|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
30 กันยายน 2558
|
|
|
|
จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (3)

พ.ศ. 2530 Michael Vickery เป็นคนแรกที่เสนอข้อสงสัยอย่างเป็นทางการ ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ในหัวข้อเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนราม เป็นของเก่าหรือสร้างใหม่ในภายหลัง ที่เขามั่นใจมากว่าศิลาจารึกนี้ถูกสลักขึ้นภายหลังพ่อขุนรามคำแหงนานมาก
โดยเปรียบเทียบตัวอักษร คำศัพท์ เนื้อหา ฯลฯ กับศิลาจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ
1. ภาษาในศิลาจารึกมีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับภาษาปัจจุบันมากกว่าหลักอื่น ซึ่งหมายความว่า จารึกหลักนี้ใกล้เคียงภาษากลางมากกว่าหลักอื่น 2. จารึกหลักที่ 1 มีคำไทยแท้มากเกินไปจนผิดสังเกต ผิดจากจารึกร่วมสมัยที่มีอิทธิพลมาจากภาษาขอม
3. ศิลาจารึก เรียก กำแพงสุโขทัยว่า ตรีบูร ซึ่งหมายถึง กำแพงสามชั้น ทั้งที่ในยุคพ่อขุนรามคำแหงมีกำแพงเพียงชั้นเดียว กำแพงชั้นนอกที่ก่ออิฐสร้างขั้นสมัยหลังเมื่ออาวุธปืนใหญ่แบบตะวันตก สมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจรู้ได้ว่า จะมีกำแพงสามชั้น
4. ศิลาจารึกเขียน สระ อิ อี อึ อื อุ อู แบบฝรั่ง คือเขียนบรรทัดเดียวกัน ทั้งที่จารึกอื่นๆทั้งหมดเขียนแบบวางตำแหน่งสระทั้งบนและล่าง จารึกหลักที่หนึ่งจึงน่าจะเขียนเมื่อได้รับอิทธิพลจากอักษรตะวันตกแล้ว
5. การพัฒนาของการใช้ ฃ. ฃวด กับ ฅ. ฅน ซึ่งเป็นเสียงโฆษะ แต่จะค่อยๆหายไปเพราะภาษาไทยไม่นิยมเสียงโฆษะ(เสียงก้อง) แต่จะเป็น ข. ไข่ และ ค. ควา ย แทน เพราะ เป็นเสียงอโฆษะ(ไม่ก้อง) แต่ศิลาจารึกใช้ ฃ.ฃวด และ ฅ.ฅน อย่างไม่มีกฎเกณฑ์
6. เนื้อหาของศิลาจารึกก็เป็นปริศนา เพราะเล่าเรื่องที่โน้มไปทางการเมือง ขณะที่ศิลาเรื่องอื่นเป็นกรอบศาสนา
7. เรื่องพนมเบี้ย ก็เป็นเรื่องของยุครัตนโกสินทร์มากกว่ายุคสุโขทัย เพราะในจารึกอื่นกล่าวถึงเบี้ย ในลักษณะที่ใช้เป็นเงินตรา

พ.ศ. 2529 2531 อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ได้วิจัยเนื้อหาในหลักศิลาจารึก และได้ตีพิมพ์รายงานวิจัยที่มีชื่อว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง การวิเคราะห์เชิงศิลปะ ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2532 โดยให้ข้อพิจารณาในประเด็นหลักๆ ได้แก่
1. จารึกหลักที่ 1 เอาสระและพยัญชนะมาไว้ในบรรทัดเดียวกัน ขณะที่จารึกหลักอื่น ๆ วางสระและ วรรณยุกต์บนล่าง เป็นลักษณะของการเรียงพิมพ์ซึ่งเป็นอิทธิพลของฝรั่ง และคล้ายกับตัวอักษรอริยกะ ที่พระองค์คิดค้นขึ้นในขณะทรงผนวช
2. จารึกหลักที่ 1 มีขนาดเล็กผิดปรกติแตกต่างจากศิลาจารึกที่อายุใกล้เคียงกัน คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีขนาดเกือบ 2 เมตร หรือศิลาจารึหลักที่ 2 และหลักที่ 4 ก็มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน
3. คําว่า รามคําแหง ไม่ปรากฏในจารึกสุโขทัยหลักอื่น ๆ เลย มีแต่ในหลักที่ 1 เท่านั้น ในขณะที่หลัก อื่นๆ เรียกว่า พระญารามราช พระร่วง คำนี้ยังคล้ายกับตําแหน่ง พระรามคำแหง ในพระอัยการนาทหารหัวเมือง ของกฎหมายตราสามดวง ที่ตราขึ้นใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์
4. ในจารึกกล่าวว่าสุโขทัยนั้นตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (3400*2 = 6800 ม.) เมื่อกรมศิลปากรเข้าไปบูรณะ วัดได้ความยาวของกําแพงชั้นใน 6100 เมตร ชั้นกลาง 6500 เมตร และชั้นนอก 6800 เมตร แต่กำแพงชั้นกลางและชั้นนอก สร้างในสมัยอยุธยา ดังนั้นพ่อขุนรามคำแหงทราบเรื่อง 6800 เมตร ได้อย่างไร
5. พระพุทธรูปหลายองค์ที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ 1 ดูตามรูปแบบศิลปะแล้ว ไมมีอะไรเกี่ยวข้องกับสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยา
6. ชื่อช้างมาสเมืองของขุนสามชนคล้ายกับช้างของรัชกาลที่ 2 ที่ชื่อ มิ่งเมือง และช้างของพ่อขุนรามคําแหงที่ชื่อ รูจาคีรีก็คล้ายกับชื่อ คีรีเมฆ เทพคีรีจันคีรี ในพระราชนิพนธ์ ช้างเผือกของรัชกาลที่ 4 แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ช้างของมหาเถรศรีศรัทธาชื่อ อีแดงเพลิง ซึ่งดูเป็นคำไทยโบราณมากกว่า

7. คําที่ใช้ในจารึกหลักที่ 1 เป็นคําที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว เช่น ตระพังโพยสี คือการขุดสระให้เป็นสีมา มีอุโบสถอยู่กลางน้ํา อันเป็นแบบของพุทธศาสนานิกายสิงหลภิกขุ และไม่ปรากฏคำนี้อยู่ในที่อื่นเลย ยกเว้นในพระราชพงศาวดารฉบับกรุงสยาม ซึ่งเป็นเอกสารชั้นหลัง
8. การเขียนคำว่ามะม่วง ให้เป็น หมากม่วง เป็นความจงใจเพื่อให้ดูเก่า ความจริงในสมัยสุโขทัยใช้คำว่า ไม้ม่วง แต่คําว่า หมากม่วงนี้ กลับปรากฏในเรื่องนางนพมาศ ซึ่งน่าจะเขียนจะขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3
9. การเผาเทียนเล่นไฟ ก็ดูจะสอดคล้องกับหนังสือเรื่องนางนพมาศ หรือการพนมดอกไม้ คือการจัดดอกไมเป็นพุ่ม เป็นลักษณะการจัดดอกไม้ ของวัดบวรนิเวศ และ เป็นคําเฉพาะที่ไม่มีในจารึกหลักอื่น ๆ
10. เรื่องเจ้าเมืองบ่เก็บจังกอบก็เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการค้าเสรี ที่สยามโดยอังกฤษบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่งเพื่อปรับลดภาษี 11. การรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎรโดยการเอากระดิ่งไปแขวนไว้ ก็ตรงกับเรื่องราวการรับฎีกาโดยตรงจากราษฎรที่มีขึ้นในรัชกาลที่ 4
12. การกล่าวถึงสถานที่ต่างๆ เพียงกว้างๆ เช่น พิหารทองตั้งอยู่กลางเมือง ถ้าเป็นจารึกร่วมสมัยจริง เหตุใดจึงไม่มีการระบุชื่อวัดหรือสถานที่โดยตรง
ดังนั้น อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการแต่งขึ้น โดยนำเนื้อหามาจากศิลาจารึกวัดศรีชุมของพระมหาธรรมราชาลิไท เช่น พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงในตอนชนช้างกับขุนสามชน เหมือนกับเรื่องพระมหาเถรศรีศรัทธาเคยได้ชนช้างกับขุนจังมาก่อน
มีการดัดแปลงบางพยัญชนะ และวิธีการเขียนตัวอักษรเป็นชั้นๆ บนล่าง มาเป็นการเขียนไว้บนบรรทัดเดียวเหมือนกับภาษาตะวันตก แสดงให้เห็นว่าผู้แต่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องภาษาเป็นอย่างดี
Create Date : 30 กันยายน 2558 |
Last Update : 30 กันยายน 2558 15:29:27 น. |
|
5 comments
|
Counter : 2850 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|