 |
25 มกราคม 2555
|
|
|
|
เหตุการณ์ รศ. 112 (7)

เรือสลุปแองคองสตังค์ระวางขับน้ำ 825 ตัน ปืนใหญ่ขนาด 14 ซม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 10 ซม. 1 กระบอก ปืนกล 37 มม. 5กระบอก
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีโทรเลขถึงพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสความว่าราชทูตฝรั่งเศสได้มาหาเย็นวานนี้ และมีหนังสือมาถึงหลายฉบับความว่าอังกฤษได้ให้เรือรบเข้ามาป้องกันคนในบังคับอังกฤษ เหตุนี้ประเทศฝรั่งเศสก็จะทำตามบ้างจะให้เรือรบเข้ามาอีกสองลำในวันที่ 15 กรกฎาคม
ฝ่ายเราอนุญาตไม่ได้ด้วยเรือรบอังกฤษจอดอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยาเพียงลำเดียว และต้องบอกว่าการยอมให้เรือรบเข้ามาในกรุงเทพได้ทำให้เสียความเป็นเอกราชของไทย ฝ่ายเรามีอำนาจอันชอบธรรมที่จะไม่ยอมให้เรือรบเข้ามาในลำน้ำเพื่อจะแสดงความขู่เข็ญ ให้อัครราชทูตไทยนำความไปแจ้งแก่เสนาบดีต่างประเทศฝรั่งเศส และพูดจาว่ากล่าวให้ได้การดีที่สุดแล้วโทรเลขตรงมาให้ทราบ
12 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เสนาบดีว่าการต่างประเทศของไทยมีหนังสือถึง ม.ปาวีความว่า จากการสนทนากันวันนี้ถึงแม้ว่าทาง ม.ปาวีคงจะยืนยันที่จะให้เรือแองดองสตังค์ และเรือโคเมตเข้ามาจอดอยู่เพียงปากน้ำก็ดีถือว่าเป็นหน้าที่จะต้องคัดค้านไม่ยอมเลยเป็นอันขาด จึงได้มีคำสั่งต่อกรมทหารบก กรมทหารเรือให้จัดการตามนี้โดยกวดขัน
เวลาเช้าพรุ่งนี้กรมทหารเรือจะให้เรือกลไฟลำหนึ่งมาที่สถานฑูตฝรั่งเศส สำหรับใช้มาที่เรือแองคองสตังค์และเพื่อจะได้ส่งข่าวไปตามที่จะดำริเห็นควร
กองเรือฝรั่งเศสได้มาถึงปากน้ำเจ้าพระยา มีเพียงเวลาตอนเย็นเดียวเท่านั้น ที่ระดับน้ำสูงพอที่จะให้เรือแองคองสตังค์ ซึ่งกินน้ำลึก 4.2 เมตร ผ่านสันดอนเข้าไปได้ เรือโคแมตเข้าเทียบรับถ่านหิน 20 ตัน เสร็จการขนถ่านแล้วผู้บังคับการเรือทั้งสองลำ ได้ร่วมกันอ่านโอวาทของผู้บัญชาการกองเรือภาคตะวันออกไกลใจความว่า
รัฐบาลฝรั่งเศสประสงค์จะบีบบังคับประเทศไทย ในเหตุการณ์ทางชายแดนที่เกิดขึ้น กองเรือจะต้องเดินทางไปจอดที่สมุทรปราการในวันพรุ่งนี้ตอนเย็น โดยอาศัยสิทธิ ตามสนธิสัญญาที่ได้ทำความตกลงกับ ม.ปาวี กองเรือจะเดินทางเข้ากรุงเทพ ในเย็นวันที่ 14 กรกฎาคมพ.ศ.2436 จะได้ชักธงราวแต่งเรือในวันชาติ
การปรากฏตัวของเรือทั้งสามลำคงจะทำให้พระเจ้าแผ่นดินไทยต้องทรงตรึกตรองด้วยดี ในเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยตัวร้อยเอกโทเรอซ์ การจ่ายเงินค่าทำขวัญ และการทำอนุสัญญาเพื่อกำหนดเขตแดนของลาว ญวน และเขมร
หากเรือแองคองสตังค์เกยตื้นเข้าไปไม่ได้ เรือโดแมตก็จะเดินทางต่อไปเพียงลำเดียว ถ้าฝ่ายไทยใช้ปืนป้อมยิงมายังก็ทำการยิงตอบโต้

เรือปืนโคแมตระวางขับน้ำ 495 ตัน ปืนใหญ่ 14 ซม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ 10ซม. 2 กระบอก ปืนกล 37 มม. 2กระบอก
13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 เรือรบอังกฤษจากสิงคโปร์มาจอดทอดสมอนอกสันดอนอีก 2 ลำ นอกจากเรือสวิฟท์ที่จอดทอดสมออยู่หน้าสถานทูตที่บางรักจำนวน 1 ลำตามสนธิสัญญาแล้ว
อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสโทรเลขถึงเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศความว่า ได้แจ้งต่อเสนาบดีฝรั่งเศสผู้ว่าการต่างประเทศแล้ว ฝรั่งเศสบอกว่าไม่ได้มุ่งหมาย จะให้เรือรบเข้าไปในกรุงเทพเพื่อขู่ไทยเลยแต่มีความประสงค์อย่างเดียวกันกับ รัฐบาลอังกฤษเท่านั้น และจะมีโทรเลขมาถอนคำสั่งเดิมเรื่องเรือรบนี้เสีย
ฝ่ายไทยเตรียมการรับเสด็จอาร์ชดยุคออสเตรียซึ่งกำหนดว่าจะมาถึงปากน้ำเจ้าพระยา จึงได้จัดส่งเรือมกุฏราชกุมาร เรือนฤเบนทร์บุตรีและเรือหาญหักศัตรูออกไปรับที่ปากน้ำนอกสันดอน
ยามบ่ายพระยาชลยุทธโยธินที่ออกไปพร้อมกับเรือเรือมกุฎราชกุมารได้ข่าวว่าเรือพระที่นั่ง ของอังกฤษและเยอรมันที่เป็นเรือที่ประทับของอาร์ชดยุคออสเตรียยังเดินทางมาไม่ถึง จึงสั่งให้เรือที่ไปเฝ้ารับเสด็จกลับเข้ามาประจำที่ พระยาชลยุทธโยธินขึ้นฝั่งมาประจำที่ป้อม
โดยมีเรือนฤเบนทร์บุตรีและเรือทูลกระหม่อมจอดอยู่ถัดไปทางฝั่งเดียวกันตรงแหลมฟ้าผ่า ทางฝั่งตะวันออกของช่องเดินเรือมีเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์กับเรือหาญหักศัตรูจอดอยู่ รวมเรือรบฝ่ายไทยที่คอยต้านทานอยู่ในแนวป้องกัน รวม 5 ลำด้วยกัน
นอกแนวป้องกันออกไปมีสนามทุ่นระเบิดบังคับการยิงจากเรือยิงทุ่นระเบิด ซึ่งจอดอยู่ทางฝั่งตะวันตกใกล้เรือทุ่นไฟที่แหลมลำพูราย มีสถานีโทรเลขสำหรับรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ เข้าไปยังกรุงเทพ
16.00 น. หมู่เรือฝรั่งเศสมองเห็นแนวชายฝั่งประเทศไทย 17.00 น. หมู่เรือฝรั่งเศสมาถึงสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาและหยุดเรือโดยไม่ทอดสมอ อยู่ใกล้ ๆ กับเรือนำร่องกับเรืออรรคราชวรเดชซึ่งมีกัปตันวิล สัญชาติเยอรมันประจำอยู่ กัปตันวิลได้ขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์ห้ามปรามมิให้เรือรบฝรั่งเศสเดินทางเข้าไป
เรือกลไฟไทยเข้าเทียบเรือแองคองสตังต์ โดยมีนายทหารประจำเรือลูแตง เอาถุงไปรษณีย์มาให้ด้วย เจ้าพนักงานผู้นั้นมาห้ามมิให้นำเรือเข้าไปและไม่ยอมบอกอัตราน้ำที่สันดอน ผู้บังคับการเรือพาลลาสได้ส่งนายเรือเอก เอดเวิดส์ นายทหารฝ่ายพลาธิการขึ้นไปบนเรือแองคองสตังต์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าราชทูตฝรั่งเศสให้มีคำสั่งมาให้เรือรบฝรั่งเศสจอดทอดสมออยู่นอกสันดอนก่อน
แต่ผู้บังคับการเรือแองคองสตังต์ไม่ฟังการห้ามปราม ทุกคนที่ขึ้นไปบนเรือจึงล่ากลับ ม.วิเกล กัปตันเรือบัปติสต์เซย์ เรือสินค้าของบริษัทเมสซาเยอรี พลูวิอัลส์ ซึ่งเป็นเรือเดินประจำระหว่างไซ่ง่อนกับกรุงเทพจึงมีความชำนาญในการนำเรือ ในร่องน้ำปากอ่าวเจ้าพระยาได้ขึ้นมาที่เรือแองคองสตังต์เพื่อเป็นเจ้าหน้าที่นำร่อง
Create Date : 25 มกราคม 2555 |
Last Update : 25 มกราคม 2555 15:22:29 น. |
|
4 comments
|
Counter : 2741 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: NATSKI13 วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:9:08:48 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|