Group Blog
พฤษภาคม 2565

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยว - วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ตอนที่ 2 - พระร่วงโรจนฤทธิ์
สถานที่ท่องเที่ยว : พระร่วงโรจนฤทธิ์ วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ตอนที่ 2, นครปฐม Thailand
พิกัด GPS : 13° 49' 13.29" N 100° 3' 36.12" E

 



บล็อก  “ท่องเที่ยวไทย”  ในปีนี้ก็ยังเป็นการนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้เคยไปเที่ยวมามาโพสเหมือนปีที่แล้วครับ  เนื่องจากเจ้าของบล็อกกักตัวเองอยู่กับบ้านมาเป็นปีแล้วครับ  ไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น
 
 




ในบล็อก 
“ท่องเที่ยวไทย”  2 – 3  บล็อก  ต่อไปนี้  เจ้าของบล็อกจะพาทุกท่านไปเที่ยวที่วัดพระปฐมเจดีย์  จังหวัดนครปฐม  ทุกๆท่านคงทราบกันอยู่ดีแล้วองค์พระปฐมเจดีย์มีความเก่าแก่  และมีความเป็นมายาวนาน  ทั้งวัดพระปฐมเจดีย์ก็มีความสำคัญ  มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย  เจ้าของบล็อกจึงอยากแบ่งบล็อกท่องเที่ยววัดพระปฐมเจดีย์เป็นซีรี่ย์ย่อยๆ  3 – 4 ตอน  เพื่อไม่ให้มีเนื้อหาเยิ่นยาวเกินไปครับ
 
 



 

วัดพระปฐมเจดีย์  นครปฐม  ตอนที่ 2 – พระร่วงโรจน์ฤทธิ์  วัดพระปฐมเจดีย์  นครปฐม
 



 
 
ในบล็อก 
“ท่องเที่ยวไทย”   บล็อกที่แล้วได้พาไปชมพระปฐมเจดีย์  เจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทย  ที่ตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของวัดพระปฐมเจดีย์  มาแล้วนะครับ  ในวัดพระปฐมเจดีย์  ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย  สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาสักการะพระปฐมเจดีย์ก็คือ  พระร่วงโรจน์ฤทธิ์





 




ในปี  พ.ศ. 2451  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  ได้เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ  เมื่อมาถึงเมืองศรีสัชนาลัยได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์  โดยเฉพาะองค์หนึ่งมีพุทธลักษณะงดงามต้องพระราชหฤทัยแต่องค์พระชำรุดเสียหายมาก  ยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรกับพระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาท  ทรงสันนิษฐานว่าเป็นปางห้ามญาติ  จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ  
 



 
หลังจากที่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว  ในปี พ.ศ. 2454  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ  จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการหล่อปฏิสังขรณ์  และดำเนินการจัดหาช่างทำการปั้นหุ่นสถาปนาขึ้นให้บริบูรณ์เต็มองค์พระพุทธรูป  เมื่อการปั้นพระพุทธรูปนั้นบริบูรณ์เสร็จ  โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูปพระองค์นั้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร  ในวันที่  30  ธันวาคม  พ.ศ. 2456  ซึ่งเป็นกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา  
 
 




เมื่อการหล่อหลอมองค์พระพุทธรูปครั้งแรกได้สำเร็จลงแล้ว  เจ้าพนักงานจึงได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลเสด็จฯ  ทอดพระเนตร  แต่ปรากฏว่าไม่เป็นที่ประสบพระราชหฤทัย  ต่อมานายช่างทราบถึงพระราชประสงค์อันแท้จริง จึงหล่อให้พระอุทรพลุ้ยยื่นออกมาเหมือนคนอ้วน  ใกล้จะลงพุงต่างจากครั้งแรกที่หล่อตรงพระอุทรขององค์พระแบบธรรมดา  เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้วจึงเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลเสด็จฯ  ทอดพระเนตร  คราวนี้ปรากฏว่าทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก  ออกพระโอษฐ์ตรัสชมความสามารถในเชิงฝีมือของนายช่าง  ทั้งนี้มีพระราชประสงค์ที่จะให้พสกนิกรทราบว่า  พระพุทธรูปองค์นี้ทรงสร้างและทรงฝากอนุสาวรีย์ที่พระอุทร  (เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระอุทรสมบูรณ์เป็นพิเศษ)  หากใครมานมัสการสังเกตเห็นพระอุทรของพระพุทธรูปก็จะได้รำลึกถึงพระองค์  ดังนั้นเมื่อเรามองทางด้านตรงพระพักตรก็จะเห็นว่ามีพระพุทธลักษณะงดงามสม่ำเสมอ  แต่ถ้ามองทางด้านข้างทั้งเบื้องขวาและซ้ายแล้วจะเห็นว่าพระอุทรพลุ้ยออกมา
 




 
เมื่อการหล่อสำเร็จแล้ว  พระพุทธรูปปางห้ามญาติ  ศิลปะแบบสุโขทัย  ประทับยืนอยู่บนฐานทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย  ทำวงพระพักตร์ตามยาว  พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกัน  ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย  แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ  เป็นกิริยาห้าม  มีพระอุทรพลุ้ยออกมา  ห่มจีวรบางคลุมแนบติดพระวรกาย  สูงตั้งแต่พระบาทถึงยอดพระเกศ  12  ศอก  4  นิ้ว  (7.42 เมตร) สมบูรณ์ด้วยพระพุทธลักษณะทุกประการ  เป็นพระพุทธรูปที่สวยงามองค์หนึ่งของเมืองไทย  สิ้นโลหะทองเหลืองในการหล่อพระ  100  หาบมี  สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงิน 21,205.45 บาท
 
 
 


ขอย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลพระบาทสดเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  นิดนึงนะครับ



 
 
ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง  “วิหารทิศ”  เรียงจากด้านทิศตะวันออก  คือ  พระวิหารหลวง  (ที่เป็นด้านหน้าเดิมของพระปฐมเจดีย์อย่างที่เล่าให้ฟังในบล็อกท่องเที่ยวไทยบล็อกที่แล้วนะครับ  ที่ทรงให้เอาด้านทิศตะวันออกเป็นด้านหน้าของพระปฐมเจดีย์ก็เพราะว่าเป็นด้านที่หันสู่กรุงเทพฯ  โปรดให้หล่อจำลองจากพระพุทธสิหิงค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์  ในพระบวรราชวัง   (วังหน้า – ปัจจุบันคือพระที่นั่งพุทไธสวรรค์  พิพิธภัณฑสถานพระนคร)  แต่ขยายให้ใหญ่กว่าองค์เดิม  แล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระนำที่องค์  พระปฐมเจดีย์  ด้านทิศตะวันออกเพื่อเป็นสัญลักษณ์เป็นด้านหน้าจองพระปฐมเจดีย์)  ด้านทิศใต้  คือ พระวิหารปัญจวัคคีย์  ด้านทิศตะวันตก  คือ  พระวิหารพระพุทธไสยาสน์  และด้านทิศเหนือ  คือ  วิหารพระประสูติ  เดิมทีนั้นเป็นวิหารปิดเช่นเดียวกับวิหารทิศด้านอื่นๆ อีกสามด้าน มิได้มีลักษณะเป็นวิหารโถงเปิดโล่งดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน







 




 
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  เมื่อการคมนาคมเจริญมากขึ้น  มีการขยายทางรถไฟเพิ่มขึ้น  โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – เพชรบุรี  เปิดให้เดินรถเมื่อวันที่  19  มิถุนายน พ.ศ.  2446  (รศ. 122)  โดยเส้นทางเริ่มต้นจากปากคลองบางกอกน้อยถึงเพชรบุรีผ่านนครปฐมทางด้านทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์  โปรดเกล้าฯ  ให้มีการตัดถนนและสร้างสะพานไม้จากสถานีรถไฟนครปฐมตรงมายังบันไดหน้าวิหารพระประสูติ  ต่อมาเมื่อการเดินทางโดยรถไฟได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยลำดับ  วิหารทางด้านทิศเหนือนี้จึงเพิ่มความสำคัญขึ้นไปโดยปริยาย  ส่งให้วิหารทางด้านทิศเหนือกลายสถานะเป็นทิศทางสัญจรหลักในการมาเยือนพระปฐมเจดีย์แทนที่วิหารทางทิศตะวันออกซึ่งเคยเป็นทิศหลักมาแต่เดิม จึงได้มีการปรับปรุงทัศนียภาพเพิ่มความสง่างามให้แก่พระมหาเจดีย์ยิ่งขึ้น  กล่าวคือ  สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ  ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างบันไดนาคทางขึ้นหน้าวิหารพระประสูติ โดยสร้างเป็น 2 ชั้น เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่โอ่โถงรับกับสถานีรถไฟ  ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2449



 
 
ในเวลาต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ทรงมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองศรีสัชนาลัย  สุโขทัย  ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่มาประดิษฐาน  จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิหารพระประสูติด้านทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์เป็นวิหารโถงโล่งๆ  ดังมีเอกสารหลักฐาน  คือ หนังสือโต้ตอบกรมศิลปากร ที่  4/889   ลงวันที่  26  มีนาคม  พ.ศ. 2456  จากเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร  กราบบังคมทูลการแก้ไขวิหารพระประสูติ  กล่าวถึง  การขอรับพระราชทานเงินเพื่อแก้ไขวิหารพระประสูติเพื่อเป็นวิหารสำหรับประดิษฐานพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ฯ  รวมทั้งแก้บันไดใหญ่พนักนาคทางขึ้นหน้าวิหารพระประสูติ  ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถทรงสร้างไว้เดิม โดยระบุวันเวลาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2457





 





 
สิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิหารพระประสูติคือ  การรื้อพระวิหารเก่าตั้งแต่มุขด้านนอกถึงห้องประธาน 1  ห้อง  หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีพื้น  ปั้นลายช่อฟ้า  ใบระกา  หน้าบัน  บัวปลายเสา  คอสอง  และช่องคูหา  ทาสีผนังหลังพระ  เพดานทาสีปิดทองลายฉลุ  แก้ช่องหน้าต่างเก่าเป็นประตู  มีทางเดินเข้าทั้ง  2  ประตู  หล่อฐานที่ตั้งพระพุทธรูปด้วยแฟโรคอนกรีต*  ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วลงรักปิดทองประดับกระจก  และแก้บันไดใหญ่พนักนาคเป็นแฟโรคอนกรีต  รื้อของเก่าปูหินอ่อนฝรั่งทั้ง  2  ชั้น ทำชานพักและพนัก  2  ข้าง  หล่อแฟโรคอนกรีตลูกมะหวด  ราวพนักหล่อซีเมนต์ปั้นเป็นตัวนาคมีหัวและหางตามแบบที่ออกใหม่
 





(*แฟโรคอนกรีต (ferro concrete หรือ reinforced concrete) หรือ คอนกรีตเสริมแรง  ในภาษาไทย คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยใช้วัสดุอื่นมาช่วย เช่น เหล็ก หรือ ไฟเบอร์ บางครั้งอาจใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต คือ ความเปราะ คอนกรีตเสริมแรงนิยมเรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการเสริมแรง)













 
 


 
เมื่อดำเนินการปรับปรุงวิหารทิศทางด้านทิศเหนือ  (วิหารพระประสูติ)  แล้วเสร็จ  โปรดเกล้าฯ  พระพุทธรูปปางห้ามญาติ  (ขณะนั้นยังไม่ได้มีพระบรมราชโองการสถาปณาพระนาม – ตั้งชื่อ)  ให้อัญเชิญออกจากกรุงเทพฯ  ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2457 เพื่อไปประดิษฐานยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์  การอัญเชิญองค์พระจำเป็นต้องแยกชิ้นมาและมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม แล้วเสร็จเป็นองค์สมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
 
 


 
ในวันที่  26  กันยายน  พ.ศ. 2466  ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ประทับแรม  ณ  พลับพลาเจ้าเจ็ด  อำเภอเสนา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระพุทธรูปองค์นี้ว่ายังไม่ได้สถาปนาพระนาม  จึงประกาศกระแสพระบรมราชโองการเมื่อวันที่  12  ตุลาคม  พ.ศ. 2466 ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
 "พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร"  แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์





 
 
 
 





 
ในพระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุไว้ว่า  ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐาน
พระร่วงโรจน์ฤทธิ์  ที่องค์พระปฐมเจดีย์  เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  สวรรคตในวันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2468 ภายหลังเมื่อได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว วันที 31 สิงหาคม พ.ศ. 2469  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  โปรดเกล้าฯ  ให้อัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารจากในวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังวัดพระปฐมเจดีย์  เพื่อทำพิธีบรรจุ พระบรมราชสรีรางคาร ณ ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์








 






 
 
ต่อมาในวันที่  10  ตุลาคม  พ.ศ. 2528  พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่  6  สิ้นพระชนม์ และได้พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้  สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  เสด็จฯ  แทนพระองค์เชิญพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีไปประดิษฐานไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์  ตามพระราชพินัยกรรมที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุไว้ว่า  "...ส่วนเรื่องพระอัษฐินั้น, ใครจะคิดอย่างไรก็ตาม,  แต่เราเห็นโดยจริงใจว่า สุวัทนาสมควรที่จะได้ตั้งคู่กับเรา"










 

 
 
และในปี  พ.ศ. 2554  สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  สิ้นพระชนม์ หลังจากการเพลิงพระศพ  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพระสรีรางคารเป็น  2  ส่วน แล้วเชิญพระสรีรางคารส่วนหนึ่งโปรดฯ  ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ  เชิญไปบรรจุ  ณ ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารของพระชนกนาถ และพระสรีรางคารของพระชนนี






 
 
 
 
 






ขอบพระคุณท่านที่มีรายชื่อต่อไปนี้  ที่ทำให้การท่องเที่ยวของเรามีสาระมากขึ้นครับ


 
 

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร –  วิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี

 
พระร่วงโรจนฤทธิ์  -  วิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี

 
พระร่วงโรจนฤทธิ์  -  info.ru.ac.th

 
เที่ยวใกล้กรุง กราบ"พระร่วงโรจนฤทธิ์"ชม"พระราชวังสนามจันทร์"  -  กรุงเทพธุรกิจ – ท่องเที่ยว

 
พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ พระนามแรกตั้ง คือ พระร่วงธรรมสามีอินทราทิตย์ฯ  -  หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
 










 











 
139132137



Create Date : 23 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 11:18:09 น.
Counter : 1166 Pageviews.

18 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปัญญา Dh, คุณtuk-tuk@korat, คุณtanjira, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณกะว่าก๋า, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณThe Kop Civil, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณkatoy, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkae+aoe, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณnewyorknurse

  
กราบพระด้วยค่ะ
ย้อนรำลึกอดีต ประวัติของวัดพระปฐมเจดีย์ อีกครั้งค่ะ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:11:49:22 น.
  
อยากเห็นมากค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:31:23 น.
  
สวัสดีค่ะคุณบอล

พี่เป็นคนนีงที่ไปกราบพระ คือกราบพระจริงๆ
ไปเพราะอนากไปค่ะ ... ไม่ได้รู้ประวัติที่มาหรอกค่ะ
คล้ายๆการทำบุญ เรามีความตั้งใจแน่วแน่ ก็แบบนั้นเลยค่ะ


คุณบอลมีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ


โดย: tanjira วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:24:14 น.
  
อารามหลวงมักมีขนาดใหญ่โต
เดินเที่ยวเป็นชั่วโมงก็ยังเดินไม่ทั่วเลยนะครับคุณบอล

ปล. หนังสือทุกเล่มในบล็อก
ครูจรัลไม่ได้เขียนเลยครับ
เป็นนักเขียนหรือคนใกล้ชิดจัดทำขึ้นทั้งสิ้นเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:31:01 น.
  
เห็นภาพแล้ว นึกถึงข้าวหมูกรอบนครปฐมกับ น้ำลาด อืมมม น้ำราด
ไม่หวานดีอร่อย 555
...

ขอบคุณที่แวะไปดูบล๊อก... ผมอยู่พิษณุโลกแถวโคกมะตูมมีเพื่อน
สนิทหลายคน

นาน ๆ กลับไปเยี่ยมคนรู้จักเพราะบ้านเพิ่งขายไปเมื่อ 7 ปีมาแล้ว
เรือนแพ เขามีเลขที่ให้ ไปรษณีย์ส่งถูกบ้าน

ข่าวว่าเทศบาลเขา พยายามย้ายไปอยู่อีกแห่งแถว เลยวัดจันทร์
เมื่อปี 2542 กว่าครับ แต่ยินยอมให้มีร้านอาหารลอยอยู่ตรง
วิทยาลัยพิบูลสงคราม ใกล้กับสะพานนเรเศวร กับแถววัดจันทร์
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:16:12:15 น.
  
รอบนี้ได้รับความรู้องค์พระปฐมเจดีย์ครบเลยครับ
ภาพมุมสูง องค์พระสวยมากเลยครับ
โดย: The Kop Civil วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:16:58:17 น.
  
จากบล็อก
คนซ้ายสุดป่าวครับ
โดย: The Kop Civil วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:21:38:30 น.
  
ตามมมาเที่ยว ไหว้พระครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:18:18 น.
  
กราบพระค่ะคุณบอล
ภาพสวยมากค่ะ

นอกจากกราบพระแล้วนึกถึงไอศกรีมลอยฟ้าที่ตลาดรอบองค์พระด้วยค่ะ
น้องสาวต๋าเรียน ม.ศิลปากร เลยไปนครปฐมบ่อยค่ะช่วงนั้น
ขอบคุณข้อมูลความรู้นะคะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 23 พฤษภาคม 2565 เวลา:23:38:53 น.
  

อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:40:02 น.
  
น่าไปกราบและแวะเที่ยวมากครับ
โดย: สมาชิกหมายเลข 5722835 วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:12:01:33 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปที่บล็อกนะครับ
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:14:18:33 น.
  
ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆครับคุณบอล
บ้านเราไม่ค่อยมีการสอนการพูด
จริงๆควรจะสอนการฟังด้วย
การเป็นผู้ฟังที่ดี
ยากไม่แพ้การเป็นคนพูดที่ดีเลยนะครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:15:13:57 น.
  
สวัสดีค่ะ
โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:16:13:19 น.
  
ผมมาเรียนรู้ทักษะการฟังมากที่สุด
ก็ตอนทำงานที่ร้านนี่ล่ะครับ
ได้เจอคนเยอะมากในแต่ละวัน
และผมพบว่าถ้าเราเป็นผู้ฟังที่ดี
เราจะได้เรียนรู้อะไรเยอะมากจากประสบการณ์ของคนที่เราได้พบครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2565 เวลา:20:43:47 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:51:11 น.
  
สวัสดียามเช้าค่ะคุณบอล

ผักบุ้งไทยไม่ค่อยมีวางขายค่ะ
ขนาดในตลาด ตจว ยังไม่ค่อยมีเลยค่ะ
จะมีก็ชาวบ้านหาบมาวางขายเองค่ะ
พี่ญาติข้างบ้านเค้าปลูกไว้เยอะค่ะ ที่ติดแม่น้ำ
ทำให้พี่มีผักบุ้งไทยกินตลอดค่ะ พี่ชอบแกงหมูเทโพเหมือนกันค่ะ
ส่วนเอามาแกงส้มไม่ค่อยชอบ พี่ชอบมะละกอมากกว่าค่ะ

ขอให้สุขกายสบายใจนะคะคุณบอล


โดย: tanjira วันที่: 25 พฤษภาคม 2565 เวลา:6:29:09 น.
  
ผมไปนครปฐมบ่อยแต่ส่งนใหญ่ไปตลาดดอยหวายครับ 5555 กับคาเฟ่ พระปฐมเจดีย์ไปครั้งเดียวเองครับ ร้อนดี แต่ตอนเย็นๆ ของขายเยอะ

จากบล๊อก
บ้านใกล้วังรอบทร่ผมไปเค้กโอเคครับ แต่มีของไม่กี่อย่างครับ หมด หมด หมด อาหารไทยๆ ดีเลยครับ แจ่บางอย่างก็ไม่ดี

eighteen below ผมเคยไปครับ ชอบไอติมโฮมเมดมาก

ช่วงนี้งานยุ่งมากครับ ออกไซต์ ประชุม พรีเซ็นต์งาน ดื่ม ออกบูท
โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 25 พฤษภาคม 2565 เวลา:10:44:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]