พ.ศ. 2504 มีการใช้ระเบิดทำลายปราสาทพนมรุ้งเพื่อขโมยศิลปะวัตถุออกไป พ.ศ. 2516 ศ. มจ. ศุภัทรดิศ ดิศกุล ได้แจ้งไปที่กรมศิลปากรว่า พบทับหลังที่หายไปจัดแสดงอยู่ที่ The art institute of Chicago โดยมีข้อความระบุว่า นาย Alsdorf เศรษฐีชาวอเมริกันเป็นผู้ให้ยืมมาจัดแสดง
ต่อมาสำนักข่าว AP ได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ของ The art institute of Chicago ใจความสำคัญคือ ยินดีที่จะคืนทับหลังชิ้นนี้ให้ โดยขอแลกเปลี่ยนกับโบราณวัตถุชิ้นอื่น กลางปี พ.ศ. 2531 คนไทยในเมือง Chicago ได้ออกมาประท้วง และรวมตัวตั้งเป็นคณะกรรมการรณรงค์กรณีทับหลังฯ เพื่อติดต่อทางสภาเมืองชิคาโก
พ.ศ. 2507 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทกู่สวนแตง ถูกขโมยไป ต่อมา ศ. มจ. ศุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เห็นภาพทับหลังกู่สวนแตงในหนังสือ ที่พิมพ์โดย Asia Foundation ระบุว่า ทับหลังนี้จัดแสดงที่ De yong museum เมือง San Francisco โดยระบุว่าเศรษฐีชาวอังกฤษชื่อ นาย Avery Brundage บริจาคให้
แต่ความสำเร็จในวันนี้มิได้มาโดยง่ายนี้ มันเกิดจากความร่วมมือกันของภาคเอกชนทั้งฝั่งประเทศอเมริกาและประเทศไทย ที่ช่วยกันตามหาหลักฐานที่มาของทับหลังทั้งสองชิ้นที่ Asian art museum
ทับหลังปราสาทเขาโล้น ขณะจัดแสดงที่ Asian art museum, San Francisco www.theartnewspaper.com/news/lintels-at-asian-art-museum-to-return-to-thailand
นักข่าวอเมริกาชื่อ Jason felch เป็นผู้ที่ขุดคุ้ยเรื่องการได้มาของศิลปวัตถุตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จนนำไปสู่การคืนเทพี Aphrodite ไปสู่ประเทศเจ้าของจนสำเร็จและได้แต่งหนังสือเรื่อง Chasing Aphrodite :The Hunt for Looted Antiquities at the World’s Richest Museum
หลังจากได้รับหลักฐานจากประเทศไทย และจากการสืบสวนโดย Homeland Security โดยความช่วยเหลือประสานงานของ Jason Felch ในที่สุด Asian Art museum จึงเลือกที่จะแจ้งว่า ยินดีที่จะส่งทับหลังปราสาทหนองหงส์และปราสาทเขาโล้นคืน ให้กับรัฐบาลไทยผ่านกงสุลใหญ่ ณ เมือง Los Angelis เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2564