Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2568
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
23 มกราคม 2568

งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (8)

 
จิตรกรรมฝาผนังที่วัดอรุณราชวราราม ตอนมโหสถชาดก
แสดงภาพเรือเอนกชาติภุชงค์ และเรือประภัสสรชัย

 
หลังเรือสุพรรณหงส์คือ เรืออเนกชาติภุชงค์
อเนกชาติภุชงค์ หมายถึง นาคหรืองูจำนวนมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำหน้าที่เป็นเรือสำหรับเปลื้องเครื่อง
โดยเรืออเนกชาตภุชงค์จะเข้าเทียบท่า ก่อนที่เรือพระที่นั่งจะเข้าเทียบต่อ
พระมหากษัตริย์จะทรงเปลื้องพระมหามงกุฎหรือพระชฎามหากฐิน
บนเรืออเนกชาติภุชงค์ ก่อนเสด็จพระดำเนินขึ้นบนฝั่ง

ในพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารคเพื่อทอดผ้าพระกฐิน พ.ศ. 2567
โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ โดยเสด็จเรือลำนี้
 
โดยธรรมเนียมนั้น การสร้างเรือพระราชพิธีมักจะสร้างเป็นคู่
โดยจะมีการตั้งชื่อเรือให้คล้องจอง และมีความหมายคล้ายกัน
ซึ่งเป็นความสามารถของคนที่มีเวลา และความเป็นศิลปินในยุคนั้น

เราลองมาดูกัน อนันต-อเนก (มาก)  นาคราช- ภุชงค์ (งู)
ชื่อเรือทั่งสองแปลความได้เหมือนกัน เพียงแต่ชื่อ อนันตนาคราช
เป็นชื่อเฉพาะที่หมายถึงนาค ที่เป็นที่ประทับของพระนารายณ์
ขณะทรงบรรทมในทะเลน้ำนม เรือทั้งสองลำสร้างในสมัยรัะชกาลที่ 4  
 
ดังปรากฏในพระราชกิจรายวันรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ต.ค. พ.ศ. 2426 ว่า

 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์นี้ โปรดให้ทำขึ้นด้วยเป็นเรือแต่แผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำค้างไว้ โปรดให้ต่อโขนใหม่
สลักลายนาคทั่วไปทั้งลำ พื้นกระจกขาวลายนาคนั้น เป็นทอง พื้นท้องทาสีชมภู


 เรือยาว 46 เมตร มีการซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2517 ใช้ฝีพาย 61 คน
นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน
คนถือฉัตร 7 คน และคนขานยาว 1 คน



เรือลำต่อไปคือเรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9
ทำหน้าที่เป็นเรือพระที่นั่งรอง


ก่อนอื่นเราต้องแยกก่อนว่า เรือรูปครุฑหรือเรือรูปนาค
อาจจัดเป็นเรือรูปสัตว์ ที่ข้าราชการบริพารนั่งตามเสด็จ
ดังปรากฏในภาพพยุหยาตราเพชรพวง
แต่เมื่อเป็นเรืออนันตนาคราช ก็มีความหมายเปลี่ยนไป
กลายเป็นเรือพระที่นั่ง เช่นเดียวกับเรือมงคลสุบรรณ

เรือครุฑปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ
ในชื่อเรือพระที่นั่งครุฑพาหนะ ในพระราชพิธีอาศวยุช พ.ศ. 2137
จากนั้นก็หายไป จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 1 ปรากฏชื่อเรือครุฑพ่าห์
ทำหน้าที่เป็นเรือพระที่นั่งทรง โดยมีเรือสุพรรณหงษเป็นเรือพระที่นั่งรอง

ในคติไทยให้ความสำคัญกับเทพฮินดูสององค์ หนึ่งคือพระนารายณ์
ที่มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์เป็นดังนารายณ์อวตาร
และสองคือพระพรหม ที่เป็นเทพที่ปรากฏในพุทธศาสนา
ดังนั้นทั้งเรือครุฑและเรือหงษ์ จึงทำหน้าที่ในการนี้
 
เรือครุฑมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3
เมื่อมีการต่อเรือพระที่นั่งประกอบครุฑ ชื่อมงคลสุบรรณ
ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างรูปพระนารายณ์ประดิษฐานไว้
เหนือโขนเรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณ พระราชทานนามใหม่ว่า
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ


 
โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 4 เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง 

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือลำนี้ก็ชำรุดเหมือนเรือลำอื่นๆ
เหลือเพียงโชนเรือ เนื่องในวาระที่จะมีพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
กองทัพเรือได้ร่วมกับกรมศิลปากรได้จัดสร้างเรือขึ้นมาใหม่
โดยใช้เรือสุพรรณหงส์เป็นต้นแบบ โดยปรับหัวเรือให้เข้ากับโขนเรือ
 
เริ่มจากวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำนวณน้ำหนักเรือ
หาจุดศูนย์ถ่วงของเรือ คำนวณการทรงตัวในสภาวะต่างๆ
นำแบบมาขยายให้เท่ากับของจริง ถ่ายแบบลงไม้อัดเพื่อตัดกงเรือ
กระดูกงูเรือทำด้วยไม้ตะเคียนทอง ยาว 5.5 เมตร จำนวน 7 ท่อน
 
โดยพระบาทสวมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จมาทรงประกอบ
พระราชพิธีวางกระดูงูเรือ ณ กรมอู่ทหารเรือเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2537
โขนเรือและโกลนท้ายเรือทำด้วยไม้สัก ประกอบเข้ากับกระดูกงูเรือ 
ยึดเข้าด้วยกันด้วยเหล็กไร้สนิม วางกระดูกงูเรือเข้ากับกงตามแนว
 
ยึดเข้าด้วยกันด้วยเหล็กไร้สนิม ไม้กระดานเรือเป็นไม้ตะเคียนทอง
ประกอบเข้ากับกงเรือ ใช้สลักเกลียวในการยึด อุดปากรูด้วยสลักไม้สัก
ไสและปรับตัวเรือภายนอกและภายใน วางกระทงเรือสำหรับฝีพาย
กลางเรือปูด้วยไม้สักสำหรับวางบัลลังก์กัญญา แกะลายประดับกระจกสี
 
แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นเรือพระที่นั่งในพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐิน
โดยกระบวนเรือ ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2539
เรือยาว 45 เมตร ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2คน นายท้าย 2 คน
คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนเห่เรือ 1 คน
 
 

เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชักที่ปรากฏชื่อ
มาแต่สมัยอยุธยา ทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่ง ในกรณีที่เกิดปัญหา
เช่นติดน้ำตื้น จึงเป็นเรือที่ต้องอาศัยฝีพายที่มีพละกำลัง
เรือทั้งสองลำในปัจจุบันเป็นเรือที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2508
 
เป็นเรือแบบเรือชัย ด้านข้างเรือวาดลวดลายเป็นตัวเหรา
ซึ่่งเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ลำตัวส่วนบนเป็นนาค ส่วนล่างเป็นมังกร
เรือแต่ละลำมีความยาว 27.50 เมตร กว้าง 1.97 เมตร 
น้ำหนัก 7.7 ตัน แต่ละลำมีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 38 คน
นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน



Create Date : 23 มกราคม 2568
Last Update : 28 มกราคม 2568 11:14:59 น. 3 comments
Counter : 344 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณกะริโตะคุง, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปัญญา Dh, คุณดอยสะเก็ด, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอุ้มสี


 
ไหนบอกมูฟออนแล้วไง



โดย: หอมกร วันที่: 23 มกราคม 2568 เวลา:17:16:48 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 26 มกราคม 2568 เวลา:0:44:11 น.  

 
เข้ามาย้อนชมค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:9:12:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]