 |
12 ตุลาคม 2558
|
|
|
|
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (จบ)

การที่อ้างว่าเนื้อความในจารึกหลักที่ 1 เหมือนกับเนื้อความในคัมภีร์ทางศาสนา เช่น คัมภีร์โลกบัญญัติ เป็นต้น เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด เพราะคัมภีร์ทางศาสนาที่อ้างนั้นล้วนก็มีอายุเก่ากว่าพ.ศ. 1800
การเปรียบเทียบเรื่องพ่อขุนรามคำแหงแขวนกระดิ่งกับเรื่องรัชกาลที่ 3 ตั้งกลองพระวินิจฉัยเภรี ในคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา ก็กล่าวว่า ครั้งแผ่นพญาเอฬารทมิฬ แขวนกระดิ่งให้ประชาชนมาสั่นร้องทุกข์เหมือนกัน
เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทางเพื่อนจูงวัวไปค้า ใครจักใคร่ช้างค้า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดการค้าเสรี เพราะผลของสัญญาเบาว์ริงค์ ถ้าจารึกหลักนี้ทำในสมัยที่พระองค์ทรงอยู่ในสมณเพศ เรายังผูกขาดทางค้า แล้วพระองค์ทรงทราบได้อย่างไรว่าอนาคตข้างหน้า ต้องมีการค้าเสรี
จารึกนครชุมของพระมหาธรรมราชาพญาลิไท ก็มีข้อความว่า ไพร่ฟ้าข้าไทย ขี่เรือไปค้าขี่ม้าไปขาย มาตราที่ 62 ของพระอัยการผัวเมียก็มีการกล่าวถึงการเดินทางไปค้าขาย ถึงเชียงใหม่ ไปเมืองจีน ดังนั้นแค่จูงวัวไปค้าจึงไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด
พระแท่นมนังคศิลาบาตรที่พบพร้อมกับศิลาจารึกมีลวดลายสลักที่ค่อนข้างใหม่ อ. รุ่งโรจน์ ในฐานะผู้เขียนกล่าวว่า ไม่มีเวลาศึกษา แต่สุโขทัยไม่ใด้หมดความสำคัญ หลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่เนินปราสาทก็ยังคงมีสืบต่อมา ดังนั้นพระแท่นมนังคศิลาบาตรองค์นี้ก็อาจจะไม่ใช่เป็นของพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ จารึกหลักที่ 1 ก็ไม่บอกว่าพระแท่นมนังคศิลาคือ แท่นไหน ใช่แท่นนี้หรือก็ไม่รู้

การที่กล่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แปลจารึกพระราชทานเบาว์ริงค์ เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า สยามประเทศมีอารยธรรมที่เก่าแก่ เพื่อไม่ให้ตะวันตกอ้างสิทธิการยึดครอง เรื่องนี้ขอถามย้อนกลับไปว่า ประเทศจีนมีอารยธรรมที่เก่าแก่มาก ตะวันตกก็ไม่เห็นกลัวเกรงอะไร
พระเจ้าเสียนฝงฮ่องเต้ยังต้องหนีกองทัพตะวันตก แบบไม่คิดชีวิต อินเดียเก่าแก่ถึงราชวงศ์โมริยะอังกฤษก็ยังยึดครองได้ แล้วจะภาษาอะไรกับจารึกที่บอกว่าสยามประเทศเก่าเพียง 700 ปีเท่านั้น แล้วทำไมพระองค์จึงไม่อ่านจารึกหลักให้หมด
และเมื่อพระองค์ทรงเล่าพระราชประวัติปฐมวงศ์ของราชวงศ์จักรี ว่ามีความสัมพันธ์กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วทำไมพระองค์จึงไม่ทรงทำจารึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือไม่พระองค์ไม่ทำจารึกของพระอุตตรเถระและพระโสณเถระ เพื่อให้รับกับข้อพระวินิจฉัยเรื่องพระเจ้าอโศกส่งสมณทูตมายังดินแดนสยาม
ถ้าทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ จะมีท่านใดตอบว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นหมดแล้ว และนำหลักฐานไปฝังไว้ เรื่องก็จนใจ ให้ท่านผู้อ่านตัดสินเองเถิด หรือว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นจอมปราชญ์
ถ้าอย่างนั้นก็ควรถวายรางวัลโนเบล ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาประวัติศาสตร์ จารึก ภาษาศาสตร์ แต่พระองค์จะทรงมีเวลาว่างพออย่างนั้นหรือ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาก็สุดแล้ววิจารณญาณของท่านผู้อ่านละกัน"

เมื่อได้อ่านทุกความเห็นจนถึงบรรทัดนี้ ทุกคนคงได้มีข้อยุติในใจว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้เป็นของจริงหรือไม่ ในมุมมองของผมคิดว่า ฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นของใหม่ ได้แต่ตั้งคำถาม โดยใช้พิรุธของภาษาเป็นเกณฑ์ ซึ่งไม่น่าจะใช่สิ่งที่เราควรทำ เพราะไม่อาจใช้บริบทปัจจุบันไปอธิบายได้
แม้ฝ่ายที่เชื่อว่าเป็นสมัยสุโขทัย ก็พยายามที่จะตอบให้ได้ทุกคำถาม เช่นเรื่อง คำว่ากำแพงตรีบูร อ. ประเสริฐก็อธิบายว่า ไม่ได้แปลว่า 3 ชั้น แต่เป็นคำเปรียบเปรย ถึงความแข็งแกร่งของกำแพงเมือง เพราะมีเอกสารที่กล่าวว่า อยุธยานี้ตรีบูร หรือเชียงใหม่ก็ใช้คำๆ นี้
แต่ฝ่ายที่ไม่เชื่อกลับไม่ยอมแก้ต่างกับอีกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญ คือเรื่องจารึกวัดบางสนุก จารึกที่ถ้ำในประเทศลาว หรือจารึกวัดป่าแดง ที่เป็นอักษรไทยรูปแบบเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ 1 ใครจะเป็นผู้เขียนขึ้น เพราะทุกหลักล้วนเป็นของสมัยหลัง ไม่เก่าไปกว่าศิลาจารึกหลักที่ 1
ถ้าจะสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 จะได้เป็นว่า ไทยพยายามที่จะปลดแอกจาการเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรพระนคร ด้วยการกบฏต่อขอมสบาดโขลญลำโพง หลังจากนั้น 2 รัชกาล พ่อขุนรามคำแหงต้องการที่จะรวมอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียว
ต้องมีการแสดงให้เห็นว่าเวลานี้ ไทยไม่ใช่ข้าของชนชาติขอมอีกต่อไป ด้วยการการประดิษฐ์อักษรเป็นของตนเอง โดยใช้พื้นฐานจากตัวขอมหวัด ที่เคยเป็นภาษาราชการภายใต้การปกครองของขอมมาปรับใช้ โดยการนำมาเรียงให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน เพื่อให้ความแตกต่าง

แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ สุโขทัยก็แตกออกเป็นเสี่ยงๆ จนกระทั่งพระยาลิไทสามารถรวบรวมแผ่นดินได้ใหม่อีกครั้ง มีการปรับปรุงโดยเพิ่มพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์บางตัวเข้าไป และมีการนำสระและวรรณยุกต์กลับมาไว้บนและล่างเหมือนอักษรขอม
เพราะการเรียงคำเป็นแถวเดียวกันนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับความเคยชิน ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 และหลักอื่นๆ
และนั่นได้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาษาไทยเป็นหนึ่งในภาษา ที่เขียนได้ยากที่สุดในโลก นอกจากนี้เรายังได้ละทิ้งอีกสิ่งสำคัญ นั่นก็คือการเขียนแล้วให้อ่านออกเสียงได้ในสมัยพ่อขุนรามทิ้งไป ทำให้ในปัจจุบันคำ 1 คำ นั้นต้องพิจารณาบริบทก่อนการออกเสียง
เช่นคำว่า ตากลม สามารถออกเสียงได้ทั้ง ตา-กลม และตาก-ลม ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงทรงคิดแก้ปัญหาไว้แล้วถึง 700 ปีก่อน นอกเหนือไปจากเราอาจประหยัดกระดาษและเขียนได้ง่ายกว่านี้ เพราะอักษรทุกตัวในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นมีความสูงเท่ากัน
หากต้องการที่จะเชื่อว่า จารึกหลักที่ 1 นั้นเป็นของจริงหรือของปลอม เราควรถกเถียงกันด้วยเหตุและผล เพราะมิฉะนั้นจะเป็นอย่างกรณี ที่ชาวสุโขทัยไปประท้วง อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ แต่อาจารย์กลับตอบนิ่มๆ ว่า
แล้วพวกคุณทุกคนที่มาประท้วงผม เคยอ่านศิลาจารึกหลักนี้แล้วหรือยัง
Create Date : 12 ตุลาคม 2558 |
Last Update : 12 ตุลาคม 2558 14:14:51 น. |
|
4 comments
|
Counter : 1717 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
แต่ก็อย่างที่ทิ้งท้ายนะคะ ว่าอ่านแล้วหรือยัง
และ การจารึกนี่ต้องอาศัยหลายอย่างจึงมิอาจเขียนและแต่งขึ้นในเร็ววัน
หลังจากผ่านมาหนึ่งปี หลังจากทัวร์ครั้งหลังนี้คิดว่า ภูพระน่าจะศิลปะทวาราวดีค่ะ
เรื่องภูพระค่ะ ... ตอนนั้นคุณปลาทองฯได้ไปเที่ยวมาแล้ว
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=16-03-2014&group=4&gblog=113