|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
ชวนไปเที่ยวเมือง ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ตอนที่ 3 |
|
ชวนไปเที่ยวเมือง ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ตอนที่ 3 ตอนที่ 3 นี้ จะพาไปเที่ยว เมืองธรรมศาลา วันนี้ พวกเราก็ต้องเดินทางทั้งวัน เพื่อไปเมืองธรรมศาลาเหมือนเมื่อวาน ค่ะ พักเที่ยงกินข้าวร้านอาหารระหว่างทาง กว่าจะได้กิน ก็ประมาณ 12.30 น. กินเสร็จเดินทางต่อไป ระหว่างทาง รถก็ติดมาก ริมถนนก็มีพ่อค้า แม่ค้า ขายของกิน รถติดทำให้เราซื้อของกินกัน เช่น มีขายโมโม่ (คล้าย ๆ เกี๊ยวซ่า) ข้าวโพดปิ้ง ถั่วต่าง ๆ ฝรั่ง ระหว่างทาง จอยซื้อเชอรรี่ ที่ขาย ครั้งนี้ ลูกใหญ่ น่ากิน มีความกรอบ มาถึงร้านอาหาร จัดการล้างให้สะอาด กินกันอร่อย ไม่ได้ถามว่า ราคาเท่าไร แต่ถึงอย่างไร ก็ถูกกว่าเมืองไทยแน่ ฉันก็ไม่กล้ากิน เยอะ กลัวท้องเสีย แล้วก็เป็นจริง จอยท้องเสีย อิอิ โรงแรมคืนนี้ ก็อยู่บนเขา รถเข้าไปถึงตัวโรงแรมไม่ได้ ทางเดินขึ้นโรงแรม ก็ไกล แถมทางเดินขึ้นไปตัวโรงแรมก็ขรุขระ เดินยาก เฮ้อ ! โรงแรมที่มาเที่ยวอินเดียครั้งนี้ ไม่มีโรงไหนดีเลย พวกพนักงาน มาลากกระเป๋าและนำไปส่งให้ที่ห้องพัก กระเป๋าแต่ละใบ มีฝุ่นติด ล้อกระเป๋าใช้งานหนัก เพราะทางที่ลากกระเป๋ามันขรุขระ และไกลด้วย ถ้ากระเป๋าใครไม่แข็งแรง น่ากลัวมากว่าล้ออาจจะชำรุดได้ง่าย ๆ ห้าห้าห้า
เย็นนี้้ นัดกินข้าวมื้อเย็น สองทุ่มกว่า ของอินเดียว และกินชั้นบนสุดของโรงแรม คือ ดาดฟ้า มีทั้งภายในที่ร่ม กับ กลางแจ้ง พวกเราเลือกนั่ง ในที่ร่มบริเวณที่นั่งกินข้าว มีที่ให้ถ่ายรูปเล่นก่อนอาหารจะมาด้วย พวกเราก็เดินดูและถ่ายรูป ค่ะ
มุมสวยงามบริเวณห้องกินข้าวของโรงแรม จ้ะ
ยันต์ต่าง ๆ บริเวณห้องอาหาร น่าจะเป็นความเชื่อ ความศรัทธาของเขา ค่ะ
สิ่งตกแต่ง รูปต่าง ๆ ภายในบริเวณห้องอาหาร
น้องลงมาเป็นคนที่ 3 ร่วมกระบวนกันถ่ายรูปด้วย อิอิ
วันที่ 24 มิ.ย. วันนี้กำหนดให้พวกเรากินข้าว 8.30 น. รถจะออกประมาณ 10.00 น. วันนี้ที่เที่ยวไม่ไกลนัก จะเที่ยวใน Dharamshala (ดารัมซาล่า) คนไทย ออกเสียง เป็น ธรรมศาลา หรือเรียกว่าธิเบตน้อย ธรรมศาลามีอีกชื่อหนึ่ง ว่า McLeod Ganj เป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในหุบเขา ท่ามกลางป่าสนที่สวยงาม มองเห็นยอดเขาหิมาลัยขาวโพลนด้วยหิมะ ธรรมศาลา มีอาณาเขตติดกับรัฐจามูและแคชเมียร์ รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐอุตตรประเทศ ทุก ๆ ฤดูหนาว หน่วยปกครองของรัฐจะย้าย ที่ทำการต่าง ๆ มายังเมืองแห่งนี้ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย เป็นเมืองหลวงใน ฤดูหนาวของรัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ตั้งพระตำหนักที่ประทับขององค์ทะไลลามะที่ 14 และ ที่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ของทิเบต กล่าวคือ ปี ค.ศ. 1959 เมื่อทหารจีนรุกเข้าทิเบต อย่างร้อนแรงท่ามกลางข่าวแพร่สะพัดว่า คนทิเบตที่ไม่ยอมก้มหัวให้ปักกิ่ง ถูกสังหารเป็นหมื่นเป็นแสน องค์ทะไล ลามะ ที่ 14 ได้ลี้ภัย มาอยู่อินเดีย เดินทางข้ามหิมาลัยมาสามสัปดาห์เต็ม ๆ ยวาล์หลาล เนห์รู นายกฯ คนแรกของอินเดีย หลังจากได้เอกราชจากอังกฤษ ได้ยื่นมือมาช่วยเหลือด้วยการเปิดทางให้ ทะไล ลามะ มาพักอยู่ที่ธรรมศาลา ซึ่งในเวลา ต่อมาได้กลายเป็นที่ตั้งของรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบต ภายใต้การนำ ทั้งด้านการเมืองและจิตวิญญาณของ ทะไล ลามะ เป็นเมืองศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณชาวทิเบต
ในปัจจุบันมีผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัย ชาวทิเบตมากมายอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ ประชากร ในเมืองนับถือศาสนาฮินดูมากสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.18 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 27.70 ชาวต่างชาติ ฝรั่งและชาวพุทธ มาที่นี่ เพื่อฟังธรรม ขององค์ทะไลลามะ ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ และ กางเต็นท์ สูดอากาศบริสุทธิ์บนยอดเขา ตรีอูน เมืองดารัมซาลานี้ ทางรัฐบาลอินเดียยกให้เป็น ที่พำนักอาศัยของชาวทิเบตอพยพ ถือเป็นอีกเมืองที่น่ามาเที่ยวมาก
ธรรมศาลาวันนี้ ร้านค้าคึกคักมากขึ้น มีร้านอินเทอร์เน็ต การจราจรตรงสี่แยกกลางเมือง เริ่มติดขัด เพราะรถราสำหรับนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (รวบรวมและเรียบเรียง จาก อินเทอร์เน็ต)
โปรแกรมแห่งแรกที่ไปเที่ยว คือ Gyuyto Monastery วัด Gyuto เป็นวัดสำคัญที่ตั้งอยู่ ในเมือง Dharamshala รัฐ Himachal Pradesh ประเทศอินเดีย วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงในด้านการทำสมาธิแบบตันตระ ศึกษา และศิลปะพิธีกรรมของ ศาสนาพุทธแบบทิเบต วัดแห่งนี้เป็นที่ประทับของ Karmapa ซึ่งเป็นหัวหน้าสาย Karma Kagyu
วัดแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1959 โดยผู้ติดตามของ Khensur Jetsun Kunga Dhondup เจ้าอาวาส Gyuto ผู้ล่วงลับ พวกเขาหนีออกจากทิเบต พร้อมกับองค์ทะไลลามะองค์ที่ 14 วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เงียบสงบที่ให้บรรยากาศเงียบสงบสำหรับพระภิกษุและผู้มาเยือน สถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้สวยงามและให้ความรู้สึกถึง การออกแบบแบบทิเบตดั้งเดิมจุดดึงดูดใจหลักอย่างหนึ่งของวัดแห่งนี้ คือการสวดมนต์ ประจำวันของพระภิกษุ ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ที่ล้ำลึก เสียงสวดมนต์ร่วมกันที่กลมกลืนกันดังก้องไปทั่วห้องโถง สร้างบรรยากาศ แห่งความสงบและการทบทวนตนเอง (จากอินเทอร์เน็ต) ตัวอารมาเป็นสีเหลืองทอง สีสดใส ภายในวัดสวยงาม ให้ถ่ายรูปเฉพาะภายนอกเท่านั้น มีพระสงฆ์จำนวนมาก มาสวดมนต์ตลอดระยะเวลา ที่นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมพวกเราก็ถ่ายรูปภายนอกอาราม ซึ่งสวยงาม มาชมรูป ค่ะ
จอยทำบุญใส่ตู้ ค่ะ ฉันทำบุญด้วยตามที่ ดาวฝากมาทำบุญด้วย
ตัวอาคารต้องเดินขึ้นบันไดหลายสิบขั้น ก็ค่อย ๆ เดินขึ้นไป ค่ะ
ไม่มีใครอธิบายเลยไม่รู้ว่า คืออะไร เห็นสวยดี พวกเราเลยถ่ายรูปหมู่กัน
บริเวณรอบ ๆ วัด ปลูกต้นไม้มากมาย ตอนนี้แดดร้อนมาก ๆ
ถ่ายจากมุมสูงของวัด ค่ะ บริเวณกว้างมากพอสมควร
ลีลาของจอย ค่ะ อิอิ
หน้าโบสถ์ที่จะเข้าไป ค่ะ
สัญลักษณ์อย่างไรอย่างของวัด มั้ง
ถ่ายหมู่อีกรูปก่อนอำลาวัดนี้ไป ค่ะ
จากอารามนี้แล้ว ก็ไปชมสุสานทหารอังกฤษ ไม่ได้ถ่ายรูป เดินไปชมโบสถ์คริสต์ ซึ่งก็เดินไกลมากโขอยู่ ระหว่างเดินไป รถรามากมาย ต้องระวัง ข้างทางก็มีพ่อค้าขายของกินเหมือนเมื่อวานที่รถติดแล้วพวกเราซื้อกิน นั่นแหละ โบสถ์นี้ อากาศดีมาก ร่มรื่น มีนักท่องเที่ยว มาชมมากมาย พวกเราก็ถ่ายรูปกัน เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก เดี่ยวบ้าง กลุ่มบ้าง มาชมค่ะ
มุมสวยงามมุมหนึงภายในโบสถ์ แห่งนี้
บริเวณ รอบ ๆ โบสถ์ ร่มรื่น เขียวขจี อากาศ ดี ค่ะ
ต้นไม้ต้นนี้ใหญ่มาก ค่ะ
ลูกทัวร์ ครบค่ะ
เข้ามานั่งในโบสถ์ทำใจให้สงบ สักหน่อย อิอิ
บริเวณในโบสถ์ ร่มรื่น เขียวขจี สะอาด เดินออกกำลังกายได้ดีเลย ค่ะ
ระหว่างทางเดินกลับไปที่รถ มีพ่อค้าขายของกินมากมาย ร้านนี้ขายโมโม่ ค่ะ
ร้านนี้ ขายถั่วหลายอย่าง ค่ะ พวกเราขอถ่ายรูปกับร้านเขา ค่ะ แต่มีคนซื้อกิน นะ ไม่ได้ถ่ายฟรี
ออกจากโบสถ์คริสต์นี้แล้ว ก็ไปเที่ยวและทำบุญที่วัดดาไลลามะ เป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาไหว้ มาเที่ยว และทำบุญมากเหมือนกัน อยู่ใกล้กับ Mall Road ด้วย มาทราบ เรื่องราวของวัดนี้สักเล็กน้อย ค่ะ
วัดดาไลลามะ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Tsuglagkhang Complex เป็นแหล่งรวม วัฒนธรรมทิเบต วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี 1959 หลังจากผู้นำ ทางจิตวิญญาณชาวทิเบต องค์ทะไลลามะองค์ที่ 14 ลี้ภัยออกจากทิเบต ปัจจุบัน วัดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณและการเมือง ของชุมชนชาวทิเบตในต่างแดนตัววัดเองก็มีความงดงามทางสถาปัตยกรรม ในบริเวณนี้จะเห็นวัดหลักที่ตั้งตระหง่านอยู่สองข้าง โดยมีกงล้อสวดมนต์และธงสวดมนต์ที่โบกสะบัดตามสายลมของภูเขา สถาปัตยกรรม ของวัดผสมผสานรูปแบบทิเบตและอินเดียแบบดั้งเดิม สะท้อนให้เห็นการอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่หลากหลายในอินเดีย เมื่อก้าวเข้าไปข้างใน คุณจะรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับ ไปสู่โลกอีกใบของจิตวิญญาณ ศาลเจ้าหลักประดิษฐานรูปปั้นพระพุทธเจ้าสีทองอร่าม งดงาม ล้อมรอบด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราว ในชีวิตและคำสอนของพระองค์ บรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงสวดมนต์อันผ่อนคลายของ พระภิกษุสงฆ์ที่กำลังสวดมนต์และทำสมาธิ สร้างบรรยากาศแห่งการฟื้นฟูจิตวิญญาณ สำหรับพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาและผู้แสวงหา สัจธรรม วัดดาไลลามะมีความสำคัญทาง จิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง วัดแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่สักการะบูชาเท่านั้น แต่ยังเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และออกเดินทางสู่การค้นพบตนเอง ผู้เยี่ยมชมจากทุกระดับชั้นต่างหลั่งไหลมาที่วัดแห่งนี้เพื่อ ขอพร ความปลอบโยนใจ และคำแนะนำ จากองค์ทะไลลามะผู้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการประทับอยู่ของพระองค์ทำให้วัดแห่งนี้เปี่ยมไป ด้วยความเมตตากรุณาและปัญญาเมื่อก้าวเข้าไปข้างในวัด เราจะรู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปสู่โลกอีกใบของจิตวิญญาณ ศาลเจ้าหลักประดิษฐาน รูปปั้นพระพุทธเจ้าสีทองอร่ามงดงาม ล้อมรอบด้วย จิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวในชีวิตและคำสอนของพระองค์ บรรยากาศเต็มไปด้วย เสียงสวดมนต์อันผ่อนคลายของพระภิกษุสงฆ์ที่กำลังสวดมนต์และทำสมาธิ สร้างบรรยากาศแห่งการฟื้นฟูจิตวิญญาณ ชมวัด กราบ พระพุทธรูป แล้วก็ไปทำบุญให้ดาว100 บาท ที่ดาวฝากมา ส่วนฉัน เยาว์ จ๋า ทำบุญไป คนละ 20 บาทยังมีอีกหลายที่ที่เราจะไป ค่ะ มาชมรูปพวกเรา ค่ะ
องค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในวัดแห่งนี้ ค่ะ
นั่งสมาธิสักพัก ค่ะ
ตรงนี้น่าจะเป็นสัญลักษณ์สำคัญสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่าคือ อะไร ไม่มีไกด์ อิอิ
ออกจากวัดนี้แล้ว ก็เดินตามถนนที่มีของที่ระลึกขายมากมาย ทุกคนต่างก็เลือกซื้อของที่ระลึก ที่ตัวเองชอบฉันก็ซื้อไปมากเหมือนกัน เอาไว้ปีใหม่แจกลูกศิษย์ ที่มาเยี่ยมฉันหรือเป็นของที่ระลึกสำหรับคนที่มาเยี่ยม เป็นต้น ราคาชิ้นหนึ่ง ๆ ไม่กี่สิบบาท ราคาไม่แพงมาก ค่ะ
มื้อเที่ยง ก็หาร้านกินกันแถวแหล่งช้อปปิ้ง นั่นแหละ กินเอาตอนบ่าย 3 แล้ว แล้วก็เดินช้อปปิ้งต่อ ฉันกับจอย มาเจอ ร้านขายถั่วที่พวกเพื่อนซื้อกิน แล้วมีความรู้สึกว่า อร่อยดี ราคาก็ถูก ถุงละ 20 รูปี เท่ากับ 10 บาทเอง ฉันซื้อ 5 ถุง 100 รูปี ไว้ใส่บาตรด้วย ขณะที่ซื้อถั่ว เจอพระไทยมาเรียนหนังสือที่อินเดีย คนไทย เจอพระไทย ต่างก็ดีใจที่ได้เจอคนไทย จอยก็ทำบุญ ฉันก็ร่วมทำบุญด้วย เผื่อท่านจะได้ใช้สอยในตอนที่อยู่อินเดีย ค่ะ จากนั้น ต่างคนต่างก็แยกย้ายกันไป เจอร้าน หิมาลายัน ทุกคนก็เข้าร้านนี้ ซื้อของที่ตัวเอง ตั้งใจอยากซื้อ ฉันซื้อแต่ยาสีฟัน ของเขาใช้ดี นะ เพราะซื้อตอนที่ไปเที่ยวเลย์ ลาลัด ใช้แล้วก็โอเค มาครั้งนี้ ก็เลยซื้อเพิ่ม ซื้อของเสร็จแล้ว เดินไปเจอสถานที่ เป็นห้องแถว แต่มีพระพุทธรูป เป็นห้องแถว เล็ก ๆ มีห้องสวดมนต์ ทำพิธี ไม่รู้เรียกสถานที่นี้ว่า อะไร พวกเราก็เดินเข้าไปชมสถานที่แห่งนี้ ตึกนี้ มีบันไดขึ้นไปถึงชั้นบนอยู่ด้วย ฉันกับจอย ถ่ายรูป อยู่ด้านล่าง ไม่ได้ขึ้นไปชั้นบน คนอื่น ๆ ขึ้นไป ฉันกับจอยถ่ายรูปด้านนอกและเข้าไปห้อง ที่พระสงฆ์กำลังจะจัดพิธีอะไรสักอย่าง ฉันหยอดเงินทำบุญเท่านั้น ค่ะ ไม่ได้อยู่ดูพิธีของเขา สักพัก พวกที่ขึ้นไปชั้นบนก็ลงมากราบพระ แล้วก็ออกจากห้องนี้ไป ค่ะ
ถนนที่พวกเรามาเดิน มีร้านค้ามากมาย ให้เลือกซื้อ โดยเฉพาะของที่ระลึก
ตรงนี้มีสถานที่ทางศาสนาตั้งอยู่ด้วย ชื่ออะไร ไม่รู้ พวกเราก็เข้าไปไหว้ ถ่ายรูป
มีพระยืนอยู่ชั้นบนด้วย มองดูความวุ่นวายด้านล่าง อิอิ
รูปหมู่สักรูป ค่ะ
ประตูทางเข้าไปยังสถานที่ของวัดนี้ ค่ะ
พวกนี้เขาขึ้นบันไดไปชมชั้นบนด้วย ฉันกับจอยอยู่แต่ข้างล่าง ค่ะ
บรรยากาศชั้นบน ค่ะ
ห้องที่กำลังจะทำพิธีอะไรสักอย่าง ค่ะ มีคนเข้ามารอ ค่ะ
บริเวณห้องทำพิธี มีสิ่งก่อสร้าง น่าจะเป็นเจดีย์ แต่ทางแคบถ่ายไม่ได้เต็มองค์
ห้องที่คนมากราบไหว้ ฟังธรรม ทำบุญ ค่ะ
ออกจากที่นี้แล้ว พวกน้อง แต๋ว เกด น้องเมล จะไปเดินต่อ ฉันกับจอย ไม่เดินแล้ว จะเดินไปที่ จอดรถ รอพวกเขาพักขาดีกว่า เพราะสินค้ามันก็เหมือนเดิม ไม่ได้อยากซื้อ อยากเดินชม พักใหญ่ ๆ พวกที่ไปเดินก็มาถึงรถ แล้วบอกว่า พวกเขาจะไปวัดไทย ซึ่งต้องเดินไปอีกที่หนึ่ง ถ้าฉันกับจอยไม่อยากไป ก็ให้คนขับรถไปส่งที่โรงแรมก่อน พวกเขาจะไปและกลับเอง ฉันกับจอย ตกลงกลับโรงแรมเลย
ภาพที่เพื่อน ๆ ไป เที่ยววัดไทย ค่ะ
อาหารมิ้อเย็น นัดกินข้าวที่โรงแรม เวลา 8.15 ฉันลงไปกินคนเดียว จอยบอกไม่กินมื้อเย็น เพราะเบื่ออาหารแขกเหลือเกิน อิอิ ตอนที่ 3 ของการเที่ยว ธรรมศาลา ก็จบไปก่อน โปรดติดตามตอนที่ 4 ต่อไป นะคะ
Create Date : 26 สิงหาคม 2567 |
Last Update : 27 สิงหาคม 2567 12:13:43 น. |
|
25 comments
|
Counter : 394 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณmultiple, คุณ**mp5**, คุณRananrin, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtoor36, คุณกะว่าก๋า, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณThe Kop Civil, คุณkae+aoe, คุณปัญญา Dh, คุณร่มไม้เย็น, คุณNior Heavens Five, คุณชีริว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณSweet_pills |
โดย: หอมกร วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:14:15:24 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:15:37:27 น. |
|
|
|
โดย: Rananrin วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:17:34:30 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:19:24:41 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:21:49:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 สิงหาคม 2567 เวลา:21:58:41 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 สิงหาคม 2567 เวลา:4:13:45 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 28 สิงหาคม 2567 เวลา:4:35:37 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 สิงหาคม 2567 เวลา:19:20:03 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 สิงหาคม 2567 เวลา:5:09:22 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 สิงหาคม 2567 เวลา:12:18:54 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 29 สิงหาคม 2567 เวลา:23:56:20 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 30 สิงหาคม 2567 เวลา:0:09:36 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 สิงหาคม 2567 เวลา:4:41:04 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 สิงหาคม 2567 เวลา:9:09:14 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 1 กันยายน 2567 เวลา:9:48:51 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กันยายน 2567 เวลา:15:11:11 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กันยายน 2567 เวลา:23:10:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กันยายน 2567 เวลา:5:14:43 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 2 กันยายน 2567 เวลา:13:17:33 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 5 กันยายน 2567 เวลา:0:29:05 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
BlogGang Popular Award#20
|
|
|
|
ฝากข้อความหลังไมค์ |
|
Rss Feed |
| Smember | | ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]
|
เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ
http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif |
|
|
|