Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
11 มกราคม 2555

เหตุการณ์ รศ. 112 (1)



อนุเสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์สูง 8 เมตร ที่เมืองเวียงจันทร์


จากการแสดง แสง สี เสียงและสื่อผสม " วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
84 พรรษามหาราชา" ได้ดำเนินต่อไปจนถึงรัชกาลที่สาม ซึ่งได้กล่าวถึงสั้นๆ
ถึงความรุ่งเรืองด้วยการค้าสำเภา กับประเทศจีน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ต้องกล่าวว่าเงินท้องพระคลังมหาศาลนั้นได้มาจากการเปิดเสรีทางการค้า

นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา หัวใจระบบเศรษฐกิจนั้นคือการเกณฑ์แรงงาน
เพื่อตอบแทนแก่รัฐและเจ้านาย แต่ในสมัยรัชกาลที่สามนั้น ไพร่สามารถที่จะจ่าย
แรงงานเป็นเงินได้ ทำให้มีเวลาที่จะไปทำมาหากินสามารถเพิ่มผลผลิตเข้าสู่ตลาด
นอกจากนี้ยังเกิดการปลูกอ้อยทำน้ำตาลทรายเพื่อการส่งออกอย่างขนานใหญ่

นอกจากนี้ระบบเจ้านายอากรที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาก็มาเฟื่องฟูสุดๆ
นำรายได้ส่งมายังท้องพระคลังมหาศาล สิ่งสุดท้ายก็คือการค้าเสรีของตลาดการค้า
นานาชาติ กรุงเทพกลายเป็นแหล่งรวมสินค้าที่พ่อค้าต่างมุ่งหน้ามาเพื่อค้าขาย
ขณะนั้นเงินตราต่างประเทศที่เป็นสื่อกลางก็คือเงินเหรียญเม็กซิโกของสเปน

ที่เป็นเจ้าแห่งอาณานิคมในสมัยนั้นนั่นเอง ค่าเงินของไทยแข็งตัวเป็นอย่างยิ่ง
โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน 3 เหริยญเงินสเปนเท่ากับ 5 บาทของไทย
ในอดีตเงินรายได้ส่วนใหญ่ก็คือเงินของพระมหากษัตริย์
ที่จะโปรดให้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศนั่นเอง

เมื่อรัชกาลที่ 3 ใกล้จะเสด็จสวรรคต ในตอนนั้นเงินจำนวนนี้มีอยู่ 40,000 ชั่ง
หรือราว 3,200,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกส่งต่อไปยังพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อไป
โดยพระองค์ได้ทรงขอไว้ 10,000 ชั่ง เพื่อการสร้างวัดต่างๆ ที่ยังค้างคาให้สำเร็จต่อไป

เมื่อลุเข้าสู่ยุคสมัยของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อังกฤษเข้ามาเป็นเจ้าอาณานิคมในแถบเอเชียและกีดกันสเปนออกไปจากพื้นที่
และบีบบังคับให้สยามเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินปอนด์ให้ลดลง
ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มย่ำแย่ลง แต่เงินก้อนนั้นก็ยังถูกเก็บรักษาไว้

เหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงเวลาที่เลือกนำมาแสดงคือ วิกฤติการณ์ รศ. 112
แต่นั่นเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
หากเราจะเข้าใจเหตุการณ์นี้เราคงต้องย้อนเวลากลับไปถึงในสมัยธนบุรี

พ.ศ.2314 เกิดการกบฎประชาชนในดินแดนของก๊กเหวงียน
นำโดยสามพี่น้องตระกูลเหงวียนชาวหมู่บ้านไตเซิน โดยมีจุดมุ่งหมาย
ในการรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ฟื้นฟูอำนาจของจักรพรรดิ์เล
ยุติการคอรัปชั่น และจัดปฏิรูปที่ดินให้เป็นธรรม

พ.ศ. 2325 องเชียงลือต้องหนีกบฏไตเซินมาหลบภัยอยู่ที่เกาะช้าง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบ จึงได้ให้ เข้ามายังกรุงเทพได้
พ.ศ. 2326 รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้ กรมพระหริรักษ์นำทัพทหาร 5,000 นาย เรือ 300 ลำ
ช่วยตีพวกไตเซิน แต่ทัพเรือของไตเซินทำลายทัพเรือสยามในศึกที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
องเชียงสือต้องกลับมายังสยาม พวกไตเซินจึงมุ่งความสนใจไปที่พวกจิ่งทางเหนือ

พ.ศ. 2327 องเชียงสือส่งคนไปขอความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในการต่อสู้กับกบฏ
โดยเสนอต่อราชสำนักฝรั่งเศสว่าหากองเชียงสือปกครองเวียดนามแล้วจะอนุญาต
ให้ฝรั่งเศสไปตั้งป้อมปราการและเมืองท่าตามแนวชายฝั่งเวียดนามเป็นการตอบแทน



พระเจ้ามิงหม่างจักรพรรดิองค์ที่สองของเวียดนาม


พ.ศ. 2330 เกิดความแตกแยกในหมู่พี่น้องไตเซิน ขณะเดียวกันฝรั่งเศสเซ็นสนธิสัญญา
กับองเชียงสือรับปากว่าจะส่งเรือตรวจการณ์ 4 ลำ ทหารฝรั่งเศส 1650 คน ทหารอินเดีย
อีก 250 คน แลกกับเกาะโกนเซินและเมืองดานัง รวมทั้งสิทธิ์ในการผูกขาดการค้า
แต่ Thomas Conway เจ้าเมือง Pondichery ของฝรั่งเศสในอินเดียไม่อยากจะช่วย

ตัวแทนขององเชียงสือจึงต้องใช้เงินทุนที่ได้จากปารีสในการจ้างทหารรับจ้างแทน
องเชียงสือลอบหนีจากรุงเทพกลับไปเวียดนาม รัชกาลที่ 1 ทรงทราบเรื่องแต่ไม่เอาโทษ
ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศส
เพื่อช่วยเหลือองเชียงสือจนเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้

จนสามารถยึดไซ่ง่อนมาเป็นฐานกำลังได้ องเชียงสือส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวาย
รัชกาลที่ 1 จึงทรงพระราชทานเรือ อาวุธ และส่งทัพเขมรไปช่วยรบกับกลุ่มกบฏไตเซิน

พ.ศ. 2345 องเชียงสือสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ์ญาลองมีศูนย์กลางการปกครอง
ที่เมืองเว้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงส่งสารไปแสดงความยินดี
เวียดนามก็ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมายังราชสำนักสยาม
แต่ฝรั่งเศสกลับไม่ได้รับผลตอบแทนจากสัญญาที่ตัวแทนขององเชียงสีอได้ไปทำไว้

พ.ศ. 2352 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเวียตนามดำเนินไปด้วยดีตลอดรัชกาล

พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์
ตรงกับสมัยพระเจ้ามิงหม่างจักรพรรดิองค์ที่สองของเวียดนามที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น
และเริ่มแทรกแซงอิทธิพลในลาวและเขมรซึ่งในตอนนั้นเป็นประเทศราชของไทย

พ.ศ. 2368 เจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จลงมาถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเห็นว่ากองทัพไทยอ่อนแอ
เนื่องจากแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าที่มีฝีมือได้สิ้นชีวิตไปหลายคนแล้ว
ต่อมามีข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ว่าไทยกับอังกฤษวิวาทกันจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี

พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพลงมากรุงเทพฯ โดยวางอุบายหลอกเจ้าเมือง
ตามรายทางว่าจะยกทัพลงไปช่วยกรุงเทพรบกับอังกฤษ
ทำให้กองทัพสามารถเดินทัพผ่านมาโดยสะดวกจนมาถึงนครราชสีมา
ได้ฉวยโอกาสที่เจ้าเมืองและปลัดเมืองไปราชการที่เมืองขุขันธ์เข้ายึดเมือง
และกวาดต้อนครอบครัวขึ้นไปเวียงจันทน์

เมื่อทัพหน้ายกไปถึงเมืองสระบุรี ทราบว่ากรุงเทพได้เตรียมทัพ
เจ้าอนุวงศ์จึงให้กองทัพถอยกลับเพื่อรักษาตามด่านรายทาง
รัชกาลที่ 3โปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบและยึดเวียงจันทน์ได้ เจ้าอนุวงศ์หนีไปเวียดนาม

พ.ศ. 2370 โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีกลับไปตีเมืองเวียงจันทน์
เพื่อทำลายเมืองให้สิ้นซาก พระยาพิชัยสงครามคุมทหาร 300 นาย
ข้ามแม่น้ำโขงไปดูลาดเลาได้ความว่าจักรพรรดิเวียดนามให้ข้าหลวง
พาเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงศ์กลับมาขอสวามิภักดิ์ฝ่ายไทยอีกครั้ง




 

Create Date : 11 มกราคม 2555
2 comments
Last Update : 19 มกราคม 2555 16:39:56 น.
Counter : 2968 Pageviews.

 

เมนท์ที่หลังไมค์นะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 14 มกราคม 2555 13:20:19 น.  

 

ตั้งแต่ปีที่แล้ว...

พลาดหมวดนี้อีกแล้่วค่ะ


 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 22 กุมภาพันธ์ 2556 16:40:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]