|
 |
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
22 เมษายน 2553
|
|
|
|
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (2)

การทหาร
- เปลี่ยนกรมยุทธนาธิการ เป็นกระทรวงกลาโหม - ยกกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ - ตั้งยศจอมพล โดยพระราชทานให้ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จวังบูรพา) เป็นองค์ปฐม
- ตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร อันเป็นที่มาของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ - ตั้งกองเสือป่าซึ่งเป็นรากฐานของกรมการรักษาดินแดน หรือ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน - ตั้งกองลูกเสือ - เกิดกบฎ ร.ศ. 130 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ
กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือ ลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์
คณะผู้คิดก่อการทั้งหมด 91 คน จึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ คณะตุลาการศาลทหาร มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการ 3 คน จำนวน โดยให้ประหารชีวิต ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน
แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์ คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์ ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์
คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467
29 ธันวาคม 2554 ชาวตะวันตกนำเครื่องบิน มาบินครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม มีการสร้างสนามบินดอนเมือง และเปิดใช้งานในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2457 ในปีนั้นมีการตั้งกองบินทหารบก ซึ่งเป็นรากฐานของกองทัพอากาศไทย
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เมื่อไทยถูกบีบบังคับให้ยอมสละดินแดน ในปกครองให้กับมหาอำนาจคืออังกฤษและฝรั่งเศส กุศโลบายของพระองค์ในตอนนั้นคือ
ผูกมิตรกับประเทศรัสเซีย ถึงขั้นที่พระเจ้าซาร์ได้ส่งมกุฎราชกุมารมาเยือนไทย ในการต้อนรับอันใหญ่โตที่พระราชวังบางประอิน แต่ครั้นเมื่อรัสเซียหันไปทำสนธิสัญญา เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเพิกเฉยต่อการรุกรานไทย ประเทศไทยจึงหันไปหาพันธมิตรใหม่คือพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมันนี และมีการจ้างที่ปรึกษาชาวเยอรมันเข้ามาเพื่อทำงานพัฒนาประเทศหลายคน
ฉนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เหล่าขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์หลายคน จึงขอให้พระองค์ประกาศสงครามต่อกลุ่มประเทศพันธมิตร แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของพระองค์ จึงรั้งรอไว้และดูสถานการณืไปพลางๆ เสียก่อน ซึ่งเป็นพระราชวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เยอรมันนีก็เพี่ยงพล้ำในสงครามแห่งสนามเพลาะนั้น
พระองค์จึงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง คือ เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ชนะสงคราม ทหารอาสาของไทย ร่วมเดินสวนสนาม ฉลองชัยชนะ ที่ประตูชัย ณ นครปารีส วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2462
และที่สำคัญก็คือผลแห่งสงครามครั้งนี้ การนำมาซึ่งแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไม่เป็นธรรมระหว่างไทยกับหลายประเทศ ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์
Create Date : 22 เมษายน 2553 |
Last Update : 22 เมษายน 2553 12:11:01 น. |
|
3 comments
|
Counter : 1166 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 27 เมษายน 2553 เวลา:20:19:49 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|