค์จะนำไปใช้
ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่มีมาแต่เดิมไปสู่โลกทัศน์ใหม่
ซึ่งรับกับอารยธรรมตะวันตก จารึกหลักที่ 1 จึงเป็นการสร้างภูมิหลัง
เพื่อเป็นหลักประกันแก่ความเปลี่ยนแปลงที่พระองค์ทรงกระทำ

เช่น การที่พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะ ที่อาจจะมีพระราชประสงค์
อันนำไปสู่การที่จะเปลี่ยนระบบวิธีเขียนภาษาไทยให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน
เพื่อสามารถที่จะใช้กับเครื่องพิมพ์ได้สะดวกยิ่งขึ้น

หรือการที่จะลดค่าระวางปากเรือจากวาละ 1700 ให้เหลือว่าละ 1000 บาท
เพื่อส่งเสริมการค้า ก็จะเป็นการขัดผลประโยชน์ของขุนนาง ที่แต่เดิมผูกขาด
แต่ในสมัยสุโขทัย ใครใคร่ค้าช้างค้า ใคใคร่ค้าม้าค้า

เจ้าเมืองบ่อเอาจังกอบในไพร่ ก็เป็นเรื่องของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
เป็นการชี้นำว่า การค้าเสรีนั้นมีมาแต่ในสมัยสุโขทัย

ในสมัยพระองค์ทรงโปรดให้ไพร่สามารถถวายฎีกาโดยมาตีกลองวินิจฉัยเภรี
ก็มีอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า ไพร่ฟ้าหน้าใสไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกา

พระองค์ต้องการที่จะปรับปรุงพระราชพิธีสำหรับบ้านเมือง
เช่นการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระองค์เองก็เสวยน้ำพิพัฒน์สัตยานั้นด้วย
ก็แสดงให้เห็นในข้อความว่า ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนถือบ้านถือเมือง

พระองค์ก็ยังทรงให้ความสำคัญแก่เทพารักษ์ผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมือง
เช่น การนับถือพระขพุงที่สุโขทัย และพระสยามเทวาธิราช
ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษากรุงสยามในลักษณะเดียวกัน

เมื่อพระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ราษฎรมาเฝ้าชมพระบารมี
ก็มีเรื่อง ที่ชาวเมืองสุโขทัยมาดูพ่อขุนรามคำแหงท่านเผ่าเทียนเล่นไฟ



ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
และได้เชิญ ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ผู้เชี่ยวด้านอักษรไทย
และ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรีในฐานะเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

ใจความสรุป คือ ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้เสนอว่า
กระบวนการวิจัยของ อ. พิริยะนั้นยังไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ
เช่น หากกล่าวว่าถ้อยคำบางคำในศิลาจารึกนั้นตรงกับเอกสารสมัยหลัง
แล้วจะเป็นของใหม่ ลิลิตยวนพ่ายก็สามารถกลายเป็นของใหม่ได้เช่นกัน

ในทางตรงข้าม หากจะสรุปว่า ถ้อยคำใดในศิลาจารึกหลักที่ 1
ที่ไม่ได้ถูกใช้ในปัจจุบัน จะสรุปว่าถ้อยคำนั้นไม่มีในสมัยสุโขทัยก็ไม่ได้
ดังนั้นตรรกะทั้งสองด้านนี้ย่อมสวนทางกันอยู่ในตัวของมันเอง

ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้นำเสนอหลักฐานทางเอกสารที่สำคัญ
ที่ยืนยันถึงการประดิษฐ์อักษรไทย คือหนังสือจินดามณีฉบับประเจ้าบรมโกศ
ปรากฏข้อความว่า พระร่วงทรงประดิษฐ์อักษรไทยในปี พ.ศ. 1826

ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกชัดว่าแม้ไม่มีศิลาจารึกหลักที่ 1 คนสมัยอยุธยาก็รับรู้ว่า
พระร่วงหรือหรือ พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย

การเอาพยัญชนะมาวางไว้บรรทัดเดียวกัน ไม่ได้เอาอย่างฝรั่ง
แต่เป็นการเขียนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย แม้ในสมัยพระยาลิไท
สระ อี ก็มีการใช้ในบรรทัดเดียวกัน เช่นเดียวกันกับจารึกวัดพระยืน เชียงใหม่

จารึกหลักที่ 1 ไม่ได้เล็กกว่าหลักอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน
เพราะแม้จะสูงเพียง 111 ซ.ม.และหลักที่ 4 พระยาลิไทจะสูง 200 ซ.ม.
แต่ศิลาจารึกหลักที่ 1 กว้างถึง 35 ซ.ม.ในขณะที่หลักที่ 4 กว้าง 30 ซ.ม.
แต่จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่พบในประเทศลาวก็มีขนาดเล็กกว่า

ขนาดจึงไม่ใช่ประเด็น



ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้โต้แย้งถึงข้อสังเกตที่ว่า ทำไมในศิลาจารึก
ถึงกล่าวถึงชื่อที่ไม่ควรปรากฏในสมัยสุโขทัย เช่น ตำแหน่งพระสังฆราช
ชื่อเมืองนครศรีธรรมราช การทรงช้างเผือก ชื่อของพ่อขุนรามคำแหง
ซึ่งทั้งหมดนี้ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี สามารถอธิบายได้ทั้งสิ้น

ทั้งสองฝ่ายได้เสนอความคิดของตน ไม่มีข้อสรุปจากการอภิปราย




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2558
2 comments
Last Update : 5 ตุลาคม 2558 14:48:00 น.
Counter : 1587 Pageviews.

 

โหวตความรู้ให้ค่ะ

อืมม์..ไม่สรุปก็ดีค่ะ รับฟังข้อมูลแล้วเอาไปวิเคราะห์กันต่ออีกที บางทีอาจจะไม่มีข้อสรุปก็ได้เนาะคะ

ใช่ค่ะวงใน ถ้ากินแล้วทำรีวิวทุกมื้อ มันก็มีคะแนนสำหรับแลกได้ไม่ยากเลยค่ะ อย่างบางคนเห็นเค้าสองแสนคะแนนแล้วเค้ายังไม่แลกอะไรเลยค่ะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 6 ตุลาคม 2558 9:06:57 น.  

 

อ้าว

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 7 ตุลาคม 2558 17:43:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]