 |
21 ธันวาคม 2558
|
|
|
|
วัฒนธรรมสัญจร : ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม (1)

เรายังคงอยู่กันที่เรื่องราวแห่งสถาปัตยกรรมไทยสมัย ร . 1 เพียงแต่ที่พาวนรอบพระอุโบสถวัดพระเชตุพนนั้น เพราะว่าอยากจะให้ไปอ่านหนังสือกันเอง มากกว่า ว่านักประวัติศาสตร์ตีความอย่างไรกับวัดประจำรัชกาลแห่งนี้
หากจะกล่าวถึงจิตกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ยังหลงเหลือยู่ ไม่น่าจะมีที่ใดที่ไม่เคยถูกซ่อมแซม ยกเว้นแค่ หอไตรวัดระฆัง ผมเองก็ไปด้อมๆ ดูเองมาหนสองหน แต่บอกได้เลยว่า ยากมากที่จะเก็บเรื่องราวทั้งหมดของเรือนไม้ขนาดไม่ใหญ่หลังนี้ เพราะจิตรกรรมไทย ถ้าไม่มีคนนำชมก็ยากที่จะค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ได้ อย่างที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้า เรื่องสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงเน้นคติเรื่องพระอินทร์เป็นสำคัญ ที่นี่เองเราจะได้เห็น โลกทัศน์ของคนเมื่อ 200 ปีก่อนที่มีความเชื่อต่อพุทธศาสนา
และถ่ายทอดมันลงมาสู่ศิลปะแห่งภาพจิตรกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดบริการทางวิชาการเรื่อง ศิลปกรรมในวัดระฆังโฆสิตาราม ในวันที่ 28-29 มี.ค. 2558 โดยในวันแรกเป็นการบรรยายที่ห้องประชุมปิ่นน้อย และวันที่สองเป็นการนำชมในสถานที่จริง
การบรรยายในช่วงเช้า เริ่มต้นด้วย อ. กำพล อำปาพันธ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนพระนครศรีอยุธยา เรื่อง วัดระฆังและชุมชนเมืองท่าบางกอกสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์
กล่าวถึงความสำคัญของการเป็นเมืองท่าบางกอกที่มีมาแต่ครั้งอยุธยา ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน เราต้องจินตนาการถึง ช่วงเวลาหลังยุคทวารวดี เมื่อน้ำทะเลในอ่าวไทยลดระดับลง ดินตะกอนปากแม่น้ำต่างๆ ได้ทับถมจนเกิดเป็นภาคกลางตอนล่าง
อยุธยาได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับหลักฐานชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย ร่วมสมัยกับสมัยอยุธยาตอนต้น กระจัดกระจายในหลายวัดย่านตลิ่งชัน แสดงว่าแถบเมืองธนบุรีนั้นต้องเกิดเป็นย่านชุมชนขึ้นมาแล้ว
แต่คำว่าตลิ่งชัน หมายถึงโค้งตลิ่งของฝั่งแม่น้ำที่อยู่สูง นั่นหมายถึงฝั่งธนบุรีอีกฝั่งย่อมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า และเราไม่พบวัดวาอารามในฝั่งนี้ ที่เก่าแก่เหมือนกับย่านตลิ่งชัน เป็นไปได้มากว่า ความเจริญนั้นตั้งอยู่เพียงฝั่งเดียว เพราะไม่ถูกกัดเซาะ

จากเดิมความเจริญเดิมในย่านตลิ่งชัน ได้ถูกย้ายออกมายังปากอ่าว อย่างน้อยหลักฐานคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่สร้างในสมัยพระนารายณ์ แสดงว่าย่านธนบุรีฝั่งที่ตรงข้ามกับป้อมบางกอกต้องมีคนอยู่อาศัยหนาแน่น เพราะมีการตั้งด่านขนอนเพื่อเรียกเก็บภาษี แสดงว่าต้องเป็นที่ชุมชน
สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งยืนยันก็คือวัดโบราณที่มีมาแต่ในสมัยอยุธยาในแถบนั้น เช่น วัดมะกอกนอก วัดหงส์ วัดชัยพฤกษ์ วัดบางหว้าใหญ่ เป็นต้น กล่าวได้ว่า วัดในฝั่งธนบุรีและกรุงเทพกว่า 80% ล้วนเป็นวัดที่มีอยู่เดิม เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร คงกำเนิดเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 พระเจ้าตากได้ละทิ้งเมืองขนาดใหญ่อย่างอยุธยา มาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี และสร้างเป็นศูนย์กลางการปกครองอาณาจักร ในสมัยนี้จึงเป็นยุคที่ธนบุรีเฟื่องฟูถึงขีดสุด มีพระบรมมหาราชวัง มีการตั้งชุมชนเป็นย่านต่างๆ และการบูรณะวัดต่างๆ ที่เสื่อมโทรมขึ้นมา
กรุงธนบุรีนั้นเป็นเมืองอกแตก เพราะพระเจ้าตากได้สั่งให้ขุดคลองรอบกรุง ที่เราคุ้นในชื่อคลองหลอด แต่ชื่อทางราชการกำหนดคือ คลองคูเมืองเดิม น่าจะมีการตั้งถิ่นฐานของคนไทยและคนมอญในฝั่งธนบุรี แต่ชาวต่างชาติอย่างคนจีน เขมร หรือญวนนั้นให้ไปอยู่ฝั่งบางกอก
พ.ศ. 2325 มีการปราบดาภิเษกของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระองค์โปรดให้ย้ายเมืองมาฝั่งบางกอก การนี้จึงจำเป็นต้องมีการไล่ที่ เราจึงทราบว่า พระบรมมหาราชวังและสนามหลวงเดิมในสมัยธนบุรีนั้น คือทุ่งนาของชาวจีน ที่ถูกสั่งให้ไปตั้งถิ่นฐานที่สำเพ็งในเวลาต่อมา

ส่วนที่มาของชื่อวัดระฆังนั้น มีคำอธิบายเป็น 2 แนวทาง คือ 1 ตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพากร ทีมีการระบุว่า วัดบางหว้าใหญ่ทรงปฏิสังขรณ์แล้ว พระราชทานนามเปลี่ยนว่า วัดระฆัง ให้เหมือนกับวัดระฆังครั้งกรุงเก่า ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้พระราชวังข้างตะวันตก
2 ตามหนังสือทำเนียบประวัติทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2525 ว่า วัดระฆังเดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงยกวัดบางหว้าใหญ่จากวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง โปรดให้อัญเชิญพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราช
มาเพื่อให้พระสังฆราชสีและเถรานุเถระสังคายนาจนเสร็จสมบูรณ์ ครั้งถึงรัชกาลที่ 1 โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์สีที่ถูกถอดสมณศักดิ์ มาอยู่วัดบางหว้าใหญ่ดังเดิม และให้คืนสมณศักดิ์เป็นสังฆราชตามเดิม มีการขุดพบระฆังเสียงดี รัชกาลที่ 1 ทรงขอไป คนจึงให้ชื่อว่า วัดระฆัง คำถามสำคัญคือ อะไรน่าเชื่อถือกว่าถึงที่มาแห่งนามเรียกขาน

ความเชื่อที่ 2 นั้นดูจะเป็นการบันทึกจากการเล่าต่อๆ กันแบบปากต่อปาก ต่างจากหลักฐานแบบที่ 1 ซึ่งเป็นทางการกว่า ซึ่งกลับไม่ปรากฏว่า มีการกล่าวถึงการค้นพบระฆังที่มีความสำคัญขนาดที่พระมหากษัตริย์ทรงขอ และที่วัดพระแก้วเองนั้นก็ไม่ต้องมีหอระฆัง เพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ส่วนหอระฆังที่วัดพระแก้วนั้นถูกบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนตัวผมเคยไปยืนดู ก็เห็นว่าเป็นระฆังทรงหนาตัน ไม่มีทางจะเป็นระฆังเสียงดีที่ต้องมีความโปร่งบางจนให้เสียงกังวานได้ แต่บางคนก็ว่าเป็นคนละใบ ไม่ใช่ใบที่อยู่บนหอระฆัง ก็ว่ากันไป
ปัจจุบันวัดระฆังมีหอระฆัง 5 ใบ ที่เป็นไปได้ว่า รัชกาลที่ 1 ทรงโปรด ให้สร้างเยอะกว่าที่อื่น เพราะต้องการให้เป็นไปตามชื่อของวัดนั่นเอง หรือหากเชื่อลึกไปกว่านั้น พระองค์เลือกจะเปลี่ยนชื่อวัดบางหว้าใหญ่ มาเป็นชื่อวัดที่ไม่สำคัญอย่างเช่น ชื่อของวัดระฆังในสมัยอยุธยา
ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือพระองค์ต้องการ ให้พระนามของพระองค์นั้นโด่งดังเหมือนกับเสียงของระฆังนั่นเอง จากนั้นก็มี อ. รุ่งโรจน์ ธรรมมรุ่งเรือง มาคุยเรื่องจิตรกรรมในหอไตร อภิรมย์นุกูล มาคุยเรื่องเจดีย์ประธาน ที่คิดว่าเป็นมหาธาตุกลางเมือง และคุณยุทธนา แสงอร่าม มาคุยเรื่องจิตกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
Create Date : 21 ธันวาคม 2558 |
Last Update : 21 ธันวาคม 2558 15:39:47 น. |
|
3 comments
|
Counter : 978 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|
เรื่องคลุม เราเห็นหลายคนคลุมนะคะ แต่คนที่เห็นกันที่ร้านอาหารต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นชาติอื่นกันน่ะค่ะ ไม่ใช่คนดูไบ แต่ก็ไม่ชัวร์ว่าคนดูไบคลุมกันทุกคนมั้ยนะคะ